เกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว ปี 2565

หมวดที่ 3 การจัดการทรัพยากรและพลังงาน

3.9 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จําแนกจุดหรือกิจกรรมการปรับปรุง วางแผนและดําเนินมาตรการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ/หรือการทํากิจกรรมชดเชยคาร์บอน



ผลการดำเนินงาน
          1. ประชุมคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว 2 ครั้ง (1/2565, 2/2565, 3/2565) มีการทบทวนคำสั่ง แผนพัฒนาคุณภาพ ระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม จัดทำแผนการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกำแผนประเพัฒนาห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ. 2565
          2.  สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และรวบรวมข้อมูลพื้นฐานและปริมาณการใช้ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำ กระดาษ และปริมาณขยะ เพื่อประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการ ประจำปี พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม พบว่า มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม จำนวน 94.66 tCO2e โดยจำแนกเป็น ปริมาณการใช้น้ำมันสำหรับการเดินทาง การปล่อยสารมีเทนจาก Septic tank การปล่อยสารมีเทนจากบ่อบำบัดแบบไม่เติมอากาศ การใช้สารทำความเย็นแบบ R134A ในประเภทที่ 1 จำนวน 3.75 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 3.96 ของปริมาณการก๊าซทั้งหมดในปี 2565 และมีปริมาณการใช้ไฟฟ้า ในประเภทที่ 2 จำนวน 88.06 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 93.03 ของปริมาณการก๊าซgเรือนกระจกทั้งหมดในปี 2565 และมีปริมาณการใช้น้ำ กระดาษ และปริมาณขยะ/ของเสียฝังกลบ (ขยะส่งกำจัด) ในประเภทที่ 3 จำนวน 2.85 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 3.01 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในปี 2565
          เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ร้อยละ 10 สํานักวิทยบริการฯ มีแนวโน้มสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ และมีข้อเสนอแนะในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก คือ
          จากข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด พบว่า สำนักวิทยบริการมีค่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น และยังมีการใช้ไฟฟ้าที่สูงมาก จึงควรกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ดังนี้                                    
           1. ควรติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างเคร่งครัด อาทิ การเดินทางไปราชการทางเดียวกันไปด้วยกัน ลดการใช้พาหนะส่วนตัวในการเดินทางไปราชการ เป็นต้น
           2. มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับหน่วยงาน โดยมีการสำรวจและประเมินเครื่องปรับอากาศที่มีการใช้งานมากกว่า 10 ปี หรือชำรุด เพื่อได้รับการสนับสนุนจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการปรับเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศใหม่ โดยเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 และใช้เทคโนโลยี Inverter หรือเทคโนโลยีประหยัดไฟอื่น ๆ  
           3. จัดหาระบบไฟฟ้าทางเลือก (โซล่า เซลล์) เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าพื้นฐาน
           4. ควรมีการทวนสอบการประเมินก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ โดยผู้ทวนสอบจากหน่วยงานภายนอก เพื่อรับรองการประเมินก๊าซเรือนกระจก
           5. ควรมีการกำหนดแนวทาง/แผนงานกิจกรรมเพื่อการชดเชยคาร์บอน จากการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ
           6. ควรส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ มีการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนบุคคล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง