เกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว ปี 2565

หมวดที่ 7 เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

7.1 เข้าร่วมในเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดสีเขียว หรือเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกับห้องสมุดอื่นๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการความรู้หรือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เช่น การจัดการประชุม การสัมมนา และ/หรือ การเข้าร่วมประชุม เข้าร่วมสัมมนา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม



ผลการดำเนินงาน

          สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวประจำปี 2562-2566 (ฉบับปรับปรุง) และ แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2565 ซึ่งมีแผนงานเกี่ยวกับความร่วมมือในยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างเครือข่ายและความร่วมมือด้านการพัฒนาและส่งเสริมห้องสมุดสีเขียว กลยุทธ์ที่ 7 พัฒนาความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว โดยมีการส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมสัมมนาหรือเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมร่วมกับเครือข่ายกลุ่มต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งในปีพ.ศ.2565 สำนักวิทยบริการฯ ได้ส่งบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้

          7.1 เครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว สำนักวิทยบริการฯ ส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
             7.1.1 ส่งบุคลากรเข้าร่วมเสวนาออนไลน์ เรื่อง  "การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว : บทเรียนและความท้าทาย" จำนวน 25 คน เมื่อวันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2565 แบบออนไลน์ด้วยระบบ Zoom และ Facebook Live จัดโดย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ โดยชมรมห้องสมุดสีเขียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแลกประสบการณ์ ระหว่างห้องสมุดที่ผ่านการรับรองห้องสมุด สีเขียวประจำปี พ.ศ. 2564 อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนเพื่อการต่อยอดและพัฒนาห้องสมุดให้มีความยั่งยืนต่อไป โดยมี ผศ.นรีนารถ ศรีวรนารถ รองอธิการบดี กล่าวต้อนรับและเป็นประธานเปิดโครงการเสวนา และได้รับเกียรติจากสถาบันการศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 4 สถาบัน ร่วมเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่
                1. รองศาสตราจารย์ ดร.อมร เพชรสม ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
                3. นางสาวเพชรประกายแก้ว ดวงหฤทัยทิพย์ ผู้อำนวยการกองบริหารงานสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
                4. อาจารย์ปิยวรรณ คุสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
          การเสวนาในครั้งนี้ มีการนำเสนอผลงานการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ นำสิ่งที่ได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จมาถ่ายทอด เพื่อให้เครือข่ายห้องสมุดสีเขียวทั่วประเทศ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อีกทั้งเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาห้องสมุดเพื่อนำไปสู่การเป็นห้องสมุดสีเขียว (Green Library) โดยมีผู้เข้าร่วมการเสวนาในครั้งนี้ จำนวน 602 คน ตามช่องทางดังนี้
         - รูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting จำนวน 395 คน
         - รับชมผ่านแฟนเพจเฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/LibArit จำนวน 207 คน
         ทั้งนี้ มีผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 454 คน แบ่งเป็นประเภทหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
          - ห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 363 คน
          - ห้องสมุดในหน่วยงานราชการ จำนวน 28 คน
          - ห้องสมุดโรงเรียน จำนวน 24 คน
          - ห้องสมุดประชาชน จำนวน 31 คน
          - อื่นๆ จำนวน 8 คน

โดยภาพรวมผู้เข้าร่วมฟังการเสวนามีความพึงพอใจคิดเป็น ร้อยละ 85.41
          สรุปผลที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว : บทเรียนและความท้าทาย” จาก 4 สถาบันที่ผ่านการรับรองการประเมินห้องสมุดสีเขียว ซึ่งมีประเด็นสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อ การขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวให้ประสบความสำเร็จได้ดังนี้
          1. นโยบายและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่มีต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ชัดเจน
          2. แผนกลยุทธ์และตัวชี้วัดขององค์กรที่สอดคล้องกับมหาวิทยาลัย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
          3. ผู้บริหารทุกระดับให้ความสำคัญ และควรส่งต่อแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานของห้องสมุด สีเขียวให้มีความต่อเนื่อง
          4. การกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายด้านการใช้พลังงานและทรัพยากร ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานให้ครบถ้วนชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา
          5. บุคลากรมีความเข้าใจ มีส่วนร่วม กำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานเหมือนกับการปฏิบัติงานประจำ โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดระดับบุคคลเพื่อให้เกิดจิตสำนึก ปฏิบัติให้อยู่ในชีวิตประจำวัน และ ตลอดจนมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
          6. การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ เช่น การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมของอาคาร ซึ่งจะทำให้มีการจัดการด้านพลังงานและทรัพยากรได้อย่างชัดเจน เป็นต้น
           7. การขยายผล ต่อยอดการดำเนินงานโดยจัดทำโครงการบริการวิชาการสู่สังคมไปยังกลุ่มบุคคล หน่วยงานอื่นๆ ให้เข้าใจ มีความรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงาน ทรัพยากร และการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการ Social Engagement “How to ทิ้ง เพื่อเรา เพื่อโลก” โครงการมุมความรู้และกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้แก่โรงเรียนในเขตพื้นที่ใกล้เคียงของมหาวิทยาลัย เป็นต้น
           8. การกำหนดเป้าหมายและการพัฒนางานให้ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล เพื่อให้ได้รับการรับรองและยอมรับจากหน่วยงานภายนอก รวมทั้งทำให้มาตรฐานนั้นๆ อยู่กับหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ มาตรฐานการบริการของห้องสมุด มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว มาตรฐานสำนักงานสีเขียว มาตรฐาน ISO 9001-2015 และมาตรฐาน ISO 14001-2015 เป็นต้น
           9. เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) 17 ประการ เป็นความท้าทายของทุกมหาวิทยาลัยต่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืน ซึ่งการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านห้องสมุดสีเขียวของห้องสมุดหรือแหล่งเรียนรู้ทุกประเภท สามารถช่วยสร้างกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของมหาวิทยาลัยที่ขับเคลื่อนเป้าหมายของ SDGs ในเรื่องใด
(7.1.1)

