GREEN LIBRARY & GREEN OFFICE

เกณฑ์ประเมินสำนักงานสีเขียว 2563

ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ประเมินสำนักงานสีเขียว 2563

1.1 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม
1.2 คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม
1.3 การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
1.4 กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.5 ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
1.6 แผนงานโครงการที่นำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
1.7 การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุและขอยกระดับสำนักงานสีเขียว)
1.8 การทบทวนฝ่ายบริหาร

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
1.1.1 มีบริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน
         (1) มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของสำนักงาน
         (2) มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของสำนักงาน

         สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ และพื้นที่สีเขียว (1.1.1)


1.1.1 บริบทสำนักวิทยบริการฯ.pdf
1.1.2 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียวโดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
         (1) การปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
         (2) การควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษ/ของเสีย รวมไปถึงการจัดซื้อ จัดจ้าง และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
         (3) การปฏิบัติตามกฎหมายและเกณฑ์การเป็นสำนักงานสีเขียวของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
         (4) การสร้างความรู้และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้เกี่ยวข้อง
          สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีการประกาศนโยบายอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว (1.1.2)

1.1.2 ประกาศนโยบาย.pdf

1.1.3 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมจากผู้บริหารระดับสูง
         (1) นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
         (2) มีการระบุวันที่การประกาศใช้นโยบายสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน
         (3) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องสามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน
         (4) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องมีส่วนในการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน

          ผู้บริหารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีส่วนในการกำหนดนโยบายอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมและติดตามผลการปฏิบัติงานตามนโยบายอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (1.1.3.-1, 1.1.3-2)

1.1.3-1 ประกาศนโยบาย.pdf
1.1.3-4 รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาสํานักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว1-2563.pdf
1.1.4 มีการกำหนดแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี
         (1) รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการดำเนินงานครบถ้วนทุกหมวด
         (2) มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของการดำเนินการของแต่ละหมวด
         (3) มีการกำหนดแผนดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับการอนุมัติจากผู้บริหาร
          สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีการกำหนดแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี 2563 (1.1.4)

1.1.4 แผนปฏิบัติงานสำนักงานสีเขียวปี2563.pdf
1.1.5 มีการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจนด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก ดังนี้
         (1) การใช้ไฟฟ้า
         (2) การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
         (3) การใช้น้ำ
         (4) การใช้กระดาษ
         (5) ปริมาณของเสีย
         (6) ปริมาณก๊าซเรือนกระจก
           สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดในการใช้ทรัพยากร พลังงาน ของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก ได้รับการอนุมัติจากผู้อำนวยการสำนักฯ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๓
           เพื่อให้การบริหารจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากรของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการใช้พลังงานและทรัพยากรตามแนวทางสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ให้เป็น Green University ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้มีการกำหนดและประกาศเป้าหมาย และมาตรการการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. 2563 ดังนี้
          1. การใช้ไฟฟ้า ลดลง 5 %
          2. การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ลดลง 10 %
          3. การใช้น้ำ ลดลง 5 %
          4. การใช้กระดาษ ลดลง 30 %
          5. ปริมาณของเสีย ลดลง 15 %
          6. ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ลดลง 10 %

(2563) 2566-มาตรการประหยัดพลังงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว.pdf
1.1.5 ประกาศเป้าหมาย.pdf
1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้
         (1) ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติ โดยคณะกรรมการหรือทีมงาน จะต้องครอบคลุมทุกหมวด และบุคลากร/ผู้แทนจากทุกฝ่ายในหน่วยงาน
         (2) กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการอย่างชัดเจน
          สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว เพื่อดำเนินงาน กิจกรรมของสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุตามนโยบายของมหาวิทยาลัยในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) 

1.2.1 คำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.pdf
1.2.1-2.pdf
1.2.2 ร้อยละของคณะกรรมการ หรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบประเมินจากการสุ่มสอบถามดังนี้
         (1) ประธาน/หัวหน้า
         (2) คณะกรรมการหรือทีมงานทางด้านสิ่งแวดล้อมที่รับผิดชอบทุกหมวด (สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจประเมินแต่ละหมวดสุ่มสอบถามได้)
           ร้อยละของประธาน/หัวหน้า ที่มีความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบประเมินจากการสุ่มสอบถาม
           ร้อยละของคณะกรรมการ หรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบประเมินจากการสุ่มสอบถาม

1.3.1 กิจกรรมทั้งหมดของสำนักงานภายใต้ขอบเขตการขอการรับรองสำนักงานสีเขียวจะต้องได้รับการระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม
         (1) มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงานครบถ้วน
         (2) มีการกำหนดผู้รับผิดชอบเหมาะสมและมีความเข้าใจ
         (3) ระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากร วัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละกิจกรรมจะต้องครบถ้วน
         (4) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมทางตรงและทางอ้อมครบถ้วน
         (5) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะปกติ ผิดปกติ และฉุกเฉินครบถ้วน
         (6) มีการพิจารณากฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นๆ อย่างครบถ้วนและถูกต้อง
         (7) การประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม
         (8) มีหลักฐานการกำหนดระยะเวลาในการทบทวนการระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและพลังงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
         (9) กรณีมีการปรับแผน/กิจกรรม หรือมีกิจกรรมเพิ่มเติม (เช่น มีแผนที่จะก่อสร้างอาคาร หรือ เพิ่มเติมกิจกรรมของสำนักงานในอนาคตอันใกล้ เป็นต้น) จะต้องระบุกิจกรรมดังกล่าวด้วย (ถ้ามี)

        สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้มีการดำเนินการระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปฏิบัติงาน และจัดทำแผนปฏิบัติงานสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2563 เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งทางตรง และทางอ้อม พร้อมทั้งจัดทำแผนระงับเหตุฉุกเฉิน ตามกิจกรรมได้ 7 ด้าน  16 กิจกรรม ตามขอบเขตและบริบทของสำนักงาน (1.3.1-1) ดังนี้

7 ด้าน ประกอบด้วย
        1. กระดาษ
        2. อาหาร
        3. น้ำ
        4. น้ำมันเชื้อเพลิง
        5. วัสดุสำนักงาน
        6. ไฟฟ้า , อุปกรณ์ไฟฟ้า
        7. ทรัพยากรสารสนเทศ

16 กิจกรรม ประกอบด้วย
        1. การพิมพ์เอกสาร/การสำเนาเอกสาร
        2. การประชุม
        3. การรับประทานอาหาร
        4. การทำความสะอาดภาขนะใส่อาหาร
        5. การทำความสะอาดสำนักงาน (โดยใช้เครื่องขัดพื้น/เครื่องดูดฝุ่น)
        6. งานทำความสะอาดห้องน้ำ
        7. การจัดการพื้นที่สีเขียว
        8. การจัดการสัตว์พาหะนำโรค
        9.การเดินทางไปราชการ
        10.การจัดเก็บและเบิกใช้วัสดุสํานักงาน
        11.กิจกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้า เกิดการลัดวงจร
        12.การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
        13.การบำรุงรักษาลิฟท์
        14.การซ่อมบำรุงเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและแสงสว่าง
        15.การบำรุงรักษาเครื่องสำเนาเอกสาร
        16.งานจัดเตรียม/ซ่อมแซมทรัพยากรสารสนเทศ

         มีการระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากร วัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละกิจกรรมครบถ้วน โดยใช้ตารางวิเคราะห์ระดับความมีนัยสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์การประเมินนัยสำคัญของลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้านการใช้ทรัพยากร (Resource Usage) และเกณฑ์การประเมินนัยสำคัญของลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้านมลภาวะ (Pollution) (3.1.1-2)

        ทั้งนี้ สามารถระบุระดับนัยสำคัญได้ 3 ระดับ คือ L , M , H ส่วนใหญ่ประเด็นปัญหาของสำนักฯ อยู่ในระดับ L และ M

        ด้านทรัพยากร (Input) มีค่าความรุนแรงมากที่สุดที่ 49 มีค่าความรุนแรงน้อยที่สุดที่ 18 ส่วน

        ด้านมลพิษ (Output) มีค่าความรุนแรงมากที่สุดที่ 88 มีค่าความรุนแรงน้อยที่สุดที่ 24 (1.3.1-3)

         สำนักวิทยบริการฯ มีการประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ(1.3.1-4) สามารถการจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ ตามกิจกรรม

        ด้านทรัพยากร (Input) คือ ปัญหาด้านหลอดไฟใช้แล้ว

        ส่วนด้านมลพิษ (Output) คือ ไฟฟ้า

        จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม สำนักฯ ได้มีการวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญได้ทั้งหมด 6 ข้อ (1.3.1.5)


1.3.1-1 .pdf
1.3.1-3.pdf
1.3.1-4.pdf
1.3.1-9 แผนการดำเนินการสภาพแวดล้อมและความปลอดภัย.pdf
1.3.2 การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
         (1) มีสรุปรายการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
         (2) กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสาคัญ
         (3) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการแก้ไขครบถ้วน
         (4) กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉิน
         (5) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉินมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการป้องกันครบถ้วน

        สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีการวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ พร้อมจัดทำแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมและกำหนดมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม (1.3.2-1) (1.3.2-2) (1.3.2-3)


1.3.2-1.pdf
1.3.2-2 แผนการจัดการสิ่งแวดล้อม.pdf
1.3.2-3มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม.pdf

1.4.1 มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้
         (1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
         (2) จัดทำรายการกฎหมายที่ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อมและบริบทของสำนักงาน
         (3) สามารถระบุแหล่งที่มาของกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
         (4) สามารถระบุความเกี่ยวข้องของกฎหมายกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
         (5) กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นปัจจุบัน
         (6) มีการรวบรวมและทบทวนกฎหมายอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง

หมายเหตุ : สำนักงานจะต้องค้นหากฎหมายท้องถิ่นเพิ่มเติม
          สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีการรวบรวมกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ซึ่งสำนักวิทยบริการฯ เป็นอาคารประเภท ข หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาของทางราชการที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 25,000 ตารางเมตร สำนักวิทยบริการฯ มีความสอดคล้องกับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด โดยสำนักวิทยบริการฯ มีระบบบำบัดน้ำเสียซึ่งอยู่ภายนอกอาคาร น้ำที่ถูกบำบัดนั้นมาจากการซักล้าง ทำความสะอาดภายในอาคาร ส่วนภายในอาคารจะมีการติดตั้งระบบถังดักไขมัน

