เกณฑ์สำนักงานสีเขียว ปี 2563

หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน

3.2.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย
         (3) บรรลุเป้าหมาย
         (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย
         (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจานวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น



ผลการดำเนินงาน
          สำนักวิทยบริการฯ มีการใช้พลังงานหลายชนิด ทั้งในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้าและการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในสำนักงาน แต่จะมีปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าวมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายปัจจัยรวมถึงลักษณะของกิจกรรมต่างๆ ดังนั้น สำนักวิทยบริการฯ จึงต้องกำหนดมาตรการในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า การกำหนดเวลาเปิด-ปิด การติดป้ายรณรงค์และให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานแก่บุคลากรและผู้ใช้บริการ รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
          ในการนี้สำนักวิทยบริการฯ จึงต้องเก็บข้อมูลการใช้พลังงานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิจารณาปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าว และจะต้องควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรการของสำนักวิทยบริการฯ ด้วย พร้อมทั้งมีการมอบหมายให้บุคลากร นายทวี นวมนิ่ม บรรณารักษ์ปฏิบัติการจดบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือนและรวบรวมจัดทำเป็นสถิติแต่ละปี เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์และปริมาณการใช้ไฟฟ้าของสำนักวิทยบริการฯ ตลอดจนใช้กำหนดค่าเป้าหมายในการลดการใช้พลังงานต่อไป
         ซึ่งจาการเทียบของปี 2561 และ ปี 2562 มีการกำหนค่าเป้าหมายไว้ร้อยละ 5 ผลปรากฎว่ามีค่าลดลง ร้อยละ 8.63 และปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อบุคลากร เท่ากับ 78.96 ส่วนเมื่อเทียบปริมาณการใช้ไฟฟ้าของปี 2562 และ ปี 2563 (เดือนมกราคม-มิถุนายน 2563) มีการกำหนค่าเป้าหมายไว้ร้อยละ 5 ผลปรากฎว่ามีค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 286.78 และปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อบุคลากร เท่ากับ 858.78 ดังนั้น การตั้งเป้าหมายในปี 2563 ลดการใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 5 จึงไม่บรรลุเป้าหมาย ซึ่งมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และช่วงเดือนเมษายน เป็นช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง จากการดำเนินงานพบว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น เกิดจากปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมีหลายปัจจัย ประกอบด้วย ดังนี้ 
          1) ความคลาดเคลื่อนของอุปกรณ์การวัดปริมาณการใช้ไฟฟ้า คือ มิเตอร์ผิดปกติ 
          2) การเปิดให้บริการถึง 18.30 นาฬิกา 
          3) สภาพอากาศที่ร้อนขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา
          4) เครื่องปรับอากาศ ชั้น  4-5 มีการชำรุดทั้งชั้น เมื่อมีการเปิดใช้เครื่องปรับอากาศชั้น 1-2 ต้องทำงานหนักจากปริมาณพื้นการใช้ที่มากขึ้น
          5) มีการจัดกิจกรรมของห้องสมุดหลายกิจกรรม เช่น งาน PBRU Book Fair 2020 งานอบรม เสวนาทางวิชาการ