เกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว ปี 2566

หมวดที่ 3 การจัดการทรัพยากรและพลังงาน

3.9 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จําแนกจุดหรือกิจกรรมการปรับปรุง วางแผนและดําเนินมาตรการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ/หรือการทํากิจกรรมชดเชยคาร์บอน



ผลการดำเนินงาน
          สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน อาทิ ข้อมูลพื้นที่อาคารสำนักวิทยบริการฯ และพื้นที่ภายนอกโดยรอบอาคาร จำนวนบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ จำนวนผู้รับบริการ และเวลาทำการ โดยมีการรวบรวมข้อมูลตามขอบเขตประเภทที่ 1 ได้แก่ ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากการเดินทางไปราชการ ปริมาณสารมีเทนจากระบบ Septic tank ปริมาณมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศ ปริมาณการใช้สารทำความเย็น R134A และปริมาณการใช้สารดับเพลิง การเก็บข้อมูลตามขอบเขตประเภทที่ 2 คือ ปริมาณการใช้ไฟฟ้า และการเก็บข้อมูลตามขอบเขตประเภทที่ 3 ประกอบด้วย ปริมาณการใช้น้ำประปา ปริมาณการใช้กระดาษ และปริมาณขยะ และมีการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 (3.9-1) มีปริมาณ GHGs 198.20 tCO2e พ.ศ. 2564 (3.9-2) มีปริมาณ GHGs 123.87 tCO2e พ.ศ. 2565 (3.9-3) มีปริมาณ GHGs 96.38 tCO2e  และ พ.ศ. 2566 (3.9-5)  พบว่า สำนักวิทยบริการฯ มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) รวมทุกประเภท จำนวน 157.35 tCO2e โดยจำแนกเป็น
           ประเภทที่ 1 ปริมาณการใช้น้ำมันสำหรับการเดินทาง การปล่อยสารมีเทนจาก Septic tank การปล่อยสารมีเทนจากบ่อบำบัดแบบไม่เติมอากาศ และการใช้สารทำความเย็นแบบ R134A มีปริมาณ GHG จำนวน 5.57 tCO2e
          ประเภทที่ 2 ปริมาณการใช้ไฟฟ้า มีปริมาณ GHG จำนวน 148.97 tCO2e  
          ประเภทที่ 3 ปริมาณการใช้น้ำประปา กระดาษ และขยะ/ของเสียฝังกลบ (ขยะส่งกำจัด) มีปริมาณ GHG จำนวน 2.80 tCO2e
        รวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ปี พ.ศ. 2566 จำนวนทั้งสิ้น 157.35 tCO2e (3.9-5)
 
          จากข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ในปี พ.ศ. 2565 (ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม) ซึ่งใช้เป็นปีฐานในการเปรียบเทียบคำนวนค่าเป้าหมายการลด GHGs ในปี พ.ศ. 2566 พบว่า ปีพ.ศ. 2565 มีปริมาณการใช้กระดาษและน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ มีการใช้กระดาษในการจัดทำผลงานทางวิชาการ (คู่มือการปฏิบัติงาน) และมีการอนุเคราะห์กระดาษกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ที่เข้ามาใช้บริการห้องประชุมของสำนักวิทยบริการฯ ในการจัดทำเอกสารการประชุมต่าง ๆ และมีผู้ใช้บริการในส่วนการประชุม ในสำนักวิทยบริการฯ เพิ่มมากขึ้น จึงมีการใช้กระดาษและน้ำเพิ่มขึ้น                         
          จากการเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ปี พ.ศ. 2565 กับปี พ.ศ 2564 พบว่า มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดลง 27.49 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 22.19 และเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ลดลงร้อยละ 10 พบว่าสำนักวิทยบริการฯ สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้                        
ข้อเสนอแนะ                        
          จากข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2565 พบว่า สำนักวิทยบริการมีค่าการใช้น้ำและกระดาษเพิ่มขึ้น ควรมีการปรับปรุงมาตรการด้านการบริการ ดังนี้                    
          1. จัดทำประกาศนโยบาย ขอบเขต แนวปฏิบัติการให้บริการห้อง/พื้นที่การประชุม อบรม สัมมนา ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับทราบและตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 
          2. จัดหาหรือพัฒนาอุปกรณ์ช่วยประหยัดน้ำเพิ่มติม                    
          3. ควรมีการกำหนดแนวทาง/แผนงานกิจกรรมเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ                    
          4. ควรส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ มีการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนบุคคล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
 