1.4.1-1 บันทึกทะเบียนกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม.pdf
1.4.1-2ทะเบียนกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม.pdf
1.4.1-3ที่มาของกฏหมายและข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง.pdf
1.4.1-4 เปรียบเทียบประเด็นปัญหากับกฎหมาย.pdf
1.4.1-5 แผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี.pdf
1.4.2 ประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน   โดยมีการดำเนินการดังนี้
         (1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อม
         (2) มีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายครบถ้วน
         (3) มีการอ้างอิงหลักฐานการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วนและถูกต้อง กรณีที่พบว่าการดำเนินงานไม่สอดคล้องกับกฎหมาย จะต้องมีการวิเคราะห์สาเหตุ และกำหนดแนวทางการแก้ไข (ถ้ามี)
         (4) มีการกำหนดความถี่ในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่เหมาะสมและมีการปฏิบัติตามที่กำหนดได้
          สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน ซึ่งผู้รับผิดชอบได้มีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และอ้างอิงหลักฐานการปฏิบัติตามกฎหมาย และมีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

1.4.2-1ทะเบียนกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม .pdf
1.4.2-2 แผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี.pdf
1.4.2-3 บันทึกทะเบียนกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม.pdf
1.4.2-4แผนปฏิบัติงานสำนักงานสีเขียวปี2563.pdf
1.4.2ตารางเปรียบเทียบกฏหมาย.pdf

1.5.1 การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในสำนักงาน จะต้องประกอบไปด้วย
         (1) ปริมาณการใช้ไฟฟ้า
         (2) ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงสำหรับการเดินทาง
         (3) ปริมาณการใช้น้ำประปา
         (4) ปริมาณการใช้กระดาษ
         (5) ปริมาณการเกิดของเสีย (ฝังกลบ)

หมายเหตุ : (โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก(Emission Factor ; EF) ขององค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกล่าสุด)
          สำนักวิทยบริการฯ มีการรวบรวมข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากขอบเขตประเทที่ 1 ประกอบด้วย ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากการเดินทางไปราชการ ปริมาณการปล่อยสารมีเทนจาก Septic tank ปริมาณการปล่อยสารมีเทนจากบ่อบำบัดแบบไม่เดิมอากาศ ปริมาณการใช้สารทำความเย็นแบบ R134A ขอบเขตประเภทที่ 2 ประกอบด้วย ปริมาณการใช้ไฟฟ้า และขอบเขตประเภทที่ 3 ประกอบด้วย ปริมาณการใช้น้ำ ปริมาณการใช้กระดาษ และปริมาณของเสียฝังกลบ โดยใช้แบบโปรแกรมการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของสำนักงาน/โรงแรม และอื่นๆ โดยพัฒนาโดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.(1.5.1-CFO-2563-01, 1.5.1-CFO-2563-02, 1.5.1-CFO-2563-03, 1.5.1-CFO-2563-04)

(2563) 1.5.1-CFO-2563-01.pdf
(2563) 1.5.1-CFO-2563-02.pdf
(2563) 1.5.1-CFO-2563-03.pdf
(2563) 1.5.1-CFO-2563-04.pdf
1.5.2 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกบรรลุเป้าหมาย
กรณีบรรลุเป้าหมาย
         (1) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการวิเคราะห์สาเหตุในกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมาย
         (2) มีแนวทางการแก้ไขในกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมาย
         (3) มีการติดตามผลหลังแก้ไข
          ปี 2563 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเภทที่ 1 = 4.68 tCO2e ประเภทที่ 2 = 190.30 tCO2e และประเภทที่ 3 = 3.22 รวม 198.20 tCO2e โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 221.69 Z (1.5.2)
          สาเหตุจากค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าของสำนักฯ ตามขอบเขตการดำเนินงานประเภทที่ 2 มีความผิดปกติ ซึ่งในปี 2561 ไม่มีการบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้าในบางช่วง เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมีการปรับปรุงระบบการส่งกระแสไฟฟ้าลงดิน และหม้อแปลงไฟฟ้าภายนอก และปี 2562 เกิดความผิดปกติกับมิเตอร์ไฟฟ้าที่อาคารบรรณราชนครินทร์ ทำให้ค่าการใช้ไฟฟ้ามีความคลาดเคลื่อนสูง ทั้งนี้ ได้ประสานงานกับฝ่ายงานกายภาพและภูมิสถาปัตย์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ให้ดำเนินการแก้ไขเรียบร้อยแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขอบเขตประเภทที่ 1 และประเภทที่ 3  มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากมีการปฏิบัติตามมาตรการสำนักงานสีเขียว และห้องสมุดสีเขียวด้านการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ตลอดจนการจัดการของเสียมาอย่างต่อเนื่อง                        
          จากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ในปี 2563 เมื่อเทียบค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2563 ในการลดปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 10 พบว่า ผลการดำเนินงานไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ เนื่องจากความผิดปกติของเครื่องมือและอุปสรรคในการเก็บข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน สมบูรณ์ดังกล่าวข้างต้น                        

(2563) 1.5.2-สรุปเปรียบเทียบARIT-CFO.pdf
1.5.3 ร้อยละของพนักงานมีความเข้าใจและการรับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน โดยจะต้องสอบถามดังนี้
          (1) ความสำคัญของก๊าซเรือนกระจกกับการทำสำนักงานสีเขียว
          (2) แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
          (3) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสานักงานเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย

หมายเหตุ :
         1. พนักงานที่ถูกสอบถามจะต้องอธิบายให้ได้ทั้ง 3 ข้อ
         2. สอบถามพนักงาน 4 คนขึ้นไป
ร้อยละของพนักงานมีความเข้าใจและการรับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน โดยการสอบถามพนักงาน 4 คน

1.6.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการดำเนินการดังนี้
         (1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย จะต้องสอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ หรือกฎหมายสิ่งแวดล้อม
         (2) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย สามารถวัดผลได้
         (3) กิจกรรม/นวัตกรรมที่กำหนดในโครงการสิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
         (4) ระยะเวลาการทำโครงการมีความเหมาะสม
         (5) โครงการมีการกำหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน และจะต้องมีความเข้าใจ

สำนักวิทยบริการ ฯ ได้รับงบประมาณจากโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว คือ กิจกรรมการจัดทำสำนักานสีเขียว โดยมีหลักการและเหตุผล คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมุ่งเน้นการพัฒนางาน ในด้าน ต่างๆ เพื่อนำพามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศในฐานะ “สถาบันชั้นนำในภูมิภาคตะวันตกที่สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมด้วยศาสตร์ของ พระราชาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล”

วัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ
1. เพื่อรองรับการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพห้องสมุดสีเขียว โดยเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว
2. เพื่อสร้างความตระหนักภาพลักษณ์และความทันสมัยในการบริการที่ดีของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. เพื่อให้สำนักวิทยบริการฯเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อสอดคล้องกับโครงการ Green and Clean University สารสนเทศและผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจสูงสุด

เป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่ของสำนักฯและเจ้าหน้าที่ภายในมหาลัย 25 คน , ผลสัมฤทธิ์ของเจ้าหน้าที่ จากการเข้าอบรมและนำผลประโยชน์จากการเข้าอบรมมาปฎิบัติปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 80 , กิจกรรมแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ไตรมาส 3 ผู้เสนอโครงการ นางรัตนา เสียงสนั่น (1.6.1-1) และสำนักวิทยบริการฯ ยังมีการดำเนินงานจัดทำแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อแสดงถึงระยะเวลาในการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรม (1.6.1-2)

1.6.1-1 โครงการGreen.pdf
1.6.1-2 แผนการจัดการสิ่งแวดล้อม.pdf
1.6.2 ผลสำเร็จของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย แนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
         (1) มีแผนการดำเนินโครงการหรือนวัตกรรมที่ชัดเจน
         (2) ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง
         (3) มีการกำหนดความถี่ในการติดตามผลและปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง
         (4) มีการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ
         (5) ดำเนินการเสร็จสิ้นและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด / กรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมายมีการทบทวนเพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข
         (6) มีการกำหนดแนวทางเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนหลังบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด

สำนักวิทยบริการ ฯ ได้รับงบประมาณจัดกิจกรรมการจัดทำสำนักงานสีเขียวของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มี

วัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ
1. เพื่อรองรับการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพห้องสมุดสีเขียว โดยเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว
2. เพื่อสร้างความตระหนักภาพลักษณ์และความทันสมัยในการบริการที่ดีของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. เพื่อให้สำนักวิทยบริการฯเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อสอดคล้องกับโครงการ Green and Clean University สารสนเทศและผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจสูงสุด

เป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่ของสำนักฯและเจ้าหน้าที่ภายในมหาลัย 25 คน , ผลสัมฤทธิ์ของเจ้าหน้าที่ จากการเข้าอบรมและนำผลประโยชน์จากการเข้าอบรมมาปฎิบัติปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 80

กิจกรรมแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ไตรมาส 3 ผู้เสนอโครงการ นางรัตนา เสียงสนั่น และสำนักวิทยบริการฯ ยังมีการดำเนินงานจัดทำแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อแสดงถึงระยะเวลาในการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรม ดังนี้
แผนงานที่ 1. อบรมเรื่องความปลอดภัยซ้อมหนีไฟ
แผนงานที่ 2. อบรมการปฐมพยาบาล เบื้องตัน

จากโครงการดังกล่าวข้างต้น สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม (1.6.2-1) มีการดำเนินการตามแผนและมีการสรุปผลการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม (1.6.2-2) (1.6.2-3) และรายงานต่อคณะกรรมการพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว(1.6.2-4)


1.6.2-1 แผนการจัดการสิ่งแวดล้อม.pdf
1.6.2-2 สรุปผลการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม.pdf
1.6.2-3.pdf
1.6.2-4 รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาสํานักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว 2563.pdf
1.7.1 การวางแผนและดำเนินการตรวจ ประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน
         (1) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน ประกอบด้วย หัวหน้า ผู้ตรวจประเมินและผู้ตรวจประเมิน ซึ่งจะต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร การดำเนินงานสำนักงานสีเขียว และหลักสูตรการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว
         (2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจ ประเมินสำนักงานสีเขียวภายใน สำนักงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
         (3) มีการจัดทำข้อกำหนดการตรวจ ประเมินภายในครอบคลุมทุกหมวด
         (4) กำหนดผู้ตรวจประเมินภายในแต่ละ หมวดมีความเพียงพอและเหมาะสม มีความเป็นอิสระในการตรวจประเมิน อย่างชัดเจน
         (5) การดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน ครบถ้วนทุกหมวด

 1.8.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
         (1) มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม
         (2) มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการดาเนินงานในแต่ละหมวดเข้าร่วมประชุม
         (3) จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้องมากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ที่เป็นคณะกรรมการสานักงานสีเขียว พร้อมหลักฐานการลงนามเข้าร่วมประชุม
         (4) หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถเข้าร่วมได้ จะต้องมีวิธีการรายงานผลการประชุมให้รับทราบ พร้อมรับข้อเสนอแนะ

1.8.1-1 แผนปฏิบัติงานสำนักงานสีเขียวปี2563.pdf
1.8.2 มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารดังนี้
         (1) มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
         (2) วาระที่ 1 การติดตามผลการดาเนินงานปรับปรุงระบบฯที่ผ่านมา
         (3) วาระที่ 2 นโยบายสิ่งแวดล้อม
         (4) วาระที่ 3 ความมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอและความเหมาะสม)
         (5) วาระที่ 4 การติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การสื่อสารและข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา
         (6) วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
         (7) วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม และวิสัยทัศน์ แนวคิดของผู้บริหารของการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวอย่างต่อเนื่อง
         (8) จัดทำรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร และภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ามีการประชุมจริง

