GREEN LIBRARY & GREEN OFFICE

เกณฑ์ประเมินสำนักงานสีเขียว 2566

ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ประเมินสำนักงานสีเขียว 2566

1.1 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม
1.2 คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม
1.3 การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
1.4 กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.5 ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
1.6 แผนงานโครงการที่นำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
1.7 การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุและขอยกระดับสำนักงานสีเขียว)
1.8 การทบทวนฝ่ายบริหาร

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
1.1.1 มีบริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน
         (1) มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของสำนักงาน
         (2) มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของสำนักงาน
        สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดและขออนุมัติขอบเขตพื้นที่ ขอบเขตกิจกรรม และผู้รับผิดชอบ ตามบันทึกข้อความ ที่ พิเศษ/2566 ลงวันที่ 28 มกราคม 2566 เรื่อง ขออนุมัติกำหนดขอบเขตพื้นที่และขอบขตกิจกรรม สำนักวิทยบริการฯ (1.1.1-1.1) มีการจัดทำแผนผังพื้นที่  ประกอบด้วย อาคารศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น (อาคารหอสมุดเดิม) และอาคารบรรณราชนครินทร์  ตลอดจนพื้นที่สีเขียว และทางเดินหรือพื้นซีเมนต์โดยรอบอาคาร บนเนื้อที่ 10,824.5 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอยของอาคารและพื้นที่โดยรอบ ทั้งสิ้น 16,975.47 ตารางเมตร  ดังปรากฎในแผนปฏิบัติการสำนักงานสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2566 หน้า 8-31 (1.1.1-1.2) ดังนี้
        1. อาคารทั้ง 2 หลังอยู่บนเนื้อที่ 3,217.5 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอยของอาคารทั้งหมดจำนวน 9,367.97 ตารางเมตร โดยจำแนกเป็นพื้นที่อาคาร ดังนี้
             1.1 อาคารศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น (อาคารหอสมุดเดิม) อยู่บนเนื้อที่ 2,172 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอยของอาคาร 3056.27 ตารางเมตร
             1.2 พื้นที่อาคารบรรณราชนครินทร์ อยู่บนเนื้อที่จำนวน 1,045.5 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอยของอาคาร 6,311.70 ตารางเมตร

        2. มีพื้นที่โดยรอบ 7,607.5 ตารางเมตร โดยจำแนกเป็น
             2.1 พื้นที่สีเขียว/สวน จำนวน 3,063.25 ตารางเมตร
             2.2 ทางเดิน/พื้นซีเมนต์ จำนวน 4,544.45 ตารางเมตร

          และมีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของสำนักวิทยบริการฯ ทั้งหมด ประกอบด้วย 
                   1) การปฏิบัติงานของบุคลากร ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
                       - การพิมพ์เอกสาร
                       - การสำเนาเอกสาร
                       - การประชุม
                       - การทำสื่อประชาสัมพันธ์
                       - กิจกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้า เกิดการลัดวงจร
                       - การจัดเตรียม/ซ่อมแซมทรัพยากรสารสนเทศ
                       - การทำความสะอาดพื้นที่สำนักงาน
                  2) การบริการและกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน  ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
                      - การประชุม
                      - การทำสื่อประชาสัมพันธ์
                      - การทำความสะอาดพื้นที่สำนักงาน/พื้นที่บริการ
                      - การพิมพ์เอกสาร
                      - การสำเนาเอกสาร
                      - กิจกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้า เกิดการลัดวงจร
                  3) การบริการสาธารณูปโภค  ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
                      - การรับประทานอาหาร
                      - การทำความสะอาดภาชนะ
                      - การทำความสะอาดห้องน้ำ
                  4) การปฏิบัติงานนอกพื้นที่ ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
                      - การเดินทางไปราชการ


(2566) 1.1.1 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.1.1-1.1-ขออนุมัติขอบเขต.pdf
(2566) 1.1.1-1.2-แผนปฏิบัติการสำนักงานสีเขียว พ.ศ. 2566(หน้า8-31).pdf
1.1.2 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียวโดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
         (1) การปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
         (2) การควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษ/ของเสีย รวมไปถึงการจัดซื้อ จัดจ้าง และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
         (3) การปฏิบัติตามกฎหมายและเกณฑ์การเป็นสำนักงานสีเขียวของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
         (4) การสร้างความรู้และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้เกี่ยวข้อง

            สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียวโดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องดังนี้

            สำนักวิทยบริการฯ มีการปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ.2566 (วาระที่ 4.2 หน้า 4) (1.1.2-1.1 หน้า 4) ได้มีการทบทวนนโยบายสำนักงานสีเขียว ตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ซี่งได้นำนโยบายของปี พ.ศ. 2565 มาปรับปรุงเพื่อให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2566 มติที่ประชุุมคณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม พร้อมกับให้นำประชาสัมพันธ์ตามช่องทางต่างๆ ของสำนักฯ เช่น เว็บไซต์ เพจ เฟซบุ๊คต่อไป 

            สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการจัดทำประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้บริการความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยครอบคลุมเกี่ยวกับการลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษ/ของเสีย รวมถึงการจัดซื้อ จัดจ้าง และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียวเมื่อวันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2566 และประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 (1.1.2-2.1) นอกจากนี้ยังมีการจัดทำประกาศมาตรการและแนวปฏิบัติด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บุคลากรและผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการดำเนินการการจัดการพลังงานของสำนักฯ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2/2566 วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (วาระที่ 4.2 หน้า 8) (1.1.2-2.2 หน้า 8) และประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 (1.1.2-2.3)

            สำนักวิทยบริการฯ ปฏิบัติตามกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม และเกณฑ์การดำเนินการสำนักงานสีเขียวของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้ง 6 หมวด โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวเพื่อดำเนินการตามแผนงานที่กำหนด (1.1.2-3.1)

            สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมให้กับบุคลากร และผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมีแผนการอบรมความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (1.1.2-4.1) นอกจากนี้ยังมีแผนการสื่อสาร เผยแพร่ สร้างการรับรู้  และสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน การแยกขยะก่อนทิ้ง การประหยัดน้ำ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ฯลฯ ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ บอร์ดประชาสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์ เพจ Facebook ของสำนักฯ เป็นต้น (1.1.2.4.2)

  


(2566) 1.1.2 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.1.2-1.1 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว หน้า 4.pdf
(2566) 1.1.2-2.1 ประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 1.1.2-2.2 รายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม หน้า 8.pdf
(2566) 1.1.2-2.3 ประกาศสำนักฯ เรื่อง มาตรการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงาน.pdf
(2566) 1.1.2-3.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว.pdf
(2566) 1.1.2-4.1 แผนการอบรมทักษะความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2566.pdf
(2566) 1.1.2-4.2 แผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2566.pdf
1.1.3 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมจากผู้บริหารระดับสูง
         (1) นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
         (2) มีการระบุวันที่การประกาศใช้นโยบายสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน
         (3) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องสามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน
         (4) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องมีส่วนในการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน

            สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 อย่างชัดเจน ซึ่งได้รับการอนุมัติจากอาจารย์ปิยวรรณ คุสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (1.1.3-1.1)

            นอกจากนี้ผู้บริหาร ซี่งประกอบด้วยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าสำนักงาน หัวหน้างาน ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการดำเนินงานในหมวดต่างๆ ได้ร่วมกันติดตามผลการการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย โดยผ่านช่องทางการประชุมคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ซึ่งต้องมีการประชุมเพื่อรายงานผลการปฏิบัติงาน เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาและการพัฒนาให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียว (1.1.3-4.1)

     


(2566) 1.1.3 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.1.3-1.1 ประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 1.1.3-4.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว.pdf

1.1.4 มีการกำหนดแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี
         (1) รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการดำเนินงานครบถ้วนทุกหมวด
         (2) มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของการดำเนินการของแต่ละหมวด
         (3) มีการกำหนดแผนดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับการอนุมัติจากผู้บริหาร

       สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2566 โดยในแผนได้ระบุการดำเนินงานครบทุกหมวด และมีการกำหนดช่วงเวลาการดำเนินในแต่ละหมวด โดยมีผู้อำนวยกำรสำนักวิทยบริกำรฯ เป็นผู้อนุมัติ ลงนามเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 (1.1.4-1)

(2566) 1.1.4 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.1.4-1 แผนปฏิบัติการพัฒนาสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2566.pdf
1.1.5 มีการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจนด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก ดังนี้
         (1) การใช้ไฟฟ้า
         (2) การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
         (3) การใช้น้ำ
         (4) การใช้กระดาษ
         (5) ปริมาณของเสีย
         (6) ปริมาณก๊าซเรือนกระจก
          สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด (1.1.5-1) พร้อมมาตรการการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม (1.1.5-2) ในการใช้ทรัพยากร พลังงาน ขยะ และปริมาณก๊าซเรือนกระจก ได้รับการอนุมัติจากผู้อำนวยการสำนักฯ ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 โดยการใช้ ปี พ.ศ. 2565 เป็นฐาน  เพื่อให้การบริหารจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากรของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการใช้พลังงานและทรัพยากรตามแนวทางสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ให้เป็น Green University ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้มีการกำหนดและประกาศเป้าหมาย ดังนี้
       1. ร้อยละของการใช้ไฟฟ้าที่ลดลงเฉลี่ยต่อคน ร้อยละ 30
      2. ร้อยละของการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงเฉลี่ยต่อคน ร้อยละ 30
      3. ร้อยละของการใช้น้ำที่ลดลงเฉลี่ยต่อคน ร้อยละ 10
      4. ร้อยละของการใช้กระดาษที่ลดลงเฉลี่ยต่อคน ร้อยละ 15
       5. ร้อยละปริมาณของเสียที่ลดลงเฉลี่ยต่อคน ร้อยละ 30
       6. ร้อยละของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงเฉลี่ยต่อคน ร้อยละ 20

(2566) 1.1.5 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.1.5-1 เป้าหมายการใช้พลังงานและทรัพยากรปี-66.pdf
(2566) 1.1.5-2 มาตรการ-Green-66.pdf
1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้
         (1) ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติ โดยคณะกรรมการหรือทีมงาน จะต้องครอบคลุมทุกหมวด และบุคลากร/ผู้แทนจากทุกฝ่ายในหน่วยงาน
         (2) กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการอย่างชัดเจน

       สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว ครอบคลุมครบทุกหมวด และได้มีการกำหนด อำนาจหน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการอย่างชัดเจน โดยออกคำสั่งอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และ ลงนามอนุมัติโดยผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อขับเคลื่อน การปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ สั่ง ณ วันที่ 3 เมษายน 2566 (1.2.1-1)


(2566) 1.2.1 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.2.1-1.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว.pdf
1.2.2 ร้อยละของคณะกรรมการ หรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบประเมินจากการสุ่มสอบถามดังนี้
         (1) ประธาน/หัวหน้า
         (2) คณะกรรมการหรือทีมงานทางด้านสิ่งแวดล้อมที่รับผิดชอบทุกหมวด (สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจประเมินแต่ละหมวดสุ่มสอบถามได้)
       สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2566 โดยในคำสั่งมีคณะกรรมการฯ จำนวน 24 คน ประกอบด้วยประธาน และคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมที่รับผิดชอบในแต่ละหมวดอย่างชัดเจน (1.2.2-1.1)

(2566) 1.2.2 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.2.2-1.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวประจำปี 2566.pdf
1.3.1 กิจกรรมทั้งหมดของสำนักงานภายใต้ขอบเขตการขอการรับรองสำนักงานสีเขียวจะต้องได้รับการระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม
         (1) มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงานครบถ้วน
         (2) มีการกำหนดผู้รับผิดชอบเหมาะสมและมีความเข้าใจ
         (3) ระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากร วัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละกิจกรรมจะต้องครบถ้วน
         (4) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมทางตรงและทางอ้อมครบถ้วน
         (5) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะปกติ ผิดปกติ และฉุกเฉินครบถ้วน
         (6) มีการพิจารณากฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นๆ อย่างครบถ้วนและถูกต้อง
         (7) การประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม
         (8) มีหลักฐานการกำหนดระยะเวลาในการทบทวนการระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและพลังงาน อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
         (9) กรณีมีการปรับแผน/กิจกรรม หรือมีกิจกรรมเพิ่มเติม (เช่น มีแผนที่จะก่อสร้างอาคาร หรือ เพิ่มเติมกิจกรรมของสำนักงานในอนาคตอันใกล้ เป็นต้น) จะต้องระบุกิจกรรมดังกล่าวด้วย (ถ้ามี)

            สำนักวิทยบริการฯ มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงานทั้งทางตรง และทางอ้อม ตามกิจกรรมได้ 7 ด้าน 17 กิจกรรม ตามขอบเขตและบริบทของสำนักงาน (1.3.1-1) ดังนี้

7 ด้าน ประกอบด้วย

1. กระดาษ
2. อาหาร
3. น้ำ
4. น้ำมัน
5. วัสดุสำนักงาน
6. ไฟฟ้า , อุปกรณ์ไฟฟ้า
7. ทรัพยากรสารสนเทศ

17 กิจกรรม ประกอบด้วย

1. การพิมพ์เอกสาร
2. การสำเนาเอกสาร
3. การประชุม
4. การจัดเก็บและเบิกใช้วัสดุสํานักงาน
5. การรับประทานอาหาร
6. การทำความสะอาดภาขนะ
7. การทำความสะอาดสำนักงาน
8. งานทำความสะอาดห้องน้ำ/โถง
9. การเดินทางไปราชการ
10.การทำลายเอกสาร,เครื่องย่อยเอกสาร
11.การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
12.การบำรุงรักษาลิฟท์
13.การซ่อมบำรุงเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและแสงสว่าง
14.การบำรุงรักษาเครื่องสำเนาเอกสาร
15.งานจัดเตรียม/ซ่อมแซมทรัพยากรสารสนเทศ
16.การตัดหญ้า
17.การจัดการพื้นที่สีเขียว

           มีการระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากร วัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละกิจกรรมครบถ้วน โดยใช้ตารางวิเคราะห์ระดับความมีนัยสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์การประเมินนัยสำคัญของลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้านการใช้ทรัพยากร (Resource Usage) และเกณฑ์การประเมินนัยสำคัญของลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้านมลภาวะ (Pollution) (1.3.1-2)

           ทั้งนี้ สามารถระบุระดับนัยสำคัญได้ 3 ระดับ คือ L , M , H ส่วนใหญ่ประเด็นปัญหาของสำนักฯ อยู่ในระดับ L และ M

           ด้านทรัพยากร (Input) มีค่าความรุนแรงมากที่สุดที่ 42 มีค่าความรุนแรงน้อยที่สุดที่ 18 ส่วน

           ด้านมลพิษ (Output) มีค่าความรุนแรงมากที่สุดที่ 42 มีค่าความรุนแรงน้อยที่สุดที่ 24 (1.3.1-3)

           สำนักวิทยบริการฯ มีการประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ(1.3.1-4) สามารถการจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ ตามกิจกรรม

           ด้านทรัพยากร (Input) คือ ปัญหาด้านไฟฟ้า

           ด้านมลพิษ (Output) คือ หลอดไฟใช้แล้ว , ขยะจากการซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ , กลักหมึก , ขยะจากบรรจุภัณฑ์

           จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม สำนักฯ ได้มีการวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญได้ทั้งหมด 4 ข้อ (1.3.1.5)

          สำนักฯ มีการนำกิจกรรม , การใช้ทรัพยากรและพลังงาน ,ลักษณะปัญหา มาพิจารณากฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม (1.3.1-6) ทั้งมีการกำหนดมาตรการ(1.3.1-7)และกำหนดระยะเวลาในการทบทวนการระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและพลังงาน ๑ ครั้ง (1.3.1-8) จากการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันพุธที่ 16 มกราคม  พ.ศ. 2566 เวลา 13.30 น. ระเบียบวาระที่ 4.2 ทบทวนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงานสีเขียว สำนักวิทยบริการฯ


(2566) 1.3.1 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.3.1-1 การระบุและประเมินปัญหา ตารางวิเคราะห์กระบวนงาน.pdf
(2566) 1.3.1-2 ระเบียบปฏิบัติงาน ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 1.3.1-3 ทะเบียนระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากร.pdf
(2566) 1.3.1-4 ทะเบียนจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญด้านทรัพยากร,มลพิษ.pdf
(2566) 1.3.1-5 จัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 1.3.1-6 กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 1.3.1-7 มาตรการ-Green-66.pdf
(2566) 1.3.1-8 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว1-66.pdf
1.3.2 การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
         (1) มีสรุปรายการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
         (2) กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสาคัญ
         (3) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการแก้ไขครบถ้วน
         (4) กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉิน
         (5) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉินมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการป้องกันครบถ้วน
            สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีการจัดลำดับรายการปัญหาสิ่งแวดล้อมได้จำนวน 4 ประเด็น  คือ 
1. ไฟฟ้า
2. หลอดไฟใช้แล้ว
3. ขยะจากการซ่อม
4. ขยะจากบรรจุภัณฑ์
ทั้งมีการสรุป วิเคราะห์และมีแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม (1.3.2-1)   และกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสาคัญ โดยจัดทำเป็นประกาศสำนักวิทยบริการฯ ว่าด้วยเรื่อง มาตรการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ข้อที่ 7  ข้อที่ 12  (1.3.2-2)   พร้อมทั้งมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาตรการอย่างครบถ้วน (1.3.2-3) และสำนักวิทยบริการฯ ยังมีการจัดทำแผนระงับเหตุฉุกเฉินเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉิน(1.3.2-4)ในหมวด 5 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย ข้อที่ 5.5 การจัดทำแผนระงับเหตุฉุกเฉิน

(2566) 1.3.2 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.3.2-1 จัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 1.3.2-2 มาตรการ-Green-66.pdf
(2566) 1.3.2-3 การแก้ไข.pdf
(2566) 1.3.2-4 แผนระงับเหตุฉุกเฉิน-2566.pdf

1.4.1 มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้
         (1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
         (2) จัดทำรายการกฎหมายที่ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อมและบริบทของสำนักงาน
         (3) สามารถระบุแหล่งที่มาของกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
         (4) สามารถระบุความเกี่ยวข้องของกฎหมายกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
         (5) กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นปัจจุบัน
         (6) มีการรวบรวมและทบทวนกฎหมายอย่างน้อย ปีละ ๑ ครั้ง

