GREEN LIBRARY & GREEN OFFICE

เกณฑ์ประเมินห้องสมุดสีเขียว 2565

ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ประเมินห้องสมุดสีเขียว 2565

คำอธิบาย
        ผู้บริหารห้องสมุดมีการกำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมใหเ้ป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารงานห้องสมุด รวมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว และมีการประกาศให้ทราบทั่วกัน

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
1.1 กําหนดวิสัยทัศน์พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์
            สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2565 เพื่อทบทวนและกำหนดนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มีการประชุมกำหนดเป้าหมาย แผนงาน/มาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และรายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักฯ) จากการทบทวนและกำหนดนโยบายฯ ดังกล่าว ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้สำนักวิทยบริการฯเป็นองค์กรแห่งการจัดการสมัยใหม่และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพสูง และประชาสัมพันธ์นโยบายให้กับบุคลากรและผู้รับบริการทราบ

(2565) นโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) ประกาศเป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร.pdf
(2565) มาตรการห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว-2565.pdf
(GL-2565) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ.2565.pdf
(GL-2565) แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว พ.ศ.2562-2566.pdf
1.2 วิเคราะห์ประเด็นปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นข้อมูลในการกําหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์และนําไปสู่การกําหนดแนวทางการดําเนินงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์พันธกิจ การเป็นห้องสมุดสีเขียว

        สำนักวิทยบริการฯ มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงานทั้งทางตรง และทางอ้อม ตามกิจกรรมได้ 7 ด้าน  17 กิจกรรม ตามขอบเขตและบริบทของสำนักงาน ดังนี้
7 ด้าน ประกอบด้วย
        1. กระดาษ
        2. อาหาร
        3. น้ำ
        4. น้ำมันเชื้อเพลิง
        5. วัสดุสำนักงาน
        6. ไฟฟ้า , อุปกรณ์ไฟฟ้า
        7. ทรัพยากรสารสนเทศ

17 กิจกรรม ประกอบด้วย
        1. การพิมพ์เอกสาร/การสำเนาเอกสาร
        2. การประชุม
        3. การรับประทานอาหาร
        4. การทำความสะอาดภาขนะใส่อาหาร
        5. การทำความสะอาดสำนักงาน (โดยใช้เครื่องขัดพื้น/เครื่องดูดฝุ่น)
        6. งานทำความสะอาดห้องน้ำ
        7. ถ่านหรือแบตเตอรี่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
        8. การจัดการพื้นที่สีเขียว
        9. การจัดการสัตว์พาหะนำโรค
        10.การเดินทางไปราชการ
        11.การจัดเก็บและเบิกใช้วัสดุสํานักงาน
        12.กิจกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้า เกิดการลัดวงจร
        13.การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
        14.การบำรุงรักษาลิฟท์
        15.การซ่อมบำรุงเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและแสงสว่าง
        16.การบำรุงรักษาเครื่องสำเนาเอกสาร
        17.งานจัดเตรียม/ซ่อมแซมทรัพยากรสารสนเทศ

        มีการระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากร วัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละกิจกรรมครบถ้วน โดยใช้ตารางวิเคราะห์ระดับความมีนัยสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์การประเมินนัยสำคัญของลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้านการใช้ทรัพยากร (Resource Usage) และเกณฑ์การประเมินนัยสำคัญของลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านมลภาวะ

        ทั้งนี้ สามารถระบุระดับนัยสำคัญได้ 3 ระดับ คือ L , M , H ส่วนใหญ่ประเด็นปัญหาของสำนักฯ อยู่ในระดับ L และ M

        ด้านทรัพยากร (Input) มีค่าความรุนแรงมากที่สุดที่ 42 มีค่าความรุนแรงน้อยที่สุดที่ 18 ส่วน

        ด้านมลพิษ (Output) มีค่าความรุนแรงมากที่สุดที่ 42 มีค่าความรุนแรงน้อยที่สุดที่ 24 

       สำนักวิทยบริการฯ มีการประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ สามารถการจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ ตามกิจกรรม

       ด้านทรัพยากร (Input) คือ ปัญหาด้านไฟฟ้า

       ส่วนด้านมลพิษ (Output) คือ ถ่านหรือแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว , ขยะจากบรรจุภัณฑ์ , หลอดไฟใช้แล้ว , ขยะจากการซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ


(2565) 1.2-1.1 การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ.pdf
(2565) 1.2-1.2 ตารางวิเคราะห์กระบวนการทำงาน.pdf
(2565) 1.2-1.3 ทะเบียนจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ.pdf
(2565) 1.2-1.4 ทะเบียนจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญด้านทรัพยากร (Input).pdf
(2565) 1.2-1.5 ทะเบียนจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญด้านมลพิษ (Output).pdf
(2565) 1.2-1.6 ทะเบียนระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากร (Input).pdf
(2565) 1.2-1.7 ทะเบียนระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษ (Output).pdf
1.3 กําหนดขอบเขตการดําเนินงานตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งสามารถดําเนินการทั้งหมด หรือเฉพาะส่วน โดยไม่นับรวมกิจกรรมของห้องสมุดที่ไม่มีนัยสําคัญในการก่อให้เกิด ผลกระทบต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ต้องมีการชี้แจงเหตุผลประกอบใน กรณีที่ไม่ดําเนินการทั้งหมด

           สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการประชาสัมพันธ์และการประกาศให้บุคลากรและผู้ใช้บริการให้ทราบทั่วกัน 3 ช่องทาง ได้แก่
          1.3-1 ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
          1.3-2 การแจ้งเวียนในระบบสารบรรณอิเล็คทรอนิกส์
          1.3-3 ประกาศนโยบายภายในอาคารและป้ายประชาสัมพันธ์ของสำนักวิทยบริการฯ

 


1.3-1 ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว.pdf
1.3-2 แจ้งหนังสือเวียนบันทึกข้อความไปยังบุคลากรทุกคน.pdf
1.3-3 ป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณหน้าทางเข้าและพื้นที่ของสำนักวิทยบริการ.pdf

คำอธิบาย
    ห้องสมุดต้องมีโครงสร้างพื้นฐานหรือลักษณะทางกายภาพ ที่เอื้อต่อการลดการใช้พลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการให้บริการและการบริหารจัดการห้องสมุด

กรณีเป็นอาคารเก่า
    มีแผนงานและมาตรการ ในการปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม


หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
2.1 มีการศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิมที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม

            สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบหมวด 2 ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2565 (2.1-1) มีการสำรวจและศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิมที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี

            จากการศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิมของสำนักวิทยบริการฯ พบว่า สำนักวิทยบริการฯ มีสภาพของอาคารที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม อาทิ ระบบเครื่องปรับอากาศของอาคารบรรณาราชนรินทร์ที่ชำรุดเป็นจำนวนมาก และมีการรั่วไหลของอากาศระหว่างชั้น และส่วนของห้องน้ำ ทำให้ควบคุมอุณหภูมิในบริเวณต่างๆ ของห้องสมุดได้ยาก และการใช้ระบบไฟฟ้าแบบแผง (Section) ทำให้เกิดการสูญเสียไฟฟ้าในจุดที่ไม่มีเจ้าหน้าที่หรือผู้ใช้บริการอยู่ และความต้องการมองเห็นทัศนียภาพโดยรอบของผู้ใช้บริการเมื่อมาค้นคว้าหรืออ่านหนังสือในห้องสมุด ตลอดจนแสงสว่างในบางพื้นที่ อาทิ ชั้น 2-5 อาคารบรรณราชนครินทร์ Thinkcafe @Library ซึ่งจะมีนักศึกษามาพบปะพูดคุย/ทำงานกลุ่ม/ทำกิจกรรมต่าง ๆ พบว่ามีแสงสว่างไม่เพียงพอ และตามชั้นหนังสือที่ชั้น 3-5 ที่มีแสงสว่างไม่ทั่วถึง ทำให้อาคารสำนักวิทยบริการมีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูง และการรรั่วไหลของน้ำฝนบริเวณดาดฟ้าหลังคา และฝ้าเพดานของอาคารหอสมุดเดิม


(2565) (2565) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียว-2565_compressed(2).pdf
2.2 มีแผนงานและมาตรการการปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคาร หรือมาตรการอื่นที่เทียบเท่า ให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในเรื่องต่อไปนี้
    1) มีการปรับปรุงโครงสร้างอาคารและวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
    2) มีการปรับปรุงระบบปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพ
    3) มีการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน
    4) มีการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยเลือกปลูกพืชพื้นถิ่น หรือพืชที่ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก หรือปลูกพืชใช้น้ําน้อย หรือพืชที่ใช้ประโยชน์เพื่อเป็นอาหารและจัดการภูมิทัศน์ให้มีความร่มรื่นสวยงาม

            สำนักวิทยบริการฯ มีการปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคาร ให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตามแผนงานและมาตรการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ดังนี้

           1. มีการปรับปรุงระบบปรับอากาศให้มีประสิทธืภาพ มีการดำเนินการปรับปรุงเครื่องปรับอากาศโดยการบำรุงรักษาแบบย่อย โดยเจ้าหน้าที่ของสำนักวิทยบริการฯ โดยการล้างทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ ทุก 3 เดือน (2.2-2)

           2. การปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน มีการปรับปรุงระบบไฟฟ้าส่องสว่างที่ประหยัดพลังงานโดยการปรับเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าที่เป็นหลอดแบบชนิดไส้หลอดมาเป็นหลอด LED และปรับเปลี่ยนหลอดที่มีกำลังไฟฟ้าสูงๆมาเป็นหลอดที่มีกำลังไฟฟ้าที่ต่ำลงเพื่อเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้า (2.2-3)

           3. การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว (2.2-4)โดยการจัดสวนแนวตั้งจากการนำชั้นวางหนังสือเก่าอโดยการปลูกพืชที่ช่วยดูดซับมลพิษและช่วยลดปริมาณกาศเรืองกระจก เช่น ต้นหนวดฤาษี ต้นพูด่าง ต้นหัวใจเศรษฐี และปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยเพื่อเป็นการกรองแสงจากภายนอกอาคารและเพื่อความสวยงาม เช่น ต้นเตยทอง ต้นโมก


(2565) 2.2-2 การปรับปรุงระบบปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพ.pdf
(2565) 2.2-3 การปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน.pdf
(2565) 2.2-4 การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว.pdf
คำอธิบาย
    มีการจําแนกประเด็นปัญหาด้านการใช้ทรัพยากรและพลังงาน กําหนดมาตรการการใช้ทรัพยากรและการใช้พลังงานของกิจกรรมการให้บริการของห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคารห้องสมุด ตลอดจน บันทึก ติดตาม ตรวจสอบ เพื่อประเมินผล

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
3.1 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการตามมาตรการประหยัดไฟฟ้า น้ํา และทรัพยากร

           สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว ให้เป็น Green University ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรห้องสมุดและผู้รับบริการ โดยการนำนโยบายไปจัดทำแผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว 5 ปี พ.ศ.-2562-2566 (3.1-1) และ แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2564 (3.1-2) เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงาน และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผล จึงมีการประกาศนโยบายการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียวและเป้าหมายเป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากรอีกทั้งกำหนดมาตรการและเป้าหมายการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3.1-3) พร้อมทั้งมีการประชาสัมพันธ์มาตรการประหยัดไฟฟ้า น้ำ และทรัพยากร ตามช่องทางการสื่อสารต่างๆ ของสำนักวิทยบริการฯ ได้แก่ ป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณหน้าทางเข้าและพื้นที่ของสำนักวิทยบริการฯ (3.1-4) เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว (3.1-5) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันที่ชัดเจน แก่บุคลากร ผู้เข้ารับบริการสำนักวิทยบริการฯ ให้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

           โดยสำนักวิทยบริการได้ดำเนินงานตามแผน นโยบาย และมาตรการที่กำหนดไว้ดังนี้
            3.1 มาตรการประหยัดไฟฟ้า
                  3.1.1 การรณรงค์การเปิด-ปิด เครื่องปรับอากาศส่วนบริการ ให้เปิดเวลา 09.00 น.และปิดก่อนเวลา ปิดบริการหรือเลิกทำงาน 30 นาที (3.1-6)
                  3.1.2 การปิดไฟในเวลาพักเที่ยงหรือไม่อยู่บริเวณที่นั่งทำงาน ห้องประชุม หรือบริเวณพื้นที่ไม่มีผู้ใช้บริการ (3.1-7)
                  3.1.3 ปิดจอภาพคอมพิวเตอร์ในเวลาพักเที่ยงหรือตั้งโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์ปิดหน้าจออัตโนมัติ หากไม่ได้ใช้งานเกินกว่า ๑๕ นาที และถอดปลั๊กออกหลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงทุกครั้ง (3.1-8)
                  3.1.4 การใช้เครื่องไฟฟ้าอื่นๆ เช่น ไมโครเวฟ โทรทัศน์ พัดลม กระติ๊กน้ำร้อน เป็นต้น ให้จัดไว้ในจุดที่สามารถใช้ร่วมกันได้ตามความเหมาะสม และถอดปลั๊กออกหลังจากการใช้งานทุกครั้ง ปลดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งาน (3.1-9)
                 3.1.5 ล้างเครื่องปรับอากาศและทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ ปีละ ๒ ครั้ง (3.1-10)
                 3.1.6 ตู้เย็นให้นำสิ่งของที่คาดว่าจะเสียออกจากตู้เย็นทุกวันศุกร์ และทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ (3.1-11)
                 3.1.7 ลดการใช้พลังงาน ได้แก่ การให้บุคลากรใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยในการเดินทางไปประชุมหรือส่งเอกสารตามหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย (3.1-12) ลดใช้ลิฟท์ในกรณีที่มีการขึ้นลง ๑ ชั้น ยกเว้นขนสัมภาระ (เดินขึ้นบันได) (3.1-13)
                 3.1.8 ลดการใช้แก้ว/ขวดพลาสติก หันมาใช้อุปกรณ์ใช้ซ้ำได้ เช่น กระบอกน้ำแทนพลาสติก (3.1-14)

            3.2 มาตรการประหยัดน้ำ
                 3.2.1 เผยแพร่ความรู้เรื่องการประหยัดน้ำ รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกในการประหยัดน้ำและรณรงค์ด้วยป้ายประชาสัมพันธ์ (3.1-15)  
                 3.2.2 ตรวจสอบอุปกรณ์การใช้น้ำอย่างสม่ำเสมอ  (3.1-16)
                 3.2.3 การรดน้ำต้นไม้ให้ใช้สปริงเกิลหรือฝักบัว กำหนดให้รดน้ำต้นไม้ เวลา ๑๗.๐๐-๑๘.๐๐ น. โดยในแต่ละจุดใช้เวลา ๑๐ นาที (3.1-17)
                 3.2.4 มีป้ายรณรงค์การใช้น้ำ ปิดวาล์วน้ำหรืออุปกรณ์การใช้น้ำประปาทุกชนิดให้สนิทหลังการใช้ทุกครั้ง แจ้งให้บุคลากรภายในและภายนอกหน่วยงานทราบและใความร่วมมือในการปฏิบัติ (3.1-18)

            3.3 มาตรการประหยัดทรัพยากร
                 3.3.1 การความรู้เรื่องการใช้ทรัพยากร รวมทั้งสร้างจิตสำนึกโดยการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามช่องทางต่างๆ (3.1-19)
                 3.3.2 ลดปริมาณการใช้กระดาษ กำหนดให้ใช้กระดาษ ๒ หน้า (3.1-20)
                 3.3.4 การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่งข้อมูลข่าวสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือช่องทางการสื่อสารต่างๆ เพื่อลดการใช้กระดาษและพลังงาน ได้แก่ ช่องทางการสื่อสารทางไลน์ ID Line: @944jtkcpj, กลุ่มเฟสบุ๊คของบุคลากร Lib pbru Staff, e-mail ของมหาวิทยาลัย, ระบบ e-Document ของมหาวิทยาลัย, การใช้ Google drive จัดเก็บเอกสารและทำงานร่วมกัน (3.1-21)
                 3.3.5 มีการบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสารและเครื่องพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ (3.1-22)


(2565) 3.1-1 แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว-พ.ศ.-2562-2566.pdf
(2565) 3.1-2แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว_compressed.pdf
(GL-2565) (GL-2565) 3.1-4 ป้ายประกาศประชาสัมพันธ์ การประหยัดไฟฟ้า น้ำและทรัพยากร.pdf
(GL-2565) (GL-2565) 3.1-5 การประชาสัมพันธ์การประหยัดพลังงานบนเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว.pdf
(GL-2565) (GL-2565) 3.1-6 การรณรงค์การเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศ.pdf
(GL-2565) (GL-2565) 3.1-7 ปิดไฟทุกครั้งเมื่อช่วงพักกลางวัน เวลา 12.00 – 13.00 น..pdf
(GL-2565) (GL-2565) 3.1-8 ปิดจอภาพคอมพิวเตอร์ในเวลาพักเที่ยง.pdf
(GL-2565) (GL-2565) 3.1-9การใช้เครื่องไฟฟ้าอื่นๆให้จัดไว้ในจุดที่สามารถใช้งานร่วมกัน.pdf
(GL-2565) (GL-2565) 3.1.-10 การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศแบบย่อย.pdf
(GL-2565) (GL-2565) 3.1.-13 การรณรงค์การใช้บันไดและการใช้ลิฟต์ กรณีขึ้นลงชั้นเดียว.pdf
(GL-2565) (GL-2565) 3.1.-14ลดการใช้แก้วขวดพลาสติก.pdf
(GL-2565) (GL-2565) 3.1.-15เผยแพร่ความรู้เรื่องการประหยัดน้ำรวมทั้งการสร้างจิตสำนึก.pdf
(GL-2565) (GL-2565) 3.1.-16ตรวจสอบอุปกรณ์การใช้น้ำอย่างสม่ำเสมอ.pdf
(GL-2565) (GL-2565) 3.1.-17การรดน้ำต้นไม้ให้ใช้สปริงเกิลหรือฝักบัว.pdf
(GL-2565) (GL-2565) 3.1.-18ปิดวาล์วน้ำ ก๊อกน้ำหรืออุปกรณ์การใช้น้ำทุกชนิดให้สนิทหลังการใช้งาน.pdf
(GL-2565) 3.1-3 เป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร.pdf
(GL-2565) 3.1.-11 การทำความสะอาดตู้เย็นทุกวันศุกร์.pdf
(GL-2565) 3.1.-12 การให้บุคลากรใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย.pdf
3.2 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการลดปริมาณของเสีย
          สำนักวิทยบริการฯ มี นโยบายการพัฒนา สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว  โดยมุ่งเน้นการจัดการสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อส่งเสริม  การเรียนรู้ในเรื่องการประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และการสร้างความตระหนักรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานให้เกิดกับบุคลากรในทุกฝ่าย/งาน ตลอดจนถึงผู้ใช้บริการสำนักวิทยบริการฯ ซึ่งได้จัดทำแผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว 5 ปี พ.ศ.-2562-2566 (3.2-1) พร้อมทั้งประกาศประกาศนโยบายและป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (3.2-2)มาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว เรื่อง การจัดการของเสีย (3.2-3)  เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติจึงแต่งตั้งคำสั่ง มอบหมายให้บุคลากรเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอย (3.2-4)  มีการทำแผนผังแสดงเส้นทางการจัดการขยะสำนักวิทยบริการ (3.2-5) ประชาสัมพันธ์รณรงค์การจัดการขยะ ทั้งบริเวณสำนักฯ และเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว  (3.2-6)มีการรณรงค์การลดปริมาณขยะ (Reduce) เช่น ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ใช้ขวดแก้วลดขยะจากพลาสติก (3.2-7) กระดาษหนังสือพิมพ์และแก้วน้ำพลาสติก มาทำเจกันใส่ต้นไม้ สิ่งของใช้ เปเปอร์มาเช่ (3.2-8)
 

(GL-2565) 3.2-1 แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว-พ.ศ.-2562-2566.pdf
(GL-2565) 3.2-2 ประกาศนโยบายและป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf
(GL-2565) 3.2-3 มาตรการประหยัดพลังงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว.pdf
(GL-2565) 3.2-4 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ.2565.pdf
(GL-2565) 3.2-5แผนผังแสดงเส้นทางการจัดการขยะ.pdf
(GL-2565) 3.2-6 ประชาสัมพันธ์รณรงค์การจัดการขยะ ภายในบริเวณสำนักฯ.pdf
(GL-2565) 3.2-7 การลดปริมาณขยะ-ใช้ถุงผ้า-ใช้แก้วน้ำ.pdf
(GL-2565) 3.2-8 การนำกลับมาใช้ซ้ำ-อาร์ตมาเช่.pdf
3.3 กําหนดให้มีข้อกําหนดและเงื่อนไขการว่าจ้าง (Term of Reference: TOR) เพื่อควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ภายในห้องสมุดให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

            สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำข้อตกลงกับผู้รับจ้างหรือหน่วยงานต่างๆ ในการเข้าปฏิบัติงาน ณ สำนักวิทยบริการฯ เพื่อเป็นไปตามข้อตกลงในการเข้าปฏิบัติงาน  เพื่อควบคุมการดำเนินงานภายในสำนักวิทยบริการให้อยู่ภายใต้การประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ภายในห้องสมุด จำนวน 2 หน่วยงาน ได้แก่
             1. บริษัท แอ๊ดวานซ์ กรุ๊ป เอเชีย จำกัด (3.3-1) เป็นบริษัทกำจัดสัตว์พาหะ กำจัดแมลง
             2. ร้าน Think café (3.3-2) เป็นร้านบริการหรือจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ประชาคม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
            อีกทั้งมีการชี้แจงและให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้มแก่ผู้ประกอบการหรือหน่วยงานที่มาใช้พื้นที่ (3.3-3) ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ทุกครั้งที่เข้ามาปฏิบัติงานในห้องสมุดต้องลงแบบฟอร์มใบอนุญาตปฏิบัติงานและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นไปตามข้อตกลงในการเข้าปฏิบัติงาน โดยดำเนินการตามข้อกำหนดเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (3.3-5)


