เกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว ปี 2566

หมวดที่ 4 การจัดการของเสียและมลพิษ

4.1 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการขยะ โดยเลือกวิธีการจัดการที่เหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ํา (reuse) การนํากลับมาใช้ใหม่ (recycle) มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกและบันทึกปริมาณขยะ มีพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกําจัดและมีวิธีการส่งกําจัดที่เหมาะสมสําหรับขยะแต่ละประเภท



ผลการดำเนินงาน
        สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดแผนงานและมาตรการด้านการจัดการของเสียและมลพิษ ตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2566 () โดยมีการรณรงค์ไม่ใช้กล่องโฟมและถุง พลาสติก (Reduce) การใช้กระดาษให้ครบ 2 หน้า (Reuse) การนำวัสดุมาประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ Recycle (4.1-1) และได้จัดหาถังขยะประเภททั่วไป ถังขยะประเภทรีไซเคิล ไว้ให้บริการตามจุดพื้นที่ต่างๆ ในอาคารสำนักวิทยบริการฯ ทั้งนี้ในบางพื้นที่ได้มีการจัดหาถังขยะประเภทอันตราย และขยะเปียกหรือขยะอินทรีย์ เพื่อให้พนักงานและนักศึกษาได้ทิ้งขยะตามถังที่แยกประเภทไว้ โดยมีผู้ปฏิบัติงานบริการทั่วไป (แม่บ้าน) ของอาคารสำนักวิทยบริการฯ รวบรวม คัดแยก ชั่งน้ำหนัก และนำส่งต่อไปยังจุดรับส่งขยะของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อพนักงานเทศบาลเมืองเพชรบุรีได้รับเอาขยะแต่ละประเภทไปดำเนินการกำจัดตามระบบต่อไป (4.1-2)          ในส่วนของขยะรีไซเคิล ผู้ปฏิบัติงานบริการทั่วไปนำมาชั่ง บันทึก และแยกรวมไว้ที่จุดคัดแยกส่วนกลาง ส่งไปจำหน่าย เป็นรายได้ของสำนักวิทยบริการฯ นอกจากนี้สำนักวิทยบริการฯ ยังมีการคัดแยกขยะประเภทหนังสือพิมพ์เก่าย้อนหลัง 1 ปี ที่งานบริการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องได้คัดแยกทำดรรชนีวารสารแล้ว และแก้วกาแฟ นำมาจัดทำสิ่งประดิษฐ์ "อาร์ทเปเปอร์มาเช่" สำหรับปลูกพืชดูดซับสารพิษไว้ตามจุดปฏิบัติงานและจุดบริการต่าง ๆ (4.1-3)  ทั้งนี้ สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการบันทึกปริมาณขยะทุกวัน โดยผู้ปฏิบัติงานบริการทั่วไป (4.1.4)   

     เมื่อเปรียบเทียบปริมาณขยะโดยภาพรวมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2566 พบว่า สำนักวิทยบริการฯ สามารถลดปริมาณขยะได้ตามเป้าหมายที่กำหนดร้อยละ 15 (4.1-5