GREEN LIBRARY & GREEN OFFICE

เกณฑ์ประเมินห้องสมุดสีเขียว 2567

ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ประเมินห้องสมุดสีเขียว 2567

ห้องสมุดที่ประสงค์เป็นห้องสมุดสีเขียว จะต้องกำหนดนโยบาย วางแผนการดำเนินงาน และดำเนินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
        1.1. มีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายการเป็นห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
        1.2. มีคณะทำงานด้านห้องสมุดและด้านสิ่งแวดล้อม
        1.3. มีการระบุประเด็นปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
        1.4. มีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการบริหารจัดการห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
        1.5. มีการเก็บข้อมูลและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
        1.6. มีการวางแผนงานเพื่อการพัฒนาและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
        1.7. มีการทบทวนนโยบายและติดตามผลการดำเนินงานโดยฝ่ายบริหาร


หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน

1.1.1 มีบริบทองค์กรและขอบเขตของ การบริหารจัดการห้องสมุดที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม
       (1) มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของ ห้องสมุดทั้งหมด ทั้งส่วนของ สำนักงาน และพื้นที่บริการ
       (2) มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของ ห้องสมุด

คำอธิบาย
        ห้องสมุด หมายถึง ห้องสมุดทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่จัดตั้งเพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ ให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศ อาจมีชื่อเรียกว่า หอสมุด ห้องสมุด สำนักหอสมุด สถาบันวิทยบริการ สำนักวิทย บริการ ศูนย์บรรณสาร ศูนย์สารสนเทศ หรือชื่ออื่นใดที่มีภารกิจในทำนองเดียวกัน โดยพื้นที่ห้องสมุดนอกจากพื้นที่บริการ ยังรวมไปถึงพื้นที่สำนักงานของห้องสมุด และพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้แก่ พื้นที่ รับประทานอาหาร พื้นที่ประกอบอาหาร ห้องน้ำ ลานจอดรถ พื้นที่รองรับของเสีย ระบบบำบัดของเสีย


1.1.2 มีนโยบายห้องสมุดสีเขียวและ สำนักงานสีเขียวที่สอดคล้องและ ครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว โดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม ดังนี้

ด้านห้องสมุด
        (1) มีนโยบายการ บริหารจัดการ ห้องสมุดสีเขียวและการปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง
        (2) มีนโยบายการจัดการและให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง ให้เพียงพอ และพร้อมใช้
        (3) มีนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่อง ที่เกี่ยวข้อง
        (4) มีนโยบายการสร้างเครือข่ายความ ร่วมมือ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
       (รายละเอียดเป็นไปตามเกณฑ์การ ประเมินสำนักงานสีเขียว)


1.1.3 การกำหนดนโยบายห้องสมุดสี เขียว โดยผู้บริหารระดับสูง
        (1) นโยบายห้องสมุดสีเขียวจะต้องได้รับ การอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ ที่ได้รับมอบอำนาจ
        (2) มีการระบุวันที่การประกาศใช้ นโยบายห้องสมุดสีเขียวอย่างชัดเจน
        (3) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้อง สามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และ จุดมุ่งหมายของการเป็นห้องสมุดสี เขียว
        (4) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องมีส่วน ในการติดตามผลการปฏิบัติตาม นโยบายห้องสมุดสีเขียว

1.1.4 มีการกำหนดแผนการดำเนินงาน ห้องสมุดสีเขียวประจำปี
        (1) รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการ ดำเนินงานครบทุกหมวด
        (2) มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของ การดำเนินงานแต่ละหมวด
        (3) มีการกำหนดแผนดำเนินงานเป็น ลายลักษณ์อักษร และได้รับการ อนุมัติจากผู้บริหาร

1.1.5 มีการกำหนดเป้าหมาย และ ตัวชี้วัดที่ชัดเจนด้านห้องสมุด (ตาม เกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว) และมีหลักฐาน การลงนามอนุมัติและวันที่ประกาศใช้ อย่างชัดเจนและเป็นปัจจุบัน ดังนี้
        (1) การจัดการและการให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศ ด้านทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
        (2) การส่งเสริมการเรียนรู้เรื่อง ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และก๊าซ เรือนกระจก
        (3) การจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียว ร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือ
        (4) ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ห้องสมุดสีเขียว

1.1.6 มีการกำหนดให้งานห้องสมุดสี เขียว ทั้งด้านห้องสมุด และด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นงาน ประจำของหน่วยงาน ดังนี้
        (1) มีการกำหนดแผนงานห้องสมุดสี เขียวทั้งด้านห้องสมุด และด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้เป็น แผนงานประจำของห้องสมุด โดย ดำเนินการต่อเนื่องทุกปี
        (2) มีการสรุปปัญหาและแนวทางการ ปรับปรุง เป็นข้อมูลเพื่อกำหนด แผนงานห้องสมุดสีเขียวในปีต่อไป
        (3) มีการบูรณาการงานด้านห้องสมุด และงานด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แผนงานพัฒนา ห้องสมุดสีเขียว
        (4) กำหนดให้งานห้องสมุดสีเขียว เป็น ภาระงานของบุคลากรที่ต้องได้รับ การประเมิน

1.1.7 มีการกำหนดนโยบายลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องกับ นโยบายขององค์กร หรือนโยบายของ ประเทศ หรือนโยบายตามบริบทสากล ดังนี้
        (1) มีการกำหนดนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน ( Carbon Neutrality) หรือ นโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็น ศูนย์(Net Zero) ของห้องสมุด
        (2) มีการกำหนดเป้าหมายและแผนงาน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ระยะสั้นและระยะยาวของห้องสมุด ที่สอดคล้องกับนโยบายตามข้อ (1)
        (3) มีการลด และ/หรือ ชดเชยการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
        (4) ผลการลดการปล่อยก๊าซเรือน กระจก เป็นไปตามเป้าหมายที่ กำหนดในข้อ (2)
 
คำอธิบาย
        - ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas : GHG) หมายถึง สารประกอบในรูปของก๊าซในบรรยากาศ ทั้งที่มีอยู่ในธรรมชาติและสร้างขึ้นโดยมนุษย์ ซึ่งสามารถดูดซับและปล่อยรังสีที่มีความยาวเคลื่อน อยู่ในช่วงความถี่ของอินฟาเรดที่ถูกปล่อยออกมาจากพื้นผิวโลกชั้นบรรยากาศและก้อนเมฆ
        - ชนิดของก๊าซเรือนกระจกที่ประเมิน ประกอบด้วยก๊าซ 7 ชนิดตามพิธีสารเกียวโต ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) และไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ NF3)
        - ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็น ศูนย์ (Net Zero) ให้ดูนิยามหรือคำอธิบายขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การ มหาชน) ที่ http://www.tgo.or.th/
        - การกำหนดค่าเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กำหนดได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
          1. ห้องสมุดสามารถกำหนดค่าเป้าหมายที่สอดคล้องกับบริบทของห้องสมุด หรือค่าเป้าหมายที่ สอดคล้องกับหน่วยงานต้นสังกัด หรือค่าเป้าหมายอื่นใด โดยมีเหตุผลที่เหมาะสมในการ กำหนดค่าเป้าหมายและสามารถชี้แจงได้อย่างสมเหตุสมผล
          2. การกำหนดค่าเป้าหมาย โดยใช้การกำหนดเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ หรือ Science Based Targets (SBT) ซึ่งเป็นการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับเป้า หมายความตกลงปารีส บนพื้นฐาน Climate Science โดยมีเป้าหมายในการจำกัดอุณหภูมิ เฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส และมุ่งสู่การจำกัดอุณหภูมิไว้ให้ไม่เกิน 1.5 องศา เซลเซียส การกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกโดยใช้เครื่องมือ Science-based Targets (SBT) สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://sciencebasedtargets.org/

1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือ ทีมงานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการด้าน ห้องสมุด และคณะกรรมการด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยมี แนวทางดำเนินงาน ดังนี้
        (1) ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการหรือ ทีมงานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งประกอบด้วยงานด้านห้องสมุดและ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็น ลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติ การแต่งตั้งคณะกรรมการหรือ ทีมงานจะต้องครอบคลุมทุกหมวด และประกอบด้วยบุคลากร/ผู้แทน จากทุกฝ่ายในหน่วยงาน
        (2) กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่ ความ รับผิดชอบของคณะกรรมการหรือ ทีมงาน อย่างชัดเจน
 

คำอธิบาย
        - การแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการด้านห้องสมุด และคณะกรรมการด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ควรแต่งตั้งรวมเป็นคณะกรรมการชุดเดียวกัน เนื่องจากงานห้องสมุดสีเขียว และสำนักงานสีเขียวมีความสัมพันธ์กัน จำเป็นต้องประสานงานและ บูรณาการทำงานร่วมกัน ทั้งนี้ ควรกำหนดบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ ให้ครอบคลุมและ ชัดเจน


1.2.2 ร้อยละของคณะกรรมการหรือ ทีมงานห้องสมุดสีเขียว ด้านห้องสมุด ที่ดำเนินงานตามบทบาท หน้าที่ตามที่ ได้รับมอบหมาย ดังนี้
        (1) ประธาน/หัวหน้า
        (2) คณะกรรมการหรือทีมงานด้านห้องสมุด
 
หมายเหตุ   ร้อยละของจำนวนกรรมการ/ทีมงาน พิจารณาจากจำนวนกรรมการด้านห้องสมุด
คำอธิบาย
        - ร้อยละของคณะกรรมการ หรือทีมงานห้องสมุดสีเขียว ที่ดำเนินงานตามบทบาท หน้าที่ตามที่ได้รับ มอบหมาย ประเมินเฉพาะคณะกรรมการหรือทีมงานด้านห้องสมุด ในส่วนของคณะกรรมการหรือ ทีมงานด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จะได้รับการประเมินและให้คะแนนในแบบประเมินของ สำนักงานสีเขียว

1.3.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวน ฝ่ายบริหาร
        (1) มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม
        (2) มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วน งานที่มีความเกี่ยวข้องกับการ ดำเนินงานด้านห้องสมุด ในแต่ละ หมวดเข้าร่วมประชุม
        (3) จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมจะต้อง มากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ที่ เป็นคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียว และสำนักงานสีเขียว พร้อมหลักฐาน การลงนามเข้าร่วมประชุม
        (4) หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถ เข้าร่วมได้ จะต้องมีวิธีการรายงาน ผลการประชุมให้รับทราบ พร้อมรับ ข้อเสนอแนะ
 
คำอธิบาย
        - การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร ควรดำเนินการร่วมกันทั้งด้านห้องสมุด และด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

1.3.2 มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร ดังนี้
       (1) มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
       (2) วาระที่ 1 การติดตามผลการประชุม ทบทวนฝ่ายบริหารที่ผ่านมาทั้งด้าน ห้องสมุด และด้านทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม
       (3) วาระที่ 2 ทบทวนนโยบายห้องสมุด สีเขียว
       (4) วาระที่ 3 ความมีประสิทธิภาพของ คณะกรรมการหรือทีมงานด้าน ห้องสมุด และด้านทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอและ ความเหมาะสม)
       (5) วาระที่ 4 การติดตามผลการ ดำเนินงานด้านห้องสมุด และด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
       (6) วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะ ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการ ดำเนินงานด้านห้องสมุด และด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
       (7) วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม และแนวคิดของผู้บริหารต่อการ พัฒนาห้องสมุดสีเขียวอย่างต่อเนื่องทั้งด้านห้องสมุดและด้านทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
       (8) จัดทำรายงานการประชุมทบทวน ฝ่ายบริหาร รายชื่อผู้เข้าประชุมและ ภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ามีการ ประชุมจริง