หมายเหตุ : สำนักงานจะต้องค้นหากฎหมายท้องถิ่นเพิ่มเติม
         สำนักวิทยบริการฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวเพื่อกำหนดบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ ตามคำสั่งที่ 005/2566 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ซึ่งมอบหมายให้นางสาวสุพรรณณี เพนวิมล (1.4.1-1.1) เป็นผู้รับผิดชอบทำหน้าที่จัดทำและรวบรวมรายการกฎหมายสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 8 ข้อ ประกอบด้วย         
        1. กฎหมายและข้อบังคับด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน  ประกอบด้วย พระราชบัญญัติควบคุมโรคและความปลอดภัย 4 ฉบับ และ กฎกระทรวงในด้านการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่เกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง 13 ฉบับ
         2. กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการคลัง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติและกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง 11 ฉบับ
         3. กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ประกอบด้วย กฎหมายและกฎหมายกระทรวงว่าด้วยการจัดการขยะมูลฝอย 12 ฉบับ
         4. กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ประกอบด้วย พระราชบัญญัติและประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ 9 ฉบับ 
         5. ประกาศ/ข้อบังคับ/คำสั่งเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ประกอบด้วย ประกาศกรมควบคุมโรคและประกาศกระทรวงสาธารณสุขโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
11 ฉบับ
         6. กฎหมาย/พระราชบัญญัติการส่งเสริม รักษาสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย พระราชบัญญัติและประกาศกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 16 ฉบับ
         7. ทะเบียนกฎหมายท้องถิ่นและข้อกำหนดเพิ่มเติมด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ข้อกำหนดและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 10 ฉบับ 
         8. ระเบียบและข้อปฏิบัติของกฎหมายท้องถิ่น ประกอบด้วย ระเบียบข้อปฏิบัติของกฎหมายท้องถิ่น 2 ฉบับ (1.4.1-1.2)
        ซึ่งเป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่มีความครอบคลุมกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและบริบทของสำนักงาน จำนวน 17 กิจกรรม ประกอบด้วย
        1.การพิมพ์เอกสาร
        2.การสำเนาเอกสาร
        3.การประชุม
        4.การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์
        5.งานขัดพื้น
        6.งานจัดเตรียม/ซ่อมแซมทรัพยากรสารสนเทศ 
        7.การทำความสะอาดภาชนะ
        8.การทำความสะอาดสำนักงาน
        9.การเดินทางไปราชการ
        10.การทำลายเอกสาร (เครื่องย่อยเอกสาร)
        11.การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
        12.การบำรุงรักษาลิฟท์
        13.การซ่อมบำรงเปลี่ยน อุปกรณ์ไฟฟ้าและแสง สว่าง 
        14.การบำรุงรักษาเครื่องถ่ายสำเนาเอกสาร
        15.งานจัดเตรียม/ซ่อมแซมทรัพยากรสารสนเทศ
        16.การกำจัดปลวก
        17.การตัดหญ้า (1.4.1-2.1)
 
         รวมทั้งมีการระบุแหล่งที่มาของกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (1.4.1-3.1) โดยมีการระบุความเกี่ยวข้องของกฎหมายกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม (1.4.1-4.1) มีการเปรียบเทียบทะเบียนกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมกับบริบทของสำนักงาน (1.4.1-5.1) ซึ่งได้มีการรวบรวมและทบทวนกฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องทุกปี (1.4.1-6.1) (1.4.1-6.2
       หมายเหตุ : นอกจากนี้สำนักวิทยบริการฯ ได้ศึกษากฎหมายท้องถิ่นเพิ่มเติม ประกอบด้วย 
        1.ข้อบังคับกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของอาคาร สถานที่และสถานบริการการสาธารณสุข พ.ศ. 2545 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกพ.ศ. 2561 (องค์การบริหารส่วนตำบลนาวุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี และเทศบาลเมืองเพชรบุรี ได้นำข้อบังคับฯ และระเบียบฯ นี้เข้ามาใช้ โดยมีการเผยแพร่บนเว็บไซต์)
        2.พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารวัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 (เทศบาลเพชรบุรี)           
        3.ระเบียบ/ข้อปฏิบัติท้องถิ่นเรื่อง การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร (องค์การบริหารส่วนตำบลนาวุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี และเทศบาลเมืองเพชรบุรี ได้นำข้อบังคับฯ นี้เข้ามาใช้ แต่ไม่มีการกำหนดหรือเผยแพร่บนเว็บไซต์)
       4.ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาวุ้ง เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2562 (องค์การบริหารส่วนตำบลนาวุ้ง อำเภอเมือง เพชรบุรี)

(2566) 1.4.1 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.4.1-1.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวประจำปี 2566.pdf
(2566) 1.4.1-1.2 ทะเบียนกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมประจำปี 2566.pdf
(2566) 1.4.1-2.1 รายการกฎหมายที่ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 1.4.1-3.1 ที่มาของทะเบียนกฏหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 1.4.1-4.1 ความเกี่ยวข้องของกฎหมายกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 1.4.1-5.1 ตารางเปรียบเทียบทะเบียนกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมประจำปี 2566.pdf
(2566) 1.4.1-6.1 แผนปฏิบัติการพัฒนาสำนักงานสีเขียวประจำปี 2566.pdf
(2566) 1.4.1-6.2 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียวครั้งที่ 1-2566.pdf
1.4.2 ประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน   โดยมีการดำเนินการดังนี้
         (1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อม
         (2) มีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายครบถ้วน
         (3) มีการอ้างอิงหลักฐานการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วนและถูกต้อง กรณีที่พบว่าการดำเนินงานไม่สอดคล้องกับกฎหมาย จะต้องมีการวิเคราะห์สาเหตุ และกำหนดแนวทางการแก้ไข (ถ้ามี)
         (4) มีการกำหนดความถี่ในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่เหมาะสมและมีการปฏิบัติตามที่กำหนดได้
          สำนักวิทยบริการฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวเพื่อกำหนดบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ ตามคำสั่งที่ 005/2566 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ซึ่งมอบหมายให้นางสาวสุพรรณณี เพนวิมล (1.4.2-1.1) เป็นผู้รับผิดชอบทำหน้าที่จัดทำและรวบรวมรายการกฎหมายสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายและมีการอ้างอิงหลักฐานการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วน สำหรับในกรณีที่พบว่าการดำเนินงานไม่สอดคล้องกับกฎหมายก็มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข (1.4.2-2.1, 1.4.2-3.1) และมีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายอย่างต่อเนื่องทุกปี (1.4.2-4.1

(2566) 1.4.2 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.4.2-1.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวประจำปี 2566.pdf
(2566) 1.4.2-2.1, 1.4.2-3.1 ตารางเปรียบเทียบทะเบียนกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมประจำปี 2566.pdf
(2566) 1.4.2-4.1 แผนปฏิบัติการพัฒนาสำนักงานสีเขียวประจำปี 2566.pdf

1.5.1 การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในสำนักงาน จะต้องประกอบไปด้วย
         (1) ปริมาณการใช้ไฟฟ้า
         (2) ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงสำหรับการเดินทาง
         (3) ปริมาณการใช้น้ำประปา
         (4) ปริมาณการใช้กระดาษ
         (5) ปริมาณการเกิดของเสีย (ฝังกลบ)

(โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก(Emission Factor ; EF) ขององค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกล่าสุด)
          สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน อาทิ ข้อมูลพื้นที่อาคารสำนักวิทยบริการฯ และพื้นที่ภายนอกโดยรอบอาคาร จำนวนบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ จำนวนผู้รับบริการ และเวลาทำการ โดยมีการรวบรวมข้อมูลตามขอบเขตประเภทที่ 1 ได้แก่ ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากการเดินทางไปราชการ ปริมาณสารมีเทนจากระบบ Septic tank ปริมาณมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศ ปริมาณการใช้สารทำความเย็น R134A และปริมาณการใช้สารดับเพลิง การเก็บข้อมูลตามขอบเขตประเภทที่ 2 คือ ปริมาณการใช้ไฟฟ้า และการเก็บข้อมูลตามขอบเขตประเภทที่ 3 ประกอบด้วย ปริมาณการใช้น้ำประปา ปริมาณการใช้กระดาษ และปริมาณขยะ และมีการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 (1.5.1-1) มีปริมาณ GHGs 198.20 tCO2e พ.ศ. 2564 (1.5.1-2) มีปริมาณ GHGs 123.87 tCO2e พ.ศ. 2565 (1.5.1-3) มีปริมาณ GHGs 96.38 tCO2e  และ พ.ศ. 2566 (1.5.1-4) ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2566 พบว่า สำนักวิทยบริการฯ มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) รวมทุกประเภท จำนวน 157.34 tCO2e โดยจำแนกเป็น
          ประเภทที่ 1 ปริมาณการใช้น้ำมันสำหรับการเดินทาง การปล่อยสารมีเทนจาก Septic tank การปล่อยสารมีเทนจากบ่อบำบัดแบบไม่เติมอากาศ และการใช้สารทำความเย็นแบบ R134A มีปริมาณ GHG จำนวน 5.57 tCO2e
          ประเภทที่ 2 ปริมาณการใช้ไฟฟ้า มีปริมาณ GHG จำนวน 148.97 tCO2e  
          ประเภทที่ 3 ปริมาณการใช้น้ำประปา กระดาษ และขยะ/ของเสียฝังกลบ (ขยะส่งกำจัด) มีปริมาณ GHG จำนวน 2.80 tCO2e
 
        รวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ปี พ.ศ. 2566 จำนวนทั้งสิ้น 157.34 tCO2e  (1.5.1-4)

(2566) 1.5.1 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.5.1-1-CFO-2563.pdf
(2566) 1.5.1-2-CFO-2564.pdf
(2566) 1.5.1-3-CFO-2565.pdf
(GO-2566) 1.5.1-4-2566-CFO-Data.pdf
1.5.2 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกบรรลุเป้าหมาย
กรณีบรรลุเป้าหมาย
         (1) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการวิเคราะห์สาเหตุในกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมาย
         (2) มีแนวทางการแก้ไขในกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมาย
         (3) มีการติดตามผลหลังแก้ไข
          จากข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ในปี พ.ศ. 2565 (ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม) ซึ่งใช้เป็นปีฐานในการเปรียบเทียบคำนวนค่าเป้าหมายการลด GHGs ในปี พ.ศ. 2566 พบว่า ปีพ.ศ. 2565 มีปริมาณการใช้กระดาษและน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ มีการใช้กระดาษในการจัดทำผลงานทางวิชาการ (คู่มือการปฏิบัติงาน) และมีการอนุเคราะห์กระดาษกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ที่เข้ามาใช้บริการห้องประชุมของสำนักวิทยบริการฯ ในการจัดทำเอกสารการประชุมต่าง ๆ และมีผู้ใช้บริการในส่วนการประชุม ในสำนักวิทยบริการฯ เพิ่มมากขึ้น จึงมีการใช้กระดาษและน้ำเพิ่มขึ้น                         
          จากการเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ปี พ.ศ. 2565 กับปี พ.ศ 2564 พบว่า มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดลง 27.49 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 22.19 และเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ลดลงร้อยละ 10 พบว่าสำนักวิทยบริการฯ สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้                        
ข้อเสนอแนะ                        
          จากข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2565 พบว่า สำนักวิทยบริการมีค่าการใช้น้ำและกระดาษเพิ่มขึ้น ควรมีการปรับปรุงมาตรการด้านการบริการ ดังนี้                    
          1. จัดทำประกาศนโยบาย ขอบเขต แนวปฏิบัติการให้บริการห้อง/พื้นที่การประชุม อบรม สัมมนา ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับทราบและตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 
          2. จัดหาหรือพัฒนาอุปกรณ์ช่วยประหยัดน้ำเพิ่มติม                    
          3. ควรมีการกำหนดแนวทาง/แผนงานกิจกรรมเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ                    
          4. ควรส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ มีการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนบุคคล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (1.5.2-1)
 
        และในปี พ.ศ. 2566 ได้มีการกำหนดค่าเป้าหมายการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ในทุกขอบเขตประเภท ตั้งแต่เดือน มกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2566 โดยใช้ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของปี พ.ศ. 2565 เดือน ม.ค.-มิ.ย. เป็นปีฐานเนื่องจาก สำนักวิทยบริการฯ เปิดให้บริการในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์ และเปิดบริการตามปกติ 
          จากข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เดือน ม.ค.-มิ.ย. 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2565 พบว่า ในปี พ.ศ. 2566 ไม่สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ คือ มีปริมาณ GHG เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 69.66
          เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยต่อคนในปี พ.ศ. 2565 และ พ.ศ. 2566 พบว่า ในปี พ.ศ. 2566 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยต่อคน = 0.0061 tCO2e โดยลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 42.33 อันเนื่องมาจากปัจจัยดังนี้
    1. การเปิดบริการตามปกติ หลังจากสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลายลง ทำให้มีการรับบริการเพิ่มขึ้น การใช้พลังงานและทรัพยากร และปริมาณของเสียย่อมเพิ่มขึ้นด้วย                        
    2. ความผันผวนของผู้รับบริการที่อาจมีเพิ่มขึ้นหรือน้อยลง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความผันผวนของปริมาณ GHGs เฉลี่ยต่อคน ดังนั้น หากมีผู้รับบริการเพิ่มขึ้น ปริมาณ GHGs เฉลี่ยต่อคน ก็จะลดลง
          ดังนั้นจึงกำหนดค่าเป้าหมายในปี 2566 คือ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยต่อคนร้อยละ 20 (1.5.2-2)
 
          สาเหตุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ในปี พ.ศ. 2566 มีปริมาณเพิ่มขึ้นนั้น เนื่องจาก มีปริมาณการใช้นำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ มีการเดินทางไปปฏิบัติงานนอกพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลท้องถิ่น และมีปริมาณการใช้น้ำประปาเพิ่มขึ้นจากปี 2565 เนื่องจากมีการใช้บริการห้องประชุมเพิ่มขึ้น    และมีการใช้ห้องน้ำเพิ่มขึ้นด้วย ประกอบกับระบบน้ำอัตโนมัติสำหรับการรดน้ำในสวนด้านหน้าอาคารบรรณราชนครินทร์ชำรุด จึงต้องใช้น้ำประปารดน้ำในสวนดังกล่าวแทน จึงทำให้มีปริมาณการใช้น้ำเพิ่มขึ้น                            
          เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ปี พ.ศ. 2566 (ม.ค.-มิ.ย.) กับปี พ.ศ 2565 พบว่า มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นจากปี 2565  แต่ถ้าหากพิจารณาปริมาณ GHGs เฉลี่ยต่อคน พบว่า ลดลงร้อยละ 42.33 และเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงเฉลี่ยต่อคน ร้อยละ 20 พบว่า สำนักวิทยบริการฯ มีแนวโน้มจะสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยต่อคนได้ตามเป้าหมายที่กำหนด                         
ข้อเสนอแนะ                            
          จากข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2566 พบว่า สำนักวิทยบริการมีค่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำประปา และมีการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ควรมีการทบทวน ตรวจสอบ การดำเนินงานตามมาตรการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำประปา และการลดการใช้ไฟฟ้า และปรับปรุงมาตรการดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพต่อไป (1.5.2-3, 1.5.2-4)

(2566) 1.5.2 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.5.2-1-CFO-2565.pdf
(2566) 1.5.2-2 เป้าหมายการใช้พลังงานและทรัพยากรปี-66.pdf
(2566) 1.5.2-3-CFO-2566.pdf
(GO-2566) 1.5.2-4-2565-2566-CFO-Data.pdf
1.5.3 ร้อยละของพนักงานมีความเข้าใจและการรับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน โดยจะต้องสอบถามดังนี้
          (1) ความสำคัญของก๊าซเรือนกระจกกับการทำสำนักงานสีเขียว
          (2) แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
          (3) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสานักงานเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย
หมายเหตุ :
           1. พนักงานที่ถูกสอบถามจะต้องอธิบายให้ได้ทั้ง ๓ ข้อ
           2. สอบถามพนักงาน ๔ คนขึ้นไป
          สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดอบรมให้กับบุคลากร ในหลักสูตร "ก๊าซเรือนกระจก และการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" ประกอบด้วย ความสำคัญของก๊าซเรือนกระจกกับการทำสำนักงานสีเขียว ก๊าซหรือสารที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปริมาณก๊าซเรือนกระจกเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย อบรมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566 มีบุคลากรเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 23 คน ได้มีการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.22/20 คิดเป็นร้อยละ 66.10 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.96/20 คิดเป็นร้อยละ 94.80 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น (1.5.3-1.1)

(2566) 1.5.3 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.5.3-1.1-ผลการอบรมก๊าซเรือนกระจกปี2566(หน้า1,12-13).pdf
1.6.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการดำเนินการดังนี้
         (1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย จะต้องสอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ หรือกฎหมายสิ่งแวดล้อม
         (2) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย สามารถวัดผลได้
         (3) กิจกรรม/นวัตกรรมที่กำหนดในโครงการสิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
         (4) ระยะเวลาการทำโครงการมีความเหมาะสม
         (5) โครงการมีการกำหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน และจะต้องมีความเข้าใจ

           สำนักวิทยบริการ ฯ ได้รับงบประมาณจากโครงการมหาวิทยาลัยสีเขียว คือ กิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีหลักการและเหตุผล คือ  นโยบายการขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีทำให้สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนด้านการจัดการศึกษาได้นำนโยบายดังกล่าวไปสู่แนวทางการจัดการและการส่งเสริมการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ
          1. เพื่อแก้ปัญหาการใช้พลังงานไฟฟ้า
          2. เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้กับบุคลากรและผู้รับบริการ
          3. เพื่อเตรียมความพร้อมการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว  

          เป้าหมาย คือ จำนวนบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน , จำนวนกิจกรรมที่ได้จัดทำ 3 กิจกรรม , ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 80 , ผลการดำเนินงานหมวด 3 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียว

          กิจกรรมแล้วเสร็จ ไตรมาส  4 ผู้เสนอโครงการ นางสาวธนพร  ถมเสาร (1.6.1-1) และสำนักวิทยบริการฯ ยังมีการดำเนินงานจัดทำแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อแสดงถึงระยะเวลาในการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรม (1.6.1-2)


(2566) 1.6.1 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.6.1-1โครงการGreen.pdf
(2566) 1.6.1-2 แผนการจัดการสิ่งแวดล้อม 2566.pdf
1.6.2 ผลสำเร็จของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย แนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
         (1) มีแผนการดำเนินโครงการหรือนวัตกรรมที่ชัดเจน
         (2) ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง
         (3) มีการกำหนดความถี่ในการติดตามผลและปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง
         (4) มีการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ
         (5) ดำเนินการเสร็จสิ้นและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด / กรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมายมีการทบทวนเพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข
         (6) มีการกำหนดแนวทางเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนหลังบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด

            สำนักวิทยบริการ ฯ ได้รับงบประมาณจัดกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มี

           วัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1. เพื่อแก้ปัญหาการใช้พลังงานไฟฟ้า 2. เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้กับบุคลากรและผู้รับบริการ 3. เพื่อเตรียมความพร้อมการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว  

          เป้าหมาย คือ จำนวนบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน , จำนวนกิจกรรมที่ได้จัดทำ 3 กิจกรรม , ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 80 , ผลการดำเนินงานหมวด 3 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียว

          กิจกรรมแล้วเสร็จ ไตรมาส 4 ผู้เสนอโครงการ นางสาวธนพร  ถมเสาร (1.6.2-1)  และสำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินงานจัดทำแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อแสดงถึงระยะเวลาในการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรม (1.6.2-2) ประกอบด้วย 3 แผนงาน 8 กิจกรรม มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 


         แผนงานที่ 1. การประหยัดพลังงานและรักษ์สิ่งแวดล้อม
              กิจกรรมที่ 1. จัดโครงการเปลี่ยนหลอดไฟ (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
              กิจกรรมที่ 2. จัดสถานที่ทำงาน โต๊ะที่ทำงานให้อยู่ในแนวของหลอดไฟ (ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว)
              กิจกรรมที่ 3. ติดตั้งโซลาเซลล์ (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
              กิจกรรมที่ 4. สื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว)
              กิจกรรมที่ 5. เปิด-ปิดไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศ แต่ละชั้นเหลื่อมเวลา (ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว)

