เกณฑ์สำนักงานสีเขียว ปี 2566

หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน

3.2.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย
         (3) บรรลุเป้าหมาย
         (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย
         (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจานวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น



ผลการดำเนินงาน

          สำนักวิทยบริการฯ มีการใช้พลังงานหลายชนิด ทั้งในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้าและการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในสำนักงาน แต่จะมีปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าวมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายปัจจัยรวมถึงลักษณะของกิจกรรมต่างๆ ดังนั้น สำนักวิทยบริการฯ จึงต้องกำหนดมาตรการในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า การกำหนดเวลาเปิด-ปิด การติดป้ายรณรงค์และให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานแก่บุคลากรและผู้ใช้บริการ รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

          ในการนี้สำนักวิทยบริการฯ จึงต้องเก็บข้อมูลการใช้พลังงานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิจารณาปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าว และจะต้องควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรการของสำนักวิทยบริการฯ ด้วย พร้อมทั้งมีการมอบหมายให้บุคลากร นายณฐกฤตย์ นวมงาม นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ จดบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน และรวบรวมจัดทำเป็นสถิติแต่ละปี (3.2.2-1) รวมถึงการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย (3.2.2-2) เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์และปริมาณการใช้ไฟฟ้าของสำนักวิทยบริการฯ

       ปี 2566 สำนักวิทยบริการฯ มีการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 127,721 (Kwh) เฉลี่ยต่อผู้ใช้จำนวน 11,626 คน  คิดเป็น 0.57 (Kwh: คน) ส่วนในปี 2565 มีการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด จำนวน 74,580 (Kwh) เฉลี่ยต่อผู้ใช้จำนวน 4,212 คน คิดเป็น 0.35 (Kwh:คน) เมื่อเทียบปริมาณการใช้ไฟฟ้าระหว่างปี 2566 กับ ปี 2565 พบว่ามีปริมาณการใช้ที่เพิ่มขึ้น จำนวน 0.21 (Kwh:คน) คิดเป็นร้อยละ 60.54  ซึ่งไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดในปี 2566 คือ ร้อยละ 30 ซึ่งมีปี 2565 เป็นฐานการคำนวณ

          สาเหตุการใช้ไฟฟ้าและแนวทางแก้ไข (3.2.2-3.1) ดังนี้

          1. มีปริมาณของผู้ใช้บริการทั้งปี 2566 เพิ่มขึ้นจาก ปี 2565 จำนวน  7,414 คน

          2. พื้นที่ปฏิบัติงานชั้น 6 ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม มีอุปกรณ์แอร์ชำรุดที่ไม่สามารถใช้ได้ และมีกระแสไฟฟ้าทำงานผิดปกติ ทำให้พลังงานไฟฟ้าไม่คงที่ ซึ่งได้มีการแก้ไขปรับปรุงโดยเปลี่ยนแอร์จำนวน 2 ตัว และหน่วยงานกายภาพของมหาวิทยาลัยได้มาตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข เปลี่ยนอุปกรณ์เกี่ยวกับการทำงานของกระแสไฟฟ้า

          3. สภาพอากาศในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม มีอุณหภูมิค่อนข้างสูงส่งผลให้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น

          4. เครื่องปรับอากาศชั้น 3, 4, 5 ของอาคารบรรณราชนครินทร์ มีชำรุดและเสื่อมสภาพ ทำให้ระบบการทำงานของเครื่องปรับอากาศในพื้นที่อื่นที่ปกติทำงานหนักส่งผลให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น