1.4.1 มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้
         (1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการรวบรวม กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
         (2) จัดทำรายการกฎหมายที่ครอบคลุม ปัญหาสิ่งแวดล้อมและบริบทของ สำนักงาน
         (3) สามารถระบุแหล่งที่มาของกฎหมาย และข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
         (4) สามารถระบุความเกี่ยวข้องของกฎหมายกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
         (5) กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นปัจจุบัน
         (6) มีการรวบรวมและทบทวนกฎหมาย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
 
คำอธิบาย
          1. กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย หมายถึง กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหา สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของสำนักงานนั้นๆ โดยจะต้องพิจารณาประเด็นจากบริบทของ สำนักงาน และข้อ 1.3 การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย เช่น กฎหมาย ควบคุมมลพิษทางน้ำ การจัดการขยะ อัคคีภัย แสงสว่าง บุหรี่ พลังงาน เป็นต้น
          2. กฎหมายสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น หมายถึง บทบัญญัติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในท้องถิ่นที่สำนักงาน นั้นๆ ตั้งอยู่ 3. แหล่งที่มาของกฎหมาย จะต้องเป็นแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น หน่วยงานราชการ website รวบรวมกฎหมายโดยเฉพาะ (www.pcd.go.th, www.diw.go.th, www.shawpat.or.th www.ratchakitcha.soc. go.th เป็นต้น)

1.4.2 ประเมินความสอดคล้องของ กฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการ สิ่งแวดล้อมของสำนักงาน โดยมีการดำเนินการดังนี้
         (1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการ ประเมินความสอดคล้องของ กฎหมายกับการดำเนินงานการ จัดการสิ่งแวดล้อม
         (2) มีการประเมินความสอดคล้องของ กฎหมายครบถ้วน
         (3) มีการอ้างอิงหลักฐานการปฏิบัติตาม กฎหมายอย่างครบถ้วนและถูกต้องกรณีที่พบว่าการดำเนินงานไม่ สอดคล้องกับกฎหมาย จะต้องมีการ วิเคราะห์สาเหตุ และกำหนดแนว ทางการแก้ไข (ถ้ามี)
         (4) มีการกำหนดความถี่ในการประเมิน ความสอดคล้องของกฎหมายอย่าง น้อยปีละ 1 ครั้ง ที่เหมาะสมและมี การปฏิบัติตามที่กำหนดได้
 
คำอธิบาย
การปฏิบัติตามกฎหมาย
          1. สอดคล้องกับกฎหมาย หมายถึง สำนักงานมีการปฏิบัติเป็นไปตามที่กฎหมายนั้นๆ ได้กำหนดไว้ และ จะต้องอ้างอิงหลักฐานของการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยสามารถอ้างอิงจากภาพถ่าย เอกสารการ ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายเรื่องนั้นๆ
          2. ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย หมายถึง สำนักงานไม่มีการปฏิบัติเป็นไปตามที่กฎหมายนั้นๆ ได้กำหนดไว้ หรือปฏิบัติผิดกฎหมาย หรือละเมิดกฎหมาย
          3. เพื่อทราบ หมายถึง กฎหมายที่ไม่ได้มีบทใช้บังคับกับสำนักงาน แต่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางใน การปฏิบัติได

(สำหรับหน่วยงานต่ออายุ)
1.4.3 การวางแผนและดำเนินการตรวจ ประเมินภายใน ด้านห้องสมุด (ด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นไปตาม เกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว)
        (1) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจ ประเมินภายใน ด้านห้องสมุด ประกอบด้วย หัวหน้าผู้ตรวจประเมิน และผู้ตรวจประเมิน ที่มีความรู้และ ประสบการณ์เรื่องห้องสมุดสีเขียว
        (2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจ ประเมินภายใน ด้านห้องสมุด อย่าง น้อยปีละ 1 ครั้ง
        (3) มีการจัดทำข้อกำหนดการตรวจ ประเมินภายใน ด้านห้องสมุด ครอบคลุมทุกหมวด
        (4) กำหนดให้ ผู้ตรวจประเมินภายในด้าน ห้องสมุดแต่ละหมวดมีความเพียงพอและเหมาะสม มีความเป็นอิสระใน การตรวจประเมินอย่างชัดเจน
        (5) ดำเนินการตรวจประเมินภายใน ด้าน ห้องสมุด ครบถ้วนทุกหมวด

1.5.1 การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมในสำนักงาน จะต้อง ประกอบไปด้วย
        (1) ปริมาณการใช้ไฟฟ้า
        (2) ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงสำหรับการ เดินทาง
        (3) ปริมาณการใช้น้ำประปา
        (4) ปริมาณการใช้กระดาษ
        (5) ปริมาณการเกิดของเสีย (ฝังกลบ)

(โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซ เรือนกระจก (Emission Factor ; EF) ของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ล่าสุด)
 
คำอธิบาย
       1. แหล่งสืบค้นค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor ; EF) คือ http://www.tgo.or.th/
       2. ปริมาณการเกิดของเสีย (ฝังกลบ) หมายถึง ขยะทั่วไปหรือขยะที่องค์กรพิจารณาแล้วว่าไม่สามารถ นำกลับไปใช้ประโยชน์ จะต้องเข้าสู่กระบวนการฝังกลบ โดยมีหน่วยงานมารับไปสู่หลุมฝังกลบ

1.5.2 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกบรรลุเป้าหมาย
        กรณีบรรลุเป้าหมาย
       (1) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
 
       กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
       (1) มีการวิเคราะห์สาเหตุในกรณีที่ไม่ บรรลุเป้าหมาย
       (2) มีแนวทางการแก้ไขในกรณีที่ไม่ บรรลุเป้าหมาย
       (3) มีการติดตามผลหลังแก้ไข
 
หมายเหตุ
        1. กรณีสำนักงานขอการรับรองใหม่ สำนักงานจะต้องการสรุปและวิเคราะห์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกเป็น รายเดือน
        2. กรณีสำนักงานต่ออายุสำนักงานสีเขียว และขอยกระดับสำนักงานสีเขียว จะต้องสรุปและวิเคราะห์ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกย้อนหลัง 3 ปี เป็นภาพรวมของแต่ละปี หากเป็นปีปัจจุบันจะต้องสรุปและ วิเคราะห์ผลเป็นรายเดือน
        3. ปริมาณก๊าซเรือนกระจกหากไม่ลดลงตามเป้าหมายที่กำหนด สำนักงานต้องอธิบายได้ประกอบกับ ผู้ตรวจประเมินจะต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณา เช่น ไม่ลดลงเนื่องจากมีการจัดประชุมเพิ่ม มีเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่ม มีการเดินทางเพิ่ม มีการขยายพื้นที่ หรือบุคลากรเพิ่ม เป็นต้น ถือว่าให้ 4 คะแนน แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากขาดความตระหนักจากการใช้หรือมาตรการไม่ได้ผล จะได้ เพียง 3 คะแนน
        4. กรณีต้องการเปรียบเทียบแนวโน้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่ละปี สามารถใช้ค่าสัมประสิทธิ์การ ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor ; EF) ปีปัจจุบันคำนวณย้อนหลังได
        5. สามารถใช้แบบฟอร์ม 1.7.1 หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น เพื่อบันทึกใบขอให้แก้ไขและ ป้องกันข้อบกพร่องร่วมได้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางการแก้ไข

1.5.3 ร้อยละของบุคลากรมีความเข้าใจ และการรับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ของสำนักงาน โดยจะต้องสอบถามดังนี้
        (1) ความสำคัญของก๊าซเรือนกระจกกับ การทำสำนักงานสีเขียว
        (2) แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือน กระจก
        (3) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย
 
หมายเหตุ
        1. บุคลากรที่ถูกสอบถามจะต้องอธิบาย ให้ได้ทั้ง 3 ข้อ
        2. สอบถามบุคลากร 4 คนขึ้นไป

1.6.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการดำเนินการดังนี้
        (1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย จะต้อง สอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ หรือกฎหมายสิ่งแวดล้อม
        (2) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย สามารถ วัดผลได้
        (3) กิจกรรม/นวัตกรรมที่กำหนดใน โครงการสิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้อง กับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
        (4) ระยะเวลาการทำโครงการมีความ เหมาะสม
        (5) โครงการมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ อย่างชัดเจน และจะต้องมีความเข้าใจ
 
หมายเหตุ กรณีที่สำนักงานไม่มีกิจกรรม มาตรการหรือแนวทางการปฏิบัติในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่มีนัยสำคัญมาก่อน สามารถอ้างอิงกิจกรรมที่ถูกกำหนดในตัวโครงการ
 
คำอธิบาย
         1. เป้าหมายที่กำหนดจะต้องมีความแตกต่างจากเป้าหมายของการใช้ทรัพยากร พลังงาน และปริมาณ ของเสียที่กำหนดในข้อ 1.1.5
         2. เป้าหมายสามารถถูกวัดได้ในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
         3. กิจกรรมในโครงการจะต้องแตกต่างจากมาตรการการใช้ทรัพยากรและพลังงาน มาตรการจัดการของเสีย และอื่นๆที่กำหนดในหมวดที่ 3 หมวดที่ 4 หมวดที่ 5 และหมวดที่ 6 (สามารถแสดงนวัตกรรม แนวทาง/แนวคิดใหม่)
         4. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการจะต้องพิจารณาจากความยากง่ายของวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
         5. นวัตกรรม หมายถึง การทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางความคิด กระบวนการ ทำงาน หรือเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอด

1.6.2 ผลสำเร็จของวัตถุประสงค์และ เป้าหมาย แนวทางการปรับปรุงอย่าง ต่อเนื่องและยั่งยืน
        (1) มีแผนการดำเนินโครงการหรือ นวัตกรรมที่ชัดเจน
        (2) ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ อย่างต่อเนื่อง
        (3) มีการกำหนดความถี่ในการติดตามผล และปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง
        (4) มีการติดตามความก้าวหน้าของ โครงการ
        (5) ดำเนินการเสร็จสิ้นและบรรลุตาม เป้าหมายที่กำหนด / กรณีที่ไม่บรรลุ เป้าหมายมีการทบทวนเพื่อหา สาเหตุและแนวทางแก้ไข
        (6) มีการกำหนดแนวทางเพื่อให้เกิด ความต่อเนื่องและยั่งยืนหลังบรรลุ เป้าหมายตามที่กำหนด
 
กรณีโครงการแล้วเสร็จ
        1. บรรลุผล จะต้องเสนอแนวทางเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง เช่น นำกิจกรรมหรือนวัตกรรม หรือ แนวทาง การดำเนินการไปเพิ่มเติมในมาตรการเดิมที่มี เป็นต้น
        2. ไม่บรรลุผล จะต้องแสดงหลักฐานการหาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไข ซึ่งสามารถใช้แบบฟอร์ม 1.7.1 ใบขอให้แก้ไขและป้องกันข้อบกพร่องร่วมได้
 