         แผนงานที่ 2. การจัดการขยะภายในอาคารสำนักวิทยบริการฯ
              กิจกรรมที่ 6. การแยกขยะและจดปริมาณปริมาณขยะของสำนักวิทยบริการฯ (ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว)
              กิจกรรมที่ 7. การลดขยะในองค์กร (ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว)

         แผนงานที่ 3. การฝึกอบรมและงานประชาสัมพันธ์สำนักงานสีเขียว
              กิจกรรมที่ 8. การอบรม (ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว)    

        ในส่วนของกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ (1.6.2-3)
              1. จำนวนบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป้าหมาย 100 คน  มีการดำเนินการ 5 ครั้ง ผู้เข้าร่วม จำนวน 231 คน (บรรลุเป้าหมาย)
              2.
จำนวนกิจกรรม เป้าหมาย 3 กิจกรรม มีการดำเนินงานได้ 3 กิจกรรม (บรรลุเป้าหมาย 1 กิจกรรม ส่วนอีก 2 กิจกรรม อยู่ระหว่างดำเนินการ)

                 - กิจกรรม Save Energy ดีต่อสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่างดำเนินการ

                 - กิจกรรมการจัดภูมิทัศน์และขยะเป็นศูนย์ สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินการนำใบไม้แห้งมาดำเนินการจัดทำเป็นปุ๋ยหมักที่บริเวณด้านข้างสำนักวิทยบริการฯ จำนวน 4 คอก

                 - กิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ Read & Learn เพลินสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่างดำเนินการ

            3. ระดับความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม อยู่ระหว่างดำเนินการ
            4. ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียว หมวด 3 อยู่ระหว่างดำเนินการ
            5. ดำเนินการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ไตรมาส 4 

        และเนื่องจากโครงการกำหนดเสร็จไตรมาสที่ 4 ในบางโครงการที่ต้องใช้งบประมาณจึงต้องรอทำการเบิกจ่ายทำให้อยู่ในระหว่างดำเนินการ ดังนี้

            1. กิจกรรม Save Energy ดีต่อสิ่งแวดล้อม อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบราคา เพื่อขออนุมัติจัดซื้อ

            2. กิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ Read & Learn เพลินสิ่งแวดล้อม

และสำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดแนวทางเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง จากการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว ครั้งที่ 3/2566  วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม  พ.ศ. 2566

งาระที่ 1 ข้อ 1.3 ติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (1.6.2-4)


(2566) 1.6.2 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.6.2-1 โครงการGreen.pdf
(2566) 1.6.2-2 แผนการจัดการสิ่งแวดล้อม 2566.pdf
(2566) 1.6.2-3 แบบรายงานผลการดำเนินโครงการ.pdf
(2566) 1.6.2-4 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว.pdf
1.7.1 การวางแผนและดำเนินการตรวจ ประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน
         (1) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน ประกอบด้วย หัวหน้า ผู้ตรวจประเมินและผู้ตรวจประเมิน ซึ่งจะต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร การดำเนินงานสำนักงานสีเขียว และหลักสูตรการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว
         (2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจ ประเมินสำนักงานสีเขียวภายใน สำนักงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
         (3) มีการจัดทำข้อกำหนดการตรวจ ประเมินภายในครอบคลุมทุกหมวด
         (4) กำหนดผู้ตรวจประเมินภายในแต่ละ หมวดมีความเพียงพอและเหมาะสม มีความเป็นอิสระในการตรวจประเมิน อย่างชัดเจน
         (5) การดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน ครบถ้วนทุกหมวด

         สำนักวิทยบริการฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน จากผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “การตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม (Green Office)” ตามคำสั่งที่ 007/2566 โดยมีรายชื่อผู้ตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงาน ต่ออายุและขอยกระดับสำนักงานสีเขียว) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ดังนี้
         1. อาจารย์ปิยวรรณ คุสินธุ์ หัวหน้าการตรวจประเมิน  ตรวจประเมินหมวด 1 และ 6
         2. อาจารย์ ดร.มธุรส  ปราบไพรี ตรวจประเมินหมวด 5
         3. นายสวัสดิ์  อุราฤทธิ์ ตรวจประเมินหมวด 3
         4. นางสาวแขภา  ทองตัน ตรวจประเมินหมวด 4
         5. นางสาวธนพร  ถมเสาร ตรวจประเมินหมวด 2 (1.7.1-1.1)

        สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กำหนดความถี่ในการตรวจประเมิน สำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุและขอยกระดับสำนักงานสีเขียว) (1.7.1-2.1) และได้จัดทำข้อกำหนดการตรวจประเมินสำนักงาน สีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุและขอยกระดับสำนักงานสีเขียว) ครอบคลุมทุกหมวด (1.7.1-3.1) และมีการกำหนดผู้ตรวจประเมินภายในแต่ละหมวดมีความเพียงพอและเหมาะสม มีความเป็นอิสระในการตรวจประเมิน อย่างชัดเจน (1.7.1-4.1)
        สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุและขอยกระดับสำนักงานสีเขียว) ในวันจันทร์ที่ 10 กรกฏาคม 2566 ครบจำนวน 6 หมวด (1.7.1-5.1) และรายงานผลการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงานในการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันจันทร์ ที่ 17 กรฎาคม 2566 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงาน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (1.7.1-6.1) และมีการถ่ายภาพที่แสดงให้เห็นว่าได้มีการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงานจริง (1.7.1-7.1)

(2566) 1.7.1 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.7.1-1.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว.pdf
(2566) 1.7.1-2.1 แผนปฏิบัติการพัฒนาสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2566.pdf
(2566) 1.7.1-3.1 กำหนดการตรวจประเมินภายในสำนักงานสีเขียว.pdf
(2566) 1.7.1-4.1 กำหนดการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน.pdf
(2566) 1.7.1-5.1 การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน.pdf
(2566) 1.7.1-6.1 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว3-2566.pdf
(2566) 1.7.1-7.1 ภาพการดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน.pdf
 1.8.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
         (1) มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม
         (2) มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการดาเนินงานในแต่ละหมวดเข้าร่วมประชุม
         (3) จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้องมากกว่าร้อยละ ๗๕ ของจำนวนผู้ที่เป็นคณะกรรมการสานักงานสีเขียว พร้อมหลักฐานการลงนามเข้าร่วมประชุม
         (4) หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถเข้าร่วมได้ จะต้องมีวิธีการรายงานผลการประชุมให้รับทราบ พร้อมรับข้อเสนอแนะ
            สำนักวิทยบริการฯ มีการประชุมเพื่อทบทวนการบริหาร จัดการสำนักงานสีเขียว ในปี 2566 จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้
            1. ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียวครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงาน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีผู้เข้าร่วมประชุม 15 คน คิดเป็นร้อยละ 100  (1.8.1-1)
           2. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมต้นจัน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีผู้เข้าร่วมประชุม 23 คน คิดเป็นร้อยละ 95.83 (1.8.1-2) 
          3. ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียวครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 17 กรกฏาคม 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงาน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีผู้เข้าร่วมประชุม 14 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33 (1.8.1-3)        
        โดยการประชุมในแแต่ละครั้งจะประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าสำนักงาน และคณะกรรมการดำเนินงาน หมวด 1-6 เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงาน และสำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำ QR CODE ในการการลงนามเข้าร่วมประชุมเพื่อเป็นการประหยัดกระดาษ
       สำหรับบุคลากรที่ไม่ได้เข้าร่วมได้จัดส่งผลการรายงานและข้อเสนอแนะให้ทราบทาง ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (1.8.1-1.4)
 

(2566) 1.8.1 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.8.1-1-รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว16-1-66.pdf
(2566) 1.8.1-2 รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงาน.pdf
(2566) 1.8.1-3 รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว.pdf
(2566) 1.8.1-4 Google Drive แจ้งรายงานการประชุม.pdf
1.8.2 มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารดังนี้
         (1) มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
         (2) วาระที่ 1 การติดตามผลการดาเนินงานปรับปรุงระบบฯที่ผ่านมา
         (3) วาระที่ 2 นโยบายสิ่งแวดล้อม
         (4) วาระที่ 3 ความมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอและความเหมาะสม)
         (5) วาระที่ 4 การติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การสื่อสารและข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา
         (6) วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
         (7) วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม และวิสัยทัศน์ แนวคิดของผู้บริหารของการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวอย่างต่อเนื่อง
         (8) จัดทำรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร และภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ามีการประชุมจริง

       สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดและประชุมทบทวนฝ่ายบริหารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (1.8.2-1.1) ซึ่งการประชุมเป็นไปตามวาระการประชุมที่เกณฑ์สำนักสีเขียวกำหนดและได้จัดทำรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร ดังนี้ 

        1. ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียวครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 ณ ห้อง Micro Teaching สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (1.8.2-2)

         2. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมต้นจัน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (1.8.2-3)               

         3. ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียวครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 17 กรกฏาคม 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงาน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (1.8.2-4) และได้แสดงภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ามีการประชุมจริง ครั้งที่ 1/2566 (1.8.2-5) ครั้งที่ 2/2566 (1.8.2-6) ครั้งที่ 3/2566 (1.8.2-7)


(2566) 1.8.2 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 1.8.2-1.1 แผนปฏิบัติการพัฒนาสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2566.pdf
(2566) 1.8.2-2 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว1-2566.pdf
(2566) 1.8.2-3 รายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 1.8.2-4 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว3-2566.pdf
(2566) 1.8.2-5 ภาพถ่ายการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว1-66..pdf
(2566) 1.8.2-6 ภาพถ่ายการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม2-66.pdf
(2566) 1.8.2-7 ภาพถ่ายการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว3-66..pdf
2.1 การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ
2.2 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่พนักงาน

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
2.1.1 กำหนดแผนการฝึกอบรม ดำเนินการอบรม การประเมินผล และบันทึกประวัติการฝึกอบรม
       (1) ระบุหลักสูตรและความถี่การอบรมลงในแผนการฝึกอบรม โดยหลักสูตรมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
            1.1 ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว
            1.2 การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
            1.3 การจัดการมลพิษและของเสีย
            1.4 การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
            1.5 ก๊าซเรือนกระจก
        (2) ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมในข้อ (๑) โดยผู้รับการอบรมจะต้องมากกว่าร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละหลักสูตร
        (3) ประเมินผลการฝึกอบรม เช่น ข้อสอบ ประเมินขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น
        (4) จัดทำประวัติการอบรมของพนักงาน
         สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566 (2.1.1-1) โดยมีผู้รับผิดชอบคือนางสาวแขนภา ทองตัน ตามคำสั่งที่ 005/2566 ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2566  ทั้งนี้ ในปี 2566 ได้ดำเนินการจัดทำแผนทั้งหมด 5 หลักสูตร ดังนี้
         1. ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว
         2. การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
         3. การจัดการมลพิษและของเสีย
         4. การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
         5. ก๊าซเรือนกระจก
 
         สำนักวิทยบริการฯได้ดำเนินการจัดอบรมไปแล้วทั้งสิ้น 6 หลักสูตร ได้แก่
         2.1 หลักสูตร "สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" อบรมรูปแบบออนไลน์ (e-learning ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม) มีบุคลากรเข้าอบรมทั้งสิ้น 21 คน ผ่านการอบรม 21 คน ได้มีการวัดความรู้ ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.75/20 คิดเป็นร้อยละ 58.75 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.04/20 คิดเป็นร้อยละ 80.21 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ 
        2.2 หลักสูตร "การจัดการมลพิษและของเสีย" อบรมเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 มีบุคลากรเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 24 คน ผ่านการอบรม 24 คน ได้มีการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.58/20 คิดเป็นร้อยละ 57.91 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.42/20 คิดเป็นร้อยละ 92.08 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น
        2.3 หลักสูตร "แนวทางในการอนุรักษ์พลังงานตามหลัก 3อ" อบรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 มีบุคลากรเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 24 คน ได้มีการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.71/20 คิดเป็นร้อยละ 43.54 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.71/20 คิดเป็นร้อยละ 93.54 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น
        2.4 หลักสูตร "กลไกสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการไทย" อบรมเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น.  รูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom โดยบริษัท เอเบิล คอนซัลแตนท์ มีบุคลากรเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 24 คน ได้มีการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.29/20 คิดเป็นร้อยละ 66.45 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.04/20 คิดเป็นร้อยละ 95.2 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น
        2.5 หลักสูตร "แนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว" อบรมเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 เวลา 08.30 - 16.30 น.  รูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom โดยบริษัท เอเบิล คอนซัลแตนท์ มีบุคลากรเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 24 คน ได้มีการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13/20 คิดเป็นร้อยละ 65 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.67/20 คิดเป็นร้อยละ 83.35 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น       
        2.6 หลักสูตร "ก๊าซเรือนกระจก และการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" อบรมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566 มีบุคลากรเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 23 คน ได้มีการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.22/20 คิดเป็นร้อยละ 66.10 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.96/20 คิดเป็นร้อยละ 94.80 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น
       
        สำนักวิทยบริการฯ ได้สรุปผลการประเมินการอบรม มีผู้ผ่านการอบรมเฉลี่ยร้อยละ 96.53 และมีการประเมินความรู้ก่อนการอบรม เฉลี่ยร้อยละ 61.03 และหลังการอบรม เฉลี่ยร้อยละ 91.78  (2.1.1-2) และได้มีการจัดทำทะเบียนประวัติการอบรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมครบทั้ง 5 หลักสูตรตามแผน (2.1.1-3)
       
        และเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 อบรมการเป็นผู้ตรวจประเมินสํานักงานสีเขียว (Green Office Auditor) จำนวน 7 คน คือ อาจารย์ปิยวรรณ คุสินธุ์ อาจารย์ ดร.มธุรส ปราบไพรี นายสัญญา ธีรเดชอุปถัมภ์ นางนงลักษณ์ พหุพันธ์ นายสวัสดิ์ อุราฤทธิ์ นางสาวแขนภา ทองตัน และนางสาวธนพร ถมเสาร และมีการสอบเพื่อเป็นผู้ตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว วันที่ 28 เมษายน 2566 มีผู้ผ่านการสอบจำนวน 5 คน ดังนี้ (2.1.1-4)
        1. อาจารย์ปิยวรรณ คุสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ
        2. อาจารย์ ดร.มธุรส ปราบไพรี รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ
        3. นายสวัสดิ์ อุราฤทธิ์ บรรณารักษ์ ชำนาญการ
        4. นางสาวแขนภา ทองตัน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ปฏิบัติการ
        5. นางสาวธนพร ถมเสาร นักบริหารงานทั่วไป ปฏิบัติการ
       
          นอกจากการพัฒนาตนเองตามแผนการอบรมทักษะความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2566 แล้ว บุคลากรของสำนักฯ ยังได้เข้าร่วมการประชุม อบรม สัมมนากับหน่วยงานภายนอกด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย (2.1.1-5)

(2566) 2.1.1 ผลการดำเนินงาน ปี 2566.pdf
(2566) 2.1.1-1 แผนการอบรมทักษะความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2566.pdf
(2566) 2.1.1-3 ทะเบียนประวัติการอบรมของบุคลากร ปี 2566.pdf
(GO-2566) 2.1.1-2 สรุปผลการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2566.pdf
(GO-2566) 2.1.1-4 ผลการประเเมินเป็นผู้ตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว ปี 2566.pdf
(GO-2566) 2.1.1-5 สรุปประวัติการอบรมของบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2566.pdf
2.1.2 กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการอบรมแต่ละหลักสูตรมีความเหมาะสม
         (1) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องเข้าใจเนื้อหาในการอบรม
         (2) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมีหลักฐานแสดงความสามารถ เช่น ใบรับรองจากหน่วยงานภายนอก ประวัติ ประสบการณ์
     สำนักฯ ได้จัดทำแผนการอบรมความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจาปี 2566 จำนวน 5 หลักสูตร ซึ่งได้ดำเนินการจัดอบรมแล้วจำนวน 3 หลักสูตร ตั้งแต่เดือน มกราคม 2566 - มีนาคม 2566 ได้แก่
     1. หลักสูตร "สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" อบรมรูปแบบออนไลน์ (e-learning ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม) (2.1.2-1)
     2. หลักสูตร "การจัดการมลพิษและของเสีย" อบรมเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาพร ยอดสันติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2.1.2-2)
     3. หลักสูตร "แนวทางในการอนุรักษ์พลังงานตามหลัก 3 อ" อบรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 วิทยากร อาจารย์ปองพล รักการงาน อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (2.1.2-3)
     4. หลักสูตร "กลไลสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการไทย" อบรมเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น.  รูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom วิทยากร ดร.พรพิมล วิญญูชาคริต หน่วยวิจัยพลังงานที่ยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นางสาวบุษบงกช ดีวาจา บริษัท แอดเวนเทจ คอนซัลติ้ง จำกัด นายจตุพร ธรรมเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์พลังงานและอาคารเขียว นายพยุงศักดิ์ บุญสิทธิ์ บริษัท เอเบิล คอนซัลแตนท์ จำกัด และนายปวงวิทย์ สนเลม็ด ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม (2.1.2-4)
     5. หลักสูตร "แนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว" อบรมเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 เวลา 08.30 - 16.30 น.  รูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom โดยบริษัท เอเบิล คอนซัลแตนท์ วิทยากร ดร.ธายุกร พระบำรุง ดร.พรพิมล วิญูญูชาคริต นางสาวงามนิจ อนุศาสนี นายจตุพร ธรรมเจริญ และนายพยุงศักดิ์ บุญสิทธิ์ (2.1.2-5)
     6. หลักสูตร "ก๊าซเรือนกระจก และการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" อบรมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566 เวลา 08.30 - 16.30 น. วิทยากร คุณปวงวิทย์ สนเลม็ด (2.1.2-6)

(2566) 2.1.2 ผลการดำเนินงาน ปี 2566.pdf
(2566) 2.1.2-1 e-learning กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 2.1.2-2 ประวัติวิทยากร ผศ.ดร.ปัทมาพร ยอดสันติ.pdf
(2566) 2.1.2-3 ประวัติวิทยากร อาจารย์ปองพล รักการงาน.pdf
(2566) 2.1.2-4 ประวัติวิทยากร-กลไลสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 2.1.2-5 ประวัติวิทยากร-แนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว-26042566.pdf
(2566) 2.1.2-6 ประวัติวิทยากร คุณปวงวิทย์ สนเลม็ด.pdf
2.2.1 มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน
         (1) กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสารอย่างน้อย ดังนี้
             1.1 นโยบายสิ่งแวดล้อม
             1.2 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและการจัดการ
             1.3 การปฏิบัติตามกฎหมาย
             1.4 ความสะอาดและความเป็นระเบียบ (5ส.)
             1.5 เป้าหมายและมาตรการพลังงาน-ทรัพยากร (ได้แก่น้ำ ไฟฟ้า น้ามันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม กระดาษ และอื่นๆ)
             1.6 เป้าหมายและมาตรการจัดการของเสีย
             1.7 ผลการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย
             1.8 สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
             1.9 ก๊าซเรือนกระจก
         (2) กำหนดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร (ไม่จำกัดจำนวนช่องทาง)
         (3) กำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร (ผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน)
         (4) กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร

          สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2566 โดยมีผู้รับผิดชอบคือ นายวิโนจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา จำนวน 9 หัวข้อ และได้กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสาร ดังนี้ (2.2.1-1)
             ๑. นโยบายสิ่งแวดล้อม
             ๒. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและการจัดการ
             ๓. การปฏิบัติตามกฎหมาย
             ๔. ความสะอาดและความเป็นระเบียบ (5ส.)
             ๕. เป้าหมายและมาตรการพลังงาน-ทรัพยากร (ได้แก่น้ำ ไฟฟ้า น้ามันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม กระดาษ และอื่นๆ)
             ๖. เป้าหมายและมาตรการจัดการของเสีย
             ๗. ผลการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย
             ๘. สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
             ๙. ก๊าซเรือนกระจก

           สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงานที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร ได้แก่ (2.2.1-2)

             1. ประชุมชี้แจง
             2. เว็บไซต์GreenOffice
             3. กลุ่มFacebook ARIT Staff
             4. messenger greenlib
             5. morningtalk
             6. จออิเล็กทรอนิกส์
             7. บอร์ดประชาสัมพันธ์ 
             8. Facebookสำนักฯ
             9. เว็บไซต์GreenOffice
             10. Line@ บุคลากรมหาวิทยาลัย

          สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน ให้เกิดการรับรู้และรับทราบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (2.2.1-3)

              1. กลุ่มเป้าหมาย ภายใน คือ ผู้บริหารและบุคลากรสำนักฯ

              2. กลุ่มเป้าหมาย ภายนอก คือ ผู้ใช้บริการห้องสมุด (นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร มรภ.พบ. ศิษย์เก่าและบุคคลภายนอก)

          สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร/รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม คือ นางสาวสิริรัตน์ เดชเพชร นักวิชาการศึกษา นายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา นางสาวแขนภา ทองตัน นักวิชาการคอมพิวเตอร์  ตามคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ ๐๐๕/๒๕๖๖ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ประจำปี ๒๕๖๖ (2.2.1-4)

          


(2566) 2.2.1 - 1.1 แผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2566.pdf
(2566) 2.2.1-1.2 ช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก 2566.pdf
(2566) 2.2.1-1.3 กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม 2566.pdf
(2566) 2.2.1-4. คำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร.pdf
2.2.2 มีการรณรงค์และให้ความรู้ตามที่กำหนดในข้อ 2.2.1
        สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำสื่อด้านสิ่งแวดล้อมและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน โดยมีผู้รับผิดชอบคือ นายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา เพื่อการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนมิถุนายน 2566 จำนวน 37 ชิ้นงาน(2.2.2-1.1) แยกเป็นประเภทต่างๆดังนี้
          - ประเภทสื่อวีดีทัศน์สิ่งแวดล้อม 6  ชิ้นงาน (2.2.2-1.2)
          - ประเภทสื่อPoster/Infographic   20 ชิ้นงาน (2.2.2-1.3)
          

(2566) 2.2.2-1 ผลการดำเนินงาน ปี 2566.pdf
(2566) 2.2.2-1.1 สรุปการจัดป้ายการสื่อสารรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 2566...pdf
(2566) 2.2.2-1.2 ประเภทสื่อวีดีทัศน์ 2566.pdf
(2566) 2.2.2-1.3 ประเภทสื่อโปสเตอร์ อินโฟกราฟิก 2566.pdf
2.2.3 ร้อยละความเข้าใจนโยบายสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (สุ่มอย่างน้อย 4 คน) โดยจะต้องสอบถามพนักงานแต่ละคนอย่างน้อยตามข้อ 2.2.1(1)
สำนักวิทยบริการฯ สร้างความเข้าใจในด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม โดยได้ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อสร้างความเข้าใจสำหรับบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ จำนวน 24 คน คิดเป็น ร้อยละ 100 เรื่องนโยบายสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว  ตามช่องทางต่างๆต่อไปนี้
        1. ห้องประชุมภายในสำนักงานผู้อำนวยการ (2.2.3-1)
        2. เว็บไซต์ Green office & Green library (2.2.3-2)
        3. เพจ facebook : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (2.2.3-3)
        4. มุมพลังงานและสิ่งแวดล้อม (2.2.3-4)      
        5. ช่องทางสนทนากลุ่ม messenger: Lib pbru Staff , Green Lib, Arit Staff สำหรับการสื่อสารภายในหน่วยงานเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (2.2.3-5)

(2566) 2.2.3 ผลการดำเนินงาน ปี 2566.pdf
(2566) 2.2.3-1 ห้องประชุมภายในสำนักงานผู้อำนวยการ.pdf
(2566) 2.2.3-2 เว็บไซต์ Green office & Green library.pdf
(2566) 2.2.3-3 เพจ facebook สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.pdf
(2566) 2.2.3-4 มุมพลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 2.2.3-5 ช่องทางสนทนากลุ่ม messenger Lib pbru Staff.pdf
2.2.4 มีช่องทางรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม และนำมาปรับปรุงแก้ไข โดยต้องมีแนวทางดังนี้
        (1) มีช่องทางเพื่อรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ไลน์ QR Code การประชุม เว็บไซต์
        (2) มีผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น
        (3) มีการแสดงข้อเสนอแนะด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการ
        (4) มีการรายงานข้อเสนอแนะและการจัดการแก่ผู้บริหาร (บรรยายให้เหมาะสม)
        สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำช่องทางการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อมในรูปแบบออนไลน์จากผู้รับบริการ และนำมาปรับปรุงแก้ไข 5 ช่องทาง ได้แก่
         รูปแบบออนไลน์ ได้แก่
             - หน้าเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการฯ https://arit.pbru.ac.th/webarit/ และสายตรงผู้บริหาร(2.2.4-1.1 แขนภา ทองตัน)
             - เพจ Facebook : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (แขนภา ทองตัน)
             - Line @ : @944tkcpj (2.2.4-1.3 แขนภา ทองตัน) 
             - Facebook : Lib Pbru (2.2.4-1.4 แขนภา ทองตัน)
             - e mail : library_office@mail.pbru.ac.th (2.2.4-1.5 แขนภา ทองตัน)      
             - ช่องทาง รับข้อเสนอแนะด้านสิ่งแวดล้อมด้วย QR Code โดยใช้ Google Form (2.2.4-1.6 แขนภา ทองตัน)
          สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำช่องทางการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อมในรูปแบบออนไซต์จากผู้รับบริการ และนำมาปรับปรุงแก้ไข 2 จุด  ได้แก่
             - กล่องรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม ติดตั้งอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการยืม - คืนทรัพยากร ชั้น 1(2.2.4-2.1. ธนพร ถมเสาร)
             - กล่องรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม ติดตั้งอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการยืม - คืนวารสารและหนังสือพิมพ์ ชั้น 2 (2.2.4-2.2 อัจฉราพร เลี้ยงอยู่)
          สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น คือ นางสาวสิริรัตน์ เดชเพชร นักวิชาการศึกษา (2.2.4-3.1)  ตามคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ ๐๐๕/๒๕๖๖ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ประจำปี ๒๕๖๖
           สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จัดทำ Flowchart แนวทางการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม และขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข มีช่องทางการรับข้อเสนอแนะ (2.2.4-4.1) ในปี 2566 ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของ สำนักวิทบบริการฯ ไม่พบข้อร้องเรียนหรือข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม

(2566) 2.2.4-1 ผลการดำเนินงาน ปี 2566.pdf
(2566) 2.2.4-1.1 หน้าเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการฯ และสายตรงผู้บริหาร.pdf
(2566) 2.2.4-1.2 เพจ Facebook  สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุ.pdf
(2566) 2.2.4-1.3 Line official ของสำนักวิทยบริการฯ.pdf
(2566) 2.2.4-1.4 Facebook  Lib Pbru.pdf
(2566) 2.2.4-1.5 e mail library_office@mail.pbru.ac.t.pdf
(2566) 2.2.4-1.6 ช่องทางรับข้อเสนอแนะด้านสิ่งแวดล้อม(แบบฟอร์มออนไลน์)-2566.pdf
(2566) 2.2.4-2.1 กล่องรับข้อเสนอแนะ ชั้น 1.pdf
(2566) 2.2.4-2.2 กล่องรับข้อเสนอแนะ ชั้น 2.pdf
(2566) 2.2.4-3.1 กำหนดผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ.pdf
(2566) 2.2.4-4.1 Flowchart แสดงขั้นตอนการรับข้อเสนอแนะ ข้อร้องเรียน.pdf
3.1 การใช้น้ำ
3.2 การใช้พลังงาน
3.3 การใช้ทรัพยากรอื่นๆ
3.4 การประชุมและการจัดนิทรรศการ

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
3.1.1 มาตรการหรือแนวทางใช้น้ำมีความเหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
         (1) การสร้างความตระหนักในการใช้น้ำ
         (2) การกำหนดเวลาการใช้น้ำ เช่น เวลารดน้ำต้นไม้ เป็นต้น
         (3) การกำหนดรูปแบบการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่
         (4) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดน้ำ

          สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการกำหนดมาตรการการใช้น้้ำให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ หมั่นบำรุงรักษาตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ นำน้ำที่เหลือจากการอุปโภคบริโภคกลับมาใช้ใหม่ ดังนี้ (3.1.1)

         1. รณรงค์ด้วยการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ สร้างจิตสำนึก เรื่องการใช้น้ำอย่างประหยัด (3.1.1-1.1)

         2. ปิดวาล์วน้ำ ก๊อกน้ำหรืออุปกรณ์การใช้น้ำทุกชนิดให้สนิทหลังการใช้งาน ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้เมื่อไม่ได้ใช้งาน (3.1.1-1.2)

         3. กรณีชักโครกรุ่นเก่าให้นำน้ำบรรจุในขวดพลาสติกนำไปไว้ในถังน้ำชักโครก ในการชะล้างแต่ละครั้ง (3.1.1-1.3)

         4. นำน้ำที่เหลือจากการดื่มหรือน้ำที่ใช้ล้างภาชนะเป็นน้ำสุดท้าย ให้นำกลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ในอาคาร (3.1.1-1.4)

         5. การรดน้ำต้นไม้ให้ใช้สปริงเกิลหรือฝักบัว กำหนดให้รดน้ำต้นไม้ เวลา 06.00-08.00 น. ทั้งนี้ให้ดูความเหมาะสมว่าควรรดน้ำหรือไม่ ยกเว้นฤดูฝนหรือวันที่มีฝนตก (3.1.1-1.5)

         6. ตรวจสอบอุปกรณ์และใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ เดือนละ 1 ครั้ง หากพบเห็นอุปกรณ์ ระบบประปาชำรุดให้แจ้งหน่วยงานอาคารสถานที่เพื่อซ่อมบำรุงทันที (3.1.1-1.6)

         7. จดบันทึกปริมาณการใช้น้ำจากมิเตอร์วัดน้ำทุกเดือน และเปรียบเทียบการใช้น้ำต่อจำนวนบุคลากรและผู้ใช้บริการ เดือนละครั้ง (3.1.1-1.7)

         8. เลือกสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำและใช้หัวก๊อกน้ำที่มีอุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของน้ำ (ให้เปลี่ยนเมื่อมีการชำรุด) (3.1.1-1.8)

นอกจากนี้ สำนักวิทยบริการฯยังมีการกำหนด มีการกำหนดเวลาในการใช้น้ำ เช่น การรดน้ำต้นไม้เพื่อให้ผู้ปฏิบัติดูแลการรดน้ำต้นไม้ในพื้นที่ของสำนักวิทยบริการฯ(3.1.1-2) รวมถึงการมีการกำหนดรูปแบบการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่(3.1.1-3)และการเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดน้ำ เช่นการใช้โถปัสสำวะผ่านระบบเซ็นเซอร์ การใช้สปริงเกอร์รดน้ำต้นไม้(3.1.1-4) เพื่อเป็นการประหยัดน้ำไปอีกทางหนึ่งด้วย


(2566) 3.1.1 ผลการดำเนินงาน ปี 2566.pdf
(2566) 3.1.1 มาตรการหรือแนวทางใช้น้ำเหมาะสมกับสำนักงาน.pdf
(2566) 3.1.1-1.1 รณรงค์ด้วยการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ สร้างจิตสำนึก.pdf
(2566) 3.1.1-1.2 ปิดวาล์วน้ำ ก๊อกน้ำหรืออุปกรณ์การใช้น้ำทุกชนิดให้สนิทหลังการใช้งาน.pdf
(2566) 3.1.1-1.4 นำน้ำที่เหลือจากการดื่มหรือน้ำที่ใช้ล้างภาชนะเป็นน้ำสุดท้าย.pdf
(2566) 3.1.1-1.5 การรดน้ำต้นไม้ให้ใช้สปริงเกิลหรือฝักบัว.pdf
(2566) 3.1.1-1.6 มีการตรวจสอบอุปกรณ์.pdf
(2566) 3.1.1-1.7 มีการจดบันทึกปริมาณการใช้น้ำจากมิเตอร์วัดน้ำทุกเดือน.pdf
(2566) 3.1.1-1.8 เลือกสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำและใช้หัวก๊อกน้ำที่มีอุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของน้ำ.pdf
(2566) 3.1.1-2 การกำหนดเวลาการใช้น้ำ เช่น เวลารดน้ำต้นไม้.pdf
(2566) 3.1.1-3 การกำหนดรูปแบบการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่.pdf
(2566) 3.1.1-4 การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดน้ำ.pdf
(GO-2566) 3.1.1-1.3 การนำน้ำบรรจุในขวดพลาสติกนำไปไว้ในถังน้ำชักโครก.pdf
3.1.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วย
         (3) บรรลุเป้าหมาย
         (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วย
         (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น

           สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดกิจกรรมการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียว ตั้งแต่การกำหนดมาตรการการใช้ทรัพยากรน้ำและค่าเป้าหมายการใช้พลังงานและทรัพยากร (3.2.1) รวมถึงการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ทรัพยากรน้ำ การตรวจสอบอุปกรณ์น้ำ การรายงานผลการใช้ทรัพยากรน้ำและการเปรียบเทียบค่าเป้าหมายในการใช้น้ำในแผนปฏิบัติการสำนักงานสีเขียว ปี พ.ศ. 2566 มีผลการใช้น้ำตั้งแต่เดือน มกราคม - เดือน มิถุนายน โดยกำหนดให้ปี พ.ศ. 2565 (เป็นปีฐาน) ในปี พ.ศ. 2563-2566 ดังนี้ (3.1.2-1.1), (3.1.2-2.1)
           ปี พ.ศ. 2563 มีปริมาณการใช้น้ำ 1,400 ลบ.ม. ลดลงจากปี พ.ศ. 2562 ในปี 2562 ไม่สามารถนำมาคำนวณได้เนื่องจากเกิดการคลาดเคลื่อนของตัวเลขของมิเตอร์น้ำ
           ปี พ.ศ. 2564 มีปริมาณการใช้น้ำ 1,363 ลบ.ม. ลดลงจากปี พ.ศ. 2563 จำนวน 37 ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 2.64 บรรลุค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 0.1 
           ปี พ.ศ. 2565 มีปริมาณการใช้น้ำ 1,185 ลบ.ม. ลดลงจากปี พ.ศ. 2564 จำนวน 178 ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 13.05บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 0.1 (เป็นปีฐาน)
           ปี 2566 สำนักวิทยบริการฯ มีการใช้น้ำทั้งหมด 3,069 ลูกบาศก์เมตร เฉลี่ยต่อผู้ใช้จำนวน 11,626 คน  คิดเป็น 0.26 ลูกบาศก์เมตรต่อคน ในปี 2565 มีการใช้น้ำทั้งหมด จำนวน 1,185 ลูกบาศก์เมตร เฉลี่ยต่อผู้ใช้จำนวน 4,088 คน คิดเป็น 0.28 ลูกบาศก์เมตรต่อคน  เมื่อเทียบปริมาณการใช้น้ำระหว่างปี 2566 กับ ปี 2565 พบว่ามีปริมาณการใช้น้ำที่ลดลง จำนวน 0.02 ลูกบาศก์เมตรต่อคน คิดเป็นร้อยละ 5.61 ซึ่งไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด คือ ร้อยละ 10 ของปี 2566

การวิเคราะห์สาเหตุที่ไม่บรรลุตามเป็นหมาย (3.1.2-3.1)

  1. มีจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้นทำให้ปริมาณการใช้น้ำจึงเพิ่มมากตามขึ้นไปด้วย
  2. อุปกรณ์ในหน่วยงานบางจุดยังไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ที่ช่วยในการประหยัดน้ำ
  3. ขาดการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
  4. ขาดการตรวจสอบอุปกรณ์ ปั้มน้ำ ท่อน้ำและแนวการวางท่อน้ำที่รั่วซึมของน้ำ
แนวทางการแก้ไข
  1. ควรมีการรณรงค์ให้ผู้ใช้บริการและพนักงานตระหนักถึงการใช้น้ำอย่างประหยัด
  2. ควรมีการปรับเปลี่ยนและติดตั้งอุปกรณ์ที่ช่วยในการประหยัดน้ำให้ทั่วถึงในพื้นที่ต่างๆของสำนักวิทยบริการฯ
  3. มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
  4. มีการกำหนดให้บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ มีการตรวจสอบอุปกรณ์ ปั้มน้ำ ท่อน้ำและแนวการวางท่อน้ำทุกเดือน
 
 

(2566) 3.1.2 ผลการดำเนินงาน ปี 2566.pdf
(2566) 3.1.2-1.1 มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำในแต่ละเดือน.pdf
(2566) 3.1.2-2.1 มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วย.pdf
(2566) 3.1.2-3.1 การจัดทำข้อมูลการใช้น้ำต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย-66.pdf
(2566) 3.2.1 เป้าหมายการใช้พลังงานและทรัพยากรปี-66.pdf
3.1.3 ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการประหยัดน้ำในพื้นที่ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)
           บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ การดำเนินตามมาตรการประหยัดน้ำในพื้นที่ทำงาน อย่างต่อเนื่อง

(2566) 3.1.3 ผลการดำเนินงาน ปี 2566.pdf
3.2.1 มาตรการหรือแนวทางใช้ไฟฟ้าเหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
        (1) การสร้างความตระหนักในการใช้ไฟฟ้า
        (2) การกาหนดเวลาการใช้ไฟฟ้า เช่น เวลาการเปิด-ปิด เป็นต้น
        (3) การใช้พลังงานทดแทน
        (4) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า

          สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีนโยบาย การพัฒนา สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ให้เป็น Green University ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมุ่งเน้นการจัดการสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องการประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และการสร้างความตระหนักรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานให้เกิดกับบุคลากรในทุกฝ่าย/งาน ตลอดจนถึง ผู้ใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ สำนักวิทยบริการฯ 
          ทั้งนี้สำนักวิทยบริการฯได้ประกาศมาตรการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ประจำปี พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 มาตราการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่ 7 ตามมาตราการด้านการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า (3.2.1-1) ดังนี้ 
          7.1. มาตรการการใช้ไฟฟ้า
              1. ใช้แสงธรรมชาติ รณรงค์ให้เปิดผ้าม่าน 3.2.1-1.1
              2. ปิดไฟทุกครั้งเมื่อช่วงพักกลางวัน เวลา 12.00 – 13.00 น. 3.2.1-1.2
              3. รณรงค์ให้ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกใช้งาน 3.2.1-1.3
         7.2 มาตรการการใช้เครื่องปรับอากาศ
             1. เปิดและปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลา 30 นาที โดยปรับตั้งอุณหภูมิ 25-27 องศาเซลเซียส 3.2.1-1.4
             2. ทำความสะอาดซิลเลอร์และช่องส่งลมเย็น ทุก 6 เดือน 3.2.1-1.5
        7.3 มาตรการการใช้ลิฟต์
            1. รณรงค์ให้ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์ 3.2.1-1.6
            2. ใช้ลิฟต์ร่วมกันครั้งละหลาย ๆ คน 3.2.1-1.7
            3. ดูแลรักษาและซ่อมบำรุง เดือนละ 1 ครั้ง 3.2.1-1.8