1.8.2-1 รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาสํานักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว 2563.pdf
2.1 การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ
2.2 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่พนักงาน

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
2.1.1 กำหนดแผนการฝึกอบรม ดำเนินการอบรม การประเมินผล และบันทึกประวัติการฝึกอบรม
       (1) ระบุหลักสูตรและความถี่การอบรมลงในแผนการฝึกอบรม โดยหลักสูตรมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
            1. ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว
            2. การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
            3. การจัดการมลพิษและของเสีย
            4. การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
            5. ก๊าซเรือนกระจก
        (2) ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมใน ข้อ (1) โดยผู้รับการอบรมจะต้องมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละหลักสูตร
        (3) ประเมินผลการฝึกอบรม เช่น ข้อสอบ ประเมินขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น
        (4) จัดทำประวัติการอบรมของพนักงาน
1. สำนักฯ ได้จัดทำแผนการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรของสำนักฯ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม การป้องกันภาวะฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งในปี 2563 ได้จัดทำทั้งหมด 7 หลักสูตร ดังนี้
     1. ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว
     2. การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
     3. การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
     4. ก๊าซเรือนกระจก
     5. การจัดการมลพิษและของเสีย
     6. การฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ
     7. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
 
2. การฝึกอบรมมีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 24 คน และมีการประเมินการอบรม ก่อน-หลัง การอบรม ซึ่งทั้ง 24 คน ได้ผ่านการอบรมทุกท่าน
 
3. จัดทำประวัติข้อมูลการได้รับการอบรมของบุคลากรประจำปี 2563

2.1.1(1) หลักสูตรและแผนการฝึกอบรมประจำปี 2563.pdf
2.1.1(2)-(3) ใบลงทะเบียนและประเมินผลบุคลากร.pdf
2.1.1(4) ประวัติการอบรมด้านสิ่งแวดล้อมของบุคลากร.pdf
2.1.2 กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการอบรมแต่ละหลักสูตรมีความเหมาะสม
         (1) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องเข้าใจเนื้อหาในการอบรม
         (2) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมีหลักฐานแสดงความสามารถ เช่น ใบรับรองจากหน่วยงานภายนอก ประวัติ ประสบการณ์
สำนักฯ ได้จัดทำประวัติของวิทยากรที่ให้ความรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

2.1.2(1)-(2) ผู้รับผิดชอบด้านการอบรม.pdf
2.2.1 มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน
         (1) กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสารอย่างน้อย ดังนี้
             1. นโยบายสิ่งแวดล้อม
             2. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและการจัดการ
             3. การปฏิบัติตามกฎหมาย
             4. ความสะอาดและความเป็นระเบียบ (5ส.)
             5. เป้าหมายและมาตรการพลังงาน-ทรัพยากร (ได้แก่น้ำ ไฟฟ้า น้ามันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม กระดาษ และอื่นๆ)
             6. เป้าหมายและมาตรการจัดการของเสีย
             7. ผลการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย
             8. สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
             9. ก๊าซเรือนกระจก
         (2) กำหนดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร (ไม่จำกัดจำนวนช่องทาง)
         (3) กำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร (ผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน)
         (4) กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร
สำนักฯ ได้จัดทำแผนการสื่อสารองค์ความรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2563 ทั้งภายในและภายนอกสำนักฯ ทั้ง 9 ด้านตามเกณฑ์ โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายและช่องทางให้สอดคล้องกัน อีกทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละช่องทางประชาสัมพันธ์ด้วย

2.2.1(1)-(4) แผนการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมประจำปี 2563.pdf
2.2.2 มีการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ตามที่กำหนดในข้อ 2.2.1
          สำนักฯ ได้ดำเนินการจัดทำและเผยแพร่ สื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ตามแผนที่กำหนด ไปยังช่องทางต่างๆ ของสำนักฯ ดังนี้
 
 

(2563) เพจ facebook.pdf
(2563) เว็ปไซด์ Green office & Green library.pdf
2.2.2 การรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม.pdf
2.2.3 ร้อยละความเข้าใจนโยบายสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (สุ่มอย่างน้อย 4 คน) โดยจะต้องสอบถามพนักงานแต่ละคนอย่างน้อยตามข้อ 2.2.1(1)
เป็นการสัมภาษณ์บุคลากร

2.2.4 มีช่องทางรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม และนำมาปรับปรุงแก้ไข โดยต้องมีแนวทางดังนี้
        (1) มีช่องทางเพื่อรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ไลน์ QR Code การประชุม เว็บไซต์
        (2) มีผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น
        (3) มีการแสดงข้อเสนอแนะด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการ
        (4) มีการรายงานข้อเสนอแนะและการจัดการแก่ผู้บริหาร (บรรยายให้เหมาะสม)
มีช่องทางการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อมจากผู้รับบริการ ในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์ เพื่อนำข้อเสนอแนะมาหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

2.2.4(1)-(2) ช่องทางรับข้อเสนอแนะ.pdf
2.2.4(3)-(4) รายงานผลการดำเนินงานข้อเสนอแนะด้านสิ่งแวดล้อม.pdf
3.1 การใช้น้ำ
3.2 การใช้พลังงาน
3.3 การใช้ทรัพยากรอื่นๆ
3.4 การประชุมและการจัดนิทรรศการ

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
3.1.1 มาตรการหรือแนวทางใช้น้ำมีความเหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
         (1) การสร้างความตระหนักในการใช้น้ำ
         (2) การกำหนดเวลาการใช้น้ำ เช่น เวลารดน้ำต้นไม้ เป็นต้น
         (3) การกำหนดรูปแบบการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่
         (4) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดน้ำ
             สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีนโยบาย การพัฒนา สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ให้เป็น Green University ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมุ่งเน้นการจัดการสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องการประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และการสร้างความตระหนักรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานให้เกิดกับบุคลากรในทุกฝ่าย/งาน ตลอดจนถึงผู้ใช้บริการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ มีประสิทธิภาพ สำนักวิทยบริการฯ จึงจัดทำประกาศมาตรการด้านการประหยัดน้ำ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ที่ลงนามโดยผู้อำนวยการ
         พร้อมทั้งมีการการประกาศนโยบายและมาตรการ สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกในการประหยัดน้ำ ในรูปแบบประชาสัมพันธ์ผ่านจออิเล็กทรอนิกส์ หรือ สติกเกอร์ ตามช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์สำนักฯ บอร์ดประชาสัมพันธ์ ภายในลิฟท์โดยสาร จุดบริการต่างๆ
         นอกจากนี้สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดเวลาการใช้น้ำ เช่น การรดน้ำต้นไม้ โดยการใช้สปริงเกิลรดน้ำต้นไม้แบบตั้งเวลา 17.00-18.00 น. ของทุกวัน ซึ่งสูบน้ำจากสระน้ำด้านข้างของสำนักฯ ที่เป็นแหล่งน้ำที่จากธรรมชาติและน้ำที่ผ่านการใช้จากสำนักงาน การใช้อุปกรณ์ สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ
การใช้ขวดน้ำที่ทิ้งแล้วน้ำมากรอกน้ำแล้วนำไปใส่ทดแทนปริมาณน้ำในถังช้กโครก เพื่อช่วยในการประหยัดน้ำการนำน้ำดื่มที่เหลือจากขวดน้ำดื่มที่ทิ้งแล้วมารดน้ำต้นไม้ เป็นต้น

3.1.1-1-มาตรการหรือแนวทางใช้น้ำมีความเหมาะสม.pdf
3.1.1-2-มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม-น้ำ-ปี-2563.pdf
3.1.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วย
         (3) บรรลุเป้าหมาย
         (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วย
         (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น
          การใช้น้ำของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ถือเป็นทรัพยากรที่จะต้องมีมาตรการในการควบคุมการใช้เพื่อให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่า เช่น การให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์ การปรับเปลี่ยน อุปกรณ์เพื่อประหยัดน้ำ เป็นต้น ทั้งนี้ได้จัดทำข้อมูลสถิติการใช้น้ำแต่ละเดือน การใช้น้ำต่อหน่วย โดยมอบหมายให้นายมนตรี ภูอิน นักบริหารงานทั่วไป เป็นผู้บันทึกข้อมูล เพื่อให้ทราบสถานการณ์การใช้น้ำ และ เพื่อใช้กำหนดเป้าหมายการใช้น้ำ
          พร้อมเปรียบเทียบปริมาณการใช้น้ำของปี 2561 และปี 2562 ในปี 2561 มีปริมาณการใช้น้ำ 3,116 หน่วย เฉลี่ย 259.67 หน่วย ปี 2562 มีปริมาณการใช้น้ำ 2,238 เฉลี่ย 186.50 หน่วย มีการกำหนค่าเป้าหมายไว้ร้อยละ 5 ผลปรากฎว่า มีปริมาณการใช้ลดลง ร้อยละ 28.18  ส่วนในปี 2562 และปี 2563 (เดือนมกราคม ถึง เดือนกรกฎาคม) ปี 2563 มีปริมาณการใช้น้ำ 1,509.00 เฉลี่ย 125.75 หน่วย มีการกำหนค่าเป้าหมายลดลงร้อยละ 5 ผลปรากฎว่า มีปริมาณการใช้ลดลงร้อยละ 32.57 บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  
          ซึ่งพบว่า ปี 2563 ช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมมีปริมาณการใช้น้ำสูงสุด รองลงมาคือเดือนเมษายน และพฤษภาคม ตามลำดับ เนื่องในช่วงเดือนมีนาคมมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ กิจกรรม PBRU Book Fair 2019 การเสวนา เรื่อง “ผ้าทองและการพัฒนาอัตลักษณ์ผ้าชาติพันธุ์ในจังหวัดเพชรบุรี” อบรมการทำเจล/น้ำยาล้างมือ การเพ้นท์บ"ศิลปะลายรดน้ำ" บนพวงกุญแจ กิจกรรมอาร์ทมาเช่ กระถางใส่ต้นไม้จากกระดาษหนังสือพิม์ เป็นต้น และช่วงเดือนเมษายน ถึง มิถุนายน เป็นช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ปริมาณการใช้น้ำลดลง ส่วนเดือนกรกฎาคม ปริมาณการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสำนักวิทยบริการฯ มีการเปิดให้บริการตามปกติ

3.1.2-1-การจัดทำข้อมูลการใช้น้ำ.pdf
3.1.2-2-ประกาศ-เป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร.pdf
3.1.3 ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการประหยัดน้ำในพื้นที่ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)
ประเมินจากการสังเกตุพฤติกรรมของุคลากร