             7.1.2 สำนักวิทยบริการฯ ได้สมัครเข้ารับการตรวจประเมินตามเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว เพื่อต่ออายุการรับรอง ซึ่งสำนักวิทยบริการฯ ได้รับการตรวจประเมินฯ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2564 จากคณะกรรมการบริหารชมรมห้องสมุดสีเขียว สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ จำนวน 3 ท่าน คือ
                  1. ดร.อารีย์  ธัญกิจจานุกิจ      ประธานคณะกรรมการบริหารชมรมห้องสมุดสีเขียว                                        
                  2. คุณรุ้งทิพย์    ห่อวโนทยาน กรรมการบริหารชมรมห้องสมุดสีเขียวฝ่ายมาตรฐาน                          
                  3. คุณธนาภรณ์  ฉิมแพ         กรรมการบริหารชมรมห้องสมุดสีเขียว ฝ่ายตรวจประเมิน และได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์นรีนารถ ศรีวรนารถ รองอธิการบดี ให้การต้อนรับและร่วมให้ข้อมูลนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว การตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียวเป็นการตรวจประเมินในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom โดยคณะกรรมการฯ ได้ตรวจหลักฐานจาก
                       1) ระบบจัดเก็บผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว (Green Library System : GLS) ที่สำนักวิทยบริการฯ ได้พัฒนาขึ้นมา
                       2) นำชมผลการดำเนินงานตามเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว แบบออนไลน์ 

การตรวจประเมินจะตรวจตามเกณฑ์การประเมินห้องสมุดสีเขียว 8 หมวด ดังนี้
           1. ทั่วไป
           2. โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
           3. การจัดการทรัพยากรและพลังงาน
           4. การจัดการของเสียและมลพิษ
           5. การบริหารจัดการและการให้บริการห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
           6. บทบาทของบุคลากรห้องสมุดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
           7. เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

          ผลการประเมินสำนักวิทยบริการฯ ผ่านการตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2564 (การต่ออายุ) ซึ่งคณะกรรมการบริหารชมรมห้องสมุดสีเขียว สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงการดำเนินห้องสมุดสีเขียวให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนต่อไป โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
          - กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืน โดยวิเคราะห์ความสอดคล้องกับ SDGs 17 เป้าหมาย
          - วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก


หมวดที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (กรณีเป็นอาคารเก่า)
          - จัดทำข้อมูลปัญหา อุปสรรค แนวทางการจัดการเกี่ยวกับประเด็นของหมวด 2 แต่ละปี


หมวดที่ 3 การจัดการทรัพยากรและพลังงาน
          - จัดข้อมูลคาร์บอนฟุตปรินท์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
          - วิเคราะห์ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าและน้ำเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ใช้บริการต่อปี เพราะข้อมูลที่นำเสนอให้คณะกรรมการเป็นเพียงการใช้ไฟฟ้าและน้ำเท่านั้น
 

หมวดที่ 4 การจัดการของเสียและมลพิษ
          - วิเคราะห์น้ำเสีย ตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสีย และข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยพบว่าค่าซัลไฟล์สูงกว่าค่ามาตรฐาน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องรายงานให้มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการแก้ปัญหา รวมถึงการจัดสรรงบประมาณหรือทำบันทึกถึงมหาวิทยาลัย
          - ดำเนินการวัดค่าแสงให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยจัดสรรงบประมาณสำหรับการตรวจ
          - ดำเนินการวัดค่าเสียง ตามแต่ละจุดไม่ให้เกินตามค่ามาตรฐาน โดยจัดสรรงบประมาณสำหรับการตรวจ
 

หมวดที่ 5 การบริหารจัดการและการให้บริการห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
          - เพิ่มการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและมีการวัดผลหรือประเมินผลด้วย
          - นำเสนอความรู้หรือมุมเพิ่มขึ้นให้เข้าถึงผู้รับบริการ
 

หมวดที่ 6 บทบาทของบุคลากรห้องสมุดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
          - มีการวัดผลและประเมินความรู้ของผุู้รับบริการที่นอกเหนือจากบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ
 

หมวดที่ 7เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
          - จัดทำแนวปฏิบัติกับโรงเรียนกองทุน โรงเรียนตชด. และโรงเรียนเครือข่ายที่ทำข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
 