                 ทั้งนี้สำนักวิทยบริการฯยังมีการใช้พลังงานทดแทน  โดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการติดตั้งไฟส่องสว่ำงที่ใช้ พลังงานจากแสงอาทิตย์บริเวณภายนอกของอาคารและจะทำงานในเวลากลางคืน 3.2.1.3 รวมถึงการเปลี่ยนอุปกรณืประหยัดไฟฟ้า โดยมีการดำเนินการเปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นหลอดไฟชนิด LED เพื่อช่วยให้ประหยัดพลังงาน 3.2.1-4


(2566) 3.2.1 ผลการดำเนินงาน ปี 2566.pdf
(2566) 3.2.1-1 มาตรการหรือแนวทางใช้ไฟฟ้ามีความเหมาะสมกับสำนักงาน.pdf
(2566) 3.2.1-1.1 การใช้แสงธรรมชาติ รณรงค์ให้เปิดผ้าม่าน.pdf
(2566) 3.2.1-1.2 ปิดไฟทุกครั้งเมื่อช่วงพักกลางวัน เวลา 12.00 – 13.00 น..pdf
(2566) 3.2.1-1.3 รณรงค์ให้ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกใช้งาน.pdf
(2566) 3.2.1-1.4 รณรงค์ปรับตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ 25-27 องศาเซลเซียส.pdf
(2566) 3.2.1-1.5 ทำความสะอาดซิลเลอร์และช่องส่งลมเย็น ทุก 6 เดือน.pdf
(2566) 3.2.1-1.6 รณรงค์ให้ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์.pdf
(2566) 3.2.1-1.7 รณรงค์ใช้ลิฟต์ร่วมกันครั้งละหลาย ๆ คน.pdf
(2566) 3.2.1-1.8 ดูแลรักษาและซ่อมบำรุงลิฟต์ เดือนละ 1 ครั้ง.pdf
(2566) 3.2.1-2 การกำหนดเวลาการใช้ไฟฟ้า.pdf
(2566) 3.2.1-3 การใช้พลังงานทดแทน.pdf
(2566) 3.2.1-4 การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า.pdf
3.2.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย
         (3) บรรลุเป้าหมาย
         (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย
         (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจานวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น

          สำนักวิทยบริการฯ มีการใช้พลังงานหลายชนิด ทั้งในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้าและการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในสำนักงาน แต่จะมีปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าวมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายปัจจัยรวมถึงลักษณะของกิจกรรมต่างๆ ดังนั้น สำนักวิทยบริการฯ จึงต้องกำหนดมาตรการในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า การกำหนดเวลาเปิด-ปิด การติดป้ายรณรงค์และให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานแก่บุคลากรและผู้ใช้บริการ รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

          ในการนี้สำนักวิทยบริการฯ จึงต้องเก็บข้อมูลการใช้พลังงานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิจารณาปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าว และจะต้องควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรการของสำนักวิทยบริการฯ ด้วย พร้อมทั้งมีการมอบหมายให้บุคลากร นายณฐกฤตย์ นวมงาม นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ จดบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน และรวบรวมจัดทำเป็นสถิติแต่ละปี (3.2.2-1) รวมถึงการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย (3.2.2-2) เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์และปริมาณการใช้ไฟฟ้าของสำนักวิทยบริการฯ

       ปี 2566 สำนักวิทยบริการฯ มีการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 127,721 (Kwh) เฉลี่ยต่อผู้ใช้จำนวน 11,626 คน  คิดเป็น 0.57 (Kwh: คน) ส่วนในปี 2565 มีการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด จำนวน 74,580 (Kwh) เฉลี่ยต่อผู้ใช้จำนวน 4,212 คน คิดเป็น 0.35 (Kwh:คน) เมื่อเทียบปริมาณการใช้ไฟฟ้าระหว่างปี 2566 กับ ปี 2565 พบว่ามีปริมาณการใช้ที่เพิ่มขึ้น จำนวน 0.21 (Kwh:คน) คิดเป็นร้อยละ 60.54  ซึ่งไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดในปี 2566 คือ ร้อยละ 30 ซึ่งมีปี 2565 เป็นฐานการคำนวณ

          สาเหตุการใช้ไฟฟ้าและแนวทางแก้ไข (3.2.2-3.1) ดังนี้

          1. มีปริมาณของผู้ใช้บริการทั้งปี 2566 เพิ่มขึ้นจาก ปี 2565 จำนวน  7,414 คน

          2. พื้นที่ปฏิบัติงานชั้น 6 ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม มีอุปกรณ์แอร์ชำรุดที่ไม่สามารถใช้ได้ และมีกระแสไฟฟ้าทำงานผิดปกติ ทำให้พลังงานไฟฟ้าไม่คงที่ ซึ่งได้มีการแก้ไขปรับปรุงโดยเปลี่ยนแอร์จำนวน 2 ตัว และหน่วยงานกายภาพของมหาวิทยาลัยได้มาตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข เปลี่ยนอุปกรณ์เกี่ยวกับการทำงานของกระแสไฟฟ้า

          3. สภาพอากาศในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม มีอุณหภูมิค่อนข้างสูงส่งผลให้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น

          4. เครื่องปรับอากาศชั้น 3, 4, 5 ของอาคารบรรณราชนครินทร์ มีชำรุดและเสื่อมสภาพ ทำให้ระบบการทำงานของเครื่องปรับอากาศในพื้นที่อื่นที่ปกติทำงานหนักส่งผลให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

 


(2566) 3.2.2 -3.1 การจัดทำข้อมูลการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย-66.pdf
(2566) 3.2.2 ผลการดำเนินงาน ปี 2566.pdf
(2566) 3.2.2 เป้าหมายการใช้พลังงานและทรัพยากรปี-66.pdf
(2566) 3.2.2-1 มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน.pdf
(2566) 3.2.2-2 มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย.pdf
3.2.3 ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการประหยัดไฟฟ้าในพื้นที่ทำงาน

บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ การดำเนินตามมาตรการประหยัดการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ทำงาน อย่างต่อเนื่อง


(2566) 3.2.3 ผลการดำเนินงาน ปี 2566.pdf
3.2.4 มาตรการหรือแนวทางการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางที่เหมาะสมกับสำนักงาน ดำเนินการดังนี้
         (1) การสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
         (2) การวางแผนการเดินทาง
         (3) การซ่อมบำรุงดูแลยานพาหนะ
         (4) การใช้จักรยานหรือขนส่งสาธารณะมาทำงาน

          สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดมาตรการการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้ 
          1.ให้ความรู้เรื่องการประหยัดเชื้อเพลิง รวมทั้งสร้างจิตสำนึกในการประหยัดเชื้อเพลิงและรณรงค์ ประชาสัมพันธ์
          2. ลดการใช้พาหนะส่วนตัว หากไปในทางเดียวกันหรือเลาใกล้เคียงกันควรใช้พาหนะร่วมกัน โดยกำหนดเส้นทางและวางแผนการเดินทางก่อนทุกครั้ง
          3. การติดต่อประสานงานภายในมหาวิทยาลัย ให้ใช้รถไฟฟ้าในการเดินทางหรือเดินในกรณีที่ระยะทางไม่ไกล มากนัก
          4. การเดินทางไปราชการคนเดียว ให้เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง
          5. การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ให้ใช้รถราชการ
          6. ขับรถไม่เกินความเร็วสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ เส้นทางธรรมดา 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางด่วน 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางมอเตอร์เวย์ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
          7. จัดทำทะเบียนคุมการใช้รถยนต์และทำสถิติการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ทุกเดือน

          โดยมีการประกาศมาตรการดังกล่าวผ่านช่องทางการสื่อสารผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์ เว็บไซด์ของสำนักวิทยบริการฯ การจัดทำป้ายความรู้เกี่ยวกับการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงการวางแผนเดินทาง โดยการเดินทางไปด้วยกันหรือการเดินทางโดยใช้พาหนะขนส่งแบบประหยัดพลังงาน (รถไฟฟ้า) ของมหาวิทยาลัย(3.2.4-1.1)

          สำนักวิทยบริการฯ ได้ปฏิบัติตามมาตรการหรือแนวทางการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางที่เหมาะสมกับสำนักงาน โดยการเดินทางไปราชการคนเดียว ให้เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางการหรือเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ให้ใช้รถราชการและทางเดียวกันไปด้วยกัน (3.2.4-2.1)

          สำนักวิทยบริการฯ ไม่มียานพาหนะเป็นของหน่วยงาน จึงไม่ได้ดำเนินการในมาตรการซ่อมบำรุงดูแลยานพาหนะ 

          สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินมาตการหรือแนวทางการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางที่เหมาะสมกับสำนักงาน โดยการใช้จักรยานในการเดินทาง รับส่งเอกสารภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี การใช้รถยนต์ไฟฟ้าในการเดินทางรับส่งเอกสารและติดต่อหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (3.2.4-4.1)

         


(2566) 3.2.4 ผลการดำเนินงาน ปี 2566.pdf
(2566) 3.2.4-1.1 มาตรการหรือแนวทางการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง2566.pdf
(2566) 3.2.4-2.1 การวางแผนการเดินทาง.pdf
(2566) 3.2.4-4.1 การใช้จักรยานหรือขนส่งสาธารณะมาทำงาน.pdf
3.2.5 มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วย
        (3) บรรลุเป้าหมาย
        (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย เปรียบเทียบต่อพื้นที่ หรือเปรียบเทียบต่อระยะทาง เป็นต้น
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ามันเชื้อเพลิงต่อหน่วย
        (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม
          สำนักวิทยบริการฯ มีการเก็บข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทุกเดือนและข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วย ในปี พ.ศ. 2566 ตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2566 โดยมีการมอบหมายให้นายนายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ ตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษา ตามคำสั่งที่ 005/2566 ลงวันที่ 3 เมษายน 2566 (3.2.5-1.1) เป็นผู้บันทึกข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทุกเดือน (3.2.5-1.2) ข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วย (3.2.5-2.1)  และรวบรวมจัดทำเป็นสถิติแต่ละปีเพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์และปริมาณการน้ำมันเชื้เพลิงของสำนักฯ

         ผลการดำเนินกิจกรรม จากสถิติการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในปี พ.ศ. 2566 พบว่า อัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น โดยเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2565 เป็นฐาน (ข้อมูล มกราคม–มิถุนายน พ.ศ. 2566) โดยปี พ.ศ. 2565 มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 322.98 ลิตร จำนวนที่ไปราชการ 101 คน เฉลี่ยต่อคนใช้น้ำมัน 3.20 ลิตร ส่วน ปี พ.ศ. 2566 มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 832 ลิตร จำนวนที่ไปราชการ 83 คน เฉลี่ยต่อคนใช้น้ำมัน 10.02 ลิตร ซึ่งมีปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 6.83 ลิตร คิดเป็นค่าร้อยละ 213.45 ซึ่งไม่บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด คือ ร้อยละ 30 ของการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงเฉลี่ยต่อคน (3.2.5-3.1)

อย่างไรก็ตามข้อสังเกต พบว่า ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงเวลาเดียวกันมีจำนวนอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น  ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้

     1. จำนวนครั้งของการไปราชการปฏิบัติภาระกิจ/ดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม มีปริมาณที่ไม่เท่ากัน ได้แก่ ปี พ.ศ. 2565 ไปราชการ จำนวน 16 ครั้ง และ ปี พ.ศ. 2566 ไปราชการ จำนวน 13 ครั้ง

         2. ระยะทางในการไปราชการปฏิบัติภาระกิจ/ดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ที่มีความแตกต่างกัน เช่น ไปราชการในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กับ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

          3. จำนวนบุตลากรของสำนักวิทยบริการฯ ที่ไปราชการ


(2566) 3.2.5 ผลการดำเนินงาน ปี 2566.pdf
(2566) 3.2.5-1.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว.pdf
(GO-2566) 3.2.5-1.2 ข้อมูลการใช้น้ำมันและข้อมูลการใช้รถ 2566.pdf
(GO-2566) 3.2.5-2.1 ข้อมูลการใช้น้ำมัน - เปรียบเทียบการใช้ 61-66.pdf
(GO-2566) 3.2.5-3.1 ข้อมูลกำหนดค่าเป้าหมายลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปี 2566.pdf
3.3.1 มาตรการหรือแนวทางการใช้กระดาษที่เหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
        (1) การสร้างความตระหนักในการใช้กระดาษ
        (2) การกำหนดรูปแบบการใช้กระดาษ
        (3) การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
        (4) การนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่

       สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำมาตรการการใช้พลังงานและทรัพยากร  ลงนามวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ได้แก่ การใช้น้ำ การใช้ไฟฟ้า การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง โดยได้มีการกำหนดเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรอื่นๆ ด้วย ได้แก่ กระดาษ (ข้อ 10) (3.3.1-1) ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2566 สำนักวิทยบริการฯ กำหนดค่าเป้าหมายเกี่ยวกับกระดาษคือ การลดปริมาณการใช้กระดาษ ร้อยละ 15 โดยใช้ฐานของปี พ.ศ. 2565 มาเป็นข้อมูลพื้นฐาน (3.3.1-2)
        จากมาตรการดังกล่าวสำนักวิทยบริการฯ ได้สร้างความตระหนักในการใช้กระดาษโดยดำเนินการดังนี้
    - การประกาศมาตรการการใช้กระดาษให้บุคลากรรับทราบผ่านช่องทางการสื่อสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
    - การใช้กระดาษจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
    - การรณรงค์การใช้กระดาษให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด โดยเน้นให้ใช้กระดาษ 2 หน้า ก่อนนำกระดาษนั้นไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นต่อไป (3.3.1-1.1)

       สำนักวิทยบริการฯ มุ่งเน้นให้เกิดการใช้กระดาษให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยสื่อสารขอความร่วมมือให้บุคลากรรับทราบในการใช้กระดาษแต่ละครั้งต้องมีการตรวจสอบข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ก่อนสั่งพิมพ์เอกสาร รวมถึงการบำรุงดูแลรักษาเครื่องถ่ายเอกสารให้มีสภาพพร้อมใช้งานเพื่อลดการสูญเสียกระดาษหรือขยะจากกระดาษ รวมถึงการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามาแทนการใช้กระดาษเพื่อการสื่อสารภายในองค์กร (3.3.1-2.1)
         
        สำนักวิทยบริการฯ มีมาตรการในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทดแทนการใช้กระดาษด้วยการใช้ระบบสารบรรณและจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัย (ระบบ PBRU E-doc) เพื่อการสื่อสารกับมหาวิทยาลัยและระหว่างหน่วยงานภายนอก รวมถึงการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรด้วยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการประชุม การจัดเก็บข้อมูล และการติดต่อประสานงานเพื่อทดแทนการใช้กระดาษ เช่น การใช้ messenger, Line, E-mail, Google drive, Google doc, Google sheet, https://arit.pbru.ac.th, Digital signage เป็นต้น (3.3.1-3.1)
        สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินงานตามมาตรการการนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่ โดยใช้กระดาษ 2 หน้าหรือซองกระดาษที่ยังมีสภาพดีนำกลับมาใช้ซ้ำ เพื่อลดการใช้กระดาษหรือความสิ้นเปลืองทั้งภายในสำนักงานและพื้นที่บริการแต่ละชั้น (3.3.1-4.1) 

(2566) 3.3.1 ผลการดำเนินงาน ปี 2566.pdf
(2566) 3.3.1-1 ประกาศมาตรการการจัดการพลังงาน2566.pdf
(2566) 3.3.1-1.1 การตระหนัการใช้กระดาษ.pdf
(2566) 3.3.1-2 เป้าหมายการใช้พลังงานและทรัพยากรปี-66.pdf
(2566) 3.3.1-2.1 การกำหนดรูปแบบการใช้กระดาษ-66.pdf
(2566) 3.3.1-3.1 การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์.pdf
(2566) 3.3.1-4.1 การนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่-66.pdf
3.3.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้กระดาษต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษต่อหน่วย
        (3) บรรลุเป้าหมาย
        (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษต่อหน่วย
        (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจานวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น

         สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดเก็บข้อมูลการใช้ทรัพยากรกระดาษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2566 อย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้นางสาวดาวเรือง ขมแก้ว เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บ รวบรวมและรายงานผลข้อมูลการใช้กระดาษตามคำสั่งที่ 005/2566 ลงวันที่ 3 เมษายน 2566 (3.3.2-1.1) โดยทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือนและรายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2566 ผลการเก็บรวบรวมในปี พ.ศ. 2566 บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้คือ ปริมาณการใช้กระดาษลดลงร้อยละ 15 (3.3.2-1.2) 

      ผลการเก็บรวมข้อมูลแต่ละปีพบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2566 มีแนวโน้มการใช้กระดาษลดลง จากการวิเคราะห์และเปรียบเทียบปริมาณการใช้กระดาษย้อนหลัง 3 ปี พบว่า ปี พ.ศ. 2564 (2.49 กิโลกรัม) มีการใช้กระดาษค่อนข้างน้อยมาก เนื่องจากในปี พ.ศ. 2563-2564 เป็นช่วงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษในแต่ละเดือนของปี พ.ศ. 2566  โดยกำหนดให้มีระยะเวลาของการรวบรวมและสรุปข้อมูลในสัปดาห์ที่ 1 หรือ ช่วงต้นเดือนของเดือนถัดไป พบว่า มีจำนวนการใช้กระดาษรวม 44.82 กิโลกรัม (3.3.2-1.3) โดยการใช้ในเดือนที่สูงที่สุดคือเดือนมิถุนายน (12.45 กิโลกรัม) โดยเดือนอื่นๆ มีจำนวนและสัดส่วนของการใช้กระดาษใกล้เคียงกันคือ 4.98-7.47 กิโลกรม จากข้อมูลดังกล่าวสามารถแสดงให้เห็นถึงการใช้กระดาษเฉลี่ยการใช้ต่อหน่วยและต่อคนคือ 1.95 กิโลกรัม (3.3.2-2.1)
         จากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้สำนักวิทยบริการฯ สามารถดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ มีการใช้กระดาษลดลง ร้อยละ 24.71 ต่อคนต่อระยะเวลา 6 เดือน  โดยความสำเร็จของการใช้กระดาษเนื่องมาจาก
        1. มีการรณรงค์และสื่อสารประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานให้ลดการใช้กระดาษ 
        2. การสื่อสารให้กับหน่วยงานภายนอกในการขอความร่วมมือลดการใช้กระดาษหรือการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์แทน และรับทราบว่าสำนักวิทยบริการฯ มุ่งส่งเสริมแนวทางการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
        3. บุคลากรภายในมีการสื่อสารหรือส่งเอกสารแบบ paperless โดยสามารถลดการใช้กระดาษได้ 100% หรือหากต้องใช้กระดาษให้มีการตรวจสอบเอกสารก่อนสั่งพิมพ์ รวมถึงการตรวจสอบเครื่องถ่ายเอกสารให้มีความพร้อมใช้งาน