3.2.1 มาตรการหรือแนวทางใช้ไฟฟ้าเหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
        (1) การสร้างความตระหนักในการใช้ไฟฟ้า
        (2) การกาหนดเวลาการใช้ไฟฟ้า เช่น เวลาการเปิด-ปิด เป็นต้น
        (3) การใช้พลังงานทดแทน
        (4) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า
          สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีนโยบาย การพัฒนา สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ให้เป็น Green University ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมุ่งเน้นการจัดการสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องการประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และการสร้างความตระหนักรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานให้เกิดกับบุคลากรในทุกฝ่าย/งาน ตลอดจนถึง ผู้ใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ สำนักวิทยบริการฯ จึงจัดทำประกาศลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ที่ลงนามโดยผู้อำนวยการ
          ทั้งนี้ได้ประกาศนโยบายและมาตรการ สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ตามช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์สำนักฯ บอร์ดประชาสัมพันธ์ ภายในลิฟท์โดยสาร จุดบริการต่างๆ มีการกำหนดเวลาการใช้ไฟฟ้า เช่น การปิดไฟและปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ในเวลาพักเที่ยงหรือเมื่อเลิกใช้งาน การรณรงค์การใช้บันไดและการใช้ลิฟต์ กรณีขึ้นลงชั้นเดียว เวลาการ เปิด-ปิด เป็นต้น การเลือกใช้อุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ประหยัดไฟที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยในการประหยัดไฟฟ้า การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า

3.2.1-1-มาตรการหรือแนวทางใช้ไฟฟ้าเหมาะสม.pdf
3.2.1-2-มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม-ไฟฟ้า- ปี-2563.pdf
3.2.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย
         (3) บรรลุเป้าหมาย
         (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย
         (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจานวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น
          สำนักวิทยบริการฯ มีการใช้พลังงานหลายชนิด ทั้งในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้าและการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในสำนักงาน แต่จะมีปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าวมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายปัจจัยรวมถึงลักษณะของกิจกรรมต่างๆ ดังนั้น สำนักวิทยบริการฯ จึงต้องกำหนดมาตรการในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า การกำหนดเวลาเปิด-ปิด การติดป้ายรณรงค์และให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานแก่บุคลากรและผู้ใช้บริการ รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
          ในการนี้สำนักวิทยบริการฯ จึงต้องเก็บข้อมูลการใช้พลังงานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิจารณาปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าว และจะต้องควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรการของสำนักวิทยบริการฯ ด้วย พร้อมทั้งมีการมอบหมายให้บุคลากร นายทวี นวมนิ่ม บรรณารักษ์ปฏิบัติการจดบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือนและรวบรวมจัดทำเป็นสถิติแต่ละปี เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์และปริมาณการใช้ไฟฟ้าของสำนักวิทยบริการฯ ตลอดจนใช้กำหนดค่าเป้าหมายในการลดการใช้พลังงานต่อไป
         ซึ่งจาการเทียบของปี 2561 และ ปี 2562 มีการกำหนค่าเป้าหมายไว้ร้อยละ 5 ผลปรากฎว่ามีค่าลดลง ร้อยละ 8.63 และปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อบุคลากร เท่ากับ 78.96 ส่วนเมื่อเทียบปริมาณการใช้ไฟฟ้าของปี 2562 และ ปี 2563 (เดือนมกราคม-มิถุนายน 2563) มีการกำหนค่าเป้าหมายไว้ร้อยละ 5 ผลปรากฎว่ามีค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 286.78 และปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อบุคลากร เท่ากับ 858.78 ดังนั้น การตั้งเป้าหมายในปี 2563 ลดการใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 5 จึงไม่บรรลุเป้าหมาย ซึ่งมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และช่วงเดือนเมษายน เป็นช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง จากการดำเนินงานพบว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น เกิดจากปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมีหลายปัจจัย ประกอบด้วย ดังนี้ 
          1) ความคลาดเคลื่อนของอุปกรณ์การวัดปริมาณการใช้ไฟฟ้า คือ มิเตอร์ผิดปกติ 
          2) การเปิดให้บริการถึง 18.30 นาฬิกา 
          3) สภาพอากาศที่ร้อนขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา
          4) เครื่องปรับอากาศ ชั้น  4-5 มีการชำรุดทั้งชั้น เมื่อมีการเปิดใช้เครื่องปรับอากาศชั้น 1-2 ต้องทำงานหนักจากปริมาณพื้นการใช้ที่มากขึ้น
          5) มีการจัดกิจกรรมของห้องสมุดหลายกิจกรรม เช่น งาน PBRU Book Fair 2020 งานอบรม เสวนาทางวิชาการ

3.2.2-1-การจัดทำข้อมลูการใช้ไฟฟ้า.pdf
3.2.2-2-ประกาศ-เป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร.pdf
3.2.3 ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการประหยัดไฟฟ้าในพื้นที่ทำงาน
ประเมินจากสถานที่จริง

3.2.4 มาตรการหรือแนวทางการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางที่เหมาะสมกับสำนักงาน ดำเนินการดังนี้
         (1) การสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
         (2) การวางแผนการเดินทาง
         (3) การซ่อมบำรุงดูแลยานพาหนะ
         (4) การใช้จักรยานหรือขนส่งสาธารณะมาทำงาน
          สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีนโยบาย การพัฒนา สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ให้เป็น Green University ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี  โดยมุ่งเน้นการจัดการสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องการประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และการสร้างความตระหนักรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานให้เกิดกับบุคลากรในทุกฝ่าย/งาน ตลอดจนถึง ผู้ใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ สำนักวิทยบริการฯ จึงจัดทำประกาศ มาตรการการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ที่ลงนามโดยผู้อำนวยการ
          นอกจากนั้นมีดำเนินการรณรงค์ให้บุคลากรตระหนักถึงการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง การสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยสำนักวิทยบริการฯ ได้ส่งเอกสารการประชุมทางสื่อออนไลน์ เช่น e-mail, Facebook, E-Document, การทำงานร่วมกันผ่าน Google ไดรฟ์ เป็นต้น ให้มีการใช้กระดาษน้อยที่สุด และวางแผนก่อนการเดินทาง เลือกรูปแบบหรือพาหนะการเดินทางที่เหมาะสม จำกัดความเร็วในการขับขี่ตามกฎหมายกำหนด เพื่อช่วยลดมลพิษในอากาศ พร้อมให้บุคลากรใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยในการเดินทางไปประชุมหรือส่งเอกสารตามหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ส่วนการซ่อมบำรุงดูแลยานพาหนะ สำนักวิทยบริการฯ ไม่มียานพาหนะประจำหน่วยงาน 

 

3.2.4-1-มาตรการหรือแนวทางการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง.pdf
3.2.4-2-มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม-เชื้อเพลิง-ปี-2563.pdf
3.2.5 มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วย
        (3) บรรลุเป้าหมาย
        (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย เปรียบเทียบต่อพื้นที่ หรือเปรียบเทียบต่อระยะทาง เป็นต้น
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ามันเชื้อเพลิงต่อหน่วย
        (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม

          สำนักวิทยบริการฯ ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์พลังงานและใส่ใจในการรักษาสิ่งแวดล้อม จึงกำหนดให้มาตรการใช้การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเน้นการเป็นสำนักงานสีเขียวและเป็นองค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการประกาศมาตรการ การลดการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง  เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 พร้อมทั้งมีการประชาสัมพันธ์และแจ้งในที่ประชุมบุคลากรของสำนักฯ โดยได้กำหนดผู้รับผิดชอบเก็บข้อมูลการใช้ทรัพยากรและพลังงานของสำนักงานอย่างชัดเจน มีการให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการใช้พลังงาน น้ำมันเชื้อเพลิง อาทิเช่น มีการวางแผนการเดินทางในเวลาไปราชการ การใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย การเดินทางหากไปในทางเดียวกันหรือเวลาใกล้เคียงกันควรใช้พาหนะร่วมกัน เป็นต้น

            เนื่องด้วยสำนักวิทยบริการฯ เป็นหน่วยงานที่ไม่มีรถยนต์ประจำหน่วยงาน จึงได้มีการให้ใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยใช้งานทดแทนการใช้รถยนต์ในการเดินทางไปประชุมหรือส่งเอกสารต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งการดำเนินงานด้านสำนักงานสีเขียว ทำให้บุคลากรสำนักวิทยบริการฯ ตระหนักถึงการใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

          นอกจากนั้นได้จัดทำข้อมูลสถิติการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละเดือน การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วย โดยมอบหมายให้นายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนวัสดุ เป็นผู้บันทึกข้อมูล เพื่อให้ทราบสถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และ เพื่อใช้กำหนดเป้าหมายการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อเทียบปี 2561-2562 ซึ่งปี 2561 ใช้ไป 1,027.53 ลิตร เฉลี่ย 85.63 ปี 2562 ใช้ไป 1,470.05 ลิตร เฉลี่ย 122.50 คิดเป็น ร้อยละ 23.89 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 5 และเมื่อเทียบปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ปี 2562-2563 (เดือนมกราคม-มิถุนายน 2563) โดยปี 2563 ใช้ไป 715.98 ลิตร เฉลี่ย 59.67 คิดเป็น ร้อยละ 74.53 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 10 จึงไม่บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

จากการตั้งเป้าหมายในปี 2562-2563 ของสำนักวิทยบริการฯ จะตั้งเป้าหมายไว้ในการลดการใช้น้ำมันเพลิง ร้อยละ 10 ยังไม่บรรลุเป้าหมาย  ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น เกิดจากปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง  ได้แก่ เกิดจากการปรับนโยบายการทำงานของมหาวิทยาลัยในการปฏิบัติงานนอกมหาวิทยาลัย ในด้านการบริการวิชาการ จึงทำให้เกิดกิจกรรมนอกพื้นที่มหาวิทยาลัย  พนักงาน เจ้าหน้าที่จะต้องออกบริการวิชาการ และกิจกรรมอบรม สัมมนาของห้องสมุดในระดับมหาวิทยาลัย เป็นต้น แต่สำนักวิทยบริการฯ ก็ยังมีการณรงค์ให้ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และพนักงานใช้รถร่วมกันเพื่อการประหยัดพลังงาน

 

 

 


3.2.5-1-มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ามันเชื้อเพลิง.pdf
3.2.5-2-ประกาศ-เป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร.pdf
3.3.1 มาตรการหรือแนวทางการใช้กระดาษที่เหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
        (1) การสร้างความตระหนักในการใช้กระดาษ
        (2) การกำหนดรูปแบบการใช้กระดาษ
        (3) การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
        (4) การนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่

