Image

วันงดสูบบุหรี่โลก”เนื่องในวันที่ 31 พฤษภาคม ร่วมกิจกรรมตอบคำถามรับแก้วน้ำลดโลกร้อน ในกิจกรรมส่งเสริมการอ่านออนไลน์

ตอบคำถามชิงรางวัล  >> คลิ๊ก <<


          วันงดสูบบุหรี่โลก จัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 โดยองค์การอนามัยโลก เนื่องจากเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพ ของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ ให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรมและกระตุ้นให้รัฐบาลกำหนดนโยบาย/กฏหมายเพื่อควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลกระบุชัดเจนว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่สามารถป้องกันได้ และกำหนดให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ( World No Tobacco Day) วันงดสูบบุหรี่โลกครั้งแรก ใช้คำขวัญ “บุหรี่หรือสุขภาพต้องเลือกสุขภาพ” ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันงดสูบบุหรี่โลกคือ ดอกลีลาวดี

อันตรายของบุหรี่
          ในควันบุหรี่ เต็มไปด้วยสารอันตรายต่าง ๆ ได้แก่ นิโคติน ซึ่งจัดเป็นสารเสพติด และยังมีสารเคมีอีกมากถึง 7,000 ชนิด สารพิษอีกมากกว่า 250 ชนิด และสารก่อมะเร็งอีกมากกว่า 70 ชนิด ซึ่งถ้าหากได้ข้อสรุปอย่างง่าย คือ การสูบบุหรี่ 1 มวน จะทำให้อายุสั้นลงถึง 7 นาที เมื่อสูบบุหรี่เข้าไปในร่างกายแล้ว บุหรี่ก็เข้าไปทำลายร่างกายแทบจะทุกส่วน เริ่มตั้งแต่หลอดเลือดสมอง แอด ทางเดินอาหาร หัวใจ กระดูกและกล้ามเนื้อ จนทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางเดนิปัสสาวะ รวมถึงเกืดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มีความเสี่ยงแท้งของหญิงตั้งครรภ์ และมีโอกาสตาบอดถาวร โทษของบุหรี่ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ อาจจะทำให้เกิดการเผยแพร่ต่อเพื่อให้เกิดแรงจูงใจให้มีการเลิกบุหรี่ได้ ซึ่งการเลิกบุหรี่ให้สำเร็จสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพียงแค่ยึดหลักการ ตั้งใจ มีเป้าหมาย ไม่รอช้า ไม่หวั่นไหว ไม่ยอมแพ้

พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
          อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงความสูญเสียทางด้านชีวิตของประชากรที่เกิดจากการสูบบุหรี่ จึงได้มีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ รวมถึงกำหนดมาตรการต่าง ๆ โดยการดูแลของกระทรวงสาธารณสุข ที่จะพยายามให้เกิดการเลิกสูบบุหรี่ ดังเช่นที่กระทรวงได้ประกาศบังคับใช้มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 ให้มีการพิมพ์คำเตือนและโทษของการสูบบุหรี่ที่ข้างซอง ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา อีกทั้งยังมีกฎหมายที่ใช้คุ้มครองสุขภาพประชาชน ได้แก่
         1. พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ที่มีสาระสำคัญในการประกาศเขตปลอดบุหรี่ ซึ่งแบ่งเขตปลอดบุหรี่ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
            - เขตปลอดบุหรี่อย่างแท้จริง เช่น รถยนต์โดยสารประจำทาง ทั้งแบบปรับอากาศและไม่ปรับอากาศ รวมถึงแท็กซี่ ตู้รถไฟปรับอากาศ และห้องชมมหรสพ
            - เขตปลอดบุหรี่ทั้งหมด เช่น โรงเรียน ห้องสมุด แต่ยกเว้นห้องส่วนตัว
            - เขตปลอดบุหรี่เกือบทั้งหมด เช่น สถานพยาบาล ศูนย์การค้า สถานที่ราชการและรัฐวิสาหกิจ หากจะสูบก็ให้สูบเฉพาะในเขตสูบบุหรี่
            - เขตปลอดบุหรี่อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของพื้นที่นั้น ๆ เช่น ตู้รถไฟโดยสารทั่วไปที่ไม่ใช่แบบปรับอากาศ และร้านขายอาหารทั่ว ๆ ไป เฉพาะบริเวณที่มีระบบปรับอากาศ แต่ต้องจัดเขตสูบบุหรี่ไม่ให้เกินครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด
         2. พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ที่มีสาระสำคัญในการห้ามขายบุหรี่ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท รวมถึงห้ามขายสินค้าอื่นและแถมบุหรี่ให้ หรือขายบุหรี่แล้วแถมสินค้าอื่น และห้ามการโฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อม


คำขวัญ "วันงดสูบบุหรี่โลก"
         สำหรับในประเทศไทยปี 2566 กระทรวงสาธารณสุข เชิญชวนประชาชนร่วมรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พ.ค. 2566 #เราต้องการอาหาร ไม่ใช่ยาสูบ เพื่อส่งเสริมให้เลิกสูบผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกประเภท ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ ลดแพร่กระจายเชื้อโควิด 19

ตอบคำถามชิงรางวัล  >> คลิ๊ก <<

>>>คำชี้แจง<<<
        1. กิจกรรมตอบคำถามออนไลน์ หัวข้อเรื่อง “วันงดสูบบุหรี่โลก”
        2. กรอกข้อมูล และตอบคำถามให้ครบถ้วน

        3. สามารถส่งคำตอบได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

โพสโดย Administator 8 พ.ค. 2566
ข่าวสารอื่นๆ

แสดงทั้งหมด

ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

38 ม.8 ต.นาวุ้ง อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000
เบอร์โทร : 032-708609
อีเมล : saraban_arit@pbru.ac.th