วันงดสูบบุหรี่โลก
เริ่มมีการจัดงานครั้งแรกในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 เนื่องจากองค์การอนามัยโลกเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่และสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ รวมถึงผู้ที่ไม่สูบแต่ต้องมารับควันบุหรี่ด้วย จึงจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลก หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า World No Tobacco Day เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่สูบบุหรี่อยู่เลิกสูบ และให้รัฐบาล ชุมชน และประชากรโลก ได้ตระหนักถึงความสำคัญเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้งยังได้ประกาศให้มีการรณรงค์เพื่อการไม่สูบ
พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงความสูญเสียทางด้านชีวิตของประชากรที่เกิดจากการสูบบุหรี่ จึงได้มีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ รวมถึงกำหนดมาตรการต่าง ๆ โดยการดูแลของกระทรวงสาธารณสุข ที่จะพยายามให้เกิดการเลิกสูบบุหรี่ ดังเช่นที่กระทรวงได้ประกาศบังคับใช้มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 ให้มีการพิมพ์คำเตือนและโทษของการสูบบุหรี่ที่ข้างซอง ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา อีกทั้งยังมีกฎหมายที่ใช้คุ้มครองสุขภาพประชาชน ได้แก่
1. พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ที่มีสาระสำคัญในการประกาศเขตปลอดบุหรี่ ซึ่งแบ่งเขตปลอดบุหรี่ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
- เขตปลอดบุหรี่อย่างแท้จริง เช่น รถยนต์โดยสารประจำทาง ทั้งแบบปรับอากาศและไม่ปรับอากาศ รวมถึงแท็กซี่ ตู้รถไฟปรับอากาศ และห้องชมมหรสพ
- เขตปลอดบุหรี่ทั้งหมด เช่น โรงเรียน ห้องสมุด แต่ยกเว้นห้องส่วนตัว
- เขตปลอดบุหรี่เกือบทั้งหมด เช่น สถานพยาบาล ศูนย์การค้า สถานที่ราชการและรัฐวิสาหกิจ หากจะสูบก็ให้สูบเฉพาะในเขตสูบบุหรี่
- เขตปลอดบุหรี่อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของพื้นที่นั้น ๆ เช่น ตู้รถไฟโดยสารทั่วไปที่ไม่ใช่แบบปรับอากาศ และร้านขายอาหารทั่ว ๆ ไป เฉพาะบริเวณที่มีระบบปรับอากาศ แต่ต้องจัดเขตสูบบุหรี่ไม่ให้เกินครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด
2. พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ที่มีสาระสำคัญในการห้ามขายบุหรี่ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท รวมถึงห้ามขายสินค้าอื่นและแถมบุหรี่ให้ หรือขายบุหรี่แล้วแถมสินค้าอื่น และห้ามการโฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อม
สารระเหยในควันบุหรี่ มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง มีผลต่อต่อมหมวกไต ทำให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ และไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว เพิ่มไขมันในเส้นเลือด (ก้นกรองไม่ได้ทำให้ปริมาณนิโคตินลดลงได้)
ทาร์ หรือน้ำมันดิน
เป็นคราบมันข้นเหนียว สีน้ำตาลแก่ เกิดจากการเผาไหม้ของกระดาษและใบยาสูบ และเป็นสารก่อมะเร็งต่าง ๆ เช่น มะเร็งปอด, กล่องเสียง, หลอดลม, หลอดอาหาร, ไต, กระเพาะปัสสาวะ และอื่น ๆ ร้อยละ 50 ของน้ำมันดินจะไปจับที่ปอด เกิดอาการระคายเคือง ทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะ จากการสำรวจพบว่าผู้ที่เป็นมะเร็งปอด ร้อยละ 90 เป็นผลเนื่องมาจากการสูบบุหรี่ โดยมีผลวิจัยระบุว่า ผู้ที่สูบบุหรี่เกินวันละ 1 ซอง จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 5-20 เท่า ผู้ที่สูบบุหรี่ยังเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจ อาจมีอาการไอเรื้อรัง บางครั้งไอถี่จนไม่สามารถนอนได้ นอกจากนี้ทาร์ในควันบุหรี่จะสะสมอยู่ในปอด ทำให้เป็นโรคถุงลมโป่งพอง ทำให้หายใจขัด หอบ และหากเป็นเรื้อรังอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ง่ายเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นยังพบว่าการสูบบุหรี่ก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ อีกหลายอย่าง เช่น โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล โรคความดันเลือดสูง โรคตับแข็ง โรคปริทันต์ โรคโพรงกระดูกอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ โรคหัวใจ เป็นต้น และยังส่งผลต่อบุคลิกภาพของผู้ที่สูบบุหรี่อีกด้วยคุณอาจจะชอบ