          สำนักวิทยบริการฯ ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์พลังงานและใส่ใจในการรักษาสิ่งแวดล้อม จึงกำหนดมาตรการการใช้กระดาษเพื่อเน้นการเป็นสำนักงานสีเขียวและเป็นองค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการประกาศมาตรการลดปริมาณการใช้กระดาษ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 และประชาสัมพันธ์ตามช่องทางต่างๆ ของสำนักฯ เช่น เว็บไซต์สำนักฯ บอร์ดประชาสัมพันธ์ ภายในลิฟท์โดยสาร จุดบริการต่างๆ นอกจากนั้นได้มีการการกำหนดรูปแบบการใช้กระดาษ เช่น การใช้กระดาษที่ใช้งานไปเพียงหน้าเดียวมาใช้แทนกระดาษดี (การใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า) การตั้งจุดเก็บกระดาษที่ใช้แล้วในห้องสำนักงานและจุดบริการถ่ายเอกสารของสำนักวิทยบริการฯ การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยสำนักวิทยบริการฯ มีการใช้การสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดการใช้กระดาษน้อยที่สุด โดยทำงานผ่านทางสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น การสื่อสารผ่านเว็บไซต์ของสำนักฯ e-mail, Facebook, E-Document, การทำงานร่วมกันผ่าน Google ไดรฟ์ เป็นต้น และการนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่ (การใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า)


3.3.1-1-มาตรการหรือแนวทางการใช้กระดาษที่เหมาะสม.pdf
3.3.1-2-มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม-กระดาษ-ปี2563.pdf
3.3.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้กระดาษต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษต่อหน่วย
        (3) บรรลุเป้าหมาย
        (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษต่อหน่วย
        (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจานวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น

          สำนักวิทยบริการฯ ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์พลังงานและใส่ใจในการรักษาสิ่งแวดล้อม จึงกำหนดมาตรการการใช้กระดาษเพื่อเน้นการเป็นสำนักงานสีเขียวและเป็นองค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการประกาศเป้าหมายการลดปริมาณการใช้กระดาษ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 และประชาสัมพันธ์ตามช่องทางต่างๆ ของสำนักฯ เช่น เว็บไซต์สำนักฯ บอร์ดประชาสัมพันธ์ ภายในลิฟท์โดยสาร จุดบริการต่างๆ  นอกจากนั้นได้มีการการกำหนดรูปแบบการใช้กระดาษ นอกจากนั้นได้มีการบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้กะดาษแต่ละเดือนและรวบรวมจัดทำเป็นสถิติแต่ละปี โดยมอบหมายให้นางสาวดาวเรือง ขมแก้ว นักบริหารงานทั่วไป เป็นผู้บันทึกข้อมูล โดยใช้ google sheet ในการจัดเก็บที่ Url : shorturl.at/rHIN1 โดยเมื่อเทียบปี พ.ศ. 2561 กับ ปี พ.ศ. 2562 มีอัตราการใช้กระดาษที่ลดลง จำนวน 7 ริม คิดเป็นร้อยละ 10 และปริมาณการใช้กระดาษของปี พ.ศ. 2562 กับ ปี พ.ศ. 2563 มีการใช้กระดาษที่ลดลง จำนวน 43 ริม คิดเป็นร้อยละ 82.85  จากการตั้งเป้าหมายในปี 2563 ลดการใช้กระดาษ ร้อยละ 30 บรรลุเป้าหมาย ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าปริมาณการใช้กระดาษที่ลงลด ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ปริมาณการใช้กระดาษลดลง ดังนี้

1. จัดทําสื่อประชาสัมพันธ์ในการให้ความรู้เรื่องการประหยัดทรัพยากร มาตรการประหยัด เป้าหมายการใช้ทรัพยากรผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างทั่วถึง

2) มีแนวปฏิบัติในการกําหนดมาตรการการใช้กระดาษ หมึกพิมพ์ พร้อมสื่อสาร ตามจุดต่างๆ และพนักงานทุกคนมีความเข้าใจและความตระหนักเป็นอย่างดี

3) มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงาน การประชุมและการบริหาร ตลอดส่งข้อมูลให้ผู้บริหารและพนักงาน เช่น การสื่อสารผ่านเว็บไซต์ของสำนักฯ e-mail, Facebook, E-Document, การทำงานร่วมกันผ่าน Google Drive, Google Doc, Google Sheet เป็นต้น,


3.3.2-1-การใช้กระดาษ.pdf
3.3.2-2-ประกาศ-เป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร.pdf
3.3.3 ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการ ประหยัดกระดาษในพื้นที่ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)
สำนักวิทยบริการฯ ประเมินจากการสังเกตุพฤติกรรมของบุคลากร

(2563) 3.3.3-2-มาตรการหรือแนวทางการใช้กระดาษที่เหมาะสม.pdf
(2563) ตารางการเปรียบเทียบปริมาณการใช้กระดาษของสำนักวิทยบริการฯ-ปี-พ (1).pdf
3.3.4 มาตรการหรือแนวทางการใช้หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์เหมาะสมกับ สำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
       (1) การสร้างความตระหนักในการใช้
       (2) การกำหนดรูปแบบการใช้
       (3) การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีนโยบาย การพัฒนา สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ให้เป็น Green University ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมุ่งเน้นการจัดการสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องการประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และการสร้างความตระหนักรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานให้เกิดกับบุคลากรในทุกฝ่าย/งาน ตลอดจนถึง ผู้ใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ สำนักวิทยบริการฯ จึงจัดทำประกาศมาตรการมาตรการในการใช้อุปกรณ์ เครื่องเขียนและอุปกรณ์สำนักงาน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ที่ลงนามโดยผู้อำนวยการ พร้อมประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์สำนักฯ บอร์ดประชาสัมพันธ์ ภายในลิฟท์โดยสาร จุดบริการต่างๆ
         นอกจากนั้นได้สร้างความตระหนักในการใช้โดยการกำหนดรูปแบบการใช้และให้ความรู้เรื่องการประหยัดการใช้อุปกรณ์เครื่องเขียนและอุปกรณ์สำนักงาน รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกในการประหยัดการใช้อุปกรณ์เครื่องเขียนและอุปกรณ์สำนักงาน และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เช่น จัดวางอุปกรณ์สำนักงานบางประเภทสำหรับใช้งานร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) กบเหลาดินสอ เครื่องเจาะกระดาษ แผ่นรองตัด กรรไกร กาว เป็นต้น เพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากรในการจัดซื้อ การตั้งค่าเครื่องถ่ายเอกสารให้เป็นแบบโหมดประหยัดหมึก ปรับความเข้มของหมึกพิมพ์ลดความละเอียดของหมึกลง การบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสาร/เครื่องพิมพ์ ให้อยู่ในสภาพดีเพื่อลดการสูญเสียกระดาษ 
         นอกจากนี้ยังมีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสังคมออนไลน์เป็นหลัก ในการแจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์ให้บุคลากร นักศึกษา และผู้ใช้บริการ เช่น การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การส่งเชิญประชุมและพูดคุยทาง Facebook การสนทนากลุ่มไลน์  การใช้ UP E-Document ในการแจ้งเวียนหนังสือราชการ
การทำงานร่วมกันผ่าน Google ไดรฟ์ เป็นต้น  
 

3.3.4-1-มาตรการหรือแนวทางการใช้หมึกพิมพ์.pdf
3.3.4-2-มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม-หมึกพิมพ์- ปี2563.pdf
3.3.5 ร้อยละของการดำเนินตามมาตรการประหยัด การใช้หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)
ประเมินจากสถานที่จริง

3.4.1 ร้อยละของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการส่งข้อมูลเพื่อเตรียมการประชุม ได้แก่ QR code, Email, Social Network, Intranet เป็นต้น
          สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีการจัดการประชุมการบริหารงานและการดำเนินงานทั้งหมด 2 ครั้ง ได้แก่
         1) การประชุมการวิพากษ์แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องต้นหว้า สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
         2) การประชุมคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ครั้งที่ 2/2563 วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม 2563 เวลา 09.30 น. ณ ห้องต้นหว้า สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
          ซึ่งสำนักวิทยบริการฯ มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการส่งข้อมูลการประชุม เช่น ไลน์email เฟสบุค เป็นต้น และมีการใช้การใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในการประชุมด้วย Google Application ได้แก่
        1. Google Drive สำหรับจัดเก็บเอกสารการประชุม
        2. Google Document สำหรับจัดทำเอกสารวาระการประชุมและเอกสารอื่นๆ ที่ใช้ประกอบการประชุม
        3. การนำเสนอด้วยจออิเล็กทรอนิกส์
        4. การส่งเอกสารการประชุมทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

3.4.1-1-ร้อยละของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการประชุม.pdf
3.4.1-2-รายงานการประชุมคณะกรรมการวิพากษ์แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว.pdf
3.4.1-3-รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาสํานักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว-1-2563.pdf
3.4.2 การจัดการประชุมและนิทรรศการที่มีการใช้ วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรพลังงาน และลดของเสียที่เกิดขึ้น จะต้องดำเนินการ ดังนี้
         (1) การจัดเตรียมขนาดห้องประชุม เหมาะสมกับ จำนวนผู้เข้าประชุม หรือจัดนิทรรศการ
         (2) ห้องประชุมหรือพื้นที่จัดนิทรรศการไม่มีการ ตกแต่งด้วยวัสดุที่ย่อยสลายยาก หรือวัสดุที่ใช้ ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
         (3) การกำหนดแนวทางเลือกสถานที่ภายนอกสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
         (4) การจัดเตรียมสื่อที่ใช้ในการประชุม โดยจะต้อง ลดการใช้กระดาษ หมึกพิมพ์
         (5) การจัดเตรียมอาหาร และเครื่องดื่มเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

         สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว  ในการนี้เพื่อเป็นต้นแบบของการจัดประชุมโดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยให้ความสำคัญในขั้นตอนต่างๆ ของการจัดประชุม จึงมีการประกาศมาตรการด้านการประชุมและจัดนิทรรศการ และขอความร่วมมือและแนวปฏิบัติหน่วยงานที่ขอใช้ประชุมเพื่อการจัดประชุม/สัมมนา ซึ่งสำนักฯ มีบริการห้องประชุม อบรม สัมมนาและพื้นที่การเรียนรู้ ซึ่งจะมีการแจ้งรายละเอียดของพื้นที่ วัตถุประสงค์การใช้ ความจุของห้องที่ประชาสัมพันธ์หน้าเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการฯ ตรวจสอบสถานะการใช้ห้อง/พื้นที่การเรียนรู้ที่เว็บไซต็ http://arit.pbru.ac.th หรือ QR Code ที่เคาน์เตอร์บริการชั้น 1, ชั้น 6 และ จุดบริการ Think Café โดยกำหนดให้การใช้ห้องประชุมหรือพื้นที่จัดนิทรรศการไม่มีการตกแต่งด้วยวัสดุที่ย่อยสลายยาก หรือวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง การจัดเตรียมสื่อที่ใช้ในการประชุม โดยจะต้องลดการใช้กระดาษ หมึกพิมพ์ มีการใช้การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนการจัดป้ายด้วยวัสดุที่ย่อยสลายยาก การนำเสนอด้วยจออิเล็กทรอนิกส์ การใช้ส่งเอกสารการประชุมทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การทำงานร่วมกันผ่าน Google ไดรฟ์ นอกจากนั้นในช่วงปีที่ผ่านมา สำนักวิทยบริการฯ ไม่ได้มีการจัดประชุมหรืออบรมนอกสำนักงาน แต่สำนักฯ ได้มีการกำหนดแนวปฏิบัติหากมีการจัดประชุมหรืออบรมนอกสำนักงาน ได้มีการกำหนดแนวทางเลือกสถานที่ภายนอกสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมดังนี้ 
    1. เลือกใช้บริการโรงแรมที่ได้รับคำรับรองการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น Green Hotel โรงแรมที่มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001 มาตรฐานใบไม้เขียว เป็นต้น กรณีหากโรงแรมที่เลือกนั้นไม่ได้รับคำรับรองการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้ทำข้อตกลงระหว่างสำนักวิทยบริการฯ กับโรงแรมที่จะจัดการประชุมภายใต้เงื่อนไขทางด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 
    2. เลือกใช้บริการโรงแรมที่ไม่ไกลจากสำนักงาน
 


