เกณฑ์สำนักงานสีเขียว ปี 2565

หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย

4.2.1 การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และ คุณภาพน้ำทิ้งจะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่ เกี่ยวข้องโดยมีแนวทาง ดังนี้
         (1) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
         (2) มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น มีตะแกรงดักเศษอาหาร มีบ่อดักไขมัน หรือมีระบบบำบัดน้ำเสียเหมาะสมกับองค์ประกอบของน้ำเสีย
         (3) มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย
         (4) มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด



ผลการดำเนินงาน
           สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย โดยเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแล (4.2.1-1.1) มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ แหล่งกำเนิดน้ำเสียของสำนักวิทยบริการฯ จะเกิดจากการล้างทำความสะอาดห้องน้ำ เกิดจากการชำระล้างมือ และเกิดจากการล้างภาชนะต่างๆ  ซึ่งสำนักวิทยการฯ ได้มีมาตรการในการจัดการน้ำเสีย ดังนี้ (4.2.1-2.1)
           1. ตรวจสอบการรั่วซึมของก๊อกน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์ห้องน้ำ
           2. รดน้ำต้นไม้ในช่วงเช้า
           3. ไม่ทิ้งเศษอาหาร กระดาษชำระลงในเครื่องสุขภัณฑ์ (อ่างล้างมือ โถส้วม หรือชักโครก) 
           4. ล้างภาชนะในที่ที่สำนักวิทยบริการฯ กำหนด 
           5. นำเศษอาหารออกจากภาชนะและใช้กระดาษชำระเช็ดคราบไขมันออกจากภาชนะให้หมด ก่อนล้างท้าความสะอาด 
           6. ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างจานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 
           7. รณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด
           สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการจัดทำถังดักไขมัน จำนวน 4 จุด ซึ่งจะเป็นที่ที่บุคลากรชำระล้างภาชนะ เช่น ชั้น 1 ชั้น 6 อาคารบรรณราชนครินทร์ 2, ห้องสำนักงานผู้อำนวยการ และ ร้านกาแฟ Think Cafe โดยจะมีผู้ปฏิบัติงานบริการ (แม่บ้าน) ล้างถังดักไขมันทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และตรวจสอบความพร้อมใช้ของถังดักไขมันอย่างสม่ำเสมอและนำเศษอาหารไปทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพและนำไปเป็นอาหารให้สัตว์เลี้ยงของบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ  (4.2.1-2.2)
           ท้้งนี้ สำนักวิทยบริการฯ จะมีการขอความอนุเคราะห์จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งของสำนักฯ