ผลการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ปี 2567
หมวดที่ (GO-1 GL-1) การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ประเด็นที่ (GO-1.3) การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัดที่ (GO-1.3.1 ) กิจกรรมทั้งหมดของสำนักงานภายใต้ขอบเขตการขอการรับรองสำนักงานสีเขียวจะต้องได้รับการระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม
(1) มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงาน ทั้งทางตรง และทางอ้อม ครบถ้วน ตามกิจกรรม ขอบเขตและบริบท ของสำนักงาน
(2) มีการกำหนดผู้รับผิดชอบที่มีความรู้ ความเข้าใจ
(3) ระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากร วัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละ กิจกรรมจะต้องครบถ้วน
(4) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมทางตรงและ ทางอ้อมครบถ้วน
(5) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะปกติ ผิดปกติ และฉุกเฉินครบถ้วน
(6) มีการพิจารณากฎหมายสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม นั้นๆ อย่างครบถ้วนและถูกต้อง
(7) การประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญ ของปัญหาสิ่งแวดล้อม
(8) มีหลักฐานการกำหนดระยะเวลาใน การทบทวนการระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและ พลังงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(9) กรณีมีการปรับแผน/กิจกรรม หรือมี กิจกรรมเพิ่มเติม (เช่น มีแผนที่จะ ก่อสร้างอาคาร หรือเพิ่มเติมกิจกรรม ของสำนักงานในอนาคตอันใกล้ เป็น ต้น) จะต้องระบุกิจกรรมดังกล่าว ด้วย (ถ้ามี)

ผลการดำเนินงาน

สำนักวิทยบริการฯ มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงานทั้งทางตรง และทางอ้อม ตามกิจกรรมได้ 7 ด้าน 19 กิจกรรม ตามขอบเขตและบริบทของสำนักงาน (1.3.1-1) ดังนี้

7 ด้าน ประกอบด้วย

1. กระดาษ

2. อาหาร

3. น้ำ

4. น้ำมัน

5. วัสดุสำนักงาน

6. ไฟฟ้า , อุปกรณ์ไฟฟ้า

7. ทรัพยากรสารสนเทศ

19 กิจกรรม ประกอบด้วย

1. การพิมพ์เอกสาร

2. การสำเนาเอกสาร

3. การประชุม

4. การจัดเก็บและเบิกใช้วัสดุสํานักงาน

5. การรับประทานอาหาร

6. การทำความสะอาดภาขนะ

7. การทำความสะอาดสำนักงาน

8. งานทำความสะอาดห้องน้ำ/โถง

9. การทำความสะอาดชั้นหนังสือ

10. การเดินทางไปราชการ

11.การทำลายเอกสาร,เครื่องย่อยเอกสาร

12.การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ

13.การบำรุงรักษาลิฟท์

14.การซ่อมบำรุงเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและแสงสว่าง

15.การบำรุงรักษาเครื่องสำเนาเอกสาร

16.งานจัดเตรียม/ซ่อมแซมทรัพยากรสารสนเทศ

17.การใช้ถ่านหรือแบตเตอรี่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

18. การตัดหญ้า

19.การจัดการพื้นที่สีเขียว

มีการระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากร วัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละกิจกรรมครบถ้วน โดยใช้ตารางวิเคราะห์ระดับความมีนัยสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์การประเมินนัยสำคัญของลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้านการใช้ทรัพยากร (Resource Usage) และเกณฑ์การประเมินนัยสำคัญของลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้านมลภาวะ (Pollution) (1.3.1-2)

ทั้งนี้ ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมทางตรงและ ทางอ้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะปกติ ผิดปกติ และฉุกเฉินครบถ้วน ทั้งระบุระดับนัยสำคัญได้ 3 ระดับ คือ L , M , H ส่วนใหญ่ประเด็นปัญหาของสำนักฯ อยู่ในระดับ L และ M

ด้านทรัพยากร (Input) มีค่าความรุนแรงมากที่สุดที่ 42 มีค่าความรุนแรงน้อยที่สุดที่ 18 ส่วน

ด้านมลพิษ (Output) มีค่าความรุนแรงมากที่สุดที่ 42 มีค่าความรุนแรงน้อยที่สุดที่ 24 (1.3.1-3)

สำนักวิทยบริการฯ มีการประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ(1.3.1-4) สามารถการจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ ตามกิจกรรม

ด้านทรัพยากร (Input) คือ ปัญหาด้านไฟฟ้า

ด้านมลพิษ (Output) คือ หลอดไฟใช้แล้ว , ขยะจากการซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ , กลักหมึก , ขยะจากบรรจุภัณฑ์

จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม สำนักฯ ได้มีการวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญได้ทั้งหมด 4 ข้อ (1.3.1-5)

สำนักฯ มีการนำกิจกรรม , การใช้ทรัพยากรและพลังงาน ,ลักษณะปัญหา มาพิจารณากฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม (1.3.1-6)

ทั้งมีการกำหนดมาตรการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม มีการพิจารณากฎหมายสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม (1.3.1-7) การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ (1.3-1-8)

และกำหนดระยะเวลาในการทบทวนการระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและพลังงาน ๑ ครั้ง (1.3.1-9)