เกณฑ์สำนักงานสีเขียว ปี 2566

หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน

3.1.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วย
         (3) บรรลุเป้าหมาย
         (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วย
         (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น



ผลการดำเนินงาน

           สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดกิจกรรมการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียว ตั้งแต่การกำหนดมาตรการการใช้ทรัพยากรน้ำและค่าเป้าหมายการใช้พลังงานและทรัพยากร (3.2.1) รวมถึงการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ทรัพยากรน้ำ การตรวจสอบอุปกรณ์น้ำ การรายงานผลการใช้ทรัพยากรน้ำและการเปรียบเทียบค่าเป้าหมายในการใช้น้ำในแผนปฏิบัติการสำนักงานสีเขียว ปี พ.ศ. 2566 มีผลการใช้น้ำตั้งแต่เดือน มกราคม - เดือน มิถุนายน โดยกำหนดให้ปี พ.ศ. 2565 (เป็นปีฐาน) ในปี พ.ศ. 2563-2566 ดังนี้ (3.1.2-1.1), (3.1.2-2.1)
           ปี พ.ศ. 2563 มีปริมาณการใช้น้ำ 1,400 ลบ.ม. ลดลงจากปี พ.ศ. 2562 ในปี 2562 ไม่สามารถนำมาคำนวณได้เนื่องจากเกิดการคลาดเคลื่อนของตัวเลขของมิเตอร์น้ำ
           ปี พ.ศ. 2564 มีปริมาณการใช้น้ำ 1,363 ลบ.ม. ลดลงจากปี พ.ศ. 2563 จำนวน 37 ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 2.64 บรรลุค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 0.1 
           ปี พ.ศ. 2565 มีปริมาณการใช้น้ำ 1,185 ลบ.ม. ลดลงจากปี พ.ศ. 2564 จำนวน 178 ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 13.05บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 0.1 (เป็นปีฐาน)
           ปี 2566 สำนักวิทยบริการฯ มีการใช้น้ำทั้งหมด 3,069 ลูกบาศก์เมตร เฉลี่ยต่อผู้ใช้จำนวน 11,626 คน  คิดเป็น 0.26 ลูกบาศก์เมตรต่อคน ในปี 2565 มีการใช้น้ำทั้งหมด จำนวน 1,185 ลูกบาศก์เมตร เฉลี่ยต่อผู้ใช้จำนวน 4,088 คน คิดเป็น 0.28 ลูกบาศก์เมตรต่อคน  เมื่อเทียบปริมาณการใช้น้ำระหว่างปี 2566 กับ ปี 2565 พบว่ามีปริมาณการใช้น้ำที่ลดลง จำนวน 0.02 ลูกบาศก์เมตรต่อคน คิดเป็นร้อยละ 5.61 ซึ่งไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด คือ ร้อยละ 10 ของปี 2566

การวิเคราะห์สาเหตุที่ไม่บรรลุตามเป็นหมาย (3.1.2-3.1)

  1. มีจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้นทำให้ปริมาณการใช้น้ำจึงเพิ่มมากตามขึ้นไปด้วย
  2. อุปกรณ์ในหน่วยงานบางจุดยังไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ที่ช่วยในการประหยัดน้ำ
  3. ขาดการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
  4. ขาดการตรวจสอบอุปกรณ์ ปั้มน้ำ ท่อน้ำและแนวการวางท่อน้ำที่รั่วซึมของน้ำ
แนวทางการแก้ไข
  1. ควรมีการรณรงค์ให้ผู้ใช้บริการและพนักงานตระหนักถึงการใช้น้ำอย่างประหยัด
  2. ควรมีการปรับเปลี่ยนและติดตั้งอุปกรณ์ที่ช่วยในการประหยัดน้ำให้ทั่วถึงในพื้นที่ต่างๆของสำนักวิทยบริการฯ
  3. มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
  4. มีการกำหนดให้บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ มีการตรวจสอบอุปกรณ์ ปั้มน้ำ ท่อน้ำและแนวการวางท่อน้ำทุกเดือน