กรณีโครงการไม่แล้วเสร็จ
       1. ผู้ตรวจประเมินจะต้องพิจารณา รายงานสรุปผลความคืบหน้าของโครงการ ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ จนถึงปัจจุบัน โดยจะต้องอ้างอิงตามแผนการดำเนินโครงการสิ่งแวดล้อมแบบฟอร์ม 1.6.1 แผนงาน โครงการและกิจกรรมขององค์กร
      2. กรณีพบแนวโน้มไม่บรรลุเป้าหมาย จะต้องแสดงหลักฐานการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางการแก้ไข เพื่อส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของโครงการ

1.7.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
       (1) มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม
       (2) มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วน งานที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในแต่ละหมวดเข้าร่วมประชุม
       (3) จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้อง มากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ที่ เป็นคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว พร้อมหลักฐานการลงนามเข้าร่วม ประชุม
       (4) หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถ เข้าร่วมได้ จะต้องมีวิธีการรายงาน ผลการประชุมให้รับทราบ พร้อมรับ ข้อเสนอแนะ

1.7.2 มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร ดังนี้
        (1) มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
        (2) วาระที่ 1 การติดตามผลการประชุม ทบทวนฝ่ายบริหารที่ผ่านมา
        (3) วาระที่ 2 นโยบายสิ่งแวดล้อม
        (4) วาระที่ 3 ความมีประสิทธิภาพของ คณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอและ ความเหมาะสม)
        (5) วาระที่ 4 การติดตามผลการ ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การสื่อสารและข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุง และพัฒนา
        (6) วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะ ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการ ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
        (7) วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม และวิสัยทัศน์ แนวคิดของผู้บริหาร ของการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว อย่างต่อเนื่อง
        (8) จัดทำรายงานการประชุมทบทวน ฝ่ายบริหาร และภาพถ่ายที่แสดงให้ เห็นว่ามีการประชุมจริง
 
คำอธิบาย
        1. วาระที่ 4 การติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การสื่อสารและข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา หมายถึง การรายงานผลการ ดำเนินงานสำนักงานสีเขียวทุกหมวด หากมีประเด็นข้อบกพร่องหรือปัญหา ต้องรายงานแนวทางการ แก้ไขปรับปรุงและพัฒนา
       2. วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ แนวคิดผู้บริหาร กิจกรรม งบประมาณ บุคลากร เทคโนโลยี สภาพแวดล้อมภายนอกสำนักงาน เศรษฐกิจ เป็นต้น หากพบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะต้องนำเข้าที่ประชุมเพื่อหาแนวทางหรือกลยุทธ์ในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ส่งผลให้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสามารถดำเนินการ ต่อเนื่องได้
       3. วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม และวิสัยทัศน์ แนวคิดของผู้บริหารของการดำเนินงานสำนักงาน สีเขียวอย่างต่อเนื่อง จะเน้นการวางแผนการดำเนินงานเพื่อนำไปปฏิบัติในรอบถัดไป

        ห้องสมุดสีเขียวจะต้องทำการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และสร้างจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน การ อนุรักษ์ทรัพยากร และการรักษาสิ่งแวดล้อม ให้กับบุคลากร ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการให้บริการ ห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมดังนี้
        2.1. มีการอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ
        2.2. มีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
2.1.1 กำหนดแผนการฝึกอบรม ดำเนินการอบรม การประเมินผล และ บันทึกประวัติการฝึกอบรม
        (1) ระบุหลักสูตรและความถี่การอบรม ลงในแผนการฝึกอบรม โดยหลักสูตร ครอบคลุมเนื้อหามีรายละเอียด อย่างน้อยดังนี้
             - ความสำคัญของห้องสมุดสีเขียว
             - การบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว และการลดปริมาณการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก
             - การให้บริการที่มีคุณภาพและเป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม
             - การจัดหาและการให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง กับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
         (2) ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการ ฝึกอบรมในข้อ (1) โดยผู้รับการ อบรมจะต้องมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละหลักสูตร
         (3) ประเมินผลการฝึกอบรม เช่น ข้อสอบ หรือการประเมินขณะ ปฏิบัติงาน เป็นต้น
         (4) จัดทำประวัติการอบรมของบุคลากร
สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการเพิ่มทักษะความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม  (2.1.1-1) โดยมีผู้รับผิดชอบคือนางสาวแขนภา ทองตัน ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานสู่องค์กรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปี 2567 เลขที่ 001/2567 (2.1.1-2) ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2567  ทั้งนี้ได้ดำเนินการจัดทำแผนทั้งหมด 11 หลักสูตร ดังนี้
 
1. หลักสูตรอบรมด้านสำนักงานสีเขียว จำนวน 5 หลักสูตร
         1.1 ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว
         1.2 การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
         1.3 การจัดการมลพิษและของเสีย
         1.4 การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
         1.5 ก๊าซเรือนกระจก
 
2. หลักสูตรอบรมด้านห้องสมุดสีเขียว จำนวน 4 หลักสูตร
         2.1 ความสำคัญของห้องสมุดสีเขียว
         2.2 การบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว และการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
         2.3 การให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
         2.4 การจัดหาและการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
 
3. หลักสูตรอบรมด้านความปลอดภัยและการเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน จำนวน 2 หลักสูตร
         3.1 การซ้อมอพยพหนีไฟและดับเพลิง
         3.2 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

(GL-2567) 2.1.1-1 แผนการเพิ่มทักษะความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567.pdf
(GL-2567) 2.1.1-2 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการGOGL-ประจำปี-2567.pdf
2.1.2 กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการ อบรมแต่ละหลักสูตรมีความเหมาะสม
        (1) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมี ความรู้ในเนื้อหาการอบรม
        (2) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมี หลักฐานแสดงความสามารถ เช่น ประวัติ หรือประสบการ ณ์ที่ เกี่ยวข้อง

2.2.1 มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและ แนวทางสื่อสารเรื่องห้องสมุดสีเขียว
        (1) กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสารอย่างน้อย ดังนี้
             1. หัวข้อ  นโยบาย ห้องสมุดสีเขียว และสำนักงานสีเขียว  ความถี่ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
             2. หัวข้อ  ทรัพยากร สารสนเทศด้าน ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมและ เรื่องที่เกี่ยวข้อง  ความถี่ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
             3. หัวข้อ  ความรู้ด้าน ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมและ เรื่องที่เกี่ยวข้อง  ความถี่ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
             4. หัวข้อ  กิจกรรมห้องสมุดสีเขียว  ความถี่ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
             5. หัวข้อ  กิจกรรมเครือข่ายความร่วมมือ  ความถี่  ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
        (2) กำหนดช่องทางการสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหัวข้อ การสื่อสารและองค์กร (ไม่จำกัด จำนวนช่องทาง)
        (3) กำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร
        (4) กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร

          สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2567 โดยมีผู้รับผิดชอบคือ นายวิโนจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา จำนวน 9 หัวข้อ และได้กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสาร ดังนี้ (2.2.1-1)
             ๑. นโยบายสิ่งแวดล้อม
             ๒. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและการจัดการ
             ๓. การปฏิบัติตามกฎหมาย
             ๔. ความสะอาดและความเป็นระเบียบ (5ส.)
             ๕. เป้าหมายและมาตรการพลังงาน-ทรัพยากร (ได้แก่น้ำ ไฟฟ้า น้ามันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม กระดาษ และอื่นๆ)
             ๖. เป้าหมายและมาตรการจัดการของเสีย
             ๗. ผลการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย
             ๘. สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
             ๙. ก๊าซเรือนกระจก

           สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงานที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร ได้แก่ (2.2.1-2)

             1. ประชุมชี้แจง
             2. เว็บไซต์GreenOffice
             3. กลุ่มFacebook ARIT Staff
             4. messenger greenlib
             5. morningtalk
             6. จออิเล็กทรอนิกส์
             7. บอร์ดประชาสัมพันธ์ 
             8. Facebookสำนักฯ
             9. เว็บไซต์GreenOffice
             10. Line@ บุคลากรมหาวิทยาลัย

          สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน ให้เกิดการรับรู้และรับทราบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (2.2.1-3)

              1. กลุ่มเป้าหมาย ภายใน คือ ผู้บริหารและบุคลากรสำนักฯ

              2. กลุ่มเป้าหมาย ภายนอก คือ ผู้ใช้บริการห้องสมุด (นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร มรภ.พบ. ศิษย์เก่าและบุคคลภายนอก)

          สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร/รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม คือ  นายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา นางสาวแขนภา ทองตัน นักวิชาการคอมพิวเตอร์  นายวิวัฒน์ เพิ่มสุข นักเอกสารสนเทศ ตามคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ ..... เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ประจำปี ๒๕๖๗ (2.2.1-4)

          


(GL-2567) 2.2.1 - 1 แผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2567.pdf
(GL-2567) 2.2.1 -2 ตารางกำหนดหัวข้อและความถี่ในการสื่อสาร.pdf
(GL-2567) 2.2.1 -3 กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสาร.pdf
(GL-2567) 2.2.1-4 กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสารรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม.pdf
2.2.2  มีการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ ตามที่กำหนดในข้อ 2.2.1
  สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำแผนการดำเนินงาน(2.2.2-1.1) ด้านสิ่งแวดล้อมและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน โดยมีผู้รับผิดชอบคือ นายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา เพื่อการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนมีนาคม 2567 จำนวน 15 ชิ้นงาน (2.2.2-1.2) แยกเป็นประเภทต่างๆดังนี้
          - ประเภทสื่อวีดีทัศน์สิ่งแวดล้อม 5 ชิ้นงาน (2.2.2-1.3)
          - ประเภทสื่อPoster/Infographic  10 ชิ้นงาน (2.2.2-1.4)

(GL-2567) 2.2.2 - 1.1 แผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2567.pdf
(GL-2567) 2.2.2-1.2 สรุปการจัดป้ายการสื่อสารรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 2567.pdf
(GL-2567) 2.2.2-1.3 ประเภทสื่อวีดีทัศน์ 2567.pdf
(GL-2567) 2.2.2-1.4 สื่อประเภท Poster Infographic 2567.pdf
2.2.3 ร้อยละความเข้าใจนโยบายและ การดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว (สุ่ม อย่างน้อย 4 คน) โดยจะต้องสอบถาม บุคลากรแต่ละคนอย่างน้อยตามข้อ 2.2.1 (1)
สำนักวิทยบริการฯ สร้างความเข้าใจในด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม โดยได้ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อสร้างความเข้าใจสำหรับบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ จำนวน 22 คน คิดเป็น ร้อยละ 100 เรื่องนโยบายสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว  ตามช่องทางต่างๆต่อไปนี้ (2.2.3 - 1)
        1. ห้องประชุมภายในสำนักงานผู้อำนวยการ (2.2.3-2)
        2. เว็บไซต์ Green office & Green library (2.2.3-3)
        3. เพจ facebook : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (2.2.3-4)
        4. มุมพลังงานและสิ่งแวดล้อม (2.2.3-5)      
        5. ช่องทางสนทนากลุ่ม messenger: Lib pbru Staff , Green Lib, Arit Staff สำหรับการสื่อสารภายในหน่วยงานเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (2.2.3-6)

