สำนักวิทยบริการฯ เชิญชวนเข้าชมนิทรรศการ ผ้าพิมพ์ลวดลายอัตลักษณ์
ข่าวประชาสัมพันธ์การจัดแสดงนิทรรศการ ผ้าพิมพ์ลวดลายอัตลักษณ์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ขอเชิญผู้สนใจเยี่ยมชมนิทรรศการ ผ้าพิมพ์ลวดลายอัตลักษณ์ ณ โถงทางเดินชั้น 1อาคารบรรณราชนครินทร์ สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
หมายเหตุ: สนใจสั่งซื้อผ้าลายอัตลักษณ์ (ราคาพิเศษ)
สามารถติดต่อเลือกซื้อได้ที่ โรงแรมเพชรน้ำหนึ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โทร. 032-708-639
สามารถติดต่อเลือกซื้อได้ที่ โรงแรมเพชรน้ำหนึ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โทร. 032-708-639
รายละเอียดของผ้าลายอัตลักษณ์
ผ้าลายทุ่งนาป่าตาล
เกิดจากงานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์ลายในเส้นทางสายไหมทางทะเล เป็นลายที่เกิดจากความเป็นมาของเส้นทางสายไหมทางทะเลในอดีตจนถึงปัจจุบันในพื้นที่วิจัย 3 ประเทศ คือ จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย จังหวัดมะริด ประเทศเมียนมา เมืองชัยปุระ แคว้นราชสถาน ประเทศอินเดีย ได้เอกลักษณ์ร่วมของลายผ้าคือ ลายทุ่งนาป่าตาล
ผ้าลายทุ่งนาป่าตาล
เกิดจากงานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์ลายในเส้นทางสายไหมทางทะเล เป็นลายที่เกิดจากความเป็นมาของเส้นทางสายไหมทางทะเลในอดีตจนถึงปัจจุบันในพื้นที่วิจัย 3 ประเทศ คือ จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย จังหวัดมะริด ประเทศเมียนมา เมืองชัยปุระ แคว้นราชสถาน ประเทศอินเดีย ได้เอกลักษณ์ร่วมของลายผ้าคือ ลายทุ่งนาป่าตาล
ผ้าลายเพชรราชภัฏ
เกิดจากนักวิจัยของศูนย์วิจัยสิงขร - มะริดศึกษา ได้พัฒนาลายผ้าซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีและจังหวัดเพชรบุรีชื่อว่า "ผ้าลายเพชรราชภัฏ" เป็นผ้าพิมพ์แบบบล็อกปริ้นบนผ้าฝ้ายเนื้อบางของประเทศอินเดีย ลายมีที่มาจากกรวยเชิง จิตรกรรมลายเสาด้านล่างของอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณารามจังหวัดเพชรบุรี
เกิดจากนักวิจัยของศูนย์วิจัยสิงขร - มะริดศึกษา ได้พัฒนาลายผ้าซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีและจังหวัดเพชรบุรีชื่อว่า "ผ้าลายเพชรราชภัฏ" เป็นผ้าพิมพ์แบบบล็อกปริ้นบนผ้าฝ้ายเนื้อบางของประเทศอินเดีย ลายมีที่มาจากกรวยเชิง จิตรกรรมลายเสาด้านล่างของอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณารามจังหวัดเพชรบุรี
ผ้าลายปลาทู
เกิดจากการที่ศูนย์วิจัยสิงขร-มะริดศึกษา ได้ทำการศึกษาเส้นทางหรือวงจรชีวิตของ ปลาทูในบริเวณอ่าวไทย และมีความประสงค์ออกแบบลายผ้าเป็น "ลายปลาทู" ถือเป็นลายอัตลักษณ์ร่วมกันของจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 2 (เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และประจวบคีรีขันธ์) เพื่อรณรงค์ให้คนเห็นความสำคัญของปลาทูในเชิงเศรษฐกิจ ควรมีการวางแผนการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจนี้อย่างรู้คุณค่า