3.4.2-1-การจัดการประชุมและนิทรรศการ.pdf
3.4.2-2-มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม-การประชุมและนิทรรศการ-ปี2563.pdf
4.1 การจัดการของเสีย
4.2 การจัดการน้ำเสีย

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
4.1.1 มีการดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และการจัดการขยะอย่างเหมาะสม มีแนวทาง การดำเนินงาน ดังนี้
        (1) มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจาก กิจกรรมภายในสำนักงาน และจัดวางถังขยะ ตามพื้นที่ทำงานต่างๆอย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่ม ตรวจสอบ
        (2) มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและ ชัดเจนทุกถังที่สุ่มตรวจสอบ
        (3) มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดย จะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละเภทจาก ข้อ (1) อย่างเพียงพอ
        (4) มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
        (5) มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับ อนุญาตตามกฎหมาย
        (6) มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสม)
        (7) ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง)
สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดและถ่ายทอดนโยบาย ประกาศ มาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว (ข้อ 12 มาตรการการจัดการของเสีย) เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564

         โดยสำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการจัดเตรียมและติดป้ายบ่งชี้ถังขยะแต่ละประเภทจำนวน  4 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์ และขยะอันตราย โดยกำหนดจุดวางถังขยะ จำนวน 10 จุด ทั้งในส่วนของสำนักงาน 1 จุด และพื้นที่บริการ 9 จุด อีกทั้งกำหนดจุดคัดแยกขยะและจุดพักขยะจำนวน 1 จุด 

         สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดเส้นทางการจัดการขยะแต่ละประเภทอย่างชัดเจน  โดยกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานบริการทั่วไป (แม่บ้าน) มีหน้าที่รับผิดชอบคัดแยก ตรวจสอบ ชั่งน้ำหนักและบันทึกข้อมูลปริมาณขยะ/วัสดุแต่ละประเภทในแต่ละวัน แล้วจัดส่งข้อมูลปริมาณขยะเป็นรายเดือน รวมทั้งจัดส่งขยะให้กับ อบต. นาวุ้ง


4.1.1-1.1-ภาพถ่ายถังขยะของทุกพื้นที่.pdf
4.1.1-1.2-การคัดแยกขยะและบันทึกข้อมูลสถิติ.pdf
4.1.1-2.1-ภาพถ่ายป้ายถังขยะแต่ละประเภท.pdf
4.1.1-3.1-ภาพถ่ายจุดคัดแยกขยะ และจุดจัดส่งขยะ.pdf
4.1.1-3.2-เส้นทางขยะและของเสีย.pdf
4.1.1-5 มีการส่งขยะให้ อปท. ไปดำเนินการตามระบบการจัดการขยะของ อปท. ต่อไป.pdf
4.1.2 การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์หรือนำกลับมาใช้ใหม่ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง
          (1) มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
          (2) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภท ครบถ้วนทุกเดือน
          (3) มีการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่าเป้าหมายที่ได้กำหนดจากหมวด 1 ข้อ 1.1.5
          (4) ปริมาณขยะที่ส่งกำจัดมีแนวโน้มลดลง

4.1.2-1.1-ภาพการทำกิจกรรมเปเปออาร์ตมาเช่ การทำหมอนหลอด.pdf
4.1.2-2.1-การบันทึกข้อมูลขยะรายวัน.pdf
4.1.2-3.1 สรุปข้อมูลปริมาณขยะรายเดือน.pdf
4.2.1 การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และ คุณภาพน้ำทิ้งจะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่ เกี่ยวข้องโดยมีแนวทาง ดังนี้
         (1) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
         (2) มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น มีตะแกรงดักเศษอาหาร มีบ่อดักไขมัน หรือมีระบบบำบัดน้ำเสียเหมาะสมกับองค์ประกอบของน้ำเสีย
         (3) มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย
         (4) มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด

4.2.1-1.1 คำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.pdf
4.2.1-1.2 การดําเนินงานและการกําหนดผู้รับผิดชอบด้านการจัดการของเสีย.pdf
4.2.1-2.1 ภาพถ่ายการแยกเศษอาหารก่อนการชำระล้าง.pdf
4.2.1-2.2 ภาพถังดักไขมัน.pdf
4.2.1-3.1 ภาพบ่อบำบัดน้ำเสียของอาคารบรรณราชนครินทร์.pdf
4.2.2 การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีแนวทาง ดังนี้
         (1) มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมีการตักและทำความสะอาดเศษอาหาร และไขมันออกจาก ตะแกรงดักขยะ หรือบ่อดักไขมันตามความถี่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณและการปนเปื้อน
         (2) มีการนำกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย หรือเศษอาหาร น้ำมันและไขมันจากถัง/บ่อดัก ไขมันไปกำจัดอย่างถูกต้อง
         (3) มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัด น้ำเสียให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
         (4) มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่าง สม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไป ยังแหล่งอื่นๆ

4.2.2-1.1 ภาพการตักเศษอาหารและไขมัน ตลอดจนการทำความสะอาดถังดักไขมัน.pdf
4.2.2-2.1 ภาพถ่ายการแยกเศษอาหารก่อนการชำระล้าง.pdf
4.2.2-3.1-ใบขอให้แก้ไขและป้องกันข้อบกพร่องระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
5.1 อากาศในสำนักงาน
5.2 แสงในสำนักงาน
5.3 เสียง
5.4 ความน่าอยู่
5.5 การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
5.1.1 การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน
        (1) มีแผนการดูแลรักษา ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) พรมปูพื้นห้อง (ขึ้นอยู่กับสำนักงาน)
        (2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตาม แผนการดูแลรักษา
        (3) มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดใน ข้อ 1
        (4) มีการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติใน ข้อ 1
        (5) การจัดวางเครื่องปริ้นเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสารให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน
        (6) การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน เช่น ติดป้ายดับเครื่องยนต์
        (7) การป้องกันและกำจัดแมลงที่จะสร้างมลพิษ อากาศภายในสำนักงาน (ถ้ามี)
        (8) มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษ ทางอากาศจากกิจกรรมต่างๆ เพื่อการเตรียม ความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย (สามารถพิจารณาจากเอกสารหรือภาพถ่าย เป็นหลักฐานประกอบ)
          สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการคบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน ได้จัดทำ 5.1.1(1-1) คู่มือ หมวด 5 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย (5.1 ด้านอากาศ) 5.1.1(1).(2) แผนการดูแลรักษาประจำปี - 2563 อากาศในสำนักงาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรของสำนักฯ ด้านมลพิษทางอากาศ (อากาศในสำนักงาน)  5.1.1(3-1) ใบตรวจเช็คสภาพเครื่องปรับอากาศ/ใบแจ้งซ่อม  5.1.1(3.1.1  รายการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศทุก (วันที่ 5 ของเดือน) 5.1.1(3.2) รายการทำความสะอาดพรม (ทุก 3 เดือน) 5.1.1(3-3) รายงานการตรวจสอบและทำความสะอาดเครื่องปริ้นเตอร์  5.1.1(3-4) รายการทำความสะอาดพื้น (ทุกวัน) 5.1.1(3-5) รายการทำความสะอาดห้องน้ำ (ทุกวัน)  มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตาม แผนการดูแลรักษามีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดในข้อ 1    มีการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติในข้อ 1  ) 5.1.1(5) รายการทำความสะอาดเครื่องถ่ายเอกสาร (ทุกวัน)  การจัดวางเครื่องปริ้นเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสารให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน 5.1.1(3-6) รายงานการตรวจสอบและทำความสะอาดผ้าม่าน 5.1.1(3-7)  การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน เช่น 5.1.1(ุ6) ภาพป้ายควบคุมควันไอเสียรถยนต์ การป้องกันและกำจัดแมลงที่สร้างมลพิษ อากาศภายในสำนักงาน (ถ้ามี) (5.1.1(8)) ภาพการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษ ทางอากาศจากกิจกรรมต่างๆ เพื่อการเตรียม ความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย 

(2563) 5.1.1(3-4) รายงานการตรวจสอบและทำความสะอาดพื้น.pdf
(2563) 5.1.1(3-5) รายงานการตรวจสอบและทำความสะอาดห้องน้ำ(ทุกวัน).pdf
5.1.1 (1-1) คู่มือ หมวด 5 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย (5.1 ด้านอากาศ).pdf
5.1.1(1),(2)แผนการบำรุงดูแลรักษาประจำปี-2563-อากาศในสำนักงาน.pdf
5.1.1(3-1.1)รายงานการตรวจสอบและทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ(ย่อย).pdf
5.1.1(3-1)รายงานการตรวจสอบและตรวจเช็คสภาพเครื่องปรับอากาศ(หลัก).pdf
5.1.1(3-2) รายงานการทำความสะอาดเครื่องถ่ายเอกสารเบื้องต้น (ทุกวัน).pdf
5.1.1(3-3)รายงานการตรวจสอบและทำความสะอาดเครื่องปริ้นเตอร์.pdf
5.1.1(3-6) รายงานการตรวจสอบและทำความสะอาดผ้าม่าน.pdf
5.1.1(3-7) รายงานการตรวจสอบทำความสะอาดพรม.pdf
5.1.1(4) ป้ายสัญลักษณ์ควบคุมเขตปลอดบุหรี่และป้ายควบคุมการจอดรถดับเครื่องยนต์เพื่อลดมลพิษ.pdf
5.1.1(5) การจัดวางเครื่องปริ้นเตอร์และเครื่องถ่ายเอกสาร.pdf
5.1.1(6)ภาพป้ายควบคุมควันไอเสียรถยนต์.pdf
5.1.1(8) ภาพการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศ.pdf
5.1.2 มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนด พื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด
         (1) มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่
         (2) มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
         (3) มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่
         (4) เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณ ข้างเคียง ไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า – ออกของ สถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น
         (5) ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่
          สำนักวิทยบริการฯ มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนด พื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด 5.1.2(1) มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ 5.1.2(2) มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหี่ เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชชนที่บริเวณ ข้างเคียง ไม่อยู่บริเวณทางเข้า-ออกของ สถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่และไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่

