เกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว ปี 2566
หมวดที่ 4 การจัดการของเสียและมลพิษ
4.2 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการน้ําเสียโดยเริ่มจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ํา เพื่อเลือกแนวทางในการจัดการน้ําเสียอย่างเหมาะสม เช่น การเลือกใช้น้ํายาทําความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การติดตั้งระบบบําบัดน้ําเสีย เป็นต้น มีการดูแลและตรวจสอบระบบบําบัดน้ําเสียอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการลดปริมาณการใช้น้ํา หรือใช้น้ําอย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการดำเนินงาน
สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ 005/2566 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2566 (
4.2-1) โดยคณะกรรมการจะมีหน้าที่กำหนดแผนงาน และมาตรการการจัดการขยะ ของเสีย และน้ำทิ้ง ดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่างเหมาะสม การจัดการน้ำเสียของสำนักวิทยบริการฯ และทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง จัดทำสรุป และรายงานผลการดำเนินงาน โดยได้มอบหมนายให้นายมนตรี ภูอิน ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง (
4.2-2) ในการบำบัดน้ำเสียสำนักวิทยบริการฯ จะเก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง เพื่อส่งไปยังศูนย์วิทยาศาสตร์วัดค่าคุณภาพน้ำทิ้งของสำนักวิทยบริการฯ ซึ่งในปี พ.ศ. 2566 ได้มีการตรวจสอบและวัดคุณภาพน้ำทิ้ง จำนวน 2 จุด คือ จุดปล่อยน้ำทิ้งอาคารบรรณราชนครินทร์ 2 พบว่า ผลการตรวจสอบทั้งหมด 8 รายการ ไม่เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด (
4.2-3,
4.2-4)
นอกจากนี้สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการกำหนดมาตรการการใช้น้ำให้เหมาะสม หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ นำน้ำที่เหลือจากการอุปโภคกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด เช่น
1. รณรงค์ด้วยการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ สร้างจิตสำนึก เรื่องการใช้น้ำอย่างประหยัด (
4.2-5)
2. ปิดวาล์วน้ำ ก๊อกน้ำหรืออุปกรณ์การใช้น้ำุทุกชนิดให้สนิทหลังการใช้งาน ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้เมื่อไม่ได้ใช้งาน (
4.2-6)
3. กรณีชักโครกรุ่นเก่าให้นำน้ำบรรจุในขวดพลาสติกนำไปไว้ในถังน้ำชักโครก ในการชะล้างแต่ละครั้ง (
4.2-7)
4. น้ำน้ำที่เหลือจากการดื่มหรือน้ำที่ใช้ล้างภาชนะเป็นน้ำสุดท้าย ให้นำกลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ในอาคาร (
4.2-8)
5. การรดน้ำต้นไม้ให้ใช้สปริงเกอร์หรือฝักบัว กำหนดให้รดน้ำต้นไม้เวลา 06.00-08.00 น. ทั้งนี้ให้ดูความเหมาะสมว่าควรรดน้ำหรือไม่ ยกเว้นฤดูฝนหรือวันที่มีฝนตก (
4.2-9)
6. ตรวจสอบอุปกรณ์และใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำเดือนละ 1 ครั้ง หากพบเห็นอุปกรณ์ ระบบประปาชำรุดให้แจ้งหน่วยงานอาคารสถานที่เพื่อซ่อมบำรุงทันที (
4.2-10)
7. จดบันทึกปริมาณการใช้น้ำจากมิเตอร์วัดน้ำทุกเดือน และเปรียบเทียบการใช้น้ำต่อจำนวนบุคลากร และผู้ใช้บริการ เดือนละครั้ง (
4.2-11)
8. เลือกสุขภัณฑฺ์ประหยัดน้ำ และใช้หัวก๊อกน้ำที่่มีอุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของน้ำ (ให้เปลี่ยนเมื่อมีการชำรุด) (
4.2-12)