สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำมาตรการการใช้พลังงานและทรัพยากร ลงนามวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ได้แก่ การใช้น้ำ การใช้ไฟฟ้า การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง โดยได้มีการกำหนดเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรอื่นๆ ด้วย ได้แก่ กระดาษ (ข้อ 10) (3.3.1-1) ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2566 สำนักวิทยบริการฯ กำหนดค่าเป้าหมายเกี่ยวกับกระดาษคือ การลดปริมาณการใช้กระดาษ ร้อยละ 15 โดยใช้ฐานของปี พ.ศ. 2565 มาเป็นข้อมูลพื้นฐาน (3.3.1-2)
จากมาตรการดังกล่าวสำนักวิทยบริการฯ ได้สร้างความตระหนักในการใช้กระดาษโดยดำเนินการดังนี้
- การประกาศมาตรการการใช้กระดาษให้บุคลากรรับทราบผ่านช่องทางการสื่อสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
- การใช้กระดาษจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- การรณรงค์การใช้กระดาษให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด โดยเน้นให้ใช้กระดาษ 2 หน้า ก่อนนำกระดาษนั้นไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นต่อไป (3.3.1-1.1)
สำนักวิทยบริการฯ มุ่งเน้นให้เกิดการใช้กระดาษให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยสื่อสารขอความร่วมมือให้บุคลากรรับทราบในการใช้กระดาษแต่ละครั้งต้องมีการตรวจสอบข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ก่อนสั่งพิมพ์เอกสาร รวมถึงการบำรุงดูแลรักษาเครื่องถ่ายเอกสารให้มีสภาพพร้อมใช้งานเพื่อลดการสูญเสียกระดาษหรือขยะจากกระดาษ รวมถึงการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามาแทนการใช้กระดาษเพื่อการสื่อสารภายในองค์กร
(3.3.1-2.1)
สำนักวิทยบริการฯ มีมาตรการในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทดแทนการใช้กระดาษด้วยการใช้ระบบสารบรรณและจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัย (ระบบ PBRU E-doc) เพื่อการสื่อสารกับมหาวิทยาลัยและระหว่างหน่วยงานภายนอก รวมถึงการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรด้วยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการประชุม การจัดเก็บข้อมูล และการติดต่อประสานงานเพื่อทดแทนการใช้กระดาษ เช่น การใช้ messenger, Line, E-mail, Google drive, Google doc, Google sheet, https://arit.pbru.ac.th, Digital signage เป็นต้น
(3.3.1-3.1)
สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินงานตามมาตรการการนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่ โดยใช้กระดาษ 2 หน้าหรือซองกระดาษที่ยังมีสภาพดีนำกลับมาใช้ซ้ำ เพื่อลดการใช้กระดาษหรือความสิ้นเปลืองทั้งภายในสำนักงานและพื้นที่บริการแต่ละชั้น
(3.3.1-4.1)