รายละเอียด

2023-06-07 13:18:25 | 527

กิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัล "วันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน"

ตอบคำถามชิงรางวัล >> คลิ๊ก <<

วันสิ่งแวดล้อมโลก เนื่องในวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี

          ในวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีนั้น เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งเป็นวันที่เราควรจะทำอะไรสักอย่างเพื่อสภาพแวดล้อมของเราที่ย่ำแย่ลงทุกวัน สังเกตได้จากปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งหิมะขั้วโลกเหนือละลาย น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรืออากาศร้อนขึ้น ซึ่งผลเหล่านี้ล้วนมาจากการที่มนุษย์เป็นคนทำลายธรรมชาติ ทำลายสิ่งแวดล้อมดี ๆ นั่นเอง ทำให้หน่วยงานของโลกจัดตั้งวันสิ่งแวดล้อมโลกขึ้น  สำหรับจุดเริ่มต้นของวันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ World Environment Day นั้นจัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก จึงมีมติให้จัดประชุมใหญ่ที่กรุงสตอกโฮล์ม ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ที่มีรัฐบาลของสวีเดนเป็นเจ้าภาพ โดยเรียกการประชุมนี้ว่า “การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์” หรือ “UN Conference on the Human Environment” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,200 คน จาก 113 ประเทศ รวมถึงมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คนจากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ และสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อร่วมกันหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่าง ๆ กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีข้อตกลงร่วมกันหลายอย่าง เช่น การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP : United Nations Environment Programme) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้นไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือจากหลากหลายชาติในด้านสิ่งแวดล้อม องค์การ สหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติมีหน้าที่ติดตาม และประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ดี และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผลจึงได้กำหนดวิธีการไว้ดังนี้                                                                                                                               
           – สร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม และให้การศึกษากับประชาชนและนักศึกษาทั่วไป                       
           – ให้การสนับสนุนทางวิชาการ และเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี 
           – เสริมสร้างให้สถาบันและคนในสถาบันตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม​                                                                       

 สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็น 3 หน่วยงาน คือ                                                                         
           
1. กรมควบคุมมลพิษ                                                                                                                                                     
           2. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม                                                                                                                               
           3. สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม                                                                                                               

 ความหมายของวันสิ่งแวดล้อม                                                                                                                                       
           
สิ่งแวดล้อมหมายถึง ทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์ มีชีวิตและไม่มีชีวิตและมีการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งสิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฎจักรที่เกี่ยวข้องกันทุกระบบ                                                                 

สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย                                                                                                                                         
           สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวมนุษย์มีทั้งสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีความสำคัญและคุณประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก เมื่อใดที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ และการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม มีข้อตกลงจากการประชุมให้มาดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น ซึ่งประเทศไทยก็ได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม และได้ก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้นอันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการดำเนินงาน ด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย                                                                                

          วันสิ่งแวดล้อมโลก  และเพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือระหว่างชาติทั่วโลก จึงได้มีการกำหนดให้วันแรกของการประชุม คือ วันที่ 5 มิถุนายน เป็น "วันสิ่งแวดล้อมโลก" ซึ่งสหประชาชาติร่วมกับรัฐบาลประเทศสวีเดน ได้จัดการประชุมที่เรียกว่า "การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์" วันที่ 5 -16 มิถุนายน พ.ศ.2515 ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน มีการจัดทำร่างข้อเสนอต่างๆ รวมทั้งแผนดำเนินการและปฏิญญาว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ มีผู้เข้าร่วมประชุม จากหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชนและสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ รวมทั้งตัวแทนเยาวชนและกลุ่มนักศึกษาจากทั่วโลกผลการประชุมนับว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะเป็นครั้งแรกที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมขจัดภยันตรายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลัง คุกคาม               

สิ่งที่ควรทำร่วมกันรักษาสภาพแวดล้อมของโลก                                                                                                         
           
เพื่อเป็นการเสริมสร้างจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อจะได้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไปในอนาคต และมาร่วมช่วยกันป้องกันไม่ให้สิ่งแวดล้อมเกิดการเสื่อมลงมากยิ่งขึ้น เพราะปัญหาของสิ่งแวดล้อมนั้นเกิดขึ้นจากการกระทำของคนทั้งสิ้น การแก้ไขและวางแผนเพื่อปรับปรุงคุณภาพของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ ปัญหาการขาดแคลนน้ำเป็นปัญหาสำคัญที่สุดในเมืองไทย สาเหตุเกิดจากการลดจำนวนลงของพื้นที่ป่าไม้ที่เป็นต้นน้ำลำธารของประเทศ และจากการใช้น้ำกันอย่างฟุ่มเฟือย                                                                                                     
           ช่วยกันปลูกต้นไม้  มาช่วยกันเสริมสร้างปลูกจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างทัศนคติในการอนุรักษ์ทรัพยากรกลับมาใช้อย่างรู้คุณค่า ควรจะมาร่วมรณรงค์และประหยัดทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ร่วมมือร่วมใจกันรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีต่อไปในอนาคต เพื่อลูกหลานของเรา เราทุกคนควรมีส่วนช่วยลดปริมาณขยะและรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมให้สดใส สมบูรณ์สำหรับทุกคนในอนาคต การพัฒนาคุณภาพประชาชนเพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์ เกิดความรักความหวงแหน และให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง สนับสนุนการศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถทำได้ทุกระดับอายุ ทั้งในระบบโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ และนอกระบบโรงเรียนผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ  การจัดตั้งกลุ่ม ด้วยจิตสำนึกในความมีคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีต่อตัวเรา การจัดตั้งกลุ่มชุมชน ชมรม สมาคม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การให้ความร่วมมือทั้งทางด้านพลังกาย พลังใจ พลังความคิด เช่น กลุ่มชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียน นักศึกษา มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร มูลนิธิโลกสีเขียว       
          ไม่ควรทิ้งผลิตภัณฑ์อันตรายลงแม่น้ำ เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตราย อาทิ ผลิตภัณฑ์ที่ติดไฟ น้ำยาละลายสี น้ำมันเชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรด ผลิตภัณฑ์ที่เป็นพิษ ฯลฯ ต้องมีวิธีกำจัดที่ถูกต้องและต้องไม่ทิ้งลงแม่น้ำ การเพิ่ออกซิเจนในน้ำมันก็เพื่อช่วยลดปริมาณการเกิดของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ให้ลดน้อยลง เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดมลพิษจากรถยนต์ ด้วยการเพิ่มส่วนผสมของออกซิเจนในน้ำมัน ทุกครั้งที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องให้ถ่ายเทน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วลงในภาชนะที่ปิดฝาแล้วส่งคืนให้กับสถานีบริการ เพราะน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วจากรถยนต์ ซึ่งจะก่อมลภาวะให้เกิดกับแหล่งน้ำและผิวดินได้หากมีการกำจัดที่ไม่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง : https://www.forest.go.th/songkhla13/5-
https://www.twinkl.co.th/event/world-environment-day-th-2023

ตอบคำถามชิงรางวัล >> คลิ๊ก <<

-----------------------------------------------
📣"เรียนเชิญติดตามข่าวสารจากสำนักฯ ตามช่องทางต่าง ๆ ดังนี้"
🚩Facebook: https://www.facebook.com/LibArit
🚩www : http://arit.pbru.ac.th
🚩Line Official : https://lin.ee/E5dxAa3
------------------------------------------------


© Copyright 2024 | สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Site Map | Privacy Policy