(2566) 3.2.5-3.1 การเปรียบเทียบการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและค่าเป้าหมาย.pdf
(2566) 3.3.2-1.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว-2566.pdf
(2566) 3.3.2-1.2เป้าหมายการใช้พลังงานและทรัพยากรปี-66.pdf
(2566) 3.3.2-1.3 รายงานการใช้กระดาษรายเดือนและรายปี-พ.ศ.-2562-2566.pdf
(GO-2566) 3.3.2-2.1 สรุปการใช้การะดาษต่อหน่วยและต่อคน ปี 2566.pdf
3.3.3 ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการ ประหยัดกระดาษในพื้นที่ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)

  บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ มีการปฏิบัติตามมาตรการ ประหยัดกระดาษในพื้นที่ทำงาน คิดเป็น ร้อยละ 100 (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)

 

     

3.3.4 มาตรการหรือแนวทางการใช้หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์เหมาะสมกับ สำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
       (1) การสร้างความตระหนักในการใช้
       (2) การกำหนดรูปแบบการใช้
       (3) การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
        สำนักวิทยบริการฯ  มีการประการศมาตรการ เรื่อง มาตรการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ชึ่งในประการศมาตรการได้กำหนดให้หน่วยงานดำเนินงานตามมาตรการประหยัดการใช้หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน (ข้อ ที่ 16 หน้าที่ 8) (3.3.4-1.1) และสำนักวิทยบริการฯ ให้แต่ละหน่วยงานมีอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานและเครื่องพิมพ์ส่วนกลาง เพื่อช่วยประหยัดทรัพยากร และงบประมาณ โดยให้ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ส่วนกลางอุปกรณ์เครื่องเขียนที่สามารถใช้ร่วมกันได้ เช่น เครื่องเจาะกระดาษ เครื่องเย็บกระดาษ เทปใส กรรไกร กาว เป็นต้น
        สำนักวิทยบริการฯได้มีการกำหนดรูปแบบการใช้งานหมึกพิมพ์ เพื่อลดการสิ้นเปลือง ดังนี้
       1. ติดตั้งเครือข่ายเชื่อมโยงการทำงานของเครื่องพิมพ์เพื่อใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน
       2. ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารก่อนทำการพิมพ์
       3. พิมพ์เอกสารเท่าที่จำเป็น (3.3.4-2.1)

          สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการใช้สื่อิเล็กทรอนิกส์ ในการรับ - ส่งข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ โดยใช้ระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email), การประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) และระบบอื่นๆ เพื่อลดการใช้กระดาษและพลังงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

       1. ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (e-Document) ในการจัดส่งเอกสาร   

       2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย โดยบุคลากรภายในของสำนักฯ ทุกคนสามารถเข้าใช้ได้    

       3. การใช้ Google Drive ในการจัดเก็บเอกสารเพื่อทำงานร่วมกันภายในสำนักวิทยบริการฯ       

       4. การใช้ Facebook, Line Official Account, YouTube และเว็บไซต์ ในการประชาสัมพันธ์ของสำนักวิทยบริการฯ (3.3.4-3.1)


(2566) 3.3.4-1.1 มาตรการด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม-66.pdf
(2566) 3.3.4-2.1 การกำหนดรูปแบบการใช้หมึกพิมพ์และวัสดุสำนักงาน2566.pdf
(2566) 3.3.4-3.1 การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์-2566.pdf
3.3.5 ร้อยละของการดำเนินตามมาตรการประหยัด การใช้หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)
บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินตามมาตรการประหยัด การใช้หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน คิดเป็นร้อยละ 100 (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)

3.4.1 ร้อยละของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการส่งข้อมูลเพื่อเตรียมการประชุม ได้แก่ QR code, Email, Social Network, Intranet เป็นต้น
          สำนักวิทยบริการฯ มีการประกาศ มาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 และกำหนดผู้รับผิดชอบเก็บข้อมูลการใช้ห้องประชุม ห้องอบรมและห้องสัมมนาต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน  
         ในช่วงที่ผ่านมาของปี 2566 สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดการประชุมการบริหารงานและการดำเนินงาน ทั้งหมด 3 ครั้ง ได้แก่
         1) การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริการฯ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงาน สำนักวิทยบริการฯ
         2) การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริการฯ ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงาน สำนักวิทยบริการฯ
         3) การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริการฯ ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงาน สำนักวิทยบริการฯ

         ทางสำนักวิทยบริการฯ มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการส่งข้อมูลเพื่อเตรียมการประชุม ดังนี้
         - ใช้  email , facebook ในการแจ้งและนัดหมายการประชุม (3.4.1-1.1)
         - ใช้ Social Network เช่น Google Drive , Google Document ในการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลการประชุม (3.4.1-1.2)
         - ใช้ QR Code ในการสแกนแบบฟอร์มลงทะเบียน และประเมินความพึงพอใจการจัดประชุมและนิทรรศการ (3.4.1-1.3)
         จากที่กล่าวมาสำนักวิทยบริการฯ คิดเป็นร้อยละ 100 ของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการส่งข้อมูลเพื่อเตรียมการประชุม


(2566) 3.4.1-1.1 การนัดหมายและการส่งข้อมลเตรียมการประชุม.pdf
(2566) 3.4.1-1.2 ใช้ Social Network เช่น Google Drive , Google Document ในการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลการประชุม.pdf
(2566) 3.4.1-1.3 ใช้ QR Code ในการสแกนแบบฟอร์มลงทะเบียน และประเมินความพึงพอใจการจัดประชุมและนิทรรศการ.pdf
3.4.2 การจัดการประชุมและนิทรรศการที่มีการใช้ วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรพลังงาน และลดของเสียที่เกิดขึ้น จะต้องดำเนินการ ดังนี้
         (1) การจัดเตรียมขนาดห้องประชุม เหมาะสมกับ จำนวนผู้เข้าประชุม หรือจัดนิทรรศการ
         (2) ห้องประชุมหรือพื้นที่จัดนิทรรศการไม่มีการ ตกแต่งด้วยวัสดุที่ย่อยสลายยาก หรือวัสดุที่ใช้ ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
         (3) การกำหนดแนวทางเลือกสถานที่ภายนอกสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
         (4) การจัดเตรียมสื่อที่ใช้ในการประชุม โดยจะต้อง ลดการใช้กระดาษ หมึกพิมพ์
         (5) การจัดเตรียมอาหาร และเครื่องดื่มเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

            สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดการประชุมและนิทรรศการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรพลังงาน และลดของเสียที่เกิดขึ้น โดยมีการดำเนินการ ดังนี้ 
           - สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการจัดเตรียมขนาดห้องประชุมเหมาะสมกับจำนวนผู้เข้าประชุม หรือจัดนิทรรศการ  (3.4.2-1.1) 
          - สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดมาตรการ การจัดการประชุมและนิทรรศการ (ข้อ 19) (3.4.2-1.2) 
           - มีการจัดเตรียมห้องประชุมหรือพื้นที่จัดนิทรรศการ โดยเน้นการตกแต่งจากวัสดุ ธรรมชาติ และใช้ไม้ฟอกอากาศในการตกแต่งห้องประชุม รวมถึงการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (3.4.2-2.1) 
            - กำหนดแนวปฏิบัติการใช้บริการสถานที่ภายนอกสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (3.4.2-3.1)
            - มีการใช้ระบบการจองห้องประชุมออนไลน์เพื่อลดการใช้กระดาษ  https://arit.pbru.ac.th/book-room (3.4.2-4.1)
           - มีการจัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่มหรืออาหารว่างในการจัดประชุมหรือจัดนิทรรศการโดยเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ซ้ำได้ หรือจากวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ (3.4.2-5.1)


(2566) 3.4.2-1.1 จัดเตรียมห้องประชุมให้เหมาะสมกับการประชุมและนิทรรศการ.pdf
(2566) 3.4.2-1.2 มาตรการ การจัดการประชุมและนิทรรศการ (ข้อ 19).pdf
(2566) 3.4.2-2.1 การจัดเตรียมห้องประชุมหรือพื้นที่จัดนิทรรศการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม .pdf
(2566) 3.4.2-3.1 แนวปฏิบัติการใช้บริการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 3.4.2-4.1 การจัดเตรียมการประชุม โดยจะต้องลดการใช้กระดาษและหมึกพิมพ์.pdf
(2566) 3.4.2-5.1 การจัดเตรียมอาหาร และเครื่องดื่มเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม .pdf
4.1 การจัดการของเสีย
4.2 การจัดการน้ำเสีย

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
4.1.1 มีการดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และการจัดการขยะอย่างเหมาะสม มีแนวทาง การดำเนินงาน ดังนี้
        (1) มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจาก กิจกรรมภายในสำนักงาน และจัดวางถังขยะ ตามพื้นที่ทำงานต่างๆอย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่ม ตรวจสอบ
        (2) มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและ ชัดเจนทุกถังที่สุ่มตรวจสอบ
        (3) มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดย จะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละเภทจากข้อ (1) อย่างเพียงพอ
        (4) มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
        (5) มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับ อนุญาตตามกฎหมาย
        (6) มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสม)
        (7) ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง)

           สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินงาน ตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่าง เหมาะสม โดยการแบ่งประเภทของขยะออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.ขยะทั่วไป 2. ขยะรีไซเคิล 3. ขยะอันตราย 4. ขยะอินทรีย์/ ย่อยสลายได้/เปียก พร้อมทั้งมีการแสดงชัดเจนในการแบ่งตาม สัญลักษณ์ สีของถังขยะ และป้ายแสดงให้เห็น ตัวอย่างของขยะแต่ละประเภท (4.1.1-1.1) และได้จัดทำป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถัง เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บ และนำไปจัดการอย่างเหมาะสม (4.1.1-2.1) 

        สำนักวิทยบริการฯ มีพื้นที่พักขยะทั่วไป อยู่บริเวณด้านข้างของ อาคารสำนักวิทยบริการฯ มีการรองรับเพื่อ ป้องกันน้ำขยะรั่วไหลหรือขยะปลิวออกสู่ภายนอก (4.1.1-3.1) ส่วนขยะอินทรีย์จะถูกไปเทที่จุดถังขยะรักษ์โลก และนำไปเป็นอาหารให้กับสัตว์ (4.1.1-3.2) ขยะรีไซเคิลแยกออกมารวบรวมเพื่อรอการจำหน่าย ให้กับร้านรับซื้อของเก่า ขยะอันตรายจัดเก็บรวบรวมให้ปริมาณเยอะ ๆ เพื่อส่งไปกำจัดอย่างเหมาะสมต่อไป

        สำนักวิทยบริการฯ มีการสุ่มตรวจสอบการทิ้งขยะ โดยหัวหน้าสำนักงานและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในหมวดที่ 4 ทั้งนี้ได้ดำเนินการตรวจสอบการทิ้งขยะ คัดแยกขยะตามประเภททุกเดือนและกรอกแบบฟอร์มเพื่อรายงานต่อไป (4.1.1-4.1)  และสำนักวิทยบริการฯ มีการส่งต่อขยะทั่วไปและขยะอันตรายออกไปกำจัดนอกพื้นที่ (4.1.1-5.1) ซึ่งดำเนินการขนย้ายขยะโดย อบต.นาวุ้ง มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (4.1.1-6.1) และสำนักวิทยบริการฯ ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน


(2566) 4.1.1 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 4.1.1-1.1 การคัดแยกประเภทขยะ 66.pdf
(2566) 4.1.1-2.1 ป้ายบ่งชี้ ประเภทขยะ.pdf
(2566) 4.1.1-3.1 เส้นทางการจัดการขยะ 66.pdf
(2566) 4.1.1-3.2-ขยะอินทรีถูกนำไปทิ้งที่จุดถังรักษ์โลก.pdf
(2566) 4.1.1-4.1 การตรวจสอบการคัดแยกขยะตามแบบฟอร์ม 2566.pdf
(2566) 4.1.1-5.1-เส้นทางการจัดการขยะ 66.pdf
(2566) 4.1.1-6.1-การติดตามตรวจสอบการทิ้งขยะกับ-อบต.นาวุ้ง 2566.pdf
4.1.2 การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์หรือนำกลับมาใช้ใหม่ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง
          (1) มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
          (2) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภท ครบถ้วนทุกเดือน
          (3) มีการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่าเป้าหมายที่ได้กำหนดจากหมวด 1 ข้อ 1.1.5
          (4) ปริมาณขยะที่ส่งกำจัดมีแนวโน้มลดลง
          สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการจัดเก็บคัดแยกขยะ และนำขยะบางประเภทกลับมาใช้ประโยชน์ และนำกลับมาใช้ใหม่ ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณ น้อยลง ดังนี้
          1. นำเศษอาหารจากการรับประทานอาหารของเจ้าหน้าที่ มาทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้ปลูกพืชผักสวนครัว ในพื้นที่ด้านหลังข้างอาคาร
          2. นำขวดและฝากพลาสติกมาประดิษฐ์เป็นแจกันใส่ต้นไม้ตามจุดต่าง ๆ เพื่อเพิ่ม บรรยากาศให้ดูเป็นธรรมชาติ สวยงามและดูดซับสารพิษได้
          3. การรณรงค์ให้บริการยืมถุงผ้าเพื่อใส่ทรัพยากรสารสนเทศแทนถุงพลาสติก (หน้า 5) (4.1.2-1.1)  และพนักงานทำความสะอาดประจำตึก จะรวบรวมขยะจากทุกจุดภายใน สำนักวิทยบริการฯ มาทำการชั่งและบันทึกปริมาณทุกวัน ในเวลา 16.00 น. โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะไปตรวจเช็คการจดบันทึกปริมาณของพนักงาน และเมื่อสิ้นเดือนก็จะนำปริมาณขยะที่จดบันทึกมาบันทึกลงในแบบฟอร์ม (4.1.2-2.1)
         สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบ ค่าเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้คือ ปริมาณของเสียที่ลดลงร้อยละ 30 ตามประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่องเป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 (4.1.2-3.1) พบว่าปริมาณขยะที่ส่งกำจัดมีแนวโน้มลดลงร้อยละ 10.77 (4.1.2-4.1)
 

(2566) 4.1.2-1.1 การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์หรือนำกลับมาใช้ใหม่.pdf
(2566) 4.1.2-2.1 รายงานการเปรียบเทียบปริมาณขยะ 66.pdf
(2566) 4.1.2-3.1 เป้าหมายการใช้พลังงานและทรัพยากรปี-66.pdf
(2566) 4.1.2-4.1 ตารางจากการเปรียบเทียบขยะ ปี 2562-2566.pdf
4.2.1 การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และ คุณภาพน้ำทิ้งจะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่ เกี่ยวข้องโดยมีแนวทาง ดังนี้
         (1) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
         (2) มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น มีตะแกรงดักเศษอาหาร มีบ่อดักไขมัน หรือมีระบบบำบัดน้ำเสียเหมาะสมกับองค์ประกอบของน้ำเสีย
         (3) มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย
         (4) มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด

        สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ 005/2566 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2566 โดยในหมวดที่ 4 การจัดการของเสีย คณะกรรมการจะมีหน้าที่กำหนดแผนงาน และมาตรการการจัดการขยะ ของเสีย และน้ำทิ้ง ดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่างเหมาะสม ดำเนินการจัดการน้ำเสียของสำนักวิทยบริการฯ และทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง จัดทำสรุป และรายงานผลการดำเนินงาน โดยได้มอบหมายให้ นายมนตรี ภูอิน และผู้ปฏิบัติงานบริการ (แม่บ้าน) ตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง และดูแลถังดักไขมัน (4.2.1-1.1 หน้า 4)) และมีมาตรการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติ (4.2.1-1.2 หน้ 7)

            สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการติดตั้งถังดักไขมันบริเวณพื้นที่ที่บุคลากรรับประทานอาหาร จำนวน 3 จุด ได้แก่ อาคารบรรณราชนครินทร์ 2 ชั้น 1, ชั้น 6 และห้องรับประทานสำนักงานผู้อำนวยการ โดยกำหนดผู้รับผิดชอบคือ ผู้ปฏิบัติงานบริการ (แม่บ้าน) ทำหน้าที่ล้างถังดักไขมันทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และตรวจสอบความพร้อมใช้ของถังดักไขมันอย่างสม่ำเสมอและนำเศษอาหารไปทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ถังหมักรักษ์โลก ตลอดจนนำไปเป็นอาหารให้สัตว์เลี้ยงของบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ (4.2.1-2.1), (4.2.1-2.2) ทั้งนี้สำนักวิทยบริการฯ จะมีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสียเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถนำไปใช้รดน้ำต้นไม้ (4.2.1-3.1

           การบำบัดน้ำเสียสำนักวิทยบริการฯ  จะดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง เพื่อส่งไปยังศูนย์วิทยาศาสตร์วัดค่าคุณภาพน้ำทิ้งของสำนักวิทยบริการฯ ซึ่งในปี พ.ศ. 2566 ได้มีการตรวจสอบและวัดคุณภาพน้ำทิ้ง จำนวน 2 จุด  คือ จุดปล่อยน้ำทิ้งอาคารบรรณราชนครินทร์ 2 พบว่า ผลการตรวจสอบทั้งหมด 8 รายการ ไม่เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด (4.2.1-4.1), (4.2.1-4.2)


(2566) 4.2.1-1.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว (หน้า 4).pdf
(2566) 4.2.1-1.2 ประกาศมาตรการการการจัดการพลังงาน.pdf
(2566) 4.2.1-2.1 ภาพการติดตั้งถังดักไขมัน.pdf
(2566) 4.2.1-2.2 ภาพการตักถังดักไขมัน.pdf
(2566) 4.2.1-3.1 การบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย.pdf
(2566) 4.2.1-4.1 ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้ง.pdf
(2566) 4.2.1-4.2 ภาพการตักน้ำเสีย.pdf
4.2.2 การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีแนวทาง ดังนี้
         (1) มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมีการตักและทำความสะอาดเศษอาหาร และไขมันออกจาก ตะแกรงดักขยะ หรือบ่อดักไขมันตามความถี่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณและการปนเปื้อน
         (2) มีการนำกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย หรือเศษอาหาร น้ำมันและไขมันจากถัง/บ่อดัก ไขมันไปกำจัดอย่างถูกต้อง
         (3) มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัด น้ำเสียให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
         (4) มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่าง สม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไป ยังแหล่งอื่นๆ

            สำนักวิทยบริการฯ มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย โดยติดตั้งถังดักไขมันเพื่อดักกรองไขมันและเศษอาหาร ลดกลิ่นที่เกิดจากหมักหมมของเศษอาหารในท่อน้ำ ตลอดจนเพื่อปรับคุณภาพน้ำทิ้งให้มีคุณภาพดีขึ้น เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยติดตั้งไว้ 3 จุดบริเวณที่ที่บุคลากรรับประทานอาหาร ดังนี้

           1. ห้องรับประทานอาหารสำนักงานผู้อำนวยการ

           2. ห้องรับประทานอาหารชั้น 1 อาคารบรรณราชนครินทร์ 2

           3. ชั้น 6 อาคารบรรณราชนครินทร์ 2           

            โดยมีการกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานบริการ (แม่บ้าน) ทำความสะอาดทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ (4.2.2-1.1) นอกจากนี้ยังมีแนวทางการดูแลและจัดการถังดักไขมัน พร้อมกับให้แม่บ้านได้บันทึกการตักไขมัน ตามแบบฟอร์มที่กำหนด (4.2.2-1.2)