เกิดจากการที่ศูนย์วิจัยสิงขร-มะริดศึกษา ได้ทำการศึกษาเส้นทางหรือวงจรชีวิตของ ปลาทูในบริเวณอ่าวไทย และมีความประสงค์ออกแบบลายผ้าเป็น "ลายปลาทู" ถือเป็นลายอัตลักษณ์ร่วมกันของจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 2 (เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และประจวบคีรีขันธ์) เพื่อรณรงค์ให้คนเห็นความสำคัญของปลาทูในเชิงเศรษฐกิจ ควรมีการวางแผนการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจนี้อย่างรู้คุณค่า
ผ้าลายทวารวดี
เกิดจากนักวิจัยของศูนย์วิจัยสิงขร- มะริดศึกษา ได้ทำการศึกษาประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดีที่เมืองเพชรบุรีเชื่อมโยงกับสมัยทวารวดีในประเทศอินเดีย และนำลงดลายจากโบราณวัตถุในสมัยทวารวดีมาออกแบบลวดลายและเรียกว่า ลายทวารวดี
เกิดจากนักวิจัยของศูนย์วิจัยสิงขร- มะริดศึกษา ได้ทำการศึกษาประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดีที่เมืองเพชรบุรีเชื่อมโยงกับสมัยทวารวดีในประเทศอินเดีย และนำลงดลายจากโบราณวัตถุในสมัยทวารวดีมาออกแบบลวดลายและเรียกว่า ลายทวารวดี
ผ้าลายสุวรรณวัชร์
เป็นลายต่อยอดจากผ้าเพชรราชภัฏ และได้รับการยอมรับจากจังหวัดเพชรบุรีให้เป็นลายผ้าอัตลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรี เป็นการถอดลายกรวยเชิง จิตรกรรมลายเสาด้านล่างของอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณารามจังหวัดเพชรบุรี มาเป็นผ้าทอโดยใช้ภูมิปัญญาของไทยพวนกลุ่มลั่นทมขาวว์ บ้านมาบปลาเค้า จังหวัดเพชรบุรี
เป็นลายต่อยอดจากผ้าเพชรราชภัฏ และได้รับการยอมรับจากจังหวัดเพชรบุรีให้เป็นลายผ้าอัตลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรี เป็นการถอดลายกรวยเชิง จิตรกรรมลายเสาด้านล่างของอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณารามจังหวัดเพชรบุรี มาเป็นผ้าทอโดยใช้ภูมิปัญญาของไทยพวนกลุ่มลั่นทมขาวว์ บ้านมาบปลาเค้า จังหวัดเพชรบุรี
ผ้าลายครอบครัวปลาวาฬ
เป็นลายอัตลักษณ์ของพื้นที่หมู่บ้านคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในอดีตเรียกพื้นที่นี้ว่า "เมืองคลองวาฬ" มีเรื่องเล่าว่า มีปลาวาฬเคยเข้ามาถึงในคลอง จึงเรียกบริเวณดังกล่าวว่า คลองวาฬ ทางศูนย์วิจัยสิงขร-มะริดศึกษา จึงได้ออกแบบลายผ้าครอบครัวปลาวาฬให้เป็นลายอัตลักษณ์ของพื้นที่ดังกล่าว
เป็นลายอัตลักษณ์ของพื้นที่หมู่บ้านคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในอดีตเรียกพื้นที่นี้ว่า "เมืองคลองวาฬ" มีเรื่องเล่าว่า มีปลาวาฬเคยเข้ามาถึงในคลอง จึงเรียกบริเวณดังกล่าวว่า คลองวาฬ ทางศูนย์วิจัยสิงขร-มะริดศึกษา จึงได้ออกแบบลายผ้าครอบครัวปลาวาฬให้เป็นลายอัตลักษณ์ของพื้นที่ดังกล่าว