(GL-2567) 2.2.3 - 1 ผลการดำเนินงานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2567.pdf
(GL-2567) 2.2.3-2 ห้องประชุมภายในสำนักงานผู้อำนวยการ.pdf
(GL-2567) 2.2.3-3 เว็บไซต์ Green office & Green library.pdf
(GL-2567) 2.2.3-4 เพจ facebook สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.pdf
(GL-2567) 2.2.3-5 มุมพลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf
(GL-2567) 2.2.3-6 ช่องทางสนทนากลุ่ม messenger.pdf
2.2.4 มีช่องทางรับ ข้อเสนอแนะ / ข้อคิดเห็น ด้านห้องสมุดสีเขียว และนำมาปรับปรุงแก้ไขโดยต้องมีแนวทาง ดังนี้
        (1) มีช่องทางเพื่อรับ ข้อเสนอแนะ / ข้อคิดเห็น ด้านห้องสมุดสีเขียว เช่น ไลน์ เว็บไซต์เฟสบุ๊ค อีเมล์ กล่องรับความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากการประชุม
        (2) มีผู้รับผิดชอบในการรับ ข้อเสนอแนะ / ข้อคิดเห็น
        (3) มีการแสดง ข้อเสนอแนะ / ข้อคิดเห็น ด้านห้องสมุดสีเขียว
        (4) มีการรายงานผลการปรับปรุงจาก ข้อเสนอแนะ / ข้อคิดเห็น และเสนอต่อผู้บริหาร
 
คำอธิบาย
        1. การดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีความเป็นไปได้อย่างมากที่ในระหว่างที่ดำเนินการจะมีการให้ ข้อเสนอแนะ / ข้อคิดเห็น หรือข้อร้องเรียนจากบุคลากรทั้งภายในหรือภายนอกองค์กร เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุง
        2. ข้อเสนอแนะสามารถมาได้จากการประชุม การหารือ ทั้งที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ แต่จะต้องมีหลักฐานข้อเสนอแนะรองรับ เช่น รายงานการประชุม หรือข้อเสนอแนะผ่าน Social media เป็นต้น
สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำช่องทางการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อมในรูปแบบออนไลน์จากผู้รับบริการ และนำมาปรับปรุงแก้ไข 5 ช่องทาง ได้แก่
         รูปแบบออนไลน์ ได้แก่
             - หน้าเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการฯ https://arit.pbru.ac.th/webarit/ และสายตรงผู้บริหาร(2.2.4-1.1 วิวัฒน์ เพิ่มสุข)
             - เพจ Facebook : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (2.2.4-1.2แขนภา ทองตัน)
             - Line @ : @944tkcpj (2.2.4-1.3 แขนภา ทองตัน) 
             - Facebook : Lib Pbru (2.2.4-1.4 แขนภา ทองตัน)
             - e mail : library_office@mail.pbru.ac.th (2.2.4-1.5 แขนภา ทองตัน)  
             - ช่องทาง รับข้อเสนอแนะด้านสิ่งแวดล้อมด้วย QR Code โดยใช้ Google Form (2.2.4-1.6 แขนภา ทองตัน)
          สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำช่องทางการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อมในรูปแบบออนไซต์จากผู้รับบริการ และนำมาปรับปรุงแก้ไข 2 จุด  ได้แก่
             - กล่องรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม ติดตั้งอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการยืม - คืนทรัพยากร ชั้น 1(2.2.4-2.1. ธนพร ถมเสาร)
             - กล่องรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม ติดตั้งอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการยืม - คืนวารสารและหนังสือพิมพ์ ชั้น 2 (2.2.4-2.2 สุพรรณี เพนวิมล)
          สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น คือ นายวิวัฒน์ เพิ่มสุข ตำแหน่ง นักเอกสานสนเทศ (2.2.4-3.1)  ตามคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ ... เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ประจำปี ๒๕๖๗
           สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จัดทำ Flowchart แนวทางการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม และขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข มีช่องทางการรับข้อเสนอแนะ (2.2.4-4.1) ในปี 2567 ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของ สำนักวิทบบริการฯ ไม่พบข้อร้องเรียนหรือข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม

(GL-2567) 2.2.4-1.1 หน้าเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการฯ และสายตรงผู้บริหาร.pdf
(GL-2567) 2.2.4-1.2 เพจ Facebook  สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.pdf
(GL-2567) 2.2.4-1.3 Line official ของสำนักวิทยบริการฯ.pdf
(GL-2567) 2.2.4-1.4 Facebook  Lib Pbru.pdf
(GL-2567) 2.2.4-1.5 e mail library_office@mail.pbru.ac.th.pdf
(GL-2567) 2.2.4-1.6 ช่องทางรับข้อเสนอแนะด้านสิ่งแวดล้อม(แบบฟอร์มออนไลน์)..pdf
(GL-2567) 2.2.4-2.1 กล่องรับข้อเสนอแนะ ชั้น 1.pdf
(GL-2567) 2.2.4-2.2 กล่องรับข้อเสนอแนะ ชั้น 2.pdf
(GL-2567) 2.2.4-4.1 Flowchart แนวทางการรับข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม.pdf
ห้องสมุดสีเขียวมีหน้าที่ในการให้บริการความรู้ตามบริบทและนโยบายขององค์กร โดยเพิ่มเติมในส่วนของ การให้บริการความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และมีการบริหารจัดการในด้านต่างๆ ดังนี้
        3.1. จัดการทรัพยากรสารสนเทศด้านพลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเรื่องที่เกี่ยวข้อง ให้เพียงพอและพร้อมใช้ 
        3.2. ให้บริการห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
        3.3. จัดการพื้นที่บริการให้สะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ ปลอดภัย ประหยัดพลังงาน ประหยัด ทรัพยากร และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
3.1.1 จัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่ เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการดังนี้
       (1) สำรวจความต้องการของผู้รับบริการ
       (2) จัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้ตรง ตามความต้องการ และสอดคล้อง กับนโยบายของห้องสมุด
       (3) ทรัพยากรสารสนเทศมีความทันสมัย
       (4) ทรัพยากรสารสนเทศมีความหลากหลายเหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม
 
คำอธิบาย
        1. ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง สื่อหรือวัสดุที่ใช้เก็บบันทึกสารสนเทศในห้องสมุด ทั้งที่เป็นวัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อในรูปแบบอื่นๆ
        2. ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเรื่องที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศ ด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อม มลพิษ ขยะและของเสีย ก๊าซเรือนกระจก การเปลี่ยนแปลงสถาพ ภูมิอากาศ การใช้ทรัพยากร และเรื่องที่เกี่ยวข้อง
        3. การจัดหาอาจเป็นการจัดซื้อ การขอรับบริจาค รวมถึงการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่มีการ เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้
        4. ผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม ขึ้นอยู่กับการแบ่งกลุ่มผู้รับบริการของแต่ละห้องสมุด ซึ่งอาจมีการแบ่งกลุ่มที่ แตกต่างกัน

3.1.2 ปริมาณทรัพยากรสารสนเทศ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และ เรื่องที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขึ้นทุกปี อย่างน้อย ปีละ 100 รายชื่อ

3.1.3 จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและ เรื่องที่เกี่ยวข้อง ให้พร้อมใช้และ สามารถค้นคืนได้โดยง่าย ดังนี้
        (1) มีการจัดหมวดหมู่ กำหนดคำสำคัญ และคำศัพท์เฉพาะ เพื่อความ สะดวกในการสืบค้น
        (2) ลงรายการบรรณานุกรมและบันทึก ข้อมูล หรือจัดทำรายชื่อเพื่อให้ สะดวกต่อการค้นหา
        (3) จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศให้ พร้อมสำหรับให้บริการ
        (4) ผู้รับบริการสามารถสืบค้นและเข้าถึง ทรัพยากรสารสนเทศได้โดยง่าย
 
หมายเหตุ
        - ในกรณีที่ห้องสมุดไม่มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สามารถแสดงรายการทรัพยากรสารสนเทศผ่าน ระบบใดๆ หรือรูปแบบใดๆ ที่ช่วยในการค้นหาและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้โดยง่าย

3.2.1 ส่งเสริมการให้บริการและการใช้ ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
        (1) ประชาสัมพันธ์บริการ และแนะนำ ทรัพยากรสารสนเทศผ่านช่องทาง ต่างๆ ถึงผู้รับบริการ และหน่วยงาน เครือข่ายความร่วมมือ
        (2) ตรวจสอบสภาพและจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อม บริการอยู่เสมอ
        (3) จัดทำสถิติการยืมหรือการใช้ ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศ
        (4) นำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมา ประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการ ให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3.2.2 จัดพื้นที่บริการ ให้สอดคล้องกับ การเป็นห้องสมุดสีเขียว ดังนี้
        (1) สะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ
        (2) ปลอดภัย
        (3) ประหยัดพลังงานและทรัพยากร
        (4) จัดพื้นที่บริการโดยสอดแทรกความรู้ และแนวคิดการให้บริการที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม
 
คำอธิบาย
        - ความปลอดภัย หมายถึง ความปลอดภัยจากเชื้อโรค ปลอดจากมลพิษ ทั้งมลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศจากฝุ่นละออง เชื้อรา และกลิ่นไม่พึงประสงค์ ครอบคลุมถึงความปลอดภัยใน ชีวิตและทรัพย์สินของผู้รับบริการและผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด

ห้องสมุดสีเขียวจะต้องดำเนินการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้กับบุคลากร ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนี้
        4.1. มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
        4.2. ผู้รับบริการ บุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และการ นำไปใช้ประโยชน์ 
        4.3. มีการประเมินผลการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้และด้านพฤติกรรม

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
4.1.1 จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ใน เรื่องต่อไปนี้
        (1) การประหยัดพลังงานไฟฟ้า และการ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ไฟฟ้า
        (2) การประหยัดน้ำ และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
        (3) การคัดแยกและใช้ประโยชน์จาก ขยะหรือวัสดุเหลือใช้ การจัดการ ของเสียและมลพิษ
        (4) ก๊าซเรือนกระจก
 
คำอธิบาย
        - การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและส่งเสริมการเรียนรู้ สามารถจัดได้มากกว่าหัวข้อที่กำหนด ไว้ในข้อ 4.1.1 (1) - (4)
        - กลุ่มเป้าหมาย หมายถึง บุคลากร ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

4.1.2 การมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ในกิจกรรมส่งเสริมการ เรียนรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
        (1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีจำนวนมากกว่า ร้อยละ 80 ของเป้าหมายที่กำหนด
        (2) กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการ ออกแบบกิจกรรม
        (3) กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการ สรุปผลกิจกรรมและการนำไปใช้ ประโยชน์
        (4) มีการจัดทำใบประกาศหรือใบรับรอง ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามเงื่อนไข ที่ห้องสมุดกำหนด
 