            สำนักวิทยบริการฯ มีการนำเศษอาหารไปทำถังหมักรักษ์โลกเพื่อช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการจัดการขยะมูลฝอย ลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้องนำไปกำจัด (4.2.2-2.1) ทั้งนี้จะมีการตรวจสอบ การรั่วไหลของน้ำเสีย และปรับปรุง ระบบการบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพ และใช้งานได้ตามปกติ และเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่นๆ (4.2.2-3.1

    

  


(2566) 4.2.2-1.1 ภาพการตักถังดักไขมัน.pdf
(2566) 4.2.2-1.2 การจัดการน้ำเสีย-โดยการใช้ถังดักไขมัน.pdf
(2566) 4.2.2-2.1 ถังหมักรักษ์โลก.pdf
(2566) 4.2.2-3.1 การตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
5.1 อากาศในสำนักงาน
5.2 แสงในสำนักงาน
5.3 เสียง
5.4 ความน่าอยู่
5.5 การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
5.1.1 การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน
        (1) มีแผนการดูแลรักษา ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) พรมปูพื้นห้อง (ขึ้นอยู่กับสำนักงาน)
        (2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตาม แผนการดูแลรักษา
        (3) มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดในข้อ 1
        (4) มีการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติในข้อ 1
        (5) การจัดวางเครื่องปริ้นเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสารให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน
        (6) การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน เช่น ติดป้ายดับเครื่องยนต์
        (7) การป้องกันและกำจัดแมลงที่จะสร้างมลพิษ อากาศภายในสำนักงาน (ถ้ามี)
        (8) มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษ ทางอากาศจากกิจกรรมต่างๆ เพื่อการเตรียม ความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย (สามารถพิจารณาจากเอกสารหรือภาพถ่าย เป็นหลักฐานประกอบ)

          สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนและกำหนดผู้รับผิดชอบในการดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องปริ้นเตอร์ และพรมปูพื้น  เพื่อการควบคุม ดูแลป้องกันมลพิษทางอากาศของสำนักงาน(5.1.1-1.1),(5.1.1-2.1) โดยผู้รับผิดชอบได้ปฏิบัติตามแผนการดูแลรักษา เครื่องปรับอากาศ (5.1.1-3.1) เครื่องถ่ายเอกสาร (5.1.1-3.2) เครื่องปริ้นเตอร์ (5.1.1-3.3) พรมปูพื้น (5.1.1-3.4) และผ้าม่าน (5.1.1-3.5)

        มีการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติในข้อ 1  โดยจัดทำประกาศมาตรการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 หน้าที่ 2 ข้อที่ 6 (5.1.1-4.1)

        สำนักวิทยบริการฯ จัดวางตำแหน่งเครื่องถ่ายเอกสาร/เครื่องปริ้นเตอร์ ให้มีระยะห่างจากผู้ปฏิบัติงานประมาณ 5 เมตร (5.1.1-5.1) รูปเครื่องถ่ายเอกสารจากมุมโต๊ะปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่) นอกจากนั้นยังมีการควบคุมมลพิษทางอากาศบริเวณรอบสำนักวิทยบริการฯ โดยมีการติดตั้งป้ายด้านข้างสำนักวิทยบริการฯ บริเวณด้านข้างตึกเพื่อป้องกันไอเสียจากรถยนต์ (5.1.1-6.1) 

      มีการป้องกันและกำจัดแมลงที่จะสร้างมลพิษ อากาศภายในสำนักงาน (5.1.1-7.1) อีกทั้งยังมีการส่งเสริมให้บุคลากรตระหนักและทราบถึงปัญหามลพิษทางอากาศที่อาจเกิดจากกิจกรรมต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันและระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้น (5.1.1-8.1)

 


(2566) 5.1.1-1.1 แผนการบำรุงดูแลรักษา ประจำปี 2566.pdf
(2566) 5.1.1-2.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว.pdf
(2566) 5.1.1-3.1 แบบฟอร์มเครื่องปรับอากาศย่อย 2566.pdf
(2566) 5.1.1-3.2 รายงานการตรวจสอบและทําความสะอาดเครื่องถ่ายเอกสาร 2566.pdf
(2566) 5.1.1-3.3 การตรวจสอบและทําความสะอาดเครื่องปริ้นเตอร์.pdf
(2566) 5.1.1-3.4 รายงานการตรวจสอบและทําความสะอาดพรม 2566.pdf
(2566) 5.1.1-3.5 รายงานการบันทึกการทำความสะอาดม่าน 2566.pdf
(2566) 5.1.1-4.1 มาตรการการควบคุมมลพิษทางอากาศ.pdf
(2566) 5.1.1-5.1 การจัดวางเครื่องถ่ายเอกสารในจุดที่เหมาะสม.pdf
(2566) 5.1.1-6.1 การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน เช่น ติดป้ายดับเครื่องยนต์.pdf
(2566) 5.1.1-7.1 ภาพกิจกรรมการป้องกันและกำจัดแมลงที่จะสร้างมลพิษ อากาศภายในสำนักงาน 66.pdf
(2566) 5.1.1-8.1 ภาพรณรงค์ด้านความรู้เรื่องอันตรายจากฝุ่นละออง.pdf
5.1.2 มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนด พื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด
         (1) มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่
         (2) มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
         (3) มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่
         (4) เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณ ข้างเคียง ไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า – ออกของ สถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น
         (5) ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่

           สำนักวิทยบริการฯ มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ทั้งภายในและภายนอกอาคาร  (5.1.2-1.1) และมีการติดตั้งป้ายห้ามสูบบุหรี่หรือสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ทั้งภายในและภายนอกจำนวน 4 จุด ดังนี้

1. ห้องน้ำชาย ห้องน้ำหญิงภายในอาคาร

2. บริเวณศาลาสระน้ำด้านข้างอาคารสำนักวิทยบริการฯ

3. บริเวณด้านหน้าสำนักวิทยบริการฯ

4. บริเวณด้านข้างห้องเรียนรู้ร่วมกัน (5.1.2-2.1


(2566) 5.1.2-1.1 ภาพการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่.pdf
(2566) 5.1.2-2.1 การติดตั้งป้ายห้ามสูบบุหรี่หรือสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่.pdf
5.1.3 การจัดการมลพิษอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุง อาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
         (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษ อากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร
         (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(1) แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้
          – มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
          – มีที่กั้นเพื่อกันมลพิษทางอากาศกระทบกับพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
          – มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย
          สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดการมลพิษทางอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุง อาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน  โดยจัดทำมาตรการควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง ผู้รับเหมา ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยด้านมลพิษทางอากาศ ฝุ่นละออง เสียง และสุขภาพ ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 หน้า 10 (5.1.3-1) ซึ่งในปี พ.ศ. 2566 สำนักวิทยบริการฯ ไม่มีการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร หรืออื่น ๆ ในสำนักงานที่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน

(2566) 5.1.3-1-มาตรการผุ้รับจ้างข้อ18หน้า10.pdf
5.2.1 มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดย อุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มแสงที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐานกำหนด
        (1) มีการตรวจวัดความเข้มแสงประจำปีพร้อม แสดงหลักฐานผลการตรวจวัดแสงเฉพาะจุด ทำงานแลพื้นที่ทำงาน
        (2) เครื่องวัดแสงจะต้องมีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบ (แสดงหลักฐานใบรับรอง)
        (3) ผลการตรวจวัดจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด
        (4) ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มแสงจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
         สำนักวิทยบริการฯ มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง โดยมีมาตราการควบคุมแสงภายในอาคาร ตามมาตราการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ข้อที่ 6 มาตราการด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการยภาพ ข้อย่อยที่ 6.3 มาตรการด้านการควบคุมแสงภายในอาคาร โดยมีมาตราการในการวัดค่าแสงดังนี้ (5.2.1-1)
         1. ใช้อุปกรณ์ส่องสว่างที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
         2. ตรวจวัดความเข้มข้นของแสงทุกปี
         3. การตรวจวัดแสงเป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
         4.ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติ
         5. ทำความสะอาดหลอดไฟปีละ 2 ครั้ง
      ทั้งนี้สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง โดยมีพื้นที่อาคารที่ทำการวัดความเข้มของแสงสว่าง จำนวน 2 อาคาร ประกอบด้วย
      1.  อาคารบรรณราชนครินทร์ 6 ชั้น  
      2. อาคารหอสมุดเดิม 2 ชั้น ซึ่งประกอบด้วยจุดที่ทำการวัดด้วยวิธีการตรวจวัดแบบจุด (Spot Measurement ) ซึ่งมีการกำหนดจุดในการวัดต่าแสงรวมทั้งหมด 2 อาคาร จำนวน 45 จุด ซึ่งได้ดำเนินการตรวจวัดค่าแสงแล้วเสร็จไปเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566  เวลา 9.00 น. – 12.00 น. (5.2.1-1.1) ด้วยเครื่องมือ เครื่องวัดแสงสว่าง (Lux meter) ยี่ห้อ UNI-T รุ่น UT383 ซึ่งเป็นเครื่องมือใหม่ (5.2.1-2.1) 
        จากการตรวจวัดระดับความเข้มของแสงบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ต่าง ๆ ของสำนักวิทยบริการฯ โดยนำผลจากการ ตรวจวัดมาเปรียบเทียบค่ามาตรฐานตามลักษณะงานที่กำหนดไว้ในประกาศกรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง พ.ศ. 2560 (5.2.1-3.1) ผลการตรวจวัด พบว่า ระดับ ความเข้มของแสงสว่างแบบจุดทำงานและแบบจุดพื้นที่ จำนวน 45 จุด ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด จำนวน 39 จุด คิดเป็นร้อยละ 86.66 ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด จำนวน 6 จุด คิดเป็นร้อยละ 13.33 (5.2.1-3.2) สำนักวิทยบริการฯ จึงได้หาแนวทางการแก้ไขปัญหา แสงสว่างที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้ 
       1. ติดตั้งดวงไฟบริเวณที่ปฏิบัติงานเพิ่มเติมหรือเพิ่มเฉพาะจุดที่มีการทำงานเป็นพิเศษ 
       2. จัดบริเวณพื้นที่การทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยไม่นำสิ่งของต่าง ๆ วางกีดขวางทางเข้าของแสงสว่างหรือตั้งบังทางที่แสงสว่างส่องผ่านมายังบริเวณที่ปฏิบัติงาน 
      3. ตรวจสอบและบำรุงรักษาหลอดไฟเป็นประจำ รวมทั้งดำเนินการเปลี่ยนหลอดไฟ เมื่อครบอายุการใช้งาน หรือเมื่อเกิดการชำรุด 
      4. ควรทำความสะอาดหลอดไฟเป็นประจำอย่างน้อยทุก ๆ 3 เดือน
         สำนักวิทยบริการฯ ได้ให้คุณอรัญญา สุพานิช กสร.จป.ว เป็นผู้ตรวจวัดความเข้มของแสงเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 (5.2.1-4.1)
 
 
 
 

(2566) 5.2.1-1.1 การตรวจวัดความเข้มแสงเฉพาะจุดทำงานและพื้นที่ทำงาน.pdf
(2566) 5.2.1-2.1 มาตรฐานเครื่องมือวัดแสง.pdf
(2566) 5.2.1-3.1 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.pdf
(2566) 5.2.1-3.2 ผลการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง.pdf
(2566) 5.2.1-4.1 หนังสือรับรองผู้ตรวจวัดความเข้มแสง.pdf
5.3.1 การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคาร สำนักงาน
         (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
         (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน

         สำนักวิทยบริการฯ มีการควบคุมมลพิษทางเสียงในอาคาร ตามกฎหมายา่ธารณสุข (หมวด 5 เหตุรำคาญ)  พ.ศ. 2535  และกำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน ตามประกาศของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ลงนามวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ข้อ 6.4 หน้า 3 (5.3.1-1.1) คู่มือแผนปฏิบัติการสภาพแวดล้อมเรื่องเสียง  (5.3.1-1.2)   ภาพถ่ายการงดใช้เสียง (5.3.1-1.3) 

      ทั้งนี้สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการปฏิบัติตามมาตรการการควบคุมมลพิษทางเสียงในสำนักงาน ได้แก่  (5.3.1-1.4)  ภาพประกอบให้แต่ละฝ่ายงานใช้เครื่องพิมพ์ถ่ายเอกสาร  5.3.1-1.5 ภาพประกอบงานปรับเสียงโทรศัพท์ 5.3.1-1.6 ภาพประกอบกรณีเปิดลำโพงในการใช้โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ ให้ใช้หูฟังแทน 5.3.1-1.7                             


(2566) 5.3.1-1.1 กฎหมายสาธารณสุข.pdf
(2566) 5.3.1-1.2 คู่มือแผนปฏิบัติการสภาพแวดล้อมเรื่องเสียง (1).pdf
(2566) 5.3.1-1.3 ภาพการงดใช้เสียง.pdf
(2566) 5.3.1-1.4 มาตรการการควบคุมมลพิษทางเสียงภายในสำนักงาน ข้อ 6.4 หน้า 3.pdf
(2566) 5.3.1-1.5 ภาพประกอบให้แต่ละฝ่ายงานใช้เครื่องพิมพ์เอกสาร.pdf
(2566) 5.3.1-1.6-ภาพประกอบ-ให้แต่ละฝ่ายงานปรับเสียงโทรศัพท์ให้อยู่.pdf
(2566) 5.3.1-1.7 ภาพประกอบกรณีการในการใช้โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ ให้ใช้หูฟังแทน.pdf
5.3.2 การจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
         (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่ เกิดจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร
         (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายนอกสำนักงาน แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้
          – มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
          – มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย
          สำนักวิทยบริการฯ มีการควบคุมมลพิษทางเสียงในอาคาร ตามกฎหมายสาธารณสุข (หมวด 5 เหตุรำคาญ)  พ.ศ. 2535  ปรับปรุงอาคารหรืออื่น ๆในสำนักงานที่ส่งผลกระทบต่อบุคลากรและผู้ใช้บริการ โดย  (5.3.2-1.1) และกำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายนอกสำนักงาน ตามประกาศของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ลงนามวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ข้อ 6.4 หน้า 3  (5.3.2-1.2) 
         ปี พ.ศ 2566 สำนักวิทยบริการฯ ไม่มีการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อบุคลากรและผู้ใช้บริการ

(2566) 5.3.2-1.1 กฎหมายสาธารณสุข.pdf
(2566) 5.3.2-1.2 มาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่เกิดจาการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร ข้อ 6.4.6 หน้า 3.pdf
5.4.1 มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของ สำนักงานโดยจะต้องดำเนินการดังนี้
          (1) จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและ นอกอาคาร โดยจะต้องกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน เช่น พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนรวม และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น สามารถสื่อสารด้วยป้ายหรืออื่นๆ ที่เหมาะสม เพื่อบ่งชี้
          (2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบอย่าง เหมาะสมทั้งพื้นที่เฉพาะ และพื้นที่ทั่วไป ทั้งใน อาคารและนอกอาคาร
          (3) มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร
          (4) การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และคงรักษาไว้ของสำนักงาน รวมไปถึงมีการปฏิบัติ จริงตามแผนงาน
         สำนักวิทยบริการฯ มีแผนผังทั้งภายในอาคารและนอกอาคารโดยกำหนดพื้นพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจนได้แก่
     1. พื้นที่สีเขียว
     2. พื้นที่ปฏิบัติงานและบริการส่วนรวม
     3. พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ (5.4.1-1.1)
     โดยกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและดูแลพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกอาคารตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาสำนักงานสีเขียวที่ 005/2566 ลงวันที่ 3 เมษายน 2566 (5.4.1-2.1) และกำหนดตารางการปฏิบัติงานของแม่บ้านที่รับผิดชอบแต่ละพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน (5.4.1-2.2)   
     มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้ง 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ และพื้นที่ปฏิบัติงานส่วนรวม ซึ่งจะมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานบริการทุกวันเพื่อประเมินความสะอาด และตรวจสอบอุปกรณ์ที่ชำรุด (5.4.1-3.1) ทั้งนี้ได้มีแผนการดำเนินงาน 5ส (5.4.1-3.2) และมีการประเมิน 5ส เดือนละ 2 ครั้ง  (5.4.1-3.3) โดยพบว่ามีผลการประเมินคะแนน 5ส ตั้งแต่เดือน มกราคม - เดือนธันวาคม  2566 เฉลี่ยร้อยละ 87.17 ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 80  คือ (5.4.1-3.4)  มีการจัดกิจกรรม ฺ5 ส เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566 (5.4.1-3.5) และกิจกรรม Big Cleaning Day เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 (5.4.1-3.6)  
            มีการกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งหมด 7 จุด ดังนี้ (5.4.1-4.1)
            1. พื้นที่สีเขียว 3 จุด
            2. พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ 3 จุด
            3. พื้นที่ปฏิบัติงานและบริการส่วนรวม 1 จุด และคงรักษาไว้ของสำนักงาน รวมไปถึงมีการปฏิบัติจริงตามแผนงาน (5.4.1-4.2)  

(2566) 5.4.1-1.1 แผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและนอกอาคาร.pdf
(2566) 5.4.1-2.1 คำสั่งสำนักวิทยบริการฯ ที่ 005-2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2566.pdf
(2566) 5.4.1-2.2 การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ.pdf
(2566) 5.4.1-3.1 กำหนดเวลาการดูแลรักษาพื้นที่.pdf
(2566) 5.4.1-3.2 แผนการดำเนินงาน-5-ส.pdf
(2566) 5.4.1-3.5 กิจกรรม-5ส.pdf
(2566) 5.4.1-3.6 กิจกรรม Big cleaning Day.pdf
(2566) 5.4.1-4.1 การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว.pdf
(2566) 5.4.1-4.2 ภาพประกอบการเพิ่มพื้นที่สีเขียว.pdf
(GO-2566) 5.4.1-3.3 แบบประเมิน 5ส เดือนมกราคม-เดือนธันวาคม 2566.pdf
(GO-2566) 5.4.1-3.4-แบบสรุปผลการตรวจประเมินกิจกรรม-5ส.pdf
5.5.2 ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด

 ประเมินจากพื้นที่ปฏิบัติงานจริง


5.4.3 ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น
 ประเมินจากพื้นที่ปฏิบัติงานจริง

5.4.4 มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด
        (1) มีการกำหนดแนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรคในสำนักงานอย่างเหมาะสม ได้แก่ นกพิราบ หนู แมลงสาบ และอื่นๆ
        (2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรคอย่างน้อยที่สุดเดือนละ 1 ครั้ง
        (3) มีการตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ที่ได้กำหนด (เฉพาะตอนกลางวัน)
        (4) มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค
        (5) ไม่พบร่องรอยหรือสัตว์นำโรคในระหว่างการตรวจประเมินของกรมฯ

หมายเหตุ : การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค สำนักงานสามารถควบคุมและจัดการได้เอง หรือว่าจ้าง หน่วยงานเฉพาะมาดำเนินการแทน

           สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดแนวทางในการป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะนำโรค โดยกำหนดเป็นแผนควบคุมสัตว์พาหะนำโรค ประจำปี พ.ศ 2566 (5.4.4-1.1) ซึ่งมอบหมายผู้รับผิดชอบในการป้องกันและกำจัด ตามแผน (5.4.4-2.1) พร้อมทั้งจัดทำแบบฟอร์มตรวจสอบร่องรอยของสัตว์พาหะนำโรคทุกเดือน (5.4.4-3.1) ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า สัตว์พาหะนำโรคส่วนใหญ่ที่พบเจอเป็นนกพิราบ หนู ปลวก ดังนั้นทางสำนักวิทยบริการฯ ได้มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค (5.4.4-4.1) ดังนี้ 

