สำนักวิทยบริการฯ มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงานทั้งทางตรง และทางอ้อม ตามกิจกรรมได้ 7 ด้าน 17 กิจกรรม ตามขอบเขตและบริบทของสำนักงาน (1.3.1-1) ดังนี้
7 ด้าน ประกอบด้วย
1. กระดาษ
2. อาหาร
3. น้ำ
4. น้ำมันเชื้อเพลิง
5. วัสดุสำนักงาน
6. ไฟฟ้า , อุปกรณ์ไฟฟ้า
7. ทรัพยากรสารสนเทศ
17 กิจกรรม ประกอบด้วย
1. การพิมพ์เอกสาร/การสำเนาเอกสาร
2. การประชุม
3. การรับประทานอาหาร
4. การทำความสะอาดภาขนะใส่อาหาร
5. การทำความสะอาดสำนักงาน (โดยใช้เครื่องขัดพื้น/เครื่องดูดฝุ่น)
6. งานทำความสะอาดห้องน้ำ
7. ถ่านหรือแบตเตอรี่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
8. การจัดการพื้นที่สีเขียว
9. การจัดการสัตว์พาหะนำโรค
10.การเดินทางไปราชการ
11.การจัดเก็บและเบิกใช้วัสดุสํานักงาน
12.กิจกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้า เกิดการลัดวงจร
13.การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
14.การบำรุงรักษาลิฟท์
15.การซ่อมบำรุงเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและแสงสว่าง
16.การบำรุงรักษาเครื่องสำเนาเอกสาร
17.งานจัดเตรียม/ซ่อมแซมทรัพยากรสารสนเทศ
มีการระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากร วัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละกิจกรรมครบถ้วน โดยใช้ตารางวิเคราะห์ระดับความมีนัยสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์การประเมินนัยสำคัญของลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้านการใช้ทรัพยากร (Resource Usage) และเกณฑ์การประเมินนัยสำคัญของลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้านมลภาวะ (Pollution) (3.1.1-2)
ทั้งนี้ สามารถระบุระดับนัยสำคัญได้ 3 ระดับ คือ L , M , H ส่วนใหญ่ประเด็นปัญหาของสำนักฯ อยู่ในระดับ L และ M
ด้านทรัพยากร (Input) มีค่าความรุนแรงมากที่สุดที่ 42 มีค่าความรุนแรงน้อยที่สุดที่ 18 ส่วน
ด้านมลพิษ (Output) มีค่าความรุนแรงมากที่สุดที่ 42 มีค่าความรุนแรงน้อยที่สุดที่ 24 (1.3.1-3)
สำนักวิทยบริการฯ มีการประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ(1.3.1-4) สามารถการจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ ตามกิจกรรม
ด้านทรัพยากร (Input) คือ ปัญหาด้านไฟฟ้า
ส่วนด้านมลพิษ (Output) คือ ถ่านหรือแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว , ขยะจากบรรจุภัณฑ์ , หลอดไฟใช้แล้ว , ขยะจากการซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ
จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม สำนักฯ ได้มีการวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญได้ทั้งหมด 6 ข้อ (1.3.1.5)