          และในปี พ.ศ. 2566 ได้มีการกำหนดค่าเป้าหมายการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ในทุกขอบเขตประเภท ตั้งแต่เดือน มกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2566 โดยใช้ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของปี พ.ศ. 2565 เดือน ม.ค.-มิ.ย. เป็นปีฐานเนื่องจาก สำนักวิทยบริการฯ เปิดให้บริการในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์ และเปิดบริการตามปกติ 
          จากข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เดือน ม.ค.-มิ.ย. 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2565 พบว่า ในปี พ.ศ. 2566 ไม่สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ คือ มีปริมาณ GHG เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 69.66
          เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยต่อคนในปี พ.ศ. 2565 และ พ.ศ. 2566 พบว่า ในปี พ.ศ. 2566 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยต่อคน = 0.0061 tCO2e โดยลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 42.33 อันเนื่องมาจากปัจจัยดังนี้
          1. การเปิดบริการตามปกติ หลังจากสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลายลง ทำให้มีการรับบริการเพิ่มขึ้น การใช้พลังงานและทรัพยากร และปริมาณของเสียย่อมเพิ่มขึ้นด้วย                        
          2. ความผันผวนของผู้รับบริการที่อาจมีเพิ่มขึ้นหรือน้อยลง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความผันผวนของปริมาณ GHGs เฉลี่ยต่อคน ดังนั้น หากมีผู้รับบริการเพิ่มขึ้น ปริมาณ GHGs เฉลี่ยต่อคน ก็จะลดลง
          ดังนั้นจึงกำหนดค่าเป้าหมายในปี 2566 คือ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยต่อคนร้อยละ 20 
 
          สาเหตุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ในปี พ.ศ. 2566 มีปริมาณเพิ่มขึ้นนั้น เนื่องจาก มีปริมาณการใช้นำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ มีการเดินทางไปปฏิบัติงานนอกพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลท้องถิ่น และมีปริมาณการใช้น้ำประปาเพิ่มขึ้นจากปี 2565 เนื่องจากมีการใช้บริการห้องประชุมเพิ่มขึ้น    และมีการใช้ห้องน้ำเพิ่มขึ้นด้วย ประกอบกับระบบน้ำอัตโนมัติสำหรับการรดน้ำในสวนด้านหน้าอาคารบรรณราชนครินทร์ชำรุด จึงต้องใช้น้ำประปารดน้ำในสวนดังกล่าวแทน จึงทำให้มีปริมาณการใช้น้ำเพิ่มขึ้น                            
          เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ปี พ.ศ. 2566 (ม.ค.-มิ.ย.) กับปี พ.ศ 2565 พบว่า มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นจากปี 2565  แต่ถ้าหากพิจารณาปริมาณ GHGs เฉลี่ยต่อคน พบว่า ลดลงร้อยละ 42.33 และเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงเฉลี่ยต่อคน ร้อยละ 20 พบว่า สำนักวิทยบริการฯ มีแนวโน้มจะสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยต่อคนได้ตามเป้าหมายที่กำหนด                         
ข้อเสนอแนะ                            
          จากข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2566 พบว่า สำนักวิทยบริการมีค่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำประปา และมีการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ควรมีการทบทวน ตรวจสอบ การดำเนินงานตามมาตรการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำประปา และการลดการใช้ไฟฟ้า และปรับปรุงมาตรการดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพต่อไป (3.9-5)