5.1.2(1) ภาพประกอบป้ายการรณรงค์การห้ามสูบบุหรี่.pdf
5.1.2(2) ภาพสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่.pdf
5.1.3 การจัดการมลพิษอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุง อาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
         (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษ อากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร
         (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดใน ข้อ(1) แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้
          – มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
          – มีที่กั้นเพื่อกันมลพิษทางอากาศกระทบกับพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
          – มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย
          สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดการมลพิษอากาศจากการก่ออสร้าง ปรับปรุง อาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน มีการกำหนดมาตรการรองรับ

5.1.3-1 มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม-ปี2563 มลพิษทางอากาศจากการก่อสร้าง ข้อ 5.4.pdf
5.1.3-2 แผนผังแนวปฏิบัติพื้นที่ปรับปรุง.pdf
5.2.1 มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดย อุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มแสงที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐานกำหนด
        (1) มีการตรวจวัดความเข้มแสงประจำปีพร้อม แสดงหลักฐานผลการตรวจวัดแสงเฉพาะจุด ทำงานแลพื้นที่ทำงาน
        (2) เครื่องวัดแสงจะต้องมีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบ (แสดงหลักฐานใบรับรอง)
        (3) ผลการตรวจวัดจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด
        (4) ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มแสงจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

5.2-1 คู่มือแผนปฏิบัติการ สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย.pdf
5.2-2 รายงานการตรวจสอบและทำความสะอาดหลอดไฟฟ้า.pdf
5.2-3 ภาพการทำความสะอาดหลอดไฟฟ้า.pdf
5.3.1 การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคาร สำนักงาน
         (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
         (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดใน ข้อ(1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
          สำนักวิทยบริการฯ มีการควบคุมมลพิษทางเสียงภายใน อาคาร สำนักงาน
          (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
           (2) ปฏิบัติตามมาครการที่ได้กำหนดในข้อ(1) ถ้าพบว่ามีเสียงที่มาจากภายในสำนักงาน

5.3.1(1-1) มาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ปี 2563 ข้อ 5.8.pdf
5.3.1(1-2) คู่มือแผนปฏิบัติการสภาพแวดล้อมเรื่องเสียง.pdf
5.3.1(1-3) ภาพถ่ายการงดใช้เสียง.pdf
5.3.2 การจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
         (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่ เกิดจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร
         (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดใน ข้อ(1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายนอกสำนักงาน แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้
          – มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
          – มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย
         สำนักวิทยบริการฯ มีการจักการเสียงดังจากาการก่อสร้างปรับปรุงอาคารหรืออื่น ๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
         (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่เกิดจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร

5.3.2 (1) มาตรการสำนักงารสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ปี 2563 ข้อ 5.8.pdf
5.4.1 มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของ สำนักงานโดยจะต้องดำเนินการดังนี้
          (1) จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและ นอกอาคาร โดยจะต้องกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน เช่น พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนรวม และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น สามารถสื่อสารด้วยป้ายหรืออื่นๆ ที่เหมาะสม เพื่อบ่งชี้
          (2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบอย่าง เหมาะสมทั้งพื้นที่เฉพาะ และพื้นที่ทั่วไป ทั้งใน อาคารและนอกอาคาร
          (3) มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร
          (4) การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และคงรักษาไว้ของสำนักงาน รวมไปถึงมีการปฏิบัติ จริงตามแผนงาน

          สำนักวิทยบริการฯ มีแผนการดำเนินการจัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและ นอกอาคาร โดยกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน เช่น พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนรวม และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น สามารถสื่อสารด้วยป้ายหรืออื่นๆ ที่เหมาะสม  และได้มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ การดูแลรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย เพิ่มพื้นที่สีเขียว และคงรักษาไว้ของสำนักงาน รวมไปถึงมีการปฏิบัติ จริงตามแผนงาน

 


5.4.1 (1) แผนปฏิบัติงานสำนักงานสีเขียวปี2563.pdf
5.4.1 (2) การวางแผนดูแลพื้นที่ของสำนักงานวิทยบริการฯ.pdf
5.4.1 (3-1) การวางแผนดูแลพื้นที่ของสำนักงานวิทยบริการฯ.pdf
5.4.1 (3-2) แผนการจัดกิจกรรม 5 ส ประจำปี 2563.pdf
5.4.1 (3-3) การใช้สอยพื้นที่และของใช้ร่วมกัน.pdf
5.4.1 (3-4) แบบประเมินกิจกรรม 5ส.pdf
5.4.1 (3-5) ภาพกิจกรรม5ส.pdf
5.4.1 (3) การวางแผนดูแลพื้นที่ของสำนักงานวิทยบริการฯ.pdf
5.4.1 (4-2) ภาพประกอบ-ป้ายผู้รับผิดชอบพื้นที่สีเขียวและพื้นที่พักผ่อน.pdf
5.4.1 (4) แผนการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ประจำปี 2563 (ความน่าอยู่).pdf
5.4.1(4-1) แผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว.pdf
5.4.2 ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด
ประเมินจากพื้นที่ปฏิบัติงานจริง

5.4.3 ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น
ประเมินจากพื้นที่ปฏิบัติงานจริง

5.4.4 มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด
        (1) มีการกำหนดแนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรคในสำนักงานอย่างเหมาะสม ได้แก่ นกพิราบ หนู แมลงสาบ และอื่นๆ
        (2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรคอย่างน้อยที่สุดเดือนละ 1 ครั้ง
        (3) มีการตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ที่ได้กำหนด (เฉพาะตอนกลางวัน)
        (4) มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค
        (5) ไม่พบร่องรอยหรือสัตว์นำโรคในระหว่างการตรวจประเมินของกรมฯ

หมายเหตุ : การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค สำนักงานสามารถควบคุมและจัดการได้เอง หรือว่าจ้าง หน่วยงานเฉพาะมาดำเนินการแทน
          สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดแนวทางในการป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะนำโรค โดยกำหนด เป็นแผนควบคุมสัตว์พาหะนำโรคประจำปี พ.ศ 2563 ซึ่งมอบหมยผู้รับผิดชอบในกรป้องกันและกำจัด ตามแผน พร้อมทั้งจัดทำแบบฟอร์มตรวจสอบร่องรอยของสัตว์พาหะทุกเดือน 

5.4.4 -3 รายงานการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค.pdf
5.4.4 (1) แนวทางการป้องกันและการควบคุมสัตว์พาหะนำเชื้อ.pdf
5.4.4 (1),(2),(4) แผนการป้องกันสัตว์พาหะนำโรค-2563.pdf
5.5.1 การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ตามแผนที่กำหนด
        (1) มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ
        (2) จำนวนคนเข้าอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้น จะต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 40 ของพนักงาน ทั้งหมด
        (3) พนักงานทุกคนจะต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
        (4) มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรองการอบรม ภาพถ่าย เป็นต้น
        (5) มีการฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่กำหนด พร้อม แสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรอง ภาพถ่าย เป็นต้น
        (6) มีการจุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมมี ป้ายแสดงอย่างชัดเจน
        (7) มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟ ไป ยังจุดรวมพล พร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน
        (8) มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ พร้อม มีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
          สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำแผนฝึกอบรมประจำปี 2563  5.5.1 (1-1) เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับระงับเหตุฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น 5.5.1 (1-2) ดังนี้
          1. การฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ
          2. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
          โดยได้มีการจัดอบรม “การฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ” ในวันที่ 11 สิงหาคม 2563 ณ ห้องบรรณราช 2 (ชั้น 6) อาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีจำนวนบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ เข้าร่วม 24 คน คิดเป็น 100% 5.5.1 (2-1), 5.5.1 (3-1), 5.5.1 (4-1), 5.5.1 (5-1)
          สำนักวิทยบริการได้กำหนดจุดรวมผลหากเกิดเหตุฉุกเฉินด้านอัคคีภัยไว้บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักสำนักวิทยบริการฯ 5.5.1 (6)
          สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดแผนผังจุดติดตั้งถังดับเพลิง เส้นทางหนีไฟและจัดทำธงนำทางติดประชาสัมพันธ์บริเวณหน้าลิฟท์สื่อสารให้ผู้มาใช้บริการทราบ 5.5.1 (7) และมีการกำหนดทางออกฉุกเฉินพร้อม จัดทำป้ายสัญลักษณ์แสดงเส้นทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ ให้ผู้ใช้บริการเห็นอย่างชัดเจน 5.5.1 (8)

5.5.1 (1-1) หลักสูตรและแผนการฝึกอบรมประจำปี 2563 ข้อ 6-7.pdf
5.5.1 (1-2) แผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ.pdf
5.5.1 (2-1), (3-1), (4-1), (5-1) รายงานการฝึกอบรมการดับเพลิงและอพยพหนีไฟ.pdf
5.5.1 (2-2) จำนวนคนเข้าอบรมการดับเพลิงเบื้องตันและอพยพหนีไฟ.pdf
5.5.1 (3-2) บุคลากรต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง.pdf
5.5.1 (4-2) ภาพถ่ายการอบรมดับเพลิงขั้นต้น.pdf
5.5.1 (5-2) ภาพการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ.pdf
5.5.1 (6) ภาพถ่ายจุดรวมพล.pdf
5.5.1 (7) แผนผังเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟ.pdf
5.5.1 (8) ป้ายทางหนีไฟ ทางออกฉุกเฉิน.pdf
5.5.2 มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และร้อยละของพนักงานที่เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
          สำนักวิทยบริการได้จัดทำแผนระงับเหตุฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น 5.5.2 (1)

5.5.2 (1) การจัดทำแผนฉุกเฉิน.pdf
5.5.3 ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของ อุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย และ ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และร้อยละของ พนักงานทราบวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ ดังกล่าว
(สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
        (1) มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
          – ถังดับเพลิงมีเพียงพอต่อการใช้งาน (กำหนดระยะห่าง อย่างน้อย 20 เมตร/ถัง ตามกฎหมาย ติดตั้งสูงจาก พื้นไม่เกิน 150 เซนติเมตร นับจากคันบีบ และถ้าเป็นวางกับพื้นที่จะต้อง มีฐานรองรับ) พร้อมกับติดป้ายแสดง
          – ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ถ้ามี)
          – สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (Hose and Hose Station) ถ้ามี)
        (2) ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนและต้องพร้อมใช้งาน
          – สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (พื้นที่ มากกว่า 300 ตารางเมตรหรืออาคาร สูงเกิน 2 ชั้นขึ้นไป)
          – ติดตั้งตัวดักจับควัน(smoke detector)หรือความร้อน (heat detector)
        (3) มีการตรวจสอบข้อ (1)-(2) และหากพบว่า ชำรุดจะต้องดำเนินการแจ้งซ่อมและแก้ไข
        (4) พนักงานจะต้องเข้าใจถึงวิธีการใช้และ ตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาณแจ้ง เตือนอย่างน้อยร้อยละ 75 จากที่สุ่มสอบถาม
        (5) ไม่มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิง และสัญญาณ แจ้งเหตุเพลิงไหม้
          สำนักวิทยบริการฯ มีอุปกรณ์สำหรับป้องกันเหตุฉุกเฉินด้านอัคคีภัย ได้แก่
          1. ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งจำนวน 34 ถัง 5.5.3 (1-1) ติดตั้งภายในอาคารบรรณราชนครินทร์ จำนวน 22 ถัง และอาคารหอสมุดเดิม 12 ถัง 5.5.3 (1-1)
          2. สัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉินจำนวน 12 เครื่อง 5.5.3 (2-1)
          3. เครื่องตรวจจับควันจำนวน 10 เครื่อง 5.5.3 (3-1) 
          สำนักวิทยบริการ และมีการตรวจเช็คอุปกรณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทุก 2 เดือน
          บันทึกการตรวจสอบระบบสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน 5.5.3 (3-1)
          บันทึกการตรวจสภาพถังดับเพลิง 5.5.3 (3-2)
          บันทึกการตรวจเครื่องตรวจจับควัน 5.5.3 (3-3)

