เกณฑ์สำนักงานสีเขียว ปี 2565

หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน

3.3.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้กระดาษต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษต่อหน่วย
        (3) บรรลุเป้าหมาย
        (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษต่อหน่วย
        (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจานวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น



ผลการดำเนินงาน
           สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดเก็บข้อมูลการใช้ทรัพยากรกระดาษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2565 อย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้นางสาวดาวเรือง ขมแก้ว เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บ รวบรวมและรายงานผลข้อมูลการใช้กระดาษตามคำสั่งที่ 001/2565 ลงวันที่ 26 มกราคม 2565 (3.3.2-1.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ) โดยทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือนและรายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2565 ผลการเก็บรวบรวมในปี พ.ศ. 2565 ไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้คือ ปริมาณการใช้กระดาษลดลงร้อยละ 30 (3.3.2-1.2 ประกาศเป้าหมายการใช้กระดาษลดลง)
          จากการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษในแต่ละเดือนของปี พ.ศ. 2565  โดยกำหนดให้มีระยะเวลาของการรวบรวมและสรุปข้อมูลในสัปดาห์ที่ 4 หรือ ช่วงสิ้นเดือนของทุกเดือน พบว่า มีจำนวนการใช้กระดาษรวม 191.73 กิโลกรัม (3.3.2-1.3 รายงานการใช้กระดาษปี พ.ศ. 2561-2565)  โดยการใช้ในเดือนที่สูงที่สุดคือเดือนตุลาคม (49.80 กิโลกรัม) รองลงมาคือเดือนกรกฎาคม (29.88 กิโลกรัม) เดือนกุมภาพันธ์ (24.90 กิโลกรัม) และเดือนพฤษภาคม มิถุนายน สิงหาคม กันยายน และเดือนธันวาคม (12.45 กิโลกรัม) จากข้อมูลดังกล่าวสามารถแสดงให้เห็นถึงการใช้กระดาษเฉลี่ยการใช้ต่อหน่วยและต่อคนคือ 7.67 กิโลกรัม (3.3.2-2.1 รายงานการใช้กระดาษเฉลี่ยต่อหน่วย/คน/เดือน พ.ศ. 2565)
         จากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้สำนักวิทยบริการฯ ไม่สามารถดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดได้ คือ มีการใช้กระดาษเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2564 คิดเป็นร้อยละ 1800 เนื่องจาก
        1. การคำนวณปริมาณการใช้กระดาษใช้ปี พ.ศ. 2564 เป็นฐานในการคำนวณ ซึ่งอยู่ในช่วงของการแพร่ระบาดโรคไวรัสโควิด-19 โดยในปีดังกล่าวมีการใช้กระดาษเพียง 57.27 กิโลกรัม หรือ 2.39 กิโลกรัมต่อคน สามารถลดการใช้กระดาษหรือสามารถดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมาย แต่ในปี พ.ศ. 2565 เป็นปีที่เริ่มมีการเปิดภาคเรียนและมีการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริด รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในสำนักวิทยบริการฯ ที่ต้องจัดทำโครงการและการเบิกจ่ายงบประมาณที่ต้องใช้กระดาษในการส่งเป็นหลักฐาน 
         2. การใช้กระดาษเพื่อจัดทำในงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ หนังสือซึ่งทำให้ต้องใช้กระดาษในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว เช่น พิมพ์สันหนังสือและใบกำหนดส่ง เป็นต้น
        3. งานสารบรรณและงานประชาสัมพันธ์ที่ต้องใช้กระดาษในการดำเนินงาน เช่น การแจ้งผู้รับบริการเกี่ยวกับการเปิด-ปิดห้องสมุด โดยติดป้ายด้านหน้าห้องสมุด หรือการจัดทำเอกสารส่งไปยังหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องใช้กระดาษ
       4. หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเข้ามาใช้บริการห้องประชุมเป็นจำนวนมากและเข้ามาขอใช้บริการเครื่องถ่ายเอกสารสำหรับจัดพิมพ์เอกสารการประชุมทำให้มีการใช้กระดาษที่เพิ่มขึ้น
       5. การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยต้องจัดทำเป็นเอกสารส่งไปยังสำนักงานอธิการบดีเพื่อการพิจารณาคู่มือแต่ละเล่มที่จัดทำขึ้น
          ปัจจัยที่สำนักวิทยบริการฯ ไม่สามารถควบคุมได้ คือ
        1. การจัดทำเอกสารโครงการหรือการเบิกจ่ายงบประมาณในการดำเนินงาน ซึ่งในแต่ละปี สำนักวิทยบริการฯ ได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมบริการวิชาการเพิ่มมากขึ้น
        2. ในการจัดกิจกรรมนอกสถานที่ไม่สามารถใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกแห่ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ห่างไกลและอุปกรณ์ไม่รองรับหรือสามารถใช้ได้ เช่น กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การจัดห้องสมุด เป็นต้น
        แนวทางในการแก้ไข คือ
        1. การดำเนินงานภายในหน่วยงานให้ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนการจัดทำเป็นรูปแบบกระดาษเพิ่มมากขึ้น
        2. การรณรงค์และสร้างความรู้ ความเข้าใจ หรือแจ้งมาตรการการใช้ห้องประชุมให้กับผู้ใช้บริการในการช่วยกันลดการใช้กระดาษหรือการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนการพิมพ์เอกสาร
       3. การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานในแต่ละรอบปีให้พิจารณาหรือตรวจสอบเอกสารให้พร้อมก่อนการสั่งพิมพ์เพื่อลดการใช้กระดาษ