3.3-1 บริษัท-แอ๊ดวานซ์-กรุ๊ป.pdf
3.3-2 บันทึกข้อตกลง-Think-cafe.pdf
3.3-3 การชี้แจงและให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้มแก่ผู้ประกอบการ.pdf
3.3-5 การใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
3.4 กําหนดให้มีการสื่อสารและรณรงค์ให้ผู้รับบริการและบุคลากรห้องสมุด ประหยัดไฟฟ้าประหยัดน้ํา และประหยัดทรัพยากร ตามแผนงานที่กําหนด
         

สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2565 โดยมีผู้รับผิดชอบคือ นายวิโนจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา จำนวน 9 หัวข้อ และได้กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสาร ดังนี้ (3.4-1.1)
             ๑. นโยบายสิ่งแวดล้อม
             ๒. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและการจัดการ
             ๓. การปฏิบัติตามกฎหมาย
             ๔. ความสะอาดและความเป็นระเบียบ (5ส.)
             ๕. เป้าหมายและมาตรการพลังงาน-ทรัพยากร (ได้แก่น้ำ ไฟฟ้า น้ามันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม กระดาษ และอื่นๆ)
             ๖. เป้าหมายและมาตรการจัดการของเสีย
             ๗. ผลการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย
             ๘. สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
             ๙. ก๊าซเรือนกระจก

           สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงานที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร ได้แก่ (3.4-2.1)

             1. ประชุมชี้แจง
             2. เว็บไซต์GreenOffice
             3. กลุ่มFacebook ARIT Staff
             4. messenger greenlib
             5. morningtalk
             6. จออิเล็กทรอนิกส์
             7. บอร์ดประชาสัมพันธ์ 
             8. Facebookสำนักฯ
             9. เว็บไซต์GreenOffice
             10. Line@ บุคลากรมหาวิทยาลัย

          สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน ให้เกิดการรับรู้และรับทราบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (3.4-3.1)

              1. กลุ่มเป้าหมาย ภายใน คือ ผู้บริหารและบุคลากรสำนักฯ

              2. กลุ่มเป้าหมาย ภายนอก คือ ผู้ใช้บริการห้องสมุด (นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร มรภ.พบ. ศิษย์เก่าและบุคคลภายนอก)

          สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร/รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม คือ นางสาวสิริรัตน์ เดชเพชร นักวิชาการศึกษา นายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา นางสาวแขนภา ทองตัน นักวิชาการคอมพิวเตอร์  ตามคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ ๐๐๕/๒๕๖๕ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ประจำปี ๒๕๖๕ (3.4-4.1)


(2565) 3.4-1.1 แผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2565..pdf
(2565) 3.4-2.1 ช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก 2565.pdf
(2565) 3.4-3.1กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม 2565.pdf
(2565) 3.4-4.1 คำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร 2565.pdf
3.5 มีการกําหนดแผนงานและดําเนินการจัดซื้อ/จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (อ้างอิงบัญชีรายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคู่มือการจัดซื้อ/จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฉบับล่าสุด หรือสินค้าชุมชนเพื่อใช้ในกิจกรรมการให้บริการของห้องสมุด รวมทั้งกิจกรรมการประชุมและจัดนิทรรศการ
           สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดให้ นางรัตนา เสียงสนั่น นักบริหารงานทั่วไป เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดซื้อจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (3.5-1) นอกจากนี้ได้ดำเนินการจัดทำประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง มาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว (3.5-2) และมาตรการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดซื้อสินค้า (3.5-3)
           การจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะศึกษาฉลากสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือจากเว็บไซต์ หรือจากฐานข้อมูลที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม (3.5-4, 3.5-5) ในการจัดซื้อสินค้าจะดำเนินการจัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สำนักวิทยบริการฯ จัดซื้อไว้ใช้จริง โดยจะประกอบด้วยรายการสินค้า ยี่ห้อ ฉลากสิ่งแวดล้อม วันหมดอายุ และวันที่ทบทวน เป็นต้น (3.5-6, 3.5-7
           สำนักวิทยบริการฯ จะดำเนินการทำหนังสือเพื่อขอความร่วมมือบริษัท หรือร้านค้าในการจัดหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับสำนักวิทยบริการฯ (3.5-8, 3.5-9)
           สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแนวปฏิบัติการใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีที่ไปใช้บริการนอกสำนักงาน (3.5-10, 3.5-11, 3.5-12) และแนวปฏิบัติที่หน่วยงานอื่นๆ มาใช้บริการของสำนักฯ เพื่อขอความร่วมมือให้ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน ลดการก่อให้เกิดมลพิษ (3.5-13, 3.5-14)
          นอกจากนี้ สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการศึกษาและรวบรวมรายชื่อโรงแรมที่ผ่านการรับรองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Hotel) ปี 2565 ไว้เป็นแนวทางการคัดเลือกสถานที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (3.5-15)

(2565) 3.5-10 แบบฟอร์มการคัดเลือกสถานที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 3.5-11 ข้อปฏิบัติการเดินทางไปประชุมภายนอกของบุคลากร.pdf
(2565) 3.5-12 แนวปฏิบัติการใช้บริการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 3.5-13 ข้อปฏิบัติเรื่องการจัดประชุมและนิทรรศการ (1).pdf
(2565) 3.5-14 แนวปฏิบัติในการใช้ห้องประชุมสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.pdf
(2565) 3.5-15 รายชื่อโรงแรมที่ผ่านการรับรอง Green Hotel.pdf
(2565) 3.5-2 ประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่องมาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว.pdf
(2565) 3.5-3 มาตรการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 3.5-4 การศึกษาเกี่ยวกับฉลากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 3.5-5 ฐานข้อมูลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 3.5-6 บัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ใช้จริงในสำนักงาน.pdf
(2565) 3.5-7 ภาพรายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 3.5-8 หนังสือขอความร่วมมือในการจัดหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 3.5-9 ภาพประกอบขอความร่วมมือจัดหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(GL-2565) 3.5-1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ.2565.pdf
3.6 กําหนดให้มีแผนการและดําเนินการบํารุงรักษาระบบต่างๆที่มีในห้องสมุด ตามแผนอย่างต่อเนื่อง

           สำนักวิทยบริการฯ มีการแผนการและดำเนินการบำรุงรักษาระบบต่างๆ (3.6-1) โดยสำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินการ 2 รูปแบบ ดังนี้

           ดำเนินการบำรุงรักษาระบบอาคาร โดยบุคลากรสำนักวิทยบริการ

          - การเปลี่ยนระบบสวิทซ์ไฟฟ้าเป็นแบบสวิทซ์กระตุก (3.6-2)

          - การทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ (3.6-3)

          - การทำความสะอาดของแม่บ้าน (3.6-4)

          - การตรวจเช็คสภาพและเติมสารดับเพลิงตามระยะเวลา โดยกำหนดบุคลากรตรวจเช็คถังเพลิงให้อยู่ในสภาพปกติและมีการตรวจเช็คจุดสัญญาณเตือนภัย เพื่อตรวจว่าอยู่ในสภาพปกติ (3.6-5)

           ดำเนินการบำรุงรักษาระบบอาคาร โดยจ้างเหมาบริษัทเอกชน    

           - การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ มีการตรวจเช็คสภาพเครื่องปรับอากาศ กำหนดให้มีการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ ไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง ปรับปรุง ซ่อมแซมกรณีมีการชำรุด บำรุงรักษาตามระยะเวลาที่เหมาะสม (3.6-6)

           - การบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสาร มีการตรวจเช็คสภาพ ซ่อมบำรุง โดยบริษัททุกระยะ (3.6-7)


(GL-2565) 3.6-1 แผนการบำรุงดูแลรักษาประจำปี 2565.pdf
(GL-2565) 3.6-2 การปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน.pdf
(GL-2565) 3.6-3 การปรับปรุงระบบปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพ.pdf
(GL-2565) 3.6-4 รายงานการรวจสอบทำความสะอาด.pdf
(GL-2565) 3.6-5 บันทึกการตรวจถังดับเพลิง.pdf
(GL-2565) 3.6-6 ใบตรวจเช็คสภาพเครื่องปรับอากาศ.pdf
(GL-2565) 3.6-7 รายงานการการทำความสะอาดเครื่องถ่ายเอกสารเบื้องต้น.pdf
3.7 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการรวบรวมและบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า เชื้อเพลิงน้ํา กระดาษ และทรัพยากรอื่นๆ โดยมีการรายงานผลเป็นประจําทุกปีพร้อมกับเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลังเพื่อดูพัฒนาการ
 สำนักวิทยบริการฯ มีการใช้พลังงานหลายชนิด ทั้งในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำ กระดาษและการใช้ทรัพยากรอื่นๆ ภายในสำนักงาน แต่จะมีปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าวมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายปัจจัยรวมถึงลักษณะของกิจกรรมต่างๆ ซึ่งสำนักวิทยบริการฯ มีการมอบหมายให้นักบริหารงานทั่วไปดําเนินการรวบรวมและบันทึกข้อมูล ซึ่งใช้ Google Sheet ในการจัดเก็บข้อมูลเป็นประจำทุกเดือน ดังนี้
3.7.4 ข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือนของบุคลากรสำนักฯ
 

(2565) 3.7.4 ข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือนของบุลลากร-25-ส.ค-65 (2).pdf
(2565) 3.7.5 ข้อมูลการใช้น้ำมัน.xlsx - เปรียบเทียบการใช้ 61-65.pdf
(GL-2565) 3.7.1 ช้อมูลเปรียบเทียบการใช้ไฟฟ้า ปี 2561 - 2565.pdf
(GL-2565) 3.7.2 ข้อมูลเปรียบเทียบการใช้น้ำ ปี 61-65.pdf
3.8 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการด้านการส่งเอกสาร และการเดินทาง โดยการบริหารจัดการระบบรถร่วม หรือการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (eMail), การประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (eMeeting) หรือระบบอื่นๆ เพื่อลดเวลา และลดต้นทุนการส่งเอกสารหรือการเดินทางมาประชุม
 สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินการด้านการส่งเอกสาร โดยใช้ระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการบริหารจัดการระบบรถร่วม หรือการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email), การประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) หรือระบบอื่นๆเพื่อลดเวลา และลดต้นทุนการส่งเอกสารหรือการเดินทางมาประชุม ดังนี้
        3.8.1 ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (e-Document)  https://doc.pbru.ac.th/docweb/v2/default.aspx (3.8-1)  ในการจัดส่งเอกสาร
         3.8.2 ระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี http://mis.pbru.ac.th/service/ (3.8-2) เพื่อขอใช้รถยนต์ส่วนกลางของมหาวิทยาลัยสำหรับการไปราชการและการลาโดยใช้ระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี  และพิจารณาการใช้รถร่วมกันในกรณีที่เดินทางในช่วงเวลาและเส้นทางใกล้เคียงกัน
         3.8.3 ระบบปฏิบัติงานของสำนักวิทยบริการฯ https://arit.pbru.ac.th/book-room/admin/index.php (3.8-3) เป็นระบบภายในหน่วยงานที่ใช้ในการจักดารการลา การอบรม ผลงานของบุคลากรและจัดเก็บผลการดำเนินงานด้านห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียวของสำนักวิทยบริการฯ
        3.8.4 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) (3.8-4)
        3.8.4 การประชุมแบบออนไลน์ (3.8-5) โดยสำนักวิทยบริการฯ ได้จัดหาโปรแกรม Zoom เพื่อใช้ในการประชุม อบรมและบริการแก่คณาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย
        3.8.5 ใช้ Facebook หรือ Line (3.8-6) ในการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน
       3.8.6 ใช้ Google Drive (3.8-7) การจัดเก็บเอกสารเพื่อทำงานร่วมกัน
      3.8.7 การใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยการติดต่อประสานงานภายในมหาวิทยาลัย (3.8-8)