      1. ปลวก  เรียกบริษัทกำจัดโดยใช้น้ำยาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     2. หนู กำจัดหนูโดยใช้กับดัก และนำไปปล่อยกับคืนสู่ธรรมชาติ

     3. นก กวาด และทำความสะอาดมูลนกโดยใช้น้ำฉีด


(2566) 5.4.4-1.1 แนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรค.pdf
(2566) 5.4.4-2.1 แผนการควบคุมป้องกันสัตว์พาหะนำโรค.pdf
(2566) 5.4.4-4.1 แนวทางจัดการสัตว์พาหะนำโรค.pdf
(GO-2566) 5.4.4-3.1 การตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค.pdf
5.5.1 การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ตามแผนที่กำหนด
        (1) มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ
        (2) จำนวนคนเข้าอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้น จะต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 40 ของพนักงาน ทั้งหมด
        (3) พนักงานทุกคนจะต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
        (4) มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรองการอบรม ภาพถ่าย เป็นต้น
        (5) มีการฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่กำหนด พร้อม แสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรอง ภาพถ่าย เป็นต้น
        (6) มีการจุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมมี ป้ายแสดงอย่างชัดเจน
        (7) มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟ ไป ยังจุดรวมพล พร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน
        (8) มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ พร้อม มีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
          สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดแผนฝึกอบรมประจำปี 2566 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับระงับเหตุฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นดังนี้ (5.5.1-1.1)   
          1. การดับเพลิงเบื้องต้น
          2. การซ้อมอพยพหนีไฟ
          โดยได้มีการจัดอบรม “การดับเพลิงเบื้องต้นและการซ้อมอพยพหนีไฟ” ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 มีจำนวนบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ เข้าร่วมอบรมจำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนบุคลากร (5.5.1-2.1) และบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ ได้มีการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟจำนวน 1 ครั้ง (5.5.1-3.1) 
       สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการจัดอบรม "การดับเพลิงเบื้องต้นและการซ้อมอพยพหนีไฟ" ให้กับบุคลากรตามแผนที่กำหนด ซึ่งการจัดอบรมดังกล่าวมีการวัดผลการอบรมพบว่าบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจก่อนการอบรมคิดเป็นร้อยละ 50 และหลังการอบรมมีความรู้ความเข้าใจคิดเป็นร้อยละ 88.33 (5.5.1-4.1), (5.5.1-5.1)
        สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดจุดรวมพล 1 จุดไว้บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักวิทยบริการฯ โดยมีพื้นที่สามารถรองรับมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน  (5.5.1-6.1)
        สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดแผนผังจุดติดตั้งถังดับเพลิง เส้นทางหนีไฟและจัดทำธงนำทางติดแจ้งไว้บริเวณหน้าลิฟท์และช่องทางเดินอื่นๆ ภายในอาคารเพื่อสื่อสารให้ผู้มาใช้บริการทราบ (5.5.1-7.1) และกำหนดทางออกฉุกเฉินพร้อมจัดทำป้ายสัญลักษณ์แสดงเส้นทางออกฉุกเฉินให้เห็นชัดเจน (5.5.1-8.1)

(2566) 5.5.1-1.1 แผนการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นและอพยพหนีไฟ ลำดับที่ 41.pdf
(2566) 5.5.1-2.1 จำนวนผู้เข้าร่วมอบรมการดับเพลิงเบื้องต้น.pdf
(2566) 5.5.1-3.1 จำนวนผู้เข้าร่วมฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ.pdf
(2566) 5.5.1-4.1 สรุปผลการอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นและการซ้อมอพยพหนีไฟ.pdf
(2566) 5.5.1-5.1 ภาพการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ.pdf
(2566) 5.5.1-6.1 ภาพจุดรวมพล.pdf
(2566) 5.5.1-7.1 แผนผังเส้นทางหนีไฟ และธงนำทาง.pdf
(2566) 5.5.1-8.1 ป้ายสัญลักษณ์เส้นทางออกฉุกเฉิน.pdf
5.5.2 มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และร้อยละของพนักงานที่เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
          สำนักวิทยบริการฯได้จัดทำแผนระงับเหตุฉุกเฉินเพื่อป้องกันและเตรียมพร้อมต่อการเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น (5.5.2)

(2566) 5.5.2 แผนระงับเหตุฉุกเฉิน 2566.pdf
5.5.3 ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของ อุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย และ ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และร้อยละของ พนักงานทราบวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ ดังกล่าว
(สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
        (1) มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
          – ถังดับเพลิงมีเพียงพอต่อการใช้งาน (กำหนดระยะห่าง อย่างน้อย 20 เมตร/ถัง ตามกฎหมาย ติดตั้งสูงจาก พื้นไม่เกิน 150 เซนติเมตร นับจากคันบีบ และถ้าเป็นวางกับพื้นที่จะต้อง มีฐานรองรับ) พร้อมกับติดป้ายแสดง
          – ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ถ้ามี)
          – สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (Hose and Hose Station) ถ้ามี)
        (2) ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนและต้องพร้อมใช้งาน
          – สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (พื้นที่ มากกว่า 300 ตารางเมตรหรืออาคาร สูงเกิน 2 ชั้นขึ้นไป)
          – ติดตั้งตัวดักจับควัน(smoke detector)หรือความร้อน (heat detector)
        (3) มีการตรวจสอบข้อ (1)-(2) และหากพบว่า ชำรุดจะต้องดำเนินการแจ้งซ่อมและแก้ไข
        (4) พนักงานจะต้องเข้าใจถึงวิธีการใช้และ ตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาณแจ้ง เตือนอย่างน้อยร้อยละ 75 จากที่สุ่มสอบถาม
        (5) ไม่มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิง และสัญญาณ แจ้งเหตุเพลิงไหม้
          สำนักวิทยบริการฯ มีอุปกรณ์สำหรับป้องกันเหตุฉุกเฉินด้านอัคคีภัยได้แก่
          1. ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งจำนวน 34 ถัง ติดตั้งภายในอาคารบรรณราชนครินทร์จำนวน 19 ถัง และอาคารหอสมุดเดิม จำนวน 15 ถัง (5.5.3-1.1)
          2. สัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉินจำนวน 12 เครื่อง (5.5.3-2.1)
          3. เครื่องตรวจจับควันจำนวน 10 เครื่อง (5.5.3-2.2)
          สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการตรวจเช็คอุปกรณ์เพื่อเตรียมความพร้อม ทุก 2 เดือน ลงในแบบฟอร์มบันทึกการตรวจอุปกรณ์ด้านอัคคีภัย (5.5.3-3.1) โดยมอบหมายให้นายพีรวัฒร์ เพ่งผุดผ่อง มีหน้าที่ตรวจสอบอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน ตามคำสั่งที่ 005/2566 ลงวันที่ 3 เมษายน 2566 (5.5.3-3.2)

(2566) 5.5.3-1.1 ภาพถังดับเพลิง.pdf
(2566) 5.5.3-2.1 ภาพกริ่งสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน.pdf
(2566) 5.5.3-2.2 ภาพเครื่องตรวจจับควัน.pdf
(2566) 5.5.3-3.2 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว.pdf
(GO-2566) 5.5.3-3.1 บันทึกการตรวจอุปกรณ์ด้านอัคคีภัย.pdf
6.1 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม
6.2 การจัดจ้าง

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
6.1.1 การจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
        (1) กำหนดผู้รับผิดชอบ และมีความเข้าใจ
        (2) ค้นหารายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถระบุแหล่งข้อมูลสืบค้นได้
        (3) จัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับสินค้าที่ใช้จริงในสำนักงาน โดยจะต้องระบุรายการสินค้า ยี่ห้อ ฉลากสิ่งแวดล้อม วันหมดอายุการรับรองของ สินค้านั้น หากเป็นฉลากสิ่งแวดล้อมของ ต่างประเทศจะต้องอ้างอิงหน่วยงาน/ประเทศ ให้การรับรองนั้นๆด้วย
        (4) แจ้งไปยังผู้ขายเพื่อขอความร่วมมือในการสั่งซื้อ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีที่ไม่มี ร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าทีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

**หมายเหตุ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่น ฉลากเขียว ตะกร้าเขียว ฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 ฉลากประสิทธิภาพสูง ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อน สินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น
           สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดให้ นางรัตนา เสียงสนั่น นักบริหารงานทั่วไป เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดซื้อจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ 005/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2566 สั่ง ณ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2566  (6.1.1-1.1 หน้า 6) นอกจากนี้สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่องมาตรการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม (6.1.1-1.2 หน้า 8)  และมาตรการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า (6.1.1-1.3)
           การจัดซื้อสินค้าจะศึกษาเกี่ยวกับฉลากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือศึกษาจากฐานข้อมูลที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม (6.1.1-2.1, 6.1.1-2.2) โดยจะดำเนินการจัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สำนักวิทยบริการฯ จัดซื้อไว้จริง รายละเอียดจะประกอบด้วยรายการสินค้า ยี่ห้อ ฉลากสิ่งแวดล้อม วันหมดอายุ และวันที่ทบทวน เป็นต้น (6.1.1-3.1)
          ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการจัดซื้อสิน ค้าทั้งหมด 350 ชิ้น มีรายการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจำนวน 289 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 82.57 มีงบประมาณในการจัดหาเป็นเงิน 90,632 บาท จัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นเงิน 87,110 บาท คิดเป็นร้อยละ 96.11 (6.1.1-3.2)
          ทั้งนี้ ในการจัดซื้อสินค้าเพื่อให้บริการภายในสำนักฯ จะดำเนินการทำหนังสือราชการไปยังร้านค้า/ผู้ขาย จำนวน 6 แห่ง เพื่อขอความร่วมมือจัดหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับสำนักวิทยบริการ (6.1.1-4.1), (6.1.1-4.2

(2566) 6.1.1 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 6.1.1-1.1 คำสั่งสำนักวิทยบริการฯเรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว (หน้า 6).pdf
(2566) 6.1.1-1.2 ประกาศสำนักฯ เรื่อง มาตรการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานฯ หน้า 8.pdf
(2566) 6.1.1-1.3 มาตรการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 6.1.1-2.1 การศึกษาแหล่งสืบค้น ฉลากสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 6.1.1-2.2 ฐานข้อมูลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 6.1.1-3.1 บัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 6.1.1-3.2 แบบรายงานสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 6.1.1-4.1 หนังสือขอความร่วมมือจัดหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 6.1.1-4.2 ภาพประกอบขอความร่วมมือจัดหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
6.1.2 ร้อยละของการจัดซื้อสินค้าประเภทวัสดุ อุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายเหตุ ร้อยละของสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะเทียบกับปริมาณการซื้อ และ/หรือมูลค่าสินค้า
        (1) แสดงรายการสินค้าสำนักงานที่จัดซื้อทั้งหมด โดยระบุยี่ห้อ และรุ่นสินค้า
        (2) แสดงฉลากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของสินค้า
        (3) คำนวณจำนวนร้อยละสินค้าที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงรายการ สินค้า ปริมาณสินค้า และมูลค่า

**หมายเหตุ : สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็น สินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่น ฉลากเขียว ตะกร้าเขียว ฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 ฉลากประสิทธิภาพสูง ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อน สินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น
            สำนักวิทยบริการฯ จะดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับฉลากสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือศึกษาจากฐานข้อมูลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และจะดำเนินการจัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่จัดซื้อไว้ โดยจะประกอบด้วยรายการสินค้า ยี่ห้อ ฉลากสิ่งแวดล้อม วันหมดอายุ และวันที่ทบทวน เป็นต้น (6.1.2-1.1) ทั้งนี้การจัดซื้อสินค้าประเภทวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีการเปรียบเทียบการจัดซื้อสินค้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 -2566 ผลการดำเนินงานดังนี้ (6.1.2-1.2)
            ปี 2563 ซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 157 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 43 บรรลุเป้าหมาย
            ปี 2564 ซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 76 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 31.71 ไม่บรรลุเป้าหมาย
            ปี 2565 ซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 208 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 27.22 ไม่บรรลุเป้าหมาย
            ปี 2566 ซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 289 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 82.57 บรรลุเป้าหมาย
 

 

(2566) 6.1.2 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 6.1.2-1.1 แบบรายงานสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 6.1.2-1.2 เปรียบเทียบสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม-2563-2566.pdf
6.1.3 ร้อยละของปริมาณและประเภทของวัสดุ อุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

**หมายเหตุ : สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่น ฉลากเขียว ตะกร้าเขียว ฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 ฉลากประสิทธิภาพสูง ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อน สินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น
            สำนักวิทยบริการฯ มีการคำนวณร้อยละของปริมาณสินค้าที่ได้ดำเนินการจัดซื้อมาใช้จริงในสำนักงาน เช่น สินค้าที่ได้รับตะกร้าเขียว ฉลากเขียวฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นต้น ทั้งนี้ในปี 2566 มีการจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคิดเป็นร้อยละ 82.57 มูลค่าสินค้าที่จัดซื้อคิดเป็นร้อยละ 96.11 (6.1.3-1.1), (6.1.3-1.2)

(2566) 6.1.3 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 6.1.3-1.1 แบบรายงานสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 6.1.3-1.2 บัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
6.2.1 ร้อยละของการจัดจ้างหน่วยงานหรือบุคคลที่มีการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
        (1) มีหลักฐานการพิจารณาถึงมาตรฐานด้าน สิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่ได้การรับรองโดย จะต้องแสดงหลักฐานการรับรองดังกล่าว
        (2) หากหน่วยงานไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม รับรอง ทางสำนักงานจะต้องทำการประเมิน ด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยเบื้องต้น
        (3) มีการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อเข้ามาปฏิบัติงานในสำนักงาน
        (4) หน่วยงานหรือบุคคลที่ได้รับคัดเลือกจะต้อง ได้รับการอบรมหรือสื่อสารเกี่ยวกับสำนักงานสีเขียว และแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของตนเอง
        (5) หน่วยงานหรือบุคคลเหล่านั้นสามารถอธิบาย แนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ กิจกรรมของตนเองได้

**หมายเหตุ : หากหน่วยงานภายนอกมีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรองจะต้องพิจารณาทุกข้อยกเว้นข้อ (2)
        – หากหน่วยงานภายนอกไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรองพิจารณาข้อ (2)- (5)
           สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้พื้นที่ของห้องสมุดเป็นสถานประกอบการ (Think Cafe) เพื่อให้มีการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.2.1-1.1) และในกรณีที่จัดจ้างหน่วยงานที่ไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรอง จะดำเนินการประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้างเบื้องต้น เพื่อให้มีการปฏิบัติงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.2.1-2.1
           นอกจากนี้จะมีการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อเข้ามาปฏิบัติงานภายในสำนักวิทยบริการฯ (6.2.1-3.1) และเพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสำนักงานสีเขียว จะมีการอธิบายทำความเข้าใจให้กับหน่วยงาน/ผู้รับจ้างได้ปฏิบัติตามข้อตกลงของสำนักฯ เพื่อให้ใช้วัสดุอุปกรณ์/สินค้า ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.2.1-4.1)
            ภายหลังจากสำนักวิทยบริการฯ ได้สร้างความเข้าใจ แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อที่เกี่ยวข้อง หน่วยงาน/หรือบุคคลสามารถอธิบาย แนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของตนเองได้

(2566) 6.2.1 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 6.2.1-1.1 บันทึกข้อตกลงการใช้พื้นที่ของห้องสมุดเป็นสถานประกอบการ.pdf
(2566) 6.2.1-2.1 การประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้างช่วง.pdf
(2566) 6.2.1-3.1 ใบอนุญาตเข้าปฏิบัติงานและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 6.2.1-4.1 การอบรมให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ประกอบการ.pdf
6.2.2 ร้อยละของการตรวจสอบด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือ บุคคลที่เข้ามาดำเนินการ เช่น ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างช่วง แม่บ้าน รปภ. พนักงานส่งเอกสาร เป็นต้น

**หมายเหตุ
     (1) กรณีที่เป็นการว่าจ้างให้อยู่ประจำสำนักงาน จะต้องทำการประเมินอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
     (2) กรณีที่เป็นการว่าจ้างไม่อยู่ประจำสำนักงาน จะต้องทำการประเมินทุกครั้งเมื่อเข้ามา ปฏิบัติงานในสำนักงาน
             สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้างที่เข้ามาดำเนินการภายใน สำนักฯ เพื่อตรวจสอบด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่เข้ามาปฏิบัติงานให้มีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.2.2-2.1)

(2566) 6.2.2 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 6.2.2-2.1 การประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้างช่วง .pdf
6.2.3 ร้อยละของการเลือกใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (นอกสำนักงาน) ได้แก่ โรงแรม สถานที่จัดงาน หรือ อื่นๆที่ได้มีการขึ้นทะเบียนการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

**หมายเหตุ :
     (1) สถานที่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการ สิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น ISO๑๔๐๐๑ Green Hotel ใบไม้เขียว ฉลากเขียว Green Office หรือ Green Building เป็นต้น และมีการ จั ด ก า ร ป ร ะ ชุ ม ที่ ค า นึง ถึง ก า ร อ นุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน และลดการ ก่อให้เกิดมลพิษ
     (2) ในกรณีที่ไม่มีสถานที่จัดประชุมที่ได้รับการ รับรองฯ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงสำนักงาน จะต้องเลือกสถานที่ที่ใช้เวลาเดินทางน้อยที่สุด และจัดประชุมในรูปแบบ Green Meeting (ตามความเหมาะสมและเป็นไปได้) โดย จะต้องแสดงหลักฐานการคัดเลือกสถานที่ เหล่านั้น
           สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแนวปฏิบัติการใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีไปใช้บริการนอกสำนักงาน (6.2.3-1.16.2.3-1.2, 6.2.3-1.3) และแนวปฏิบัติที่หน่วยงานอื่นๆ มาใช้บริการของสำนักฯ เพื่อขอความร่วมมือให้ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน ลดการก่อให้เกิดมลพิษ (6.2.3-1.4, 6.2.3-1.5) ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2566 สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ "การจัดทำแผนกลยุทธ์สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปี 2567-2570" ณ นาน่ารีสอร์ท อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100  โดยสถานที่ดังกล่าวได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน "สถานประกอบการที่พักสีเขียว" ระดับ Silver Class เมื่อปี พ.ศ. 2556 แต่อย่างไรก็ตามทางรีสอร์ทยังคงรักษามาตรฐานความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีประกอบกับสำนักฯ ได้ขอความร่วมมือให้ดำเนินการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้สำนักฯ ได้ดำเนินการรวบรวมรายชื่อโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้เป็นแนวทางในการใช้บริการ (6.2.3-1.6)
 

(2566) 6.2.3 ผลการดำเนินงานปี 2566.pdf
(2566) 6.2.3-1.1 แบบฟอร์มการคัดเลือกสถานที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 6.2.3-1.2 แนวปฏิบัติเรื่องการเดินทางไปประชุมภายนอกของบุคลากร.pdf
(2566) 6.2.3-1.3 แนวปฏิบัติการใช้บริการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2566) 6.2.3-1.4 แนวปฏิบัติเรื่องการจัดประชุมและนิทรรศการ.pdf
(2566) 6.2.3-1.5 แนวปฏิบัติการใช้ประชุมสำนักวิทยบริการฯ.pdf
(2566) 6.2.3-1.6 การคัดเลือกสถานที่ให้บริการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม .pdf