ผลข้างเคียงของบุหรี่ต่อบุคคลอื่น
การสูบบุหรี่นอกจากจะเป็นอันตรายต่อผู้สูบเองแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อผู้ใกล้ชิดอีกด้วย คือ หากเด็กได้รับควันบุหรี่ จะป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม หอบหืด หูชั้นนอกอักเสบเพิ่มมากขึ้น หากหญิงมีครรภ์ได้รับควันบุหรี่ จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มน้อยกว่าปกติ รวมทั้งมีโอกาสแท้ง และคลอดก่อนกำหนด อีกทั้งยังส่งผลต่อทารกในครรภ์ที่อาจทำให้สมองช้ากว่าปกติ มีความผิดปกติทางระบบประสาทและระบบความจำ ขณะที่คู่สมรสของผู้สูบบุหรี่ มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดมากกว่าคู่สมรสที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 2 เท่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 3 เท่า และเสียชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 4 ปี เทียบกับคนทั่วไป
อย่างไรก็ตาม แม้บุหรี่จะมีโทษมากมาย แต่ก็ยังมีคนสูบ ทำให้รัฐต้องออกมาตรการหรือกฎหมายควบคุมการสูบบุหรี่ ด้วย ทั้งสวนสาธารณะ, สนามบิน, สถานีรถไฟ, สถานศึกษา, ร้านค้า, ผับ, เธค และสวนอาหาร เป็นต้น หากฝ่าฝืนก็จะต้องเสียค่าปรับ นอกจากบุหรี่จะมีโทษมหันต์ต่อผู้สูบและคนใกล้ชิดแล้ว การสูบผิดสถานที่อาจทำให้ติดคุกหรือเสียเงินได้... ฉะนั้นเราลองหันมาเลิกสูบบุหรี่กันดีกว่าไหม เพื่อสุขภาพของคุณเอง รวมทั้งคนที่คุณรักด้วย
โทษของบุหรี่
การสูบบุหรี่นั้นถือเป็นการทำลายสุขภาพ ทั้งต่อผู้สูบเองและผู้อยู่ใกล้ชิดที่สูดเอาอากาศที่มีควันบุหรี่เข้าไป เพราะควันบุหรี่ประกอบด้วยสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และมีสารก่อมะเร็ง ไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งสารอันตรายที่สำคัญ เช่น
คาร์บอนมอนอกไซด์ ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้เท่ากับเวลาปกติ หากได้รับจะเกิดการขาดออกซิเจน ทำให้มึนงง ตัดสินใจช้า เหนื่อยง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ
นิโคติน เป็นสารระเหยในควันบุหรี่ มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง มีผลต่อต่อมหมวกไต ทำให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจ เต้นเร็วกว่าปกติ และไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว เพิ่มไขมันในเส้นเลือด (ก้นกรองไม่ได้ทำให้ปริมาณนิโคตินลดลงได้)
ทาร์ หรือน้ำมันดินเป็นคราบมันข้นเหนียว สีน้ำตาลแก่ เกิดจากการเผาไหม้ของกระดาษและใบยาสูบ และเป็นสารก่อมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งปอด, กล่องเสียง, หลอดลม. หลอดอาหาร, ไต, กระเพาะปัสสาวะ และอื่นๆ ร้อยละ 50 ของน้ำมันดินจะไปจับที่ปอด เกิดระคายเคือง ทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะ
ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นต้อกระจก เนื่องจากสารพิษในบุหรี่จะเข้าสู่เลนส์ตา ทำให้ตาขุ่นมัว ยิ่งสูบมากก็ยิ่งมีโอกาสมาก
เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด บุหรี่ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว เกิดการตีบตัน หากมีการออกกำลังกายหนักๆ อาจมีโอกาสเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน
โรคปอด โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการสูบบุหรี่ โดยจากข้อมูลพบว่าเพียงแค่สูบบุหรี่วันละ 1 ซอง สามารถมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนปกติถึง 10 เท่า!
สารพิษในควันบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเกือบทุกชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่
การสูบบุหรี่เพียงไม่กี่มวนต่อวัน ส่งผลให้หัวใจและหลอดเลือดเสียหาย โดยพบว่าผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจประมาณ 20% มีความเชื่อมโยงกับการสูบบุหรี่โดยตรง
ผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่า 2 ซองต่อวัน ติดต่อกันนานกว่า 15 ปี ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งปอด หากตรวจในระยะแรกมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้
บุหรี่มีสารเคมีและสารพิษรวมกันมากกว่า 4,000 ชนิด รวมถึงมีสารก่อมะเร็งอีกมากกว่า 60 ชนิด ยิ่งสูบบุหรี่ในปริมาณมากและสูบติดต่อกันเป็นเวลานาน ย่อมเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายมากมาย ทั้งมะเร็ง ถุงลมโป่งพอง ปอดบวม โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคเบาหวาน
5 โรคร้ายที่มากับบุหรี่
มะเร็ง จากสถิติในประเทศไทย มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 ในผู้ชาย อันดับ 4 ในผู้หญิง และเป็นมะเร็งที่มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 เนื่องจากมักพบเมื่อเป็นระยะกระจายไปตามอวัยวะต่างๆ แล้ว โดยสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปอด คือการสูบบุหรี่ นอกจากนี้สารพิษในควันบุหรี่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเกือบทุกชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ฯลฯ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือสูบบุหรี่มากกว่า 2 ซองต่อวัน ติดต่อกันนานกว่า 15 ปี ควรเข้ารับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อดูว่าเป็นมะเร็งปอดหรือไม่ หากตรวจพบในระยะแรกมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้
ถุงลมโป่งพอง ภายในปอดของคนเราประกอบด้วยถุงลมเล็กๆ จำนวนมากมาย ทำหน้าที่ฟอกเลือด และถ่ายออกซิเจนให้เลือดดำ หากสูบบุหรี่จำนวนมากเป็นระยะเวลานาน ควันที่มีสารพิษจะไปทำลายผนังถุงลม ส่งผลให้เกิดภาวะถุงลมบวมอักเสบ และฉีกขาด ไม่สามารถฟอกเลือดได้ตามปกติ เมื่อไม่สามารถรับออกซิเจนได้เพียงพอ จะทำให้มีอาการหอบเหนื่อย ผู้ป่วยถุงลมโป่งพองยังอาจพบอาการหัวใจเต้นเร็ว น้ำหนักลด เกิดภาวะซึมเศร้า และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โรคถุงลงโป่งพองในระยะรุนแรงจะทำให้ผู้ป่วยทรมานมาก เนื่องจากภาวะเหนื่อยมากจนต้องนอนติดเตียง หรือต้องได้รับออกซิเจนตลอดเวลา ดังนั้นหากผู้สูบบุหรี่มีอาการหายใจตื้น หรือเหนื่อยง่ายติดต่อกัน ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยก่อนที่โรคจะรุนแรง
ปวดบวม โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ คือ ภาวะติดเชื้อในปอด จาก 2 สาเหตุ คือ ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา และปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เกิดจากการหายใจเอาสารที่ทำให้ระบบทางเดินหายใจระคายเคือง เช่น ฝุ่น สารเคมี โดยเฉพาะควันบุหรี่ มีอาการหายใจลำบาก ไม่สบายตัว บางกรณีอาจมีไข้ หรืออาการคล้ายเป็นหวัด เช่น ปวดศีรษะ หนาวสั่น ไอ และเจ็บคอ หากอาการรุนแรงอาจเจ็บหน้าอก อาเจียน และมีเสมหะปนเลือด โรคปอดบวมมักพบในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีภูมิต้านทานต่ำ หากการติดเชื้อรุนแรงอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ รวมถึงได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่น
โรคหัวใจและหลอดเลือด สารพิษในบุหรี่ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ และทำให้เส้นเลือดแดงตีบแคบ รวมถึงเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจหยุดพัก และขณะออกกำลังกายแม้สูบบุหรี่เพียงไม่กี่มวนต่อวัน ก็ส่งผลให้หัวใจและหลอดเลือดเสียหาย จากการศึกษาพบว่าผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจประมาณ 20% มีความเชื่อมโยงกับการสูบบุหรี่โดยตรง โดยเฉพาะผู้ที่ทานยาคุมกำเนิดหรือเป็นโรคเบาหวาน หากสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
โรคเบาหวาน จากงานวิจัยของศูนย์การแพทย์ทางทหารเบอร์มิ่งแฮม (Birmingham) รัฐอลาบามา พบว่าอาสาสมัคร 22% ของกลุ่มคนที่สูบบุหรี่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคเบาหวาน และ 17% ของกลุ่มอาสาสมัครที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลย แต่ได้รับควันบุหรี่เสมอๆ เริ่มจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่เคยสูบบุหรี่ และเลิกสูบไปแล้วกลับมีแค่เพียง 14% ส่วนกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่และไม่ได้รับควันสูบบุหรี่เลย มีเพียง 11.5% จากผลการวิจัยนี้เองทำให้เห็นว่าบุหรี่และควันบุหรี่มีผลต่อน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวาน เนื่องจากสารพิษในบุหรี่ สามารถเข้าไปสะสมอยู่ที่ตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนทำงานได้น้อยลง จนเกิดเป็นโรคเบาหวาน
-----------------------------------------------
📣"เรียนเชิญติดตามข่าวสารจากสำนักฯ ตามช่องทางต่าง ๆ ดังนี้"
🚩Facebook: https://www.facebook.com/LibArit
🚩www : http://arit.pbru.ac.th
🚩Line Official : https://lin.ee/E5dxAa3
------------------------------------------------
© Copyright 2024 | สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
Site Map | Privacy Policy