(GL-2565) 3.8-1 ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.pdf
(GL-2565) 3.8-2 ระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.pdf
(GL-2565) 3.8-3 ระบบปฏิบัติงานของสำนักวิทยบริการฯ.pdf
(GL-2565) 3.8-4 การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์.pdf
(GL-2565) 3.8-5 ประชุมออนไลน์.pdf
(GL-2565) 3.8-6 ใช้ Facebook หรือ Line.pdf
(GL-2565) 3.8-7 การใช้ Google Drive ในการจัดเก็บเอกสาร.pdf
(GL-2565) 3.8-8 การใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย.pdf
3.9 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จําแนกจุดหรือกิจกรรมการปรับปรุง วางแผนและดําเนินมาตรการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ/หรือการทํากิจกรรมชดเชยคาร์บอน
          1. ประชุมคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว 2 ครั้ง (1/2565, 2/2565, 3/2565) มีการทบทวนคำสั่ง แผนพัฒนาคุณภาพ ระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม จัดทำแผนการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกำแผนประเพัฒนาห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ. 2565
          2.  สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และรวบรวมข้อมูลพื้นฐานและปริมาณการใช้ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำ กระดาษ และปริมาณขยะ เพื่อประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการ ประจำปี พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม พบว่า มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม จำนวน 94.66 tCO2e โดยจำแนกเป็น ปริมาณการใช้น้ำมันสำหรับการเดินทาง การปล่อยสารมีเทนจาก Septic tank การปล่อยสารมีเทนจากบ่อบำบัดแบบไม่เติมอากาศ การใช้สารทำความเย็นแบบ R134A ในประเภทที่ 1 จำนวน 3.75 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 3.96 ของปริมาณการก๊าซทั้งหมดในปี 2565 และมีปริมาณการใช้ไฟฟ้า ในประเภทที่ 2 จำนวน 88.06 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 93.03 ของปริมาณการก๊าซgเรือนกระจกทั้งหมดในปี 2565 และมีปริมาณการใช้น้ำ กระดาษ และปริมาณขยะ/ของเสียฝังกลบ (ขยะส่งกำจัด) ในประเภทที่ 3 จำนวน 2.85 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 3.01 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในปี 2565
          เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ร้อยละ 10 สํานักวิทยบริการฯ มีแนวโน้มสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ และมีข้อเสนอแนะในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก คือ
          จากข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด พบว่า สำนักวิทยบริการมีค่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น และยังมีการใช้ไฟฟ้าที่สูงมาก จึงควรกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ดังนี้                                    
           1. ควรติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างเคร่งครัด อาทิ การเดินทางไปราชการทางเดียวกันไปด้วยกัน ลดการใช้พาหนะส่วนตัวในการเดินทางไปราชการ เป็นต้น
           2. มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับหน่วยงาน โดยมีการสำรวจและประเมินเครื่องปรับอากาศที่มีการใช้งานมากกว่า 10 ปี หรือชำรุด เพื่อได้รับการสนับสนุนจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการปรับเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศใหม่ โดยเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 และใช้เทคโนโลยี Inverter หรือเทคโนโลยีประหยัดไฟอื่น ๆ  
           3. จัดหาระบบไฟฟ้าทางเลือก (โซล่า เซลล์) เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าพื้นฐาน
           4. ควรมีการทวนสอบการประเมินก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ โดยผู้ทวนสอบจากหน่วยงานภายนอก เพื่อรับรองการประเมินก๊าซเรือนกระจก
           5. ควรมีการกำหนดแนวทาง/แผนงานกิจกรรมเพื่อการชดเชยคาร์บอน จากการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ
           6. ควรส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ มีการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนบุคคล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

(2565) GO1.5-GL3.9-256601-เปรียบเทียบCFO2561-2565.pdf
(2565) GO1.5-GL3.9-CFO-2565-final.pdf
คำอธิบาย
    จําแนกประเด็นปัญหาด้านของเสียและมลพิษ กําหนดมาตรการการจัดการของเสียและมลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคารห้องสมุด ตลอดจน บันทึก ติดตาม ตรวจสอบเพื่อประเมินผล

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
4.1 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการขยะ โดยเลือกวิธีการจัดการที่เหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ํา (reuse) การนํากลับมาใช้ใหม่ (recycle) มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกและบันทึกปริมาณขยะ มีพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกําจัดและมีวิธีการส่งกําจัดที่เหมาะสมสําหรับขยะแต่ละประเภท

        สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินงาน ตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่าง เหมาะสม โดยการแบ่งประเภทของขยะออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.ขยะทั่วไป 2. ขยะรีไซเคิล 3. ขยะอ้นตราย 4. ขยะอินทรีย์/ ย่อยสลายได้/เปียก พร้อมทั้งมีการแสดงชัดเจนในการแบ่งตาม สัญลักษณ์ สีของถังขยะ และป้ายแสดงให้เห็น ตัวอย่างของขยะแต่ละประเภท (4.1.1-1.1) และได้จัดทำป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถัง เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บ และนำไปจัดการอย่างเหมาะสม (4.1.1-2.1) 

        สำนักวิทยบริการฯ มีพื้นที่พักขยะทั่วไป อยู่บริเวณด้านข้างของ อาคารสำนักวิทยบริการฯ มีการรองรับเพื่อ ป้องกันน้ำขยะรั่วไหลหรือขยะปลิวออกสู่ภายนอก (4.1.1-3.1) ส่วนขยะอินทรีย์จะถูกไปเทที่จุดถังขยะรักษ์โลก และนำไปเป็นอาหารให้กับสัตว์ (4.1.1-3.2) ขยะรีไซเคิลแยกออกมารวบรวมเพื่อรอการจำหน่าย ให้กับร้านรับซื้อของเก่า ขยะอันตรายจัดเก็บรวบรวมให้ปริมาณเยอะ ๆ เพื่อส่งไปกำจัดอย่างเหมาะสมต่อไป

        สำนักวิทยบริการฯ มีการสุ่มตรวจสอบการทิ้งขยะ โดยหัวหน้าสำนักงานและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในหมวดที่ 4 ทั้งนี้ได้ดำเนินการตรวจสอบการทิ้งขยะ คัดแยกขยะตามประเภททุกเดือนและกรอกแบบฟอร์มเพื่อรายงานต่อไป (4.1.1-4.1)  และสำนักวิทยบริการฯ มีการส่งต่อขยะทั่วไปและขยะอันตรายออกไปกำจัดนอกพื้นที่ (4.1.1-5.1) ซึ่งดำเนินการขนย้ายขยะโดย อบต.นาวุ้ง มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (4.1.1-6.1) และสำนักวิทยบริการฯ ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน


(GL-2565) 4.1.1-1.1 จุดคัดการคัดแยกขยะพร้อมป้ายบ่งชี้ ปี 65.pdf
(GL-2565) 4.1.1-2.1 ป้ายบ่งชี้ถังขยะ 65 .pdf
(GL-2565) 4.1.1-3.1 จุดทิ้งขยะป้องกันการรั่วไหลเส้นทางการจัดการขยะ 65.pdf
(GL-2565) 4.1.1-3.2 บันทึกข้อมูลปริมาณขยะคัดแยกเพื่อรอจำหน่าย 65 .pdf
(GL-2565) 4.1.1-5.1 เส้นทางการจัดการขยะ 65.pdf
(GL-2565) 4.1.1-6.1 จุดคัดแยกขยะรวบรวมและขนส่งในมหาลัยเพื่อส่งอบ.ต นาวุ้ง.pdf
(GL-2565) 4.1.2-4.1 สรุปข้อมูลปริมาณขยะ-2565.pdf
4.2 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการน้ําเสียโดยเริ่มจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ํา เพื่อเลือกแนวทางในการจัดการน้ําเสียอย่างเหมาะสม เช่น การเลือกใช้น้ํายาทําความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การติดตั้งระบบบําบัดน้ําเสีย เป็นต้น มีการดูแลและตรวจสอบระบบบําบัดน้ําเสียอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการลดปริมาณการใช้น้ํา หรือใช้น้ําอย่างมีประสิทธิภาพ
            สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดแผนงานและมาตรการด้านการบำบัดน้ำเสีย ตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2564 โดยมีการติดตั้งถังดักไขมันตามจุดที่มีการใช้งานห้องเตรียมอาหาร ทั้งหมด 4 จุด ได้แก่ 1) ห้องเตรียมอาหาร สำนักงานผุ้อำนวยการ 2) ห้องเตรียมอาหาร ชั้น 1 อาคารบรรณราชนครินทร์ 3) ห้องเตรียมอาหาร ชั้น 6 อาคารบรรณราชนครินทร์ และ 4) ร้านเครืองดื่มและอาหารว่าง Think Cafe @Library มีการกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานบริการทั่วไปดำเนินการตักไขมัน และล้างถังดักไขมันทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ เพื่อดูแลรักษาอุปกรณ์และเป็นการตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อนทื้งลงบ่อบำบัดน้ำเสียของอาคารและปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
            ปี พ.ศ. 2564 สำนักวิทยบริการฯ มีการประสานกับคณะวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ดำเนินการวัดคุณภาพน้ำ จากบ่อบำบัดน้ำทิ้ง และแหล่งน้ำข้างอาคารบรรณราชนครินทร์ เพื่อนำผลไปหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพต่อไป

5.1-4-2565-แผนงานการจัดการของเสีย มลพิษ และความปลอดภัย - Google เอกสาร.pdf
4.3 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการมลพิษทางอากาศเช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อราเชื้อแบคทีเรีย สารเคมีควันบุหรี่ เป็นต้น มีการจัดพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอและถ่ายเทโดยสะดวก มีการกําจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการกําหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ตลอดจนมีการจัดการเพื่อควบคุมเสียงในห้องสมุด
             สำนักวิทยบริการฯ 4.3-1 มีแผนงานและดำเนินการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อราเชื้อแบคทีเรีย และดำเนินการจัดการมลพิษทางอากาศ จากแผนการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว โดยกำหนด ผู้รับผิดชอบในการดูแลโดยจัดทำรายละเอียดอย่างชัดเจน   4.3-2 มีแผนการบำรุงดูแลรักษาประจำปี 2565  
             มีการจัดการพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างพอเพียงและถ่ายเทได้สะดวก เช่น การเปิดประตูห้องสำนักงานและการเปิดหน้าต่างห้องครัว   และ  4.3-2 มีการตรวจการทำงานของแม่บ้านอย่างสม่ำเสมอ
             เพื่อกำหนดมาตรการและตรวจสอบการจัดการมลพิษทางอากาศอย่างสม่ำเสมอ เช่น  4.3-3 กำหนดให้มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสือ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง  การทำความสะอาดบริเวณพื้นที่บริการทุกวันทำการ เพื่อลดมลพิษทางอากาศมีการดำเนินมีการทำกิจกรรม 5 ส อย่างสม่ำเสมอ  เพื่อจัดระเบียบและทำความสะอาดพื้นที่บริการเดือนละ 2 ครั้ง  4.3-4 ตารางการทำความสะอาดชั้น 
            4.3-5 กำหนดให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่  4.3-6 โดยการติดป้ายประกาศและมีการตรวจตราเป็นประจำ
            4.3-7 มีการจัดการเพื่อควบคุมเสียง มีการจัดพื้นที่ใช้เสียง

