เกณฑ์สำนักงานสีเขียว ปี 2566

หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย

4.2.1 การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และ คุณภาพน้ำทิ้งจะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่ เกี่ยวข้องโดยมีแนวทาง ดังนี้
         (1) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
         (2) มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น มีตะแกรงดักเศษอาหาร มีบ่อดักไขมัน หรือมีระบบบำบัดน้ำเสียเหมาะสมกับองค์ประกอบของน้ำเสีย
         (3) มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย
         (4) มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด



ผลการดำเนินงาน

        สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ 005/2566 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2566 โดยในหมวดที่ 4 การจัดการของเสีย คณะกรรมการจะมีหน้าที่กำหนดแผนงาน และมาตรการการจัดการขยะ ของเสีย และน้ำทิ้ง ดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่างเหมาะสม ดำเนินการจัดการน้ำเสียของสำนักวิทยบริการฯ และทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง จัดทำสรุป และรายงานผลการดำเนินงาน โดยได้มอบหมายให้ นายมนตรี ภูอิน และผู้ปฏิบัติงานบริการ (แม่บ้าน) ตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง และดูแลถังดักไขมัน (4.2.1-1.1 หน้า 4)) และมีมาตรการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติ (4.2.1-1.2 หน้ 7)

            สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการติดตั้งถังดักไขมันบริเวณพื้นที่ที่บุคลากรรับประทานอาหาร จำนวน 3 จุด ได้แก่ อาคารบรรณราชนครินทร์ 2 ชั้น 1, ชั้น 6 และห้องรับประทานสำนักงานผู้อำนวยการ โดยกำหนดผู้รับผิดชอบคือ ผู้ปฏิบัติงานบริการ (แม่บ้าน) ทำหน้าที่ล้างถังดักไขมันทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และตรวจสอบความพร้อมใช้ของถังดักไขมันอย่างสม่ำเสมอและนำเศษอาหารไปทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ถังหมักรักษ์โลก ตลอดจนนำไปเป็นอาหารให้สัตว์เลี้ยงของบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ (4.2.1-2.1), (4.2.1-2.2) ทั้งนี้สำนักวิทยบริการฯ จะมีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสียเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถนำไปใช้รดน้ำต้นไม้ (4.2.1-3.1

           การบำบัดน้ำเสียสำนักวิทยบริการฯ  จะดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง เพื่อส่งไปยังศูนย์วิทยาศาสตร์วัดค่าคุณภาพน้ำทิ้งของสำนักวิทยบริการฯ ซึ่งในปี พ.ศ. 2566 ได้มีการตรวจสอบและวัดคุณภาพน้ำทิ้ง จำนวน 2 จุด  คือ จุดปล่อยน้ำทิ้งอาคารบรรณราชนครินทร์ 2 พบว่า ผลการตรวจสอบทั้งหมด 8 รายการ ไม่เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด (4.2.1-4.1), (4.2.1-4.2)