หมวดที่ 8 การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว
          - ทบทวนและกำหนดค่าเป้าหมายและตัวชี้วัด ปี พ.ศ. 2565 เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและเป็นแนวทางในการดำเนินงานและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดนี้จะใช้ร่วมกันระหว่างสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว
          - ให้ผู้รับผิดชอบแต่ละหมวดได้สรุปผลการดำเนินงานตามค่าเป้าหมายละตัวชี้วัดอย่างเป็นระบบ พร้อมข้อเสนอแนะ แนวทางการปรับปรุงและแก้ไข
 

ข้อสังเกตจากคณะกรรมการตรวจประเมิน
           - หมวด 1, 2, 3, 4, 8 การใส่ข้อมูลในระบบไม่ต่อเนื่อง
 

ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียว
          - ทบทวนคณะกรรมการทำงานแต่ละหมวดเนื่องจากภาระงานยังไม่ถูกกระจาย ทำให้ส่งผลต่อการกรอกข้อมูลในระบบไม่ต่อเนื่อง  
         - จัดทำตารางการตรวจสอบกรอกข้อมูลทุกวันที่ ศุกร์ที่ 4 สัปดาห์สุดท้ายของทุก 3 เดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน ธันวาคม

         - ปรับแบบฟอร์มการกรอกข้อมูลใหม่เพื่อใช้ร่วมกันระหว่างสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว
         - ให้นายวิวัฒน์ เพิ่มสุข ทำระบบการจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559-2563 และ ปี พ.ศ. 2565 เพื่อให้ผู้รับผิดชอบทุกหมวดนำข้อมูลไปใส่ในระบบให้เรียบร้อย รวมถึง จัดทำระบบการให้คะแนนประเมินตนเองเบื้องต้นเพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานแต่ละหมวด
        - จัดทำระบบการเก็บภาพกิจกรรม โดยให้จัดระบบตามวันที่ จากนั้นให้ผู้รับผิดชอบแต่ละหมวดถึงภาพไปใส่ในแต่ละหมวดหมู่ให้ชัดเจน

(7.1.2)

              7.1.3 สำนักวิทยบริการฯ ได้ขอรับการประเมินสำนักงานสีเขียว ในปี พ.ศ. 2563 และได้รับการตรวจประเมินเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว (Green Office) ปี 2563 เมื่อวันจันทร์ ที่ 28 กันยายน พ.ศ.2563 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้สำนักวิทยบริการฯ ผ่านเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว ระดับดีมาก(เหรียญเงิน)
              จากการได้รับการประเมิน ดังกล่าว ในปีพ.ศ. 2565 สำนักวิทยบริการฯ ส่งเสริม/สนับสนุนให้บุคลากร จำนวน 25 คน เข้ารับการอบรมออนไลน์ในระบบการเรียนรู้ออนไลน์ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการจัดการพลังงาน ของเสีย  การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งได้ดำเนินการฝึกอบรม จำนวน 2 ด้าน ดังนี้
                    1. หลักสูตร เติมเต็มประเด็นร่วมน้ำ พลังงาน อาหาร
                    2. หลักสูตร วางรากฐานพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

         7.2 เครือข่ายโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและโรงเรียนกองทุนเพื่อการศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์
             7.2.1 สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการจัดกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและโรงเรียนกองทุนเพื่อการศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 5 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนกองทุนการศึกษา 3 โรงเรียน (โรงเรียนบ้านดอนขุนห้วย และโรงเรียนบ้านแม่คะเมย กับ โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ (ไม่ได้อยู่ในโครงการ) และ โรงเรียนเครือข่ายขนาดเล็ก 3 โรงเรียน (โรงเรียนโป่งสลอด โรงเรียนบ้านหนองโสนและโรงเรียนวัดโพธิ์ลอย) ดำเนินการ จำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่
                  1) กิจกรรม Upcycling Paper Art ชุด “ป๊อบอัพสัตว์พูด”
                  2) กิจกรรม Upcycling Paper Art ชุด “บ้านต้นไม้”
                  3) กิจกรรมสิ่งแวดล้อมเรื่อง อาร์ตมาเช่ 
                  4) กิจกรรมสิ่งแวดล้อมเรื่อง การแยกขยะ

           กิจกรรมครั้งนี้สอดคล้องกับมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม คือ มาตรการการใช้ทรัพยากรอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1) ใช้กระดาษอย่างคุ้มค่า
2) งดใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ้นเปลือง
3) ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น ควบคุม และป้องกันของเสียให้เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด
4) ให้ความรู้ การฝึกทักษะ สร้างจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ
5) สนับสนุนการนำทรัพยากรที่ชำรุด มาซ่อมแซมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
 

          7.3 อบรมจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
               7.3.1 ส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมออนไลน์ จำนวน 21 คน ในหัวข้อ กู้ชีพกู้ใจ...ใครๆ ก็ทำได้  จัดโดยกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

          นอกจากนี้สำนักวิทยบริการฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการดำเนินงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนกองทุนการศึกษา และโรงเรียนเครือข่าย พื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 19 โรงเรียน