เกณฑ์สำนักงานสีเขียว ปี 2564

หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย

4.1.1 มีการดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และการจัดการขยะอย่างเหมาะสม มีแนวทาง การดำเนินงาน ดังนี้
        (1) มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจาก กิจกรรมภายในสำนักงาน และจัดวางถังขยะ ตามพื้นที่ทำงานต่างๆอย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่ม ตรวจสอบ
        (2) มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและ ชัดเจนทุกถังที่สุ่มตรวจสอบ
        (3) มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดย จะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละเภทจาก ข้อ (1) อย่างเพียงพอ
        (4) มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
        (5) มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับ อนุญาตตามกฎหมาย
        (6) มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสม)
        (7) ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง)



ผลการดำเนินงาน
          สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดและถ่ายทอดนโยบาย ประกาศ มาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว (ข้อ 12 มาตรการการจัดการของเสีย) เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 และมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานบริการทั่วไป ดำเนินการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นทุกวัน (4.1.1-1)

         โดยสำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการจัดเตรียมและติดป้ายบ่งชี้ถังขยะแต่ละประเภทจำนวน  4 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์/ขยะเปัยก/ขยะย่อยสลายได้ และขยะอันตราย โดยกำหนดจุดวางถังขยะ จำนวน 10 จุด ทั้งในส่วนของสำนักงาน 1 จุด และพื้นที่บริการ 9 จุด อีกทั้งกำหนดจุดคัดแยกขยะและจุดพักขยะจำนวน 1 จุด 

         สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดเส้นทางการจัดการขยะแต่ละประเภทอย่างชัดเจน  โดยกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานบริการทั่วไป (แม่บ้าน) มีหน้าที่รับผิดชอบคัดแยก ตรวจสอบ ชั่งน้ำหนักและบันทึกข้อมูลปริมาณขยะ/วัสดุแต่ละประเภทในแต่ละวัน แล้วจัดส่งข้อมูลปริมาณขยะเป็นรายเดือน รวมทั้งจัดส่งขยะให้กับ อบต. นาวุ้ง (4.1.1-2)