คำอธิบาย
        - กลุ่มเป้าหมาย หมายถึง บุคลากร ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
        - การจัดกิจกรรมควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน (แต่ละกิจกรรมสามารถ กำหนดเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม) โดยกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งหมด ควรครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม
        - การออกใบประกาศ หรือใบรับรอง ตามข้อ 4.1.2 (4) ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ห้องสมุดกำหนด เช่น รับรองการเข้าร่วมกิจกรรม หรือ รับรองการผ่านการประเมินความรู้ หรือ รับรองการ ดำเนินกิจกรรมตามข้อกำหนด เป็นต้น

4.1.3 ความถี่และความสม่ำเสมอใน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของ ห้องสมุดสีเขียว

4.1.4 จัด Green Corner หรือพื้นที่ ส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องสมุดสีเขียว โดยแสดงข้อมูลต่อไปนี้และมีการ ปรับปรุงข้อมูลเป็นประจำทุกเดือนเป็น อย่างน้อย
       (1) นโยบายห้องสมุดสีเขียว และ สำนักงานสีเขียว (ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ มีการเปลี่ยนแปลง) 
       (2) ข่าวสาร กิจกรรม มาตรการ ด้าน การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ของห้องสมุด
       (3) ผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว และแสดงข้อมูลประสิทธิภาพการใช้ พลังงานไฟฟ้า ผลการประหยัดน้ำ การประหยัดทรัพยากร และปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
       (4) สื่อความรู้ และเอกสารเผยแพร่ที่ เกี่ยวข้องกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
 
คำอธิบาย
       - Green Corner หรือ อาจมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นตามที่ห้องสมุดกำหนด เป็นพื้นที่สำหรับจัดแสดงให้ข้อมูล เพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ และสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการห้องสมุดให้ได้รับความรู้ และมีความเข้าใจในกิจกรรมห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว
       - การจัดแสดงข้อมูลใน Green Corner สามารถจัดแสดงได้หลากหลายรูปแบบผ่านสื่อประเภท ต่างๆ และในรูปแบบดิจิทัล

4.2.1 ร้อยละของจำนวนกิจกรรมที่มี การประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการวัดความรู้
 
คำอธิบาย
       - การประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการวัดความรู้ อาจใช้เป็นแบบทดสอบ หรือการเปรียบเทียบ ความรู้ก่อนและหลังการร่วมกิจกรรม หรือ พิจารณาจากผลงาน หรือ การทดสอบใดๆ ที่ สามารถวัดผลความรู้นั้นๆได

4.2.2 ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วม กิจกรรมที่ผ่านการประเมินผลการ เรียนรู้ ด้านการวัดความรู้จากการเข้า ร่วมกิจกรรม (เกณฑ์การวัดความรู้ พิจารณาจากคะแนนผ่านที่ร้อยละ 60)
 
คำอธิบาย
        - การประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการวัดความรู้ อาจใช้เป็นแบบทดสอบ การเปรียบเทียบความรู้ ก่อนและหลังการร่วมกิจกรรม หรือ พิจารณาจากผลงาน หรือ การทดสอบใดๆ ที่สามารถวัดผล ความรู้นั้นๆได้

4.2.3 ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วม กิจกรรมที่มีผลประเมินด้านพฤติกรรม ในเชิงบวกหลังเข้าร่วมกิจกรรม โดยจัด กิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย อย่างน้อย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคลากร และกลุ่ม ผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
 
คำอธิบาย
       - ผลการประเมินด้านพฤติกรรม สามารถวัดผลจากพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก โดย การสังเกต การทำแบบทดสอบ หรือการตอบแบบสอบถาม หรือโดยวิธีการอื่นใดที่สามารถ วัดผลเชิงพฤติกรรมได้
       - ห้องสมุดสามารถเลือกเพียงบางกิจกรรมที่มีการประเมินผลด้านพฤติกรรมมานำเสนอ โดยเป็น การดำเนินกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบุคลากร และกลุ่ม ผู้รับบริการหรือกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยกิจกรรมของ 2 กลุ่มเป้าหมาย อาจเป็นกิจกรรม เดียวกันหรือไม่ก็ได้

4.2.4 การปรับปรุงกิจกรรมส่งเสริม การเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
        (1) สรุปผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการ เรียนรู้ทั้งหมดในรอบปี
        (2) มีการวิเคราะห์ปัญหา และผล ประเมินการเรียนรู้เพื่อใช้เป็นข้อมูล ในการพัฒนากิจกรรม
        (3) จัดทำแผนปรับปรุงและพัฒนา กิจกรรม
        (4) จัดทำรายงานผลการจัดกิจกรรม เสนอผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง

ห้องสมุดสีเขียวจะต้องสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเสริมสร้างการเรียนรู้ ร่วมกันในเรื่องการบริหารจัดการห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
        5.1. มีความร่วมมือกับชมรมห้องสมุดสีเขียว และหน่วยงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
        5.2. มีการจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานความร่วมมือ
        5.3. มีการขยายผลการจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียวสู่ชุมชน

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
5.1.1 มีความร่วมมือกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับด้านการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม ดังนี้
        (1) เครือข่ายห้องสมุดสีเขียว
        (2) ชมรมห้องสมุดสีเขียว
        (3) หน่วยงานภายในองค์กร
        (4) หน่วยงานภายนอกองค์กร
 
คำอธิบาย
        - หน่วยงานภายในองค์กร หมายถึง หน่วยงานภายใต้ต้นสังกัดเดียวกัน
        - หน่วยงานภายนอกองค์กร หมายถึง หน่วยงานที่อยู่ต่างสังกัด ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน

5.1.2 มีความร่วมมือในการดำเนินงาน ห้องสมุดสีเขียว ร่วมกับหน่วยงานด้าน นโยบาย/การบริหาร หน่วยงานด้าน กายภาพ ด้านวิจัย และด้านการศึกษา ดังนี้ 
        (1) หน่วยงานด้านนโยบาย/บริหาร หรือ หน่วยบริหารงานกลาง เพื่อ ประสานความร่วมมือด้านนโยบาย แผนงาน งบประมาณ การจัดซื้อจัด จ้าง การจัดการขยะ เป็นต้น
        (2) หน่วยงานด้าน กายภาพ เพื่อ ประสานความร่วมมือด้านอาคาร สถานที่ ระบบงานไฟฟ้า ระบบงาน อาคาร ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น
        (3) หน่วยงานวิจัย เพื่อประสานความ ร่วมมือในการนำเทคโนโลยีหรือ ผลงานวิจัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการ พัฒนาห้องสมุดสีเขียว
        (4) หน่วยงานด้านการศึกษา หรือหน่วย การเรียนการสอน เพื่อประสาน ความมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
 
คำอธิบาย
        - หน่วยงานด้านนโยบาย/บริหาร หน่วยบริหารงานกลาง หน่วยงานด้านกายภาพ หน่วยงานวิจัย และ หน่วยงานด้านการศึกษา อาจมีชื่อเรียกอย่างอื่น แต่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับงานด้าน นโยบายหรือการบริหาร ด้านกายภาพ ด้านการวิจัย และด้านการเรียนการสอน ซึ่งอาจเป็น หน่วยงานภายในสังกัดเดียวกัน หรือต่างสังกัด หรือเป็นหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชน หรือหน่วยงานใดๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความร่วมมือในการดำเนินงาน ห้องสมุดสีเขียว

5.2.1 กิจกรรมความร่วมมือด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
        (1) เข้าร่วมกิจกรรมที่หน่วยงานความ ร่วมมือจัด
        (2) จัดกิจกรรมและเชิญหน่วยงานความ ร่วมมือเข้าร่วม
        (3) เป็นวิทยากรหรือเป็นพี่เลี้ยงให้กับ หน่วยงานอื่น
        (4) เป็นสถานที่ศึกษาดูงานด้านห้องสมุด สีเขียว

5.2.2 จำนวนหน่วยงานต่อปี ที่ได้รับการขยายผลการจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียว เช่น โรงเรียน ชุมชน หรือ หน่วยงานต่างๆ
 
คำอธิบาย
        - การขยายผลการจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียว อาจเป็นโรงเรียน เรือนจำ ชุมชน หรือหน่วยงาน อื่นใด ที่ไปดำเนินการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว
        - การดำเนินงาน สามารถดำเนินการขยายผลการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในหน่วยงานเดิมได้ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหน่วยงานใหม่ทุกปี

ห้องสมุดสีเขียวจะต้องกำหนดมาตรการในการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
        6.1. มีการกำหนดมาตรการ มีการจัดเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบค่าเป้าหมายในการใช้น้ำ พลังงาน ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง กระดาษ และวัสดุสำนักงานอื่นๆ
        6.2. จัดการประชุมและจัดนิทรรศการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการใช้ทรัพยากร ลดการใช้พลังงาน และลดปริมาณของเสีย

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
6.1.1 มาตรการหรือแนวทางใช้น้ำมี ความเหมาะสมกับสำนักงานจะต้อง ประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
       (1) การสร้างความตระหนักในการใช้น้ำ
       (2) การกำหนดเวลาการใช้น้ำ เช่น เวลา รดน้ำต้นไม้ เป็นต้น
       (3) การกำหนดรูปแบบการนำน้ำกลับมา ใช้ใหม่
       (4) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดน้ำ
 
หมายเหตุ อุปกรณ์หรือเครื่องสุขภัณฑ์หากยังใช้งานได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนในทันทีตามข้อ (4) แต่ผู้ตรวจประเมิน จะต้องพิจารณาถึงแนวทางในอนาคตกรณีเสียหรือชำรุด แล้วเปลี่ยนเป็นแบบอุปกรณ์ประหยัดน้ำ
 
คำอธิบาย
        1. สำนักงานควรมีการทบทวนมาตรการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่การใช้ทรัพยากรและ พลังงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
        2. การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ การนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัด หรือนำน้ำเหลือทิ้ง (น้ำควบแน่นจาก เครื่องปรับอากาศ น้ำดื่มเหลือจากการจัดประชุม) นำกลับมาใช้ประโยชน์ เป็นต้น

6.1.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำต่อ หน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย การเก็บข้อมูล
กรณีบรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำ แต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำ ต่อหน่วย
        (3) บรรลุเป้าหมาย
        (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การเก็บข้อมูล
 
กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำ แต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำ ต่อหน่วย
        (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนว ทางแก้ไข
 
หมายเหตุ
        1. กรณีสำนักงานขอการรับรองใหม่ สำนักงานจะต้องสรุปและวิเคราะห์ปริมาณการใช้น้ำเป็นรายเดือน
        2. กรณีสำนักงานต่ออายุสำนักงานสีเขียว และขอยกระดับสำนักงานสีเขียว จะต้องสรุปและวิเคราะห์ ปริมาณน้ำย้อนหลัง 3 ปี เป็นภาพรวมของแต่ละปี หากเป็นปีปัจจุบันจะต้องสรุปและวิเคราะห์ผลเป็น รายเดือน
        3. ปริมาณการใช้น้ำหากไม่ลดลงตามเป้าหมายที่กำหนด สำนักงานต้องอธิบายได้ ประกอบกับผู้ตรวจ ประเมินจะต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณา เช่น ไม่ลดลงเนื่องจากมีการจัดประชุมเพิ่ม มีการ ขยายพื้นที่ หรือบุคลากรเพิ่ม เป็นต้น ถือว่าให้ 4 คะแนน แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากขาดความตระหนัก จากการใช้หรือมาตรการไม่ได้ผล ได้เพียง 3 คะแนน
        4. สามารถใช้แบบฟอร์ม 1.7.1 ใบขอให้แก้ไขและป้องกันข้อบกพร่องร่วมได้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไข
        5. ส่วนกรณีที่สำนักงานย้ายสถานที่ จะไม่มีฐานข้อมูลย้อนหลังของปีที่ผ่านมา อนุโลมให้รวบรวมข้อมูลใน ปีล่าสุด