(GL-2565) 4.3 -2 ภาพอากาศถ่ายเทได้สะดวก.pdf
(GL-2565) 4.3-1 แผนการบำรุงดูแลรักษาประจำปี-2565.pdf
(GL-2565) 4.3-3 ภาพการทำความสะอาดชั้นหนังสือ (1).pdf
(GL-2565) 4.3-4 รายงานการตรวจสอบทำความสะอาดพื้น.pdf
(GL-2565) 4.3-5 ภาพการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่.pdf
(GL-2565) 4.3-6 การติดตั้งป้ายห้ามสูบบุหรี่หรือสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่.pdf
(GL-2565) 4.3-7 ภาพการงดใช้เสียง.pdf
4.4 มีการดําเนินกิจกรรม 5 ส.อย่างสม่ำเสมอเพื่อจัดพื้นที่บริการและพื้นที่สํานักงานให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย

            สำนักวิทยบริการฯ มีแผนการดำเนินงาน 5ส. โดยให้บุคลากรรับผิดชอบพื้นที่ของตนเองด้านความสะอาดทุกวันอย่างต่อเนื่อง คือ สะสาง สะอาด สะดวก สุขลักษณะ และสร้างนิสัยอย่างสม่ำเสมอ (4.4.1)
           สำนักวิทยบริการฯ มีการประเมินกิจกรรม 5ส.ทุกเดือนๆ ละ 2 ครั้ง  (4.4.4) และดำเนินการสรุปผลการประเมินกิจกรรม 5ส.จากการประเมินกิจกรรม 5ส. ตั้งแต่เดือนมกราคม  - ธันวาคม 2565 พบว่าค่าเฉลี่ยของการตรวจประเมิน 5ส. เฉลี่ยร้อยละ 87.6 ซึ่งบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 (4.4.5)
          สำนักวิทยบริการฯ มีแผนจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ปีละ 1 ครั้ง โดยจะร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่ทั้งบริเวณภายใน และภายนอกอาคารสำนักวิทยบริการฯ เช่น บริเวณสวนโดยรอบอาคารบรรณราชนครินทร์และอาคารหอสมุดเดิม ลานปูนปั้น และบริเวณหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ เป็นการสร้างจิตสำนึกในด้านสิ่งแวดล้อมให้กับบุคลากร ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรฐานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ผลการดำเนินงานในปี 2565 ได้มีกิจกรรม Big Cleaning Day จำนวน 2 ครั้งคือ 
            ครั้งที่ 1 วันพุธ ที่ 10  มีนาคม พ.ศ. 2565
            ครั้งที่ 2 วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565


(2565) 4.4-1 แผนการดำเนินงาน 5 ส.pdf
(2565) 4.4-5-แบบสรุปผลการตรวจประเมินกิจกรรม-5ส.pdf
(2565) 4.4.4 แบบประเมิน-5-ส.-65.pdf
4.5 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ระงับเหตุฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย อุทกภัย และวาตภัย เป็นต้น ตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมหรือตามที่กฎหมายกําหนด รวมทั้ง การดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉินดังกล่าว ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

        สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินงานเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาหรือเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นดังนี้

        1. แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล และดำเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน ได้แก่ (4.5-1)
        1.1 นายพีรวัฒน์ เพ่งผุดผ่อง
        1.2 นายวิวัฒน์ เพิ่มสุข
        2. สำนักวิทยบริการฯ จัดทำแผนการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน (4.5-2)
        3. เนื่องด้วยสถานะการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกัน สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดให้บุคลากรจำนวน 5 คน เข้าร่วมอบรม "การป้องกันอัคคีภัยในสถานศึกษา" ในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ณ อาคารโรงเรียนการอาหารนานาชาติ จัดโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (4.5-3.1) และสำนักวิทยบริการฯ ได้จัดการอบรมหลักสูตร "การดับเพลิงเบื้องต้น" ในรูปแบบออนไลน์ให้กับบุคลากรของสำนักฯ จำนวน 24 คน โดยการศึกษาเนื้อหาผ่านทาง Youtube (https://www.youtube.com/watch?v=H2LeFfczxfU) ซึ่งการจัดอบรมดังกล่าวมีการวัดผลการอบรมพบว่า บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจก่อนการอบรมคิดเป็นร้อยละ 48.33% และหลังการอบรมมีความรู้ความเข้าใจคิดเป็นร้อยละ 89.17% บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น 40.84% (4.5-3.2)
        4. สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการตรวจสอบและบันทึกการดูแลอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยต่างๆ ที่ใช้ระงับเหตุ ภายในสำนักวิทยบริการฯ ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 6 ครั้ง/ปี 
        4.1 บันทึกการตรวจถังดับเพลิง (4.5-4.1)
        4.2 บันทึกการตรวจเครื่องตรวจจับควัน (4.5-4.2)
        4.3 บันทึกการตรวจสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน (4.5-4.3)

(GL-2565) 4.5-1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียว-2565.pdf
(GL-2565) 4.5-2 แผนงานและดำเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน 2565.pdf
(GL-2565) 4.5-3.1 การอบรมการป้องกันอัคคีภัยในสถานศึกษา.pdf
(GL-2565) 4.5-3.2 สรุปผลการอบรมดับเพลิงเบื้องต้น รูปแบบออนไลน์ 2565.pdf
(GL-2565) 4.5-4.1 บันทึกการตรวจถังดับเพลิง.pdf
(GL-2565) 4.5-4.2 บันทึกการตรวจเครื่องตรวจจับควัน.pdf
(GL-2565) 4.5-4.3 บันทึกการตรวจสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน.pdf
คำอธิบาย
    มีการบริหารจัดการด้านการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ การให้บริการ และการส่งเสริมการเรียนรู้ของกิจกรรมการให้บริการของห้องสมุดที่สนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
5.1 กําหนดให้มีนโยบายการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดําเนินงาน แต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารและผู้แทนบุคลากรห้องสมุด เพื่อร่วมกันวางแผนและกําหนดแผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียวไว้ในแผนงานประจําปีมีการกํากับติดตามให้มีการดําเนินการตามแผนและมีการรายงานผลตามแผนไม่ต่ำกว่าปีละ 2 ครั้ง

            สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้
            1. กำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารงานห้องสมุด รวมถึงกำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว โดยติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนงาน มาตรการ และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
             2. ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมตลอดจนเกณฑ์สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวอย่างเคร่งครัด
             3. ให้บริการสื่อการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดกิจกรรมและสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรและผู้ใช้บริการมีความรู้ ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
             4. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
             5.ปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
             6. ควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษ การจัดการของเสีย การจัดการสภาพแวดล้อมและความปลอดภัย
             7. การจัดซื้อ จัดจ้าง สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้บริการองค์กรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
             8. ส่งเสริมให้มีการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและทำการชดเชยคาร์บอนในระดับองค์กรและระดับบุคคล
             9. ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมในเครือข่ายความร่วมมือด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (5.1-1)

             สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (5.1-2) และดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2565 (5.1-3) โดยมีผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มาพิจารณาและทบทวนแผน ทั้งนี้ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ ได้ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยมีวิสัยทัศน์คือ ให้สำนักวิทยบริการฯเป็นองค์กรแห่งการจัดการสมัยใหม่และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพสูง และประชาสัมพันธ์นโยบายให้กับบุคลากรและผู้รับบริการทราบ

            สำนักวิทยบริการฯ มีการประชาสัมพันธ์นโยบายให้กับบุคลากรและผู้รับบริการทราบไว้ 4 ช่องทาง ได้แก่
            1. แจ้งหนังสือเวียนบันทึกข้อความไปยังบุคลากรทุกคน (5.1-4)
            2. ประกาศนโยบายฯภายในลิฟท์ (5.1-5)
            3. ประชาสัมพันธ์บนเว็บของสำนักวิทยบริการฯ ที่ URL http://arit.pbru.ac.th (5.1-6)
            4. ประกาศแจ้งผู้ใช้บริการภายในสำนักวิทยบริการรับทราบทางบอร์ดประชาสัมพันธ์ (5.1-7)

     สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินการตามแผนและมีการรายงานผลตามแผน ให้คณะกรรมการประจำสำนักฯได้รับทราบ (5.1-8),(5.1-9)


(2565) 5.1-1 ประกาศนโยบาย.pdf
(2565) 5.1-2 แบบเสนอโครงการที่-11-ปีงบประมาณ-2565ห้องสมุด.pdf
(2565) 5.1-3 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียว.pdf
(2565) 5.1-4 แจ้งหนังสือเวียนบันทึกข้อความไปยังบุคลากรทุกคน.pdf
(2565) 5.1-5 ประกาศนโยบายในลิฟท์.pdf
(2565) 5.1-6 ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว.pdf
(2565) 5.1-7 ประกาศนโยบายทางบอร์ดประชาสัมพันธ์.pdf
5.2 กําหนดให้มีแผนงานและการจัดกิจกรรมให้บุคลากรห้องสมุด ผู้รับบริการ ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมและมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น
            สำนักวิทยบริการ ฯ ได้จัดทำแผนงานส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่  
           1.1 มีแผนงานการจัดกิจกรรมตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (5.2-1)
           1.2 กิจกรรมจัดมุมพลังงานแผละสิ่งแวดล้อมแบบหมุนเวียน  โดยมีทรัพยากรสารสนเทศประมาณ 100 เล่ม จัดแสดงพร้อมวีดิทัศน์ นำเสนอรายการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม(5.2-2)

5.2-1 แผนการจัดกิจกรรม.pdf
5.2.2 กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf
5.3 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่มีความทันสมัยและหลากหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง จํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมด และจัดเตรียมให้อยู่ในสภาพพร้อมให้บริการ

             สำนักวิทยบริการฯ มีแผนงานและดำเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม (5.3-1) ทั้งที่จัดซื้อหรือการขอรับบริจาคในแต่ละปีงบประมาณและมีรายงานแสดงทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อมจำนวนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่า 300 รายการ (5.3-2) และจัดเตรียมให้อยู่ในสภาพพร้อมให้บริการ (5.3-3)


(2565) 5.3-1 แผนจัดหาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 5.3-2 ผลรวมทรัพยากรสารสนเทศ 2565.pdf
(2565) 5.3-3 ภาพการจัดเตรียมทรัพยากรด้านสิ่งแวดล้อมพร้อมใช้บริการ.pdf
5.4 กําหนดให้มีบริการสืบค้นสารสนเทศ การสอนการรู้สารสนเทศ และการส่งเสริมการใช้สารสนเทศ รวมทั้งให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือการแลกเปลี่ยนสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระหว่างห้องสมุดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

