เกณฑ์สำนักงานสีเขียว ปี 2566

หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน

3.2.5 มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วย
        (3) บรรลุเป้าหมาย
        (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย เปรียบเทียบต่อพื้นที่ หรือเปรียบเทียบต่อระยะทาง เป็นต้น
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ามันเชื้อเพลิงต่อหน่วย
        (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม



ผลการดำเนินงาน
          สำนักวิทยบริการฯ มีการเก็บข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทุกเดือนและข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วย ในปี พ.ศ. 2566 ตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2566 โดยมีการมอบหมายให้นายนายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ ตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษา ตามคำสั่งที่ 005/2566 ลงวันที่ 3 เมษายน 2566 (3.2.5-1.1) เป็นผู้บันทึกข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทุกเดือน (3.2.5-1.2) ข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วย (3.2.5-2.1)  และรวบรวมจัดทำเป็นสถิติแต่ละปีเพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์และปริมาณการน้ำมันเชื้เพลิงของสำนักฯ

         ผลการดำเนินกิจกรรม จากสถิติการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในปี พ.ศ. 2566 พบว่า อัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น โดยเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2565 เป็นฐาน (ข้อมูล มกราคม–มิถุนายน พ.ศ. 2566) โดยปี พ.ศ. 2565 มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 322.98 ลิตร จำนวนที่ไปราชการ 101 คน เฉลี่ยต่อคนใช้น้ำมัน 3.20 ลิตร ส่วน ปี พ.ศ. 2566 มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 832 ลิตร จำนวนที่ไปราชการ 83 คน เฉลี่ยต่อคนใช้น้ำมัน 10.02 ลิตร ซึ่งมีปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 6.83 ลิตร คิดเป็นค่าร้อยละ 213.45 ซึ่งไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด คือ ร้อยละ 30 ของการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงเฉลี่ยต่อคน (3.2.5-3.1)

อย่างไรก็ตามข้อสังเกต พบว่า ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงเวลาเดียวกันมีจำนวนอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น  ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้

     1. จำนวนครั้งของการไปราชการปฏิบัติภาระกิจ/ดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม มีปริมาณที่ไม่เท่ากัน ได้แก่ ปี พ.ศ. 2565 ไปราชการ จำนวน 16 ครั้ง และ ปี พ.ศ. 2566 ไปราชการ จำนวน 13 ครั้ง

         2. ระยะทางในการไปราชการปฏิบัติภาระกิจ/ดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ที่มีความแตกต่างกัน เช่น ไปราชการในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กับ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

          3. จำนวนบุตลากรของสำนักวิทยบริการฯ ที่ไปราชการ