6.1.3 ร้อยละของการปฏิบัติตาม มาตรการประหยัดน้ำในพื้นที่ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)

6.2.1 มาตรการหรือแนวทางการใช้ ไฟฟ้าเหมาะสมกับสำนักงานจะต้อง ประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
        (1) การสร้างความตระหนักในการใช้ ไฟฟ้า
        (2) การกำหนดเวลาการใช้ไฟฟ้า เช่น เวลาการเปิด - ปิด เป็นต้น
        (3) การใช้พลังงานทดแทน
        (4) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า
 
หมายเหตุ อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าหากยังใช้งานได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนในทันทีตามข้อ (4) แต่ผู้ตรวจประเมิน จะต้องพิจารณาถึงแนวทางในอนาคตกรณีเสียหรือชำรุด แล้วเปลี่ยนเป็นแบบอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า
 
คำอธิบาย สำนักงานควรมีการทบทวนมาตรการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่การใช้ทรัพยากรและ พลังงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

6.2.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย การเก็บข้อมูล
กรณีบรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า แต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า ต่อหน่วย
         (3) บรรลุเป้าหมาย
         (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การเก็บข้อมูล
 
กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า แต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า ต่อหน่วย
         (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนว ทางแก้ไข
 
หมายเหตุ
          1. กรณีสำนักงานขอการรับรองใหม่ สำนักงานจะต้องสรุปและวิเคราะห์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเป็นรายเดือน
          2. กรณีสำนักงานต่ออายุสำนักงานสีเขียว และขอยกระดับสำนักงานสีเขียว จะต้องสรุปและวิเคราะห์ ปริมาณไฟฟ้าย้อนหลัง 3 ปี เป็นภาพรวมของแต่ละปี หากเป็นปีปัจจุบันจะต้องสรุปและวิเคราะห์ผล เป็นรายเดือน
          3. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าหากไม่ลดลงตามเป้าหมายที่กำหนด สำนักงานต้องอธิบายได้ประกอบกับ ผู้ตรวจประเมินจะต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณา เช่น ไม่ลดลงเนื่องจากมีการจัดประชุมเพิ่ม มี การขยายพื้นที่เพิ่ม หรือบุคลากรเพิ่ม เป็นต้น ถือว่าให้ 4 คะแนน แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากขาดความ ตระหนักจากการใช้หรือมาตรการไม่ได้ผล ได้เพียง 3 คะแนน
          4. สามารถใช้แบบฟอร์ม 1.7.1 หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น เพื่อแสดงการขอให้แก้ไขและ ป้องกันข้อบกพร่องร่วมได้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางการแก้ไข
         5. ส่วนกรณีที่สำนักงานย้ายสถานที่ จะไม่มีฐานข้อมูลย้อนหลังของปีที่ผ่านมา อนุโลมให้รวบรวมข้อมูลใน ปีล่าสุด โดยจะต้องสรุปและวิเคราะห์ผลเป็นรายเดือน

6.2.3 ร้อยละของการปฏิบัติตาม มาตรการประหยัดไฟฟ้าในพื้นที่ทำงาน

6.2.4 มาตรการหรือแนวทางการใช้ น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางที่ เหมาะสมกับสำนักงาน ดำเนินการดังนี้
        (1) การสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
        (2) การวางแผนการเดินทาง
        (3) การซ่อมบำรุงดูแลยานพาหนะ
        (4) การใช้จักรยานหรือขนส่งสาธารณะ มาทำงาน
 
คำอธิบาย
        สำนักงานควรมีการทบทวนมาตรการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่การใช้ทรัพยากรและ พลังงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

6.2.5 มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำมัน เชื้อเพลิงต่อหน่วยเปรียบเทียบกับ เป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมัน เชื้อเพลิงแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมัน เชื้อเพลิงต่อหน่วย

        (3) บรรลุเป้าหมาย
        (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมัน เชื้อเพลิงแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมัน เชื้อเพลิงต่อหน่วย
        (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ 
        1. กรณีสำนักงานขอการรับรองใหม่ สำนักงานจะต้องสรุปและวิเคราะห์ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นรายเดือน
        2. กรณีสำนักงานต่ออายุสำนักงานสีเขียว และขอยกระดับสำนักงานสีเขียว จะต้องสรุปและวิเคราะห์ ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงย้อนหลัง 3 ปี เป็นภาพรวมของแต่ละปี หากเป็นปีปัจจุบันจะต้องสรุปและ วิเคราะห์ผลเป็นรายเดือน
        3. ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไม่ลดลงตามเป้าหมายที่กำหนด สำนักงานต้องอธิบายได้ประกอบ กับผู้ตรวจประเมินจะต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณา เช่น ไม่ลดลงเนื่องจาก มีการจัดประชุมเพิ่มมีการเดินทางเพิ่ม หรือบุคลากรเพิ่ม เป็นต้น ถือว่าให้ 4 คะแนน แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากขาดความ ตระหนักจากการใช้หรือมาตรการไม่ได้ผล ได้เพียง 3 คะแนน
        4. สามารถใช้แบบฟอร์ม 1.7.1 ใบขอให้แก้ไขและป้องกันข้อบกพร่องร่วมได้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไข หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น

คำอธิบาย ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงจะคิดจากการใช้ที่อยู่ภายใต้บริบทในการขอการรับรองสำนักงานสีเขียว เช่น การ เดินทางไปประชุม การรับส่งเอกสาร การติดต่อประสานงาน เป็นต้น


6.3.1 มาตรการหรือแนวทางการใช้ กระดาษที่เหมาะสมกับสำนักงาน จะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียด ดังนี้
       (1) การสร้างความตระหนักในการใช้ กระดาษ
       (2) การกำหนดรูปแบบการใช้กระดาษ
       (3) การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
       (4) การนำกระดาษกลับมาใช้ใหม

คำอธิบาย สำนักงานควรมีการทบทวนมาตรการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่การใช้ทรัพยากรและ พลังงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด


6.3.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้กระดาษ ต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ กระดาษแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ กระดาษต่อหน่วย
        (3) บรรลุเป้าหมาย
        (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
 
การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ กระดาษแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ กระดาษต่อหน่วย 
        (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนว ทางแก้ไข
 
หมายเหตุ
         1. กรณีสำนักงานขอการรับรองใหม่ สำนักงานจะต้องสรุปและวิเคราะห์ปริมาณการใช้กระดาษเป็นราย เดือน
         2. กรณีสำนักงานต่ออายุสำนักงานสีเขียว และขอยกระดับสำนักงานสีเขียว จะต้องสรุปและวิเคราะห์ ปริมาณกระดาษย้อนหลัง 3 ปี เป็นภาพรวมของแต่ละปี หากเป็นปีปัจจุบันจะต้องสรุปและวิเคราะห์ ผลเป็นรายเดือน
         3. ปริมาณการใช้กระดาษไม่ลดลงตามเป้าหมายที่กำหนด สำนักงานต้องอธิบายได้ประกอบกับ ผู้ตรวจประเมินจะต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณา เช่น ไม่ลดลงเนื่องจาก มีการจัดประชุมเพิ่ม มี กิจกรรมเพิ่ม บุคลากรเพิ่ม ถือว่าให้ 4 คะแนน แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากขาดความตระหนักจากการใช้ หรือมาตรการไม่ได้ผล ได้เพียง 3 คะแนน
        4. สามารถใช้แบบฟอร์ม 1.7.1 ใบขอให้แก้ไขและป้องกันข้อบกพร่องร่วมได้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไข

6.3.3 ร้อยละของการปฏิบัติตาม มาตรการประหยัดกระดาษในพื้นที่ ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของ บุคลากรในพื้นที่)

6.3.4 มาตรการหรือแนวทางการใช้ หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุ อุปกรณ์เหมาะสมกับสำนักงานจะต้อง ประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
        (1) การสร้างความตระหนักในการใช้
        (2) การกำหนดรูปแบบการใช้
        (3) การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

หมายเหตุ วัสดุอุปกรณ์สำนักงานสามารถใช้เป้าหมายอ้างอิงมาตรฐาน 5ส. ได้ หรือสามารถกำหนดได้ว่า เป็นอุปกรณ์ส่วนตัวหรือส่วนรวม และนำมาเป็นตัวควบคุมปริมาณของอุปกรณ์สำนักงาน


6.3.5 ร้อยละของการดำเนินตาม มาตรการประหยัดการใช้หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์ สำนักงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของ บุคลากรในพื้นที่)

6.4.1 ร้อยละของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการส่งข้อมูลเพื่อเตรียมการประชุม ได้แก่ QR code, Email, Social Network, Intranet เป็นต้น

6.4.2 การจัดการประชุมและนิทรรศการที่มีการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากร - พลังงาน และลดของเสียที่เกิดขึ้น จะต้องดำเนินการดังนี้
        (1) การจัดเตรียมขนาดห้องประชุม เหมาะสมกับจำนวนผู้เข้าประชุม หรือจัดนิทรรศการ
        (2) ห้องประชุมหรือพื้นที่จัดนิทรรศการ ไม่มีการตกแต่งด้วยวัสดุที่ย่อยสลาย ยาก หรือวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
        (3) การกำหนดแนวทางเลือกสถานที่ ภายนอกสำนักงานที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม
        (4) การจัดเตรียมสื่อที่ใช้ในการประชุม โดยจะต้องลดการใช้กระดาษ หมึกพิมพ์
        (5) การจัดเตรียมอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หมายเหตุ กรณีที่ไม่มีโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ สำนักงานสามารถทำหนังสือขอความร่วมมือ กับโรงแรมที่จะเข้าใช้บริการว่าการในจัดประชุมขอให้จัดประชุมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green meeting)

คำอธิบาย สถานที่จัดประชุมหรือนิทรรศการที่สามารถลดการใช้พลังงานได้ ได้แก่ สถานที่ไม่มีการใช้พลังงานใดๆ หรือเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานให้น้อยลง ซึ่งสามารถอยู่ในตัวอาคารหรือนอกอาคารก็ได้


ห้องสมุดสีเขียวจะต้องจัดการขยะ และจัดการน้ำเสีย เป็นไปตามมาตรฐานที่กฏหมายกำหนด ดังนี้
        7.1. มีการจัดการขยะ ทำการคัดแยก และลดปริมาณขยะ
        7.2. มีการจัดการน้ำเสีย โดยคุณภาพน้ำทิ้งจะต้องเป็นไปตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน

7.1.1 มีการดำเนินงานตามแนว ทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัด ขยะอย่างเหมาะสม มีแนวทางการ ดำเนินงาน ดังนี้
        (1) มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่ เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงาน และจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่างๆ อย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
        (2) มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่าง ถูกต้องและชัดเจนทุกถังที่สุ่ม ตรวจสอบ
        (3) มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลัก วิชาการ โดยจะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละประเภทจากข้อ (1) อย่าง เพียงพอ
        (4) มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่ม ตรวจสอบ
        (5) มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
        (6) มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัด ขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการ อย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการ จัดการอย่างเหมาะสม)
        (7) ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับ การอนุญาตอย่างถูกต้อง)

 


7.1.2 การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง
        (1) มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
        (2) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละ ประเภทครบถ้วนทุกเดือน
        (3) มีการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่า เป้าหมายที่ได้กำหนดจากหมวด 1 ข้อ 1.1.5
        (4) ปริมาณขยะที่ส่งกำจัดมีแนวโน้ม ลดลง
 
คำอธิบาย
        (1) การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ หมายถึง การนำขยะทุกประเภทที่สามารถนำ กลับมาใช้ใหม่หรือสามารถสร้างประโยชน์ได้ ส่งผลต่อการลดภาระต่อสิ่งแวดล้อมโดยการฝังกลบหรือ เผาทำลายในเตาเผา เป็นต้น
        (2) ร้อยละของปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่  =   (ปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่สะสม x 100) / ปริมาณขยะทั้งหมดสะสม
        (3) ร้อยละของปริมาณขยะทั่วไป = (ปริมาณขยะทั่วไปสะสม x 100) / ปริมาณขยะทั้งหมดสะสม
        (4) นวัตกรรม หมายถึง การทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางความคิด กระบวนการ ทำงาน หรือเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอด

7.2.1 การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้งจะต้องอยู่ใน มาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยมีแนวทาง ดังนี้
        (1) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการ จัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
        (2) มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ เช่น มีตะแกรงดักเศษอาหาร มีบ่อดักไขมัน หรือมีระบบบำบัดน้ำเสียเหมาะสมกับ องค์ประกอบของน้ำเสีย
        (3) มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย
        (4) มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
 
คำอธิบาย การบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย หมายถึง การบำบัดน้ำเสียทุกจุดก่อนปล่อยออกสู่สาธารณะ

7.2.2 การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีแนวทางดังนี้
        (1) มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมี การตักและทำความสะอาดเศษ อาหาร และไขมันออกจากตะแกรง ดักขยะ หรือบ่อดักไขมัน ตามความถี่ ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณ และการปนเปื้อน
        (2) มีการนำกากตะกอนจากระบบบำบัด น้ำเสีย หรือเศษอาหาร น้ำมันและ ไขมันจากถัง/บ่อดักไขมันไปกำจัด อย่างถูกต้อง
        (3) มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซม ระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถใช้งาน และมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
        (4) มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสีย อย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการ ปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่นๆ

ห้องสมุดสีเขียวจะต้องควบคุมมลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง มีการจัดการสภาพแวดล้อมอย่าง เหมาะสม และพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน ดังนี้
        8.1. มีการควบคุมมลพิษทางอากาศในห้องสมุด มีการจัดการคุณภาพอากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อการให้บริการ
        8.2. มีการบำรุงรักษา ระบบปรับอากาศ ระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย อย่างต่อเนื่อง
        8.3. มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสม
        8.4. มีการควบคุมความเข้มของแสงสว่างให้เป็นไปตามมาตรฐาน
        8.5. มีการควบคุมมลพิษทางเสียงภายในห้องสมุด
        8.6. มีการวางแผนจัดการและบำรุงรักษาพื้นที่ของห้องสมุด และควบคุมสัตว์พาหะนำโรค
        8.7. มีการเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน โดยวางแผนฉุกเฉินที่เหมาะสมและเป็นปัจจุบัน มีการ อบรมให้ความรู้ ทำการตรวจสอบอุปกรณ์ให้เพียงพอและพร้อมใช้

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
8.1.1 การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน
        (1) มีแผนการดูแลบำรุงรักษา ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ ปั๊มดูดน้ำ ปั๊มดับเพลิง เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) พรมปู พื้นห้อง (ขึ้นอยู่กับสำนักงาน)
        (2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ตามแผนการดูแลบำรุงรักษา
        (3) มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดใน ข้อ 1
        (4) มีการควบคุมมลพิษทางอากาศและ ใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพจาก การปฏิบัติในข้อ 1
        (5) การจัดวางเครื่องพิมพ์เอกสาร เครื่องถ่ายเอกสาร (Printer) ให้ ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน
        (6) การควบคุมควันไอเสียรถยนต์ บริเวณสำนักงาน เช่น ติดป้ายดับ เครื่องยนต์
        (7) การป้องกันอันตรายจากการพ่นยา กำจัดแมลง (ถ้ามี)
        (8) มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการ เกิดมลพิษทางอากาศจากกิจกรรม ต่างๆ เพื่อการเตรียมความพร้อม และระวังการได้รับอันตราย (สามารถพิจารณาจากเอกสารหรือ ภาพถ่ายเป็นหลักฐานประกอบ)

8.1.2 มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมี การกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสม และปฏิบัติตามที่กำหนด
        (1) มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่
        (2) มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
        (3) มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่
        (4) เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ ประชาชนที่อยู่บริเวณข้างเคียงไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า – ออกของ สถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพ ของผู้ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณ ที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มา ใช้สถานที่นั้น
        (5) ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอก เขตสูบบุหรี่

8.1.3 การจัดการมลพิษทางอากาศ จากการก่อสร้าง ปรับปรุง อาคารหรือ อื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
        (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการ มลพิษทางอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร
        (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดใน ข้อ (1)
        แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้
             - มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
             - มีที่กั้นเพื่อป้องกันมลพิษทาง อากาศที่จะส่งผลกระทบกับ พนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
             - มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและ ระวังการได้รับอันตราย

8.2.1 มีการตรวจวัดความเข้มของแสง สว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความ เข้มของแสงสว่างที่ได้มาตรฐาน) และ ดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐาน กำหนด
        (1) มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง ประจำปี พร้อมแสดงหลักฐานผล การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง เฉพาะจุดทำงานแลพื้นที่ทำงาน
        (2) เครื่องวัดความเข้มของแสงสว่าง จะต้องมีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบ (แสดงหลักฐานใบรับรอง)
        (3) ผลการตรวจวัดจะต้องเป็นไปตาม มาตรฐานกฎหมายกำหนด
        (4) ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
 
หมายเหตุ
         สำนักงานที่อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงแรงงาน แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับ วิชาชีพ (จป.ว.) เนื่องด้วยจำนวนลูกจ้างต่ำกว่า 100 คน สามารถขอให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับ วิชาชีพ (จป.ว.) ต้นสังกัดของสำนักงานนั้นๆ ตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างได้ หากกฎกระทรวงกำหนด รายละเอียดของบุคคลที่จะขอขึ้นทะเบียนหรือนิติบุคคลที่จะขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 9 หรือมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ประกาศขึ้น สำนักงานหรือผู้ตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างจะต้องดำเนินการตามกฎหมายฉบับดังกล่าว ทันที่ที่มีผลบังคับใช้
 
คำอธิบาย
        1. กรณีสำนักงานอยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงแรงงาน เช่น หน่วยงานเอกชน รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น จะต้องดำเนินการตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลา และประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ 2561
        2. สำนักงานที่ไม่อยู่ภายใต้กระทรวงแรงงาน เช่น หน่วยงานราชการ สถาบันศึกษา เป็นต้น ไม่ต้อง ปฏิบัติตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการ วิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและ ประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ 2561

8.3.1 การควบคุมมลพิษทางเสียง ภายในอาคารสำนักงาน
        (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการ เสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
        (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดใน ข้อ (1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน

8.3.2 การจัดการเสียงดังจากการ ก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ใน สำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
        (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการ เสียงดังที่เกิดจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร
        (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดใน ข้อ (1)
 
        แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้
        - มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
        - มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและ ระวังการได้รับอันตราย

8.4.1 มีการวางแผนจัดการความน่า อยู่ของสำนักงานโดยจะต้องดำเนินการ ดังนี้
        (1) จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัว อาคารและนอกอาคาร โดยจะต้อง กำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน เช่น พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนรวม และพื้นที่ทำงาน เป็น ต้น สามารถสื่อสารด้วยป้ายหรือ อื่นๆ ที่เหมาะสมเพื่อบ่งชี้
        (2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ อย่างเหมาะสมทั้งพื้นที่เฉพาะ และ พื้นที่ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร 
        (3) มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษา ความสะอาดและความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ทั้งพื้นที่เฉพาะ และพื้นที่ ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร
        (4) การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สี เขียว และคงรักษาไว้ของสำนักงาน รวมไปถึงมีการปฏิบัติจริงตาม แผนงาน

8.4.2 ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไป ตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด
 
หมายเหตุ หากสำนักงานมีพื้นที่จำกัด อาจมีการจัดเก็บของหรือใช้พื้นที่ร่วมกัน ดังนั้นหากไม่มีการแยกพื้นทีได้ อย่างชัดเจน สามารถแบ่งสัดส่วนการใช้งานและจัดเก็บของภายในพื้นที่นั้นได้ ทั้งนี้ผู้ตรวจประเมิน จะต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาร่วมด้วยต่อสถานที่จริง
 
คำอธิบาย การใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ หมายถึง พื้นที่ที่สำนักงานกำหนดขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านใดด้าน หนึ่ง และได้มีการใช้พื้นที่ดังกล่าวตามที่ได้กำหนดจริง โดยไม่มีสิ่งอื่นมาเกี่ยวข้อง

8.4.3 ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น

คำอธิบาย
         1. พื้นที่สีเขียว สามารถประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสำนักงาน เช่น การทำสวนแนวดิ่งกรณีที่ไม่มีพื้นที่สำหรับ ปลูกต้นไม้จากพื้นดิน การปลูกไม้กระถางบริเวณด้านนอกสำนักงานหรือระเบียงทางเดินนอกห้อง ทำงาน
         2. ในการพิจารณาจะต้องดูถึงความสะอาดและความเป็นระเบียบร่วมด้วย

8.4.4 มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค และดำเนินการได้ตามที่กำหนด
        (1) มีการกำหนดแนวทางการป้องกัน สัตว์พาหะนำโรคในสำนักงานอย่าง เหมาะสม ได้แก่ นกพิราบ หนู แมลงสาบ และอื่นๆ
        (2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค อย่างน้อยที่สุดเดือนละ 1 ครั้ง
        (3) มีการตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ ที่ได้กำหนด (เฉพาะตอนกลางวัน)
        (4) มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการ เมื่อพบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค
        (5) ไม่พบร่องรอยหรือสัตว์พาหะนำโรค ในระหว่างการตรวจประเมิน หมายเหตุการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค สำนักงานสามารถควบคุมและจัดการได้ เอง หรือว่าจ้างหน่วยงานเฉพาะมา ดำเนินการแทน

หมายเหตุ จะต้องมีการสำรวจพื้นที่และสัมภาษณ์ถึงความเข้าใจผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย

8.5.1 การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและ อพยพหนีไฟตามแผนที่กำหนด
         (1) มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและ อพยพหนีไฟ
         (2) จำนวนคนเข้าอบรมฝึกซ้อมดับเพลิง ขั้นต้นจะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของพนักงานแต่ละแผนกหรือส่วนงาน
         (3) พนักงานทุกคนจะต้องเข้าฝึกซ้อม อพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (พิจารณาพนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่อยู่ประจำพื้นที่สำนักงานที่มี การฝึกซ้อมเท่านั้น)
         (4) มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามแผน ที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรองการอบรม ภาพถ่าย เป็นต้น
         (5) มีการฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่ กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรอง ภาพถ่าย เป็นต้น
         (6) มีการกำหนดจุดรวมพลที่สามารถ รองรับได้ พร้อมมีป้ายแสดงอย่าง ชัดเจน
         (7) มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำ ทางหนีไฟ ไปยังจุดรวมพล พร้อม สื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน
         (8) มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทาง หนีไฟ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
 
หมายเหตุ  มติที่ประชุมวันที่ 27 มีนาคม 2562 เห็นว่า สำนักงานที่เช่าพื้นที่ กรณีที่เจ้าของพื้นที่ไม่มีการอบรมฝึกซ้อม ดับเพลิง และอพยพหนีไฟ สำนักงานต้องทำหนังสือถึงเจ้าของตึกเช่าเพื่อขอความร่วมมือสำหรับการอบรม ฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ หรือสำนักงานไม่สามารถฝึกซ้อมเองได้เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ สำนักงานจะต้องแสดงถึงจุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน มีการ กำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟ ไปยังจุดรวมพล พร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน มีการกำหนด ทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน

8.5.2 มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและ เหมาะสม และร้อยละของพนักงานที่ เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)

คำอธิบาย
แผนฉุกเฉินจะต้องประกอบไปด้วย
        1. ก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้ ได้แก่ แผนการอบรมป้องกันและระงับอัคคีภัย แผนรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย แผนการตรวจตราเพื่อป้องกันอัคคีภัย
        2. ขณะเหตุเพลิงไหม้ ได้แก่ แผนระงับอัคคีภัย แผนอพยพหนีไฟ
        3. หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้แก่ แผนบรรเทาทุกข์แผนปฏิรูปฟื้นฟู

8.5.3 ความเพียงพอและการพร้อมใช้ งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและ ป้องกันอัคคีภัย และระบบสัญญาณแจ้ง เหตุเพลิงไหม้ และร้อยละของพนักงานทราบวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ ดังกล่าว (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
        (1) มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
            - ถังดับเพลิงมีเพียงพอต่อการใช้งาน (กำหนดระยะห่าง อย่างน้อย 20 เมตร/ถัง ตามกฎหมาย ติดตั้งสูง จากพื้นไม่เกิน 150 เซนติเมตรนับ จากคันบีบ และถ้าเป็นวางกับพื้น จะต้องมีฐานรองรับ) พร้อมกับติดป้ายแสดง
            - ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ถ้ามี)
            - สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสาย ฉีด ( Hose and Hose Station) (ถ้ามี)
       (2) ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนและ ต้องพร้อมใช้งาน
            - สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (พื้นที่ มากกว่า 300 ตารางเมตรหรือ อาคารสูงเกิน 2 ชั้นขึ้นไป)
            - ติดตั้งตัวดักจับควัน (smoke detector) หรือตัวตรวจจับความ ร้อน (heat detector)
       (3) มีการตรวจสอบข้อ (1) - (2) และ หากพบว่าชำรุดจะต้องดำเนินการ แจ้งซ่อมและแก้ไข
       (4) พนักงานจะต้องเข้าใจถึงวิธีการใช้ และตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและ สัญญาณแจ้งเตือน อย่างน้อยร้อยละ 75 จากที่สุ่มสอบถาม
       (5) ไม่มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิง และ สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
 
คำอธิบาย
ความถี่ในการตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย
       1. ถังดับเพลิงตรวจสอบทั่วไปเดือนละ 1 ครั้ง ได้แก่ ชนิดของถังดับเพลิง สิ่งกีดขวาง ความดัน สภาพ ชำรุดเสียหาย
       2. สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้(Fire alarm) ปีละ 1 ครั้ง
       3. ติดตั้งตัวดักจับควัน (Smoke detector) หรือตัวตรวจจับความร้อน (Heat detector) ปีละ 1 ครั้ง
       4. ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ดีเซล) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
       5. ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (มอเตอร์ไฟฟ้า) เดือนละ 1 ครั้ง
       6. สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (Hose and Hose Station) เดือนละ 1 ครั้ง

ห้องสมุดสีเขียวที่ดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง ควรเลือกสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้
        9.1. จัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
        9.2. มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและจัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของห้องสมุด
        9.3. ในกรณีที่มีการจัดจ้างหน่วยงานหรือบุคคลควรคัดเลือกหน่วยงานหรือบุคคลที่มีการดำเนินงาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกำกับดูแลให้หน่วยงานหรือบุคคล ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนด

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
9.1.1 การจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
        (1) กำหนดผู้รับผิดชอบ และมีความเข้าใจ
        (2) ค้นหารายการสินค้าที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม และสามารถระบุ แหล่งข้อมูลสืบค้นได้
        (3) จัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับสินค้า ที่ใช้จริงในสำนักงาน โดยจะต้องระบุรายการสินค้ายี่ห้อฉลากสิ่งแวดล้อม วันหมดอายุการรับรอง ของสินค้านั้น หากเป็นฉลาก สิ่งแวดล้อมของต่างประเทศจะต้อง อ้างอิงหน่วยงาน/ประเทศที่ให้การ รับรองนั้นๆ ด้วย
       (4) แจ้งไปยังผู้ขายเพื่อขอความร่วมมือ ในการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม กรณีที่ไม่มีร้านค้าที่ จำหน่ายสินค้าทีเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม

หมายเหตุ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่น ฉลากเขียว ตะกร้าเขียว ฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 ฉลากประสิทธิภาพสูง ฉลาก คาร์บอนฟุตปริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อน สินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลาก สิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น

9.1.2 ร้อยละของการจัดซื้อสินค้า ประเภทวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
 
หมายเหตุ
ร้อยละของสินค้าที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมจะเทียบกับปริมาณการซื้อ และ/หรือ มูลค่าสินค้า
         (1) แสดงรายการสินค้าสำนักงานที่จัดซื้อทั้งหมดโดยระบุยี่ห้อและรุ่นสินค้า
         (2) แสดงฉลากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของสินค้า
         (3) คำนวณจำนวนร้อยละสินค้าที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงรายการสินค้า ปริมาณสินค้า และมูลค่า
 
คำอธิบาย
การคำนวณร้อยละการจัดซื้อสินค้าประเภทวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
          1. ร้อยละปริมาณสินค้าที่เป็นมิตรฯ = (ปริมาณสินค้าที่เป็นมิตรฯ สะสม x 100) / ปริมาณสินค้าที่ซื้อสะสมทั้งหมด
          2. ร้อยละมูลค่าสินค้าที่เป็นมิตรฯ = (มูลค่าสินค้าที่เป็นมิตรฯ สะสม x 100) / มูลค่าสินค้าที่ซื้อสะสมทั้งหมด

9.1.3 ร้อยละของปริมาณและประเภท ของวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
 
หมายเหตุ หลักในการสุ่มสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสินค้าที่ถูกขึ้นทะเบียนในแบบฟอร์ม 9.1.1 บัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น ตามข้อ 9.1.1

9.2.1 ร้อยละของการจัดจ้างหน่วยงาน หรือบุคคลที่มีการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
         (1) มีหลักฐานการพิจารณาถึงมาตรฐาน ด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่ไดการรับรองโดยจะต้องแสดงหลักฐาน การรับรองดังกล่าว
         (2) หากหน่วยงานไม่มีมาตรฐานด้าน สิ่งแวดล้อมรับรอง ทางสำนักงาน จะต้องทำการประเมินด้านสิ่งแวดล้อม ของหน่วยงานเบื้องต้น
         (3) มีการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงด้าน สิ่งแวดล้อมเมื่อเข้ามาปฏิบัติงานใน สำนักงาน
         (4) หน่วยงานหรือบุคคลที่ได้รับคัดเลือก จะต้องได้รับการอบรมหรือสื่อสาร เกี่ยวกับสำนักงานสีเขียว และ แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของตนเอง
         (5) หน่วยงานหรือบุคคลเหล่านั้นสามารถ อธิบายแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของตนเองได้
 
หมายเหตุ
         - หากหน่วยงานภายนอกมีมาตรฐาน ด้านสิ่งแวดล้อมรับรองจะต้อง พิจารณาทุกข้อ ยกเว้นข้อ (2)
         - หากหน่วยงานภายนอกไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรอง พิจารณาข้อ (2) - (5)
 
คำอธิบาย
         - การจัดจ้างรวมถึงหน่วยงานที่มาใช้เช่าพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของสำนักงาน เพื่อทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ร้านแกแฟ ร้านอาหาร ร้านถ่ายเอกสาร เป็นต้น ต้องมีมาตรการในการควบคุมด้วย เช่นเดียวกัน

9.2.2 ร้อยละของการตรวจสอบด้าน การดูแลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ปฏิบัติงาน ของหน่วยงานหรือบุคคลที่เข้ามา ดำเนินการ เช่น ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างช่วง แม่บ้าน รปภ. พนักงานส่งเอกสาร เป็นต้น

หมายเหตุ
        (1) กรณีที่เป็นการว่าจ้างให้อยู่ประจำ สำนักงานจะต้องทำการประเมิน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
        (2) กรณีที่เป็นการว่าจ้างไม่อยู่ประจำ สำนักงาน จะต้องทำการประเมิน ทุกครั้งเมื่อเข้ามาปฏิบัติงานใน สำนักงาน

9.2.3 ร้อยละของการเลือกใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (นอกสำนักงาน) ได้แก่ โรงแรม สถานที่จัดงาน หรืออื่นๆ ที่ได้มีการขึ้นทะเบียนการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
 
หมายเหตุ
        (1) สถานที่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น ISO 14001 Green Hotel ใบไม้เขียว ฉลากเขียว Green Office หรือ Green Building เป็นต้น และมี การจัดการประชุมที่คำนึงถึงการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ พลังงาน และลดการก่อให้เกิดมลพิษ
        (2) ในกรณีที่ไม่มีสถานที่จัดประชุมที่ ได้รับการรับรองฯ อยู่ในบริเวณ ใกล้เคียงสำนักงาน จะต้องเลือก สถานที่ที่ใช้เวลาเดินทางน้อยที่สุด และจัดประชุมในรูปแบบ Green Meeting (ตามความเหมาะสมและ เป็นไปได้) โดยจะต้องแสดงหลักฐาน การคัดเลือกสถานที่เหล่านั้น
 
กรณีที่ไม่เคยจัดประชุมภายนอก หรือใช้สถานที่อื่นภายนอกสำนักงาน อย่างน้อยจะต้องทราบ แหล่งการสืบค้นข้อมูล แนวทางการพิจารณาเกณฑ์การคัดเลือก