5.3.3 (3-2) แบบบันทึกการตรวจสอบสภาพถังดับเพลิง.pdf
5.3.3 (3-3) แบบบันทึกการตรวจสอบเครื่องตรวจจับควัน.pdf
5.5.3 (1) ภาพการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง.pdf
5.5.3 (2) ภาพการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง.pdf
5.5.3 (3-1) แบบบันทีกการตรวจสอบระบบสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน.pdf
6.1 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม
6.2 การจัดจ้าง

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
6.1.1 การจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
        (1) กำหนดผู้รับผิดชอบ และมีความเข้าใจ
        (2) ค้นหารายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถระบุแหล่งข้อมูลสืบค้นได้
        (3) จัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับสินค้าที่ใช้จริงในสำนักงาน โดยจะต้องระบุรายการสินค้า ยี่ห้อ ฉลากสิ่งแวดล้อม วันหมดอายุการรับรองของ สินค้านั้น หากเป็นฉลากสิ่งแวดล้อมของ ต่างประเทศจะต้องอ้างอิงหน่วยงาน/ประเทศ ให้การรับรองนั้นๆด้วย
        (4) แจ้งไปยังผู้ขายเพื่อขอความร่วมมือในการสั่งซื้อ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีที่ไม่มี ร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าทีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

**หมายเหตุ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่น ฉลากเขียว ตะกร้าเขียว ฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 ฉลากประสิทธิภาพสูง ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อน สินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น
          สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและมีความเข้าใจในการจัดซื้อจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.1.1-1.1) มีระเบียบในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติ และในการจัดซื้อสินค้าจะศึกษาจากเว็บไซต์หรือฐานข้อมูลที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม (6.1.1-1.2, 6.1.1-2.1, 6.1.1-2.2) ทั้งนี้ในการจัดซื้อสินค้าจะดำเนินการจัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สำนักวิทยริการฯ จัดซื้อไว้ โดยจะประกอบด้วยรายการสินค้า ยี่ห้อ ฉลากสิ่งแวดล้อม วันหมดอายุ และวันที่ทบทวน เป็นต้น (6.1.1-3.1, 6.1.1-3.2)  จะมีการจัดทำหนังสือขอความร่วมมือบริษัท หรือร้านค้าเพื่อให้จัดหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับสำนักฯ (6.1.1-4)
 

6.1.1-1.1 คำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.pdf
6.1.1-1.2 ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
6.1.1-2.1 การศึกษาเกี่ยวกับฉลากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
6.1.1-2.2 ฐานข้อมูลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
6.1.1-3.1 บัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
6.1.1-3.2-ภาพรายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
6.1.1-4 หนังสือขอความร่วมมือการจัดหาสินค้าที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม.pdf
6.1.2 ร้อยละของการจัดซื้อสินค้าประเภทวัสดุ อุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายเหตุ ร้อยละของสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะเทียบกับปริมาณการซื้อ และ/หรือมูลค่าสินค้า
        (1) แสดงรายการสินค้าสำนักงานที่จัดซื้อทั้งหมด โดยระบุยี่ห้อ และรุ่นสินค้า
        (2) แสดงฉลากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของสินค้า
        (3) คำนวณจำนวนร้อยละสินค้าที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงรายการ สินค้า ปริมาณสินค้า และมูลค่า

**หมายเหตุ : สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็น สินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่น ฉลากเขียว ตะกร้าเขียว ฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 ฉลากประสิทธิภาพสูง ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อน สินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น
          สำนักวิทยบริการฯ จะดำเนินการคิดร้อยละของการจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ได้จัดหาไว้ โดยจะระบุรายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับการรับรองฉลากเขียว ตะกร้าเขียว ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นต้น โดยจะคำนวณร้อยละสินค้าของการจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.1-2.1, 6.1.2-2)

6.1.2-1 รายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งหมด.pdf
6.1.2-2 คำนวณร้อยละรสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
6.1.3 ร้อยละของปริมาณและประเภทของวัสดุ อุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

**หมายเหตุ : สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่น ฉลากเขียว ตะกร้าเขียว ฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 ฉลากประสิทธิภาพสูง ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อน สินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น
          สำนักวิทยบริการฯ จะดำเนินการคำนวณร้อยละของปริมาณและประเภทวัสดุที่จัดซื้อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะคำนวณว่าในแต่ละปีงบประมาณได้ดำเนินการจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมปริมาณเท่าใด (6.1-3.1)

6.1.3-1 คำนวณร้อยละรสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
6.2.1 ร้อยละของการจัดจ้างหน่วยงานหรือบุคคลที่มีการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
        (1) มีหลักฐานการพิจารณาถึงมาตรฐานด้าน สิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่ได้การรับรองโดย จะต้องแสดงหลักฐานการรับรองดังกล่าว
        (2) หากหน่วยงานไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม รับรอง ทางสำนักงานจะต้องทำการประเมิน ด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยเบื้องต้น
        (3) มีการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อเข้ามาปฏิบัติงานในสำนักงาน
        (4) หน่วยงานหรือบุคคลที่ได้รับคัดเลือกจะต้อง ได้รับการอบรมหรือสื่อสารเกี่ยวกับสำนักงานสีเขียว และแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของตนเอง
        (5) หน่วยงานหรือบุคคลเหล่านั้นสามารถอธิบาย แนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ กิจกรรมของตนเองได้

**หมายเหตุ : หากหน่วยงานภายนอกมีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรองจะต้องพิจารณาทุกข้อยกเว้นข้อ (2)
        – หากหน่วยงานภายนอกไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรองพิจารณาข้อ (2)- (5)
            สำนักวิทยบริการฯ มีการเช่าเครื่องถ่ายเอกสารเพื่อให้บริการแก่นักศึกษาและคณาจารย์ โดยเป็นบริษัทที่ได้รับการรับรองให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้พื้นที่สำนักฯ เป็นสถานประกอบการ  (6.2.1-1.1, 6.2.1-1.2, 6.2.1-1.3)  กรณีที่ดำเนินการจ้างหน่วยงานที่ไม่มีใบรับรอง จะดำเนินการประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้างเบื้้องต้น และทำข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.2.1-2.1, 6.2.1-3) นอกจากนี้ยังได้มีแผนการประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม และอธิบายทำความเข้าใจให้กับผู้รับจ้างได้ปฏิบัติตามข้อตกลงของสำนักฯ  (6.2.1-4.1, 6.2.1-4.2

6.2.1-1.1 ใบรับรองบริษัท ริโก้ (ประเทศไทย) จำกัด.pdf
6.2.1-1.2 สัญญาเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร บริษัท ริโก้ (ประเทศไทย) จำกัด.pdf
6.2.1-1.3 บันทึกข้อตกลงการใช้พื้นที่ของห้องสมุดเป็นสถานประกอบการ.pdf
6.2.1-2.1 การประเมินผู้รับจ้างเมื่อเข้ามาปฏิบัติงาน.pdf
6.2.1-3 ข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อเข้าปฏิบัติงานในสำนักงาน.pdf
6.2.1-4.1 แผนการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมประจำปี 2563.pdf
6.2.1-4.2 ภาพการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม.pdf
6.2.2 ร้อยละของการตรวจสอบด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือ บุคคลที่เข้ามาดำเนินการ เช่น ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างช่วง แม่บ้าน รปภ. พนักงานส่งเอกสาร เป็นต้น

**หมายเหตุ
     (1) กรณีที่เป็นการว่าจ้างให้อยู่ประจำสำนักงาน จะต้องทำการประเมินอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
     (2) กรณีที่เป็นการว่าจ้างไม่อยู่ประจำสำนักงาน จะต้องทำการประเมินทุกครั้งเมื่อเข้ามา ปฏิบัติงานในสำนักงาน
     สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้างที่เข้ามาดำเนินการภายในสำนักฯ เพื่อตรวจสอบด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่เข้ามาปฏิบัติงาน ให้มีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.2.2-2)

6.2.2-2 การประเมินผู้รับจ้างเมื่อเข้ามาปฏิบัติงาน.pdf
6.2.3 ร้อยละของการเลือกใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (นอกสำนักงาน) ได้แก่ โรงแรม สถานที่จัดงาน หรือ อื่นๆที่ได้มีการขึ้นทะเบียนการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

**หมายเหตุ :
     (1) สถานที่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการ สิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น ISO๑๔๐๐๑ Green Hotel ใบไม้เขียว ฉลากเขียว Green Office หรือ Green Building เป็นต้น และมีการ จั ด ก า ร ป ร ะ ชุ ม ที่ ค า นึง ถึง ก า ร อ นุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน และลดการ ก่อให้เกิดมลพิษ
     (2) ในกรณีที่ไม่มีสถานที่จัดประชุมที่ได้รับการ รับรองฯ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงสำนักงาน จะต้องเลือกสถานที่ที่ใช้เวลาเดินทางน้อยที่สุด และจัดประชุมในรูปแบบ Green Meeting (ตามความเหมาะสมและเป็นไปได้) โดย จะต้องแสดงหลักฐานการคัดเลือกสถานที่ เหล่านั้น
          สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแนวปฏิบัติการใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีที่ไปใช้บริการนอกสำนักงาน (6.2.3-1, 6.2.3-2, 6.2.3-3, 6.2.3-4) และแนวปฏิบัติที่หน่วยงานอื่นๆ มาใช้บริการของสำนักฯ เพื่อขอความร่วมมือให้วัสดุ อุปกรณ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน และลดการก่อให้เกิดมลพิษ (6.2.3-5, 6.2.3-6)

6.2.3-1 แบบฟอร์มการคัดเลือกสถานที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
6.2.3-2 การเลือกใช้บริการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
6.2.3-3 ข้อปฏิบัติการเดินทางไปประชุมภายนอกของบุคลากร.pdf
6.2.3-4 แนวปฏิบัติการใช้บริการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
6.2.3-5 ข้อปฏิบัติเรื่องการจัดประชุมและนิทรรศการ.pdf
6.2.3-6 แนวปฏิบัติในการใช้ห้องประชุมสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.pdf