หัวข้อ | ผลการดำเนินงาน | ไฟล์หลักฐาน |
---|---|---|
1.1 กําหนดวิสัยทัศน์พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2565 เพื่อทบทวนและกำหนดนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มีการประชุมกำหนดเป้าหมาย แผนงาน/มาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และรายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักฯ) จากการทบทวนและกำหนดนโยบายฯ ดังกล่าว ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้สำนักวิทยบริการฯเป็นองค์กรแห่งการจัดการสมัยใหม่และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพสูง และประชาสัมพันธ์นโยบายให้กับบุคลากรและผู้รับบริการทราบ
|
(2565) นโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf (2565) ประกาศเป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร.pdf (2565) มาตรการห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว-2565.pdf (GL-2565) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ.2565.pdf (GL-2565) แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว พ.ศ.2562-2566.pdf |
1.2 วิเคราะห์