             การให้บริการสืบค้นสารสนเทศ จะมีบรรณารักษ์หมุนเวียนมาให้บริการสืบค้นสารสนเทศ ณ เคาน์เตอร์ Customer Care (5.4-1) เป็นประจำทุกวัน และเพื่อให้ผู้ใช้บริการรับรู้ว่ามีทรัพยากรสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมให้บริการในสำนักวิทยบริการฯ บรรณารักษ์จะแนะนำวิธีการสืบค้นสารสนเทศโดยยกตัวอย่างคำค้นที่เกี่ยวข้องกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น รีไซเคิล การประหยัดพลังงาน solar cell เป็นต้น และจะใช้คำค้นดังกล่าวเป็นตัวอย่างในระหว่างการสอนการรู้สารสนเทศด้วยเช่นกัน โดยมีกำหนดจัดอบรมการค้นคืนสารสนเทศจากฐานข้อมูลต่าง ๆ เป็นประจำทุกเดือน (5.4-2) ผู้ใช้บริการสามารถติดตามโปรแกรมการอบรมและลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมได้ที่เว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการฯ นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมเว็บไซต์หน่วยงานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นแหล่งสารสนเทศในการให้บริการสืบค้นข้อมูลนอกเหนือจากทรัพยากรสารสนเทศที่มีในห้องสมุด (5.4-3)

           เพื่อเป็นการแนะนำและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิทยบริการฯ ได้นำหนังสือ ตำราด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่มีในห้องสมุดมาจัดแสดงที่ มุมพลังงานและสิ่งแวดล้อม บริเวณใกล้ห้องรับรองชั้น 1 หมุนเวียนทุกๆ 2 เดือน (5.4-4) ผู้ใช้บริการจึงสามารถนำไปยืมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งแนะนำหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามช่องทางต่าง ๆ อาทิ เฟสบุ๊ค, จอ LED TV, เว็บไซต์ ไลน์ เป็นต้น (5.4-5)


(GL-2565) 5.4-1 บริการสืบค้นสารสนเทศ ณ เคาน์เตอร์ Customer Care.pdf
(GL-2565) 5.4-2.1 อบรมการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศจากฐานข้อมูล.pdf
(GL-2565) 5.4-4 มุมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf
5.5 กําหนดให้มีแผนงานและจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่มีรูปแบบหลากหลายสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย

          สำนักวิทยบริการฯ มีแผนงานจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และได้ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบที่หลากหลายและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย  ดังนี้

       1. กิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัล ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้แก่

          1.1 กิจกรรม "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" 

          1.2 กิจกรรม “วันดินโลกและวันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมใจคืนสมดุลสู่ธรรมชาติ

           1.3  กิจกรรมยืมหนังสือมุมพลังงานและสิ่งแวดล้อม รับเมล็ดผักฟรี 

          2. จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 ช่องทาง ดังนี้

          1. เว็ปไซด์ Green office & Green library

          2. เพจ facebook : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

          3. ช่อง youtube : arit pbru channel

          

 


(2565) youtube arit pbru channel.pdf
(2565) สรุปกิจกรรมยืมหนังสือสิ่งแวดล้อมรับเมล็ดผักฟรี!.pdf
(2565) สรุปกิจกรรมวันดินโลกและวันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมใจคืนสมดุลสู่ธรรมชาติ.pdf
(2565) สรุปกิจกรรมวันฝนหลวง.pdf
(2565) เพจ facebook สำนักวิทยบริการ.pdf
(2565) เว็ปไซด์ Green office & Green library.pdf
5.6 กําหนดให้มีแผนงานและจัดการฝึกอบรมหรือการพัฒนาบุคลากรห้องสมุด ให้มีความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นประจําทุกปี
1. สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (GL5.6-1) โดยมีผู้รับผิดชอบคือนางสาวแขนภา ทองตัน ตามคำสั่งที่ 001/2565 ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2565    ทั้งนี้ ในปี 2565 ได้ดำเนินการจัดอบรมทั้งหมด 5 หลักสูตร ดังนี้
     1. ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว
     2. การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
     3. การจัดการมลพิษและของเสีย
     4. การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
     5. ก๊าซเรือนกระจก
 
2. บุคลากรสำนักวิทยบริการฯ จำนวน 24 คน  ได้รับการพัฒนาการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้ง 5 หลักสูตร และผ่านการอบรม จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 55.40  และแบบทดสอบหลังการอบรม คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 98.08 ดังผลสรุปการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2565 (GL5.6-2) และสรุปผลการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อมรายหลักสูตร (GL5.6-3)

(2565) GL5.6-1 แผนการเพิ่มทักษะความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2565-New.pdf
(2565) GL5.6-2 สรุปผลการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม 2565 - New.pdf
(2565) GL5.6-3 สรุปผลการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม รายหลักสูตร- Full.pdf
5.7 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินจัดกิจกรรมประหยัดพลังงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตลอดปี

สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2565 โดยมีผู้รับผิดชอบคือ นายวิโนจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา จำนวน 9 หัวข้อ และได้กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสาร ดังนี้ (5.7 - 1)
             ๑. นโยบายสิ่งแวดล้อม
             ๒. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและการจัดการ
             ๓. การปฏิบัติตามกฎหมาย
             ๔. ความสะอาดและความเป็นระเบียบ (5ส.)
             ๕. เป้าหมายและมาตรการพลังงาน-ทรัพยากร (ได้แก่น้ำ ไฟฟ้า น้ามันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม กระดาษ และอื่นๆ)
             ๖. เป้าหมายและมาตรการจัดการของเสีย
             ๗. ผลการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย
             ๘. สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
             ๙. ก๊าซเรือนกระจก

           สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงานที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร ได้แก่ (5.7 - 2)

             1. ประชุมชี้แจง
             2. เว็บไซต์GreenOffice
             3. กลุ่มFacebook ARIT Staff
             4. messenger greenlib
             5. morningtalk
             6. จออิเล็กทรอนิกส์
             7. บอร์ดประชาสัมพันธ์ 
             8. Facebookสำนักฯ
             9. เว็บไซต์GreenOffice
             10. Line@ บุคลากรมหาวิทยาลัย

          สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน ให้เกิดการรับรู้และรับทราบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (5.7 - 3)

              1. กลุ่มเป้าหมาย ภายใน คือ ผู้บริหารและบุคลากรสำนักฯ

              2. กลุ่มเป้าหมาย ภายนอก คือ ผู้ใช้บริการห้องสมุด (นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร มรภ.พบ. ศิษย์เก่าและบุคคลภายนอก)


(GL-2565) 5.7 - 1 แผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2565.pdf
(GL-2565) 5.7 - 2 ช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก 2565.pdf
(GL-2565) 5.7 - 3 กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม 2565.pdf
คำอธิบาย
    มีการกําหนดบทบาทของผู้บริหาร บุคลากรห้องสมุด และผู้เกี่ยวข้อง ในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของกิจกรรมการให้บริการของห้องสมุด

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
6.1 กําหนดให้มีแผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว โดยผู้บริหารห้องสมุด รวมทั้งรับฟังความเห็นจากบุคลากรและผู้รับบริการ และเสนอให้คณะกรรมการประจําหน่วยงาน ตลอดจนผู้บริหารระดับเหนือชั้นขึ้นไปรับทราบ ชี้แจงบทบาทด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มรับทราบ ได้แก่ บุคลากรผู้รับบริการและผู้ประกอบการ
           สำนักวิทยบริการฯ กำหนดนโยบายห้องสมุดสีเขียว โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกภาคส่วน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดเขียว (6.1-1) กำหนดบทบาทของผู้บริหาร บุคลากร และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้มีส่วนร่วมและตระหนักในการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว 8 หมวด รับฟังความคิดเห็นจากบุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวแผน ประจำปี 2566 (6.1-2) และแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว 2566 (6.1-3) มีการรายงานผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวต่อคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการฯ ตลอดจนผู้บริหารระดับเหนือชั้นขึ้นไปรับทราบ (6.1-4)
           สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ชี้แจงบทบาทและนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มรับทราบ ได้แก่ บุคลากร ผู้ใช้บริการ ผู้ประกอบการ หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ทั้งทางออนไลน์และเอกสาร โดยมีช่องทางการประชาสัมพันธ์ ดังนี้ เว็บไซต์ https://localphetchaburi.net/green/ ,ไลน์ ID Line: @944jtkcpj, Fanpage สำนักวิทยบริการ (6.1-5) การติดป้ายประชาสัมพันธ์ตามสถานที่ต่างๆ ภายในสำนักฯ (6.1-6)

(GL-2565) 6.1-1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ.2565.pdf
(GL-2565) 6.1-2 แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว-พ.ศ.-2562-2566.pdf
(GL-2565) 6.1-3 แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว.pdf
(GL-2565) 6.1-4 ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.pdf
(GL-2565) 6.1-5 ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว.pdf
(GL-2565) 6.1-6 ป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณหน้าทางเข้าและพื้นที่ของสำนักวิทยบริการ.pdf
6.2 กําหนดให้มีแผนงานพัฒนาความรู้ให้กับบุคลากร โดยบุคลากรห้องสมุดจะต้องเข้าร่วมการอบรมที่หน่วยงานจัด หรือเข้าร่วมการประชุมสัมมนา หรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหรือสิ่งแวดล้อม และกําหนดภาระงานให้บุคลากรมีส่วนร่วมดําเนินงานในการจัดกิจกรรม และ/หรือ การให้บริการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
1. สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (GL6.2-1) โดยมีผู้รับผิดชอบคือนางสาวแขนภา ทองตัน ตามคำสั่งที่ 001/2565 ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2565    ทั้งนี้ ในปี 2565 ได้ดำเนินการจัดอบรมทั้งหมด 5 หลักสูตร ดังนี้
     1. ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว
     2. การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
     3. การจัดการมลพิษและของเสีย
     4. การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
     5. ก๊าซเรือนกระจก
 
2. บุคลากรสำนักวิทยบริการฯ จำนวน 24 คน  ได้รับการพัฒนาการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้ง 5 หลักสูตร และผ่านการอบรม จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 55.40  และแบบทดสอบหลังการอบรม คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 98.08 ดังผลสรุปการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2565 (GL6.2-2) และสรุปผลการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อมรายหลักสูตร (GL6.2-3)

(2565) GL6.2-1 แผนการเพิ่มทักษะความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2565-New.pdf
(2565) GL6.2-2 สรุปผลการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม 2565 - New.pdf
(2565) GL6.2-3 สรุปผลการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม รายหลักสูตร- Full.pdf
6.3 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการที่ดําเนินการในอาคารห้องสมุด หรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับกิจการห้องสมุด ดําเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และให้ความร่วมมือในการดําเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องตามข้อกําหนดและเงื่อนไขการว่าจ้าง (Term of Reference: TOR) หรือตามรายละเอียดที่ห้องสมุดกําหนด

           สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้พื้นที่ของห้องสมุดเป็นสถานประกอบการ (Think Cafe) เพื่อให้มีการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.3-1, 6.3-2) และในกรณีที่จัดจ้างหน่วยงานที่ไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรอง จะดำเนินการประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้างเบื้องต้น เพื่อให้มีการปฏิบัติงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.3-3
           ทั้งนี้เมื่อผู้ประกอบการเข้ามาดำเนินการภายในสำนักฯ จะมีการกรอกแบบฟอร์มใบอนุญาตปฏิบัติงานและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้มีการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.3-4) และจะมีการสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ผู้ประกอบการ/ผู้รับจ้างได้ปฏิบัติตามข้อตกลงของสำนักฯ  (6.3-5) ภายหลังจากสำนักวิทยบริการฯ ได้สร้างความเข้าใจ แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อที่เกี่ยวข้อง หน่วยงาน/หรือบุคคลสามารถอธิบาย แนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของตนเองได้


(GL-2565) 6.3-1 บันทึกข้อตกลงการใช้พื้นที่ของห้องสมุดเป็นสถานประกอบการ.pdf
(GL-2565) 6.3-2 สัญญาเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร บริษัท ริโก้ (ประเทศไทย) จำกัด.pdf
(GL-2565) 6.3-3 การประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้าง.pdf
(GL-2565) 6.3-4 ใบอนุญาตเข้าปฏิบัติงานและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม.pdf
(GL-2565) 6.3-5 การอบรมให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้รับจ้าง.pdf
6.4 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการแจ้งให้ผู้รับบริการรับทราบนโยบายและขอความร่วมมือในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
           สำนักวิทยบริการฯ มีแผนงานและดำเนินการแจ้งให้ผู้รับบริการรับทราบตามประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (6.4-1) และเรื่องมาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว เพื่อสร้างจิตสำนึกและขอความร่วมมือในการปฏิบัติตนช่วยกันอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม  (6.4-2)
           ทั้งนี้ สำนักวิทยบริการฯ มีช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อการรณรงค์ ชี้แจงข่าวสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล ผ่านช่องทางในรูปแบบ Onsite และ Online  ดังนี้ 
การสื่อสารภายใน (การติดบอร์ด ป้ายประชาสัมพันธ์)
           6.4.3.1 ประกาศแจ้งผู้ใช้บริการภายในสำนักวิทยบริการฯ รับทราบทางบอร์ดประชาสัมพันธ์ 
           6.4.3.2 ประกาศนโยบายภายในลิฟท์
           6.4-3.3 ป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณหน้าทางเข้าและพื้นที่ของสำนักวิทยบริการ
           6.4-3.4 การรณรงค์การใช้บันไดและการใช้ลิฟต์ กรณีขึ้นลงชั้นเดียว
           6.4-3.5 การรณรงค์การเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศ
          การสื่อสารภายนอก (ผ่านทาง Social Network)                                                 
           6.4-3.6 เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวของสำนักวิทยบริการฯ      
           6.4-3.7 ไลน์ ID Line: @944jtkcpj 
           6.4-3.8 Fanpage สำนักวิทยบริการฯ                                                               
       

(GL-2565) 6.4-1 นโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf
(GL-2565) 6.4-2 มาตรการห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว-2565.pdf
(GL-2565) 6.4-3.1 ประกาศนโยบายทางบอร์ดประชาสัมพันธ์.pdf
(GL-2565) 6.4-3.2 ประกาศนโยบายในลิฟท์.pdf
(GL-2565) 6.4-3.3 ป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณหน้าทางเข้าและพื้นที่ของสำนักวิทยบริการ.pdf
(GL-2565) 6.4-3.4 การรณรงค์การใช้บันไดและการใช้ลิฟต์ กรณีขึ้นลงชั้นเดียว.pdf
(GL-2565) 6.4-3.5 การรณรงค์การเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศ.pdf
(GL-2565) 6.4-3.6 ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว.pdf
(GL-2565) 6.4-3.7 Line official ของสำนักวิทยบริการฯ.pdf
(GL-2565) 6.4-3.8 ประชาสัมพันธ์ผ่าน Fanpage สำนักวิทยบริการฯ.pdf
คำอธิบาย
    ร่วมมือกับห้องสมุดอื่นๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการความรู้หรือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในเรื่องการบริหารจัดการและการให้บริการของกิจกรรมการให้บริการของห้องสมุดที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
7.1 เข้าร่วมในเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดสีเขียว หรือเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกับห้องสมุดอื่นๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการความรู้หรือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เช่น การจัดการประชุม การสัมมนา และ/หรือ การเข้าร่วมประชุม เข้าร่วมสัมมนา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

          สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวประจำปี 2562-2566 (ฉบับปรับปรุง) และ แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2565 ซึ่งมีแผนงานเกี่ยวกับความร่วมมือในยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างเครือข่ายและความร่วมมือด้านการพัฒนาและส่งเสริมห้องสมุดสีเขียว กลยุทธ์ที่ 7 พัฒนาความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว โดยมีการส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมสัมมนาหรือเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมร่วมกับเครือข่ายกลุ่มต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งในปีพ.ศ.2565 สำนักวิทยบริการฯ ได้ส่งบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้

          7.1 เครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว สำนักวิทยบริการฯ ส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
             7.1.1 ส่งบุคลากรเข้าร่วมเสวนาออนไลน์ เรื่อง  "การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว : บทเรียนและความท้าทาย" จำนวน 25 คน เมื่อวันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2565 แบบออนไลน์ด้วยระบบ Zoom และ Facebook Live จัดโดย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ โดยชมรมห้องสมุดสีเขียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแลกประสบการณ์ ระหว่างห้องสมุดที่ผ่านการรับรองห้องสมุด สีเขียวประจำปี พ.ศ. 2564 อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนเพื่อการต่อยอดและพัฒนาห้องสมุดให้มีความยั่งยืนต่อไป โดยมี ผศ.นรีนารถ ศรีวรนารถ รองอธิการบดี กล่าวต้อนรับและเป็นประธานเปิดโครงการเสวนา และได้รับเกียรติจากสถาบันการศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 4 สถาบัน ร่วมเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่
                1. รองศาสตราจารย์ ดร.อมร เพชรสม ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
                3. นางสาวเพชรประกายแก้ว ดวงหฤทัยทิพย์ ผู้อำนวยการกองบริหารงานสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
                4. อาจารย์ปิยวรรณ คุสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
          การเสวนาในครั้งนี้ มีการนำเสนอผลงานการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ นำสิ่งที่ได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จมาถ่ายทอด เพื่อให้เครือข่ายห้องสมุดสีเขียวทั่วประเทศ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อีกทั้งเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาห้องสมุดเพื่อนำไปสู่การเป็นห้องสมุดสีเขียว (Green Library) โดยมีผู้เข้าร่วมการเสวนาในครั้งนี้ จำนวน 602 คน ตามช่องทางดังนี้
         - รูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting จำนวน 395 คน
         - รับชมผ่านแฟนเพจเฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/LibArit จำนวน 207 คน
         ทั้งนี้ มีผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 454 คน แบ่งเป็นประเภทหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
          - ห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 363 คน
          - ห้องสมุดในหน่วยงานราชการ จำนวน 28 คน
          - ห้องสมุดโรงเรียน จำนวน 24 คน
          - ห้องสมุดประชาชน จำนวน 31 คน
          - อื่นๆ จำนวน 8 คน

โดยภาพรวมผู้เข้าร่วมฟังการเสวนามีความพึงพอใจคิดเป็น ร้อยละ 85.41
          สรุปผลที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว : บทเรียนและความท้าทาย” จาก 4 สถาบันที่ผ่านการรับรองการประเมินห้องสมุดสีเขียว ซึ่งมีประเด็นสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อ การขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวให้ประสบความสำเร็จได้ดังนี้
          1. นโยบายและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่มีต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ชัดเจน
          2. แผนกลยุทธ์และตัวชี้วัดขององค์กรที่สอดคล้องกับมหาวิทยาลัย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
          3. ผู้บริหารทุกระดับให้ความสำคัญ และควรส่งต่อแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานของห้องสมุด สีเขียวให้มีความต่อเนื่อง
          4. การกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายด้านการใช้พลังงานและทรัพยากร ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานให้ครบถ้วนชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา
          5. บุคลากรมีความเข้าใจ มีส่วนร่วม กำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานเหมือนกับการปฏิบัติงานประจำ โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดระดับบุคคลเพื่อให้เกิดจิตสำนึก ปฏิบัติให้อยู่ในชีวิตประจำวัน และ ตลอดจนมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
          6. การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ เช่น การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมของอาคาร ซึ่งจะทำให้มีการจัดการด้านพลังงานและทรัพยากรได้อย่างชัดเจน เป็นต้น
           7. การขยายผล ต่อยอดการดำเนินงานโดยจัดทำโครงการบริการวิชาการสู่สังคมไปยังกลุ่มบุคคล หน่วยงานอื่นๆ ให้เข้าใจ มีความรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงาน ทรัพยากร และการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการ Social Engagement “How to ทิ้ง เพื่อเรา เพื่อโลก” โครงการมุมความรู้และกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้แก่โรงเรียนในเขตพื้นที่ใกล้เคียงของมหาวิทยาลัย เป็นต้น
           8. การกำหนดเป้าหมายและการพัฒนางานให้ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล เพื่อให้ได้รับการรับรองและยอมรับจากหน่วยงานภายนอก รวมทั้งทำให้มาตรฐานนั้นๆ อยู่กับหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ มาตรฐานการบริการของห้องสมุด มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว มาตรฐานสำนักงานสีเขียว มาตรฐาน ISO 9001-2015 และมาตรฐาน ISO 14001-2015 เป็นต้น
           9. เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) 17 ประการ เป็นความท้าทายของทุกมหาวิทยาลัยต่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืน ซึ่งการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านห้องสมุดสีเขียวของห้องสมุดหรือแหล่งเรียนรู้ทุกประเภท สามารถช่วยสร้างกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของมหาวิทยาลัยที่ขับเคลื่อนเป้าหมายของ SDGs ในเรื่องใด
(7.1.1)

             7.1.2 สำนักวิทยบริการฯ ได้สมัครเข้ารับการตรวจประเมินตามเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว เพื่อต่ออายุการรับรอง ซึ่งสำนักวิทยบริการฯ ได้รับการตรวจประเมินฯ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2564 จากคณะกรรมการบริหารชมรมห้องสมุดสีเขียว สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ จำนวน 3 ท่าน คือ
                  1. ดร.อารีย์  ธัญกิจจานุกิจ      ประธานคณะกรรมการบริหารชมรมห้องสมุดสีเขียว                                        
                  2. คุณรุ้งทิพย์    ห่อวโนทยาน กรรมการบริหารชมรมห้องสมุดสีเขียวฝ่ายมาตรฐาน                          
                  3. คุณธนาภรณ์  ฉิมแพ         กรรมการบริหารชมรมห้องสมุดสีเขียว ฝ่ายตรวจประเมิน และได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์นรีนารถ ศรีวรนารถ รองอธิการบดี ให้การต้อนรับและร่วมให้ข้อมูลนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว การตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียวเป็นการตรวจประเมินในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom โดยคณะกรรมการฯ ได้ตรวจหลักฐานจาก
                       1) ระบบจัดเก็บผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว (Green Library System : GLS) ที่สำนักวิทยบริการฯ ได้พัฒนาขึ้นมา
                       2) นำชมผลการดำเนินงานตามเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว แบบออนไลน์ 

