เกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว ปี 2566

หมวดที่ 8 การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว

8.1 ผู้บริหารห้องสมุด ต้องกําหนดตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยติดตาม ประเมินผลเป็นประจําทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งในเรื่องต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
    - ประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม เช่น Energy Utilization Index(EUI)
    - ประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะ เช่น ปริมาณขยะลดลง และร้อยละของปริมาณขยะที่นํามา reuse, recycle เพิ่มขึ้น
    - ประเมินประสิทธิภาพการจัดการน้ําเสีย
    - ประเมินประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ไม่มีเรื่องร้องเรียนจากผู้รับบริการเกี่ยวกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคาร จํานวนครั้งของการล้างระบบปรับอากาศต่อปี เป็นต้น
    - ประเมินประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก เช่น ร้อยละของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรต่อจํานวนผู้มารับบริการ เป็นต้น



ผลการดำเนินงาน
        สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพตามตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม  สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวตามแผนงานและมาตรการที่กำหนดใน แผนพัฒนาห้องสมุดปี พ.ศ. 2566 โดยมีบุคลากรฝ่ายงานต่างๆ ของสำนักวิทยบริการฯ เป็นผู้ขับเคลื่อน ตั้งแต่การประชุมคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ติดตาม ตรวจสอบ และรายงานผลการดำเนินงาน ปี พ.ศ. 2565 เพื่อนำมาปรับตัวชี้วัดในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งสำนักวิทยบริการได้กำหนดตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้น 9 ตัวชี้วัด ครอบคลุมประสิทธิภาพ 6 ด้าน ประกอบด้วย  
        1. ประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม
             - Energy Utilization Index (EUI) >/=0
             - ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 30
        2. ประสิทธิภาพการจัดการขยะ
             - ลดปริมาณขยะและของเสีย ร้อยละ 30
        3. ประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสีย
             - ลดปริมาณการใช้น้ำ ร้อยละ 10
       4. ประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ
            - ผลการประเมินกิจกรรม 5 ส. เฉลี่ยร้อยละ 80
       5. ประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก
            - ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 20
            - ลดปริมาณการใช้กระดาษ ร้อยละ 15
            - ลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 30
            - ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 30
            - ลดปริมาณการใช้น้ำ ร้อยละ 10
            - ลดปริมาณขยะและของเสีย ร้อยละ 30

       6. ประสิทธิภาพการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

- ร้อยละของจำนวนบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ ที่ผ่านการทดสอบความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 80 ซึ่งผลการดำเนินงานมีดังนี้ (8.1-1.1)(8.1-1.2)(8.1-1.3)