พราหมณ์เพชรบุรี
- Published: Wednesday, 30 September 2020 16:16
- Written by nirada
- Hits: 45
คนไทยเรานับถือพราหมณ์มาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งเดี๋ยวนี้พวกเรายังเคารพและนับถือขนบรรมเนียมพราหมณ์กันอยู่เช่นเคย พิธีกรรมสำคัญต่างๆ ภายในราชสำนัก ออกมาจากภายนอกถึงชาวบ้านร้านตลาด งานมงคลต่างๆ ก็ยังนิยมพราหมณ์ประกอบพิธีด้วยเสมอ พิธีกรรมงานมงคล ถ้ามีพราหมณ์เป็นเจ้าพิธีในแง่จิตวิญญาณ ทำให้รู้สึกว่าพิธีกรรมนั้นเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์ปราศจากเภทภัยอุปสรรคใดๆ ปัจจุบันพราหมณ์ที่ยังสืบเชื้อสายขนบธรรมเนียมประเพณีพราหมณ์มาแต่บรรพชนโดยยังคงดำรงคงสถานภาพประการหนึ่ง นักบวชได้แก่พราหมณ์ นครศรีธรรมราช พราหมณ์เมืองพัทลุง พราหมณ์ประจำราชสำนัก และพราหมณ์ประจำโบสถ์ พราหมณ์ที่ที่เสาชิงช้ากรุงเทพฯ เป็นต้น สำหรับพราหมณ์เพชรบุรี ซึ่งหมายถึงพราหมณ์ เจ้าพิธี ที่สืบขนบธรรมเนียมพราหมณ์แท้ๆ มิใช่พราหมณ์เทียมและอาศัยอยู่ที่เมืองเพชร
พราหมณ์สมอพลือ ในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา
เชื้อตระกูลพราหมณ์สมอพลือ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นนิคมพราหมณ์ ที่มีตระกูลสูง เป็นพราหมณ์พิธีในราชสำนักมาแต่โบราณ เป็นพราหมณ์ที่มีบรรดาศักดิ์และราชทินนาม มีหลักฐานบันทึกไว้มาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สัมพัธภาพระหว่างเมืองเพชรบุรีและอาณาจักรกรุงศรีอยุธยากระชับแน่นประหนึ่งทองแผ่นเดียวกัน พราหมณ์สมอพลือคือโซ่ข้อกลางเชื่อมมิตรภาพ ระหว่างกัน ทั้งในแง่ทำหน้าที่พราหมณ์เจ้าพิธี และแง่ของความสัมพันธ์เกี่ยวข้องดองเป็นเครือญาติกับหน่อเนื้อกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา โดยมีสถานะเป็นราชนิกูลเชื้อพระวงศ์, พระมเหสีและกษัตริย์ตามลำดับ
พราหมณ์สมอพลื ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ห้วงรอยต่อกรุงศรีอยุธยาล่มสลายลงในปี พ.ศ. 253O ผลัดแผ่นดินใหม่ได้เข้าสู่ยุคกรุงธนบุรี น่าสนใจว่าช่วงเวลานี้ เชื้อสายพราหมณ์สมอพลือในราชสำนักกรุงศรีอยุธยาเดิม นอกจากล้มหายตายจากเพราะผลแห่งสงครามอยู่บ้าง เขาเหล่านั้นกลับมาสู่มาตุภูมิ บ้านสมพลือถิ่นพราหมณ์เมืองเพชรหรือไม่ หรือไปอยู่ ณ แห่งหนนิคมอื่นด้วย ข้อมูลจากเว็บไซจ์ www.siamganesh.com/thaihindusociety html เรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนพราหมณ์-ฮินดูในสังคมไทย โดยดุลยภาค ปรีชารัชช อธิบายเกี่ยวกับพราหมณ์สมอพลือและพราหมณ์จากนิคมอื่นในห้วง พ.ศ. ๒๓๑o กลุ่มพราหมณ์ในราชสำนักได้ถูกกวาดต้อนไปยังกรุงอังวะ (AVA) ของพม่า ในขณะที่บางส่วนได้อพยพลี้ภัยไปตามเมืองต่างๆ เช่น เพชรบุรี และนครศรีธรรมราช ท่ามกลางภัยสงครามและสูญญากาศทางการเมือง กลุ่มพรามณ์ในนครศรีธรรมราชได้ก้าวเข้ามามีบทบาทในราชสำนักกรุงธนบุรี เพื่ถ่ายทอดศิลปวิทยาการ และชดเชยการขาดแคลนพรามหณ์หลังจาก การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ในเวลาต่อมามีการสถาปนาราชวงศ์จักรีและการย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงมีนโยบายรื้อฟื้นความรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยาและอารยธรรมพราหมณ์ฮินดู เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับประเทศโดยเห็นได้จากการสร้างพระบรมมหาราชวังที่จำลองแบบมาจากอยุธยาและการสร้างเสาชิงช้า (Giant Swing) และเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ในปี พ.ศ.๒๓๒๗ ซึ่งจัดว่าเป็นศูนย์กลางชุมชนพราหมณ์แห่งแรกในกรุงเทพมหานคร อิทธิพลจาการรื้อฟื้นธรรมเนียมราชสำนักโบราณในสมัยรัชกาลที่หนึ่ง ได้ส่งผลให้กลุ่มพราหมณ์ที่กระจัดกระจายอยู่ตามเมืองต่างๆ กลับมารวมตัวกันที่กรุงเทพฯ และเข้ารับราชการเป็นปุโรหิต และผู้ประกาศพิธีทางศาสนาให้กับราชวงศ์จักรี
ขุนพรหมสิทธิชาติ (เชียน)
ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นิคมพราหมณ์สมอพลือ