การตรวจประเมินจะตรวจตามเกณฑ์การประเมินห้องสมุดสีเขียว 8 หมวด ดังนี้
           1. ทั่วไป
           2. โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
           3. การจัดการทรัพยากรและพลังงาน
           4. การจัดการของเสียและมลพิษ
           5. การบริหารจัดการและการให้บริการห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
           6. บทบาทของบุคลากรห้องสมุดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
           7. เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

          ผลการประเมินสำนักวิทยบริการฯ ผ่านการตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2564 (การต่ออายุ) ซึ่งคณะกรรมการบริหารชมรมห้องสมุดสีเขียว สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงการดำเนินห้องสมุดสีเขียวให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนต่อไป โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
          - กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืน โดยวิเคราะห์ความสอดคล้องกับ SDGs 17 เป้าหมาย
          - วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก


หมวดที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (กรณีเป็นอาคารเก่า)
          - จัดทำข้อมูลปัญหา อุปสรรค แนวทางการจัดการเกี่ยวกับประเด็นของหมวด 2 แต่ละปี


หมวดที่ 3 การจัดการทรัพยากรและพลังงาน
          - จัดข้อมูลคาร์บอนฟุตปรินท์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
          - วิเคราะห์ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าและน้ำเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ใช้บริการต่อปี เพราะข้อมูลที่นำเสนอให้คณะกรรมการเป็นเพียงการใช้ไฟฟ้าและน้ำเท่านั้น
 

หมวดที่ 4 การจัดการของเสียและมลพิษ
          - วิเคราะห์น้ำเสีย ตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสีย และข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยพบว่าค่าซัลไฟล์สูงกว่าค่ามาตรฐาน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องรายงานให้มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการแก้ปัญหา รวมถึงการจัดสรรงบประมาณหรือทำบันทึกถึงมหาวิทยาลัย
          - ดำเนินการวัดค่าแสงให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยจัดสรรงบประมาณสำหรับการตรวจ
          - ดำเนินการวัดค่าเสียง ตามแต่ละจุดไม่ให้เกินตามค่ามาตรฐาน โดยจัดสรรงบประมาณสำหรับการตรวจ
 

หมวดที่ 5 การบริหารจัดการและการให้บริการห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
          - เพิ่มการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและมีการวัดผลหรือประเมินผลด้วย
          - นำเสนอความรู้หรือมุมเพิ่มขึ้นให้เข้าถึงผู้รับบริการ
 

หมวดที่ 6 บทบาทของบุคลากรห้องสมุดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
          - มีการวัดผลและประเมินความรู้ของผุู้รับบริการที่นอกเหนือจากบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ
 

หมวดที่ 7เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
          - จัดทำแนวปฏิบัติกับโรงเรียนกองทุน โรงเรียนตชด. และโรงเรียนเครือข่ายที่ทำข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
 

หมวดที่ 8 การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว
          - ทบทวนและกำหนดค่าเป้าหมายและตัวชี้วัด ปี พ.ศ. 2565 เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและเป็นแนวทางในการดำเนินงานและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดนี้จะใช้ร่วมกันระหว่างสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว
          - ให้ผู้รับผิดชอบแต่ละหมวดได้สรุปผลการดำเนินงานตามค่าเป้าหมายละตัวชี้วัดอย่างเป็นระบบ พร้อมข้อเสนอแนะ แนวทางการปรับปรุงและแก้ไข
 

ข้อสังเกตจากคณะกรรมการตรวจประเมิน
           - หมวด 1, 2, 3, 4, 8 การใส่ข้อมูลในระบบไม่ต่อเนื่อง
 

ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียว
          - ทบทวนคณะกรรมการทำงานแต่ละหมวดเนื่องจากภาระงานยังไม่ถูกกระจาย ทำให้ส่งผลต่อการกรอกข้อมูลในระบบไม่ต่อเนื่อง  
         - จัดทำตารางการตรวจสอบกรอกข้อมูลทุกวันที่ ศุกร์ที่ 4 สัปดาห์สุดท้ายของทุก 3 เดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน ธันวาคม

         - ปรับแบบฟอร์มการกรอกข้อมูลใหม่เพื่อใช้ร่วมกันระหว่างสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว
         - ให้นายวิวัฒน์ เพิ่มสุข ทำระบบการจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559-2563 และ ปี พ.ศ. 2565 เพื่อให้ผู้รับผิดชอบทุกหมวดนำข้อมูลไปใส่ในระบบให้เรียบร้อย รวมถึง จัดทำระบบการให้คะแนนประเมินตนเองเบื้องต้นเพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานแต่ละหมวด
        - จัดทำระบบการเก็บภาพกิจกรรม โดยให้จัดระบบตามวันที่ จากนั้นให้ผู้รับผิดชอบแต่ละหมวดถึงภาพไปใส่ในแต่ละหมวดหมู่ให้ชัดเจน

(7.1.2)

              7.1.3 สำนักวิทยบริการฯ ได้ขอรับการประเมินสำนักงานสีเขียว ในปี พ.ศ. 2563 และได้รับการตรวจประเมินเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว (Green Office) ปี 2563 เมื่อวันจันทร์ ที่ 28 กันยายน พ.ศ.2563 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้สำนักวิทยบริการฯ ผ่านเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว ระดับดีมาก(เหรียญเงิน)
              จากการได้รับการประเมิน ดังกล่าว ในปีพ.ศ. 2565 สำนักวิทยบริการฯ ส่งเสริม/สนับสนุนให้บุคลากร จำนวน 25 คน เข้ารับการอบรมออนไลน์ในระบบการเรียนรู้ออนไลน์ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการจัดการพลังงาน ของเสีย  การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งได้ดำเนินการฝึกอบรม จำนวน 2 ด้าน ดังนี้
                    1. หลักสูตร เติมเต็มประเด็นร่วมน้ำ พลังงาน อาหาร
                    2. หลักสูตร วางรากฐานพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

         7.2 เครือข่ายโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและโรงเรียนกองทุนเพื่อการศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์
             7.2.1 สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการจัดกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและโรงเรียนกองทุนเพื่อการศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 5 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนกองทุนการศึกษา 3 โรงเรียน (โรงเรียนบ้านดอนขุนห้วย และโรงเรียนบ้านแม่คะเมย กับ โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ (ไม่ได้อยู่ในโครงการ) และ โรงเรียนเครือข่ายขนาดเล็ก 3 โรงเรียน (โรงเรียนโป่งสลอด โรงเรียนบ้านหนองโสนและโรงเรียนวัดโพธิ์ลอย) ดำเนินการ จำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่
                  1) กิจกรรม Upcycling Paper Art ชุด “ป๊อบอัพสัตว์พูด”
                  2) กิจกรรม Upcycling Paper Art ชุด “บ้านต้นไม้”
                  3) กิจกรรมสิ่งแวดล้อมเรื่อง อาร์ตมาเช่ 
                  4) กิจกรรมสิ่งแวดล้อมเรื่อง การแยกขยะ

           กิจกรรมครั้งนี้สอดคล้องกับมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม คือ มาตรการการใช้ทรัพยากรอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1) ใช้กระดาษอย่างคุ้มค่า
2) งดใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ้นเปลือง
3) ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น ควบคุม และป้องกันของเสียให้เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด
4) ให้ความรู้ การฝึกทักษะ สร้างจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ
5) สนับสนุนการนำทรัพยากรที่ชำรุด มาซ่อมแซมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
 

          7.3 อบรมจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
               7.3.1 ส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมออนไลน์ จำนวน 21 คน ในหัวข้อ กู้ชีพกู้ใจ...ใครๆ ก็ทำได้  จัดโดยกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

          นอกจากนี้สำนักวิทยบริการฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการดำเนินงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนกองทุนการศึกษา และโรงเรียนเครือข่าย พื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 19 โรงเรียน 


7.1.1 การเสวนาและการประชุมสามัญประจำปี 2564 ชมรมห้องสมุดสีเขียว.pdf
7.1.2.pdf
คำอธิบาย
    กําหนดตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยการติดตาม ประเมินผลเป็นประจําทุกปี

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
8.1 ผู้บริหารห้องสมุด ต้องกําหนดตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยติดตาม ประเมินผลเป็นประจําทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งในเรื่องต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
    - ประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม เช่น Energy Utilization Index(EUI)
    - ประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะ เช่น ปริมาณขยะลดลง และร้อยละของปริมาณขยะที่นํามา reuse, recycle เพิ่มขึ้น
    - ประเมินประสิทธิภาพการจัดการน้ําเสีย
    - ประเมินประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ไม่มีเรื่องร้องเรียนจากผู้รับบริการเกี่ยวกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคาร จํานวนครั้งของการล้างระบบปรับอากาศต่อปี เป็นต้น
    - ประเมินประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก เช่น ร้อยละของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรต่อจํานวนผู้มารับบริการ เป็นต้น

        สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวตามแผนงานและมาตรการที่กำหนดในแผนพัฒนาห้องสมุดปี พ.ศ. 2565 โดยมีบุคลากรฝ่ายงานต่างๆ ของสำนักวิทยบริการฯ เป็นผู้ขับเคลื่อน ตั้งแต่การประชุมคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ติดตาม ตรวจสอบ และรายงานผลการดำเนินงาน ปี พ.ศ. 2564 เพื่อนำมาปรับตัวชี้วัดในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งสำนักวิทยบริการได้กำหนดตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2565 รวมทั้งสิ้น 9 ตัวชี้วัด ครอบคลุมประสิทธิภาพ 6 ด้าน ประกอบด้วย

            1. ประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม
    - Energy Utilization Index (EUI) >/=0
    - ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 5
2. ประสิทธิภาพการจัดการขยะ
    - ลดปริมาณขยะและของเสีย ร้อยละ 15
3. ประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสีย
    - ลดปริมาณการใช้น้ำ ร้อยละ 5
4. ประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ
    - ผลการประเมินกิจกรรม 5 ส. เฉลี่ยร้อยละ 80
5. ประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก
    - ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 10
    - ลดปริมาณการใช้กระดาษ ร้อยละ 5
    - ลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 5
    - ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 5
    - ลดปริมาณการใช้น้ำ ร้อยละ 5
    - ลดปริมาณขยะและของเสีย ร้อยละ 15
           6. ประสิทธิภาพการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
   - ร้อยละของจำนวนบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ ที่ผ่านการทดสอบความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 80 ซึ่งผลการดำเนินงานมีดังนี้ (สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพตามตัวชี้วัดด้านการอนุรักษ์ษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม)
 

(2565) รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2565.pdf
(2565) แบบประเมินตนเองตามเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียวประจำปีพ.ศ.2565.pdf
(GL-2565) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ.2565.pdf
(GL-2565) สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพตามตัวชี้วัดด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf