เกณฑ์สำนักงานสีเขียว ปี 2566

หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย

4.2.2 การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีแนวทาง ดังนี้
         (1) มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมีการตักและทำความสะอาดเศษอาหาร และไขมันออกจาก ตะแกรงดักขยะ หรือบ่อดักไขมันตามความถี่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณและการปนเปื้อน
         (2) มีการนำกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย หรือเศษอาหาร น้ำมันและไขมันจากถัง/บ่อดัก ไขมันไปกำจัดอย่างถูกต้อง
         (3) มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัด น้ำเสียให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
         (4) มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่าง สม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไป ยังแหล่งอื่นๆ



ผลการดำเนินงาน

            สำนักวิทยบริการฯ มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย โดยติดตั้งถังดักไขมันเพื่อดักกรองไขมันและเศษอาหาร ลดกลิ่นที่เกิดจากหมักหมมของเศษอาหารในท่อน้ำ ตลอดจนเพื่อปรับคุณภาพน้ำทิ้งให้มีคุณภาพดีขึ้น เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยติดตั้งไว้ 3 จุดบริเวณที่ที่บุคลากรรับประทานอาหาร ดังนี้

           1. ห้องรับประทานอาหารสำนักงานผู้อำนวยการ

           2. ห้องรับประทานอาหารชั้น 1 อาคารบรรณราชนครินทร์ 2

           3. ชั้น 6 อาคารบรรณราชนครินทร์ 2           

            โดยมีการกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานบริการ (แม่บ้าน) ทำความสะอาดทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ (4.2.2-1.1) นอกจากนี้ยังมีแนวทางการดูแลและจัดการถังดักไขมัน พร้อมกับให้แม่บ้านได้บันทึกการตักไขมัน ตามแบบฟอร์มที่กำหนด (4.2.2-1.2)

            สำนักวิทยบริการฯ มีการนำเศษอาหารไปทำถังหมักรักษ์โลกเพื่อช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการจัดการขยะมูลฝอย ลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้องนำไปกำจัด (4.2.2-2.1) ทั้งนี้จะมีการตรวจสอบ การรั่วไหลของน้ำเสีย และปรับปรุง ระบบการบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพ และใช้งานได้ตามปกติ และเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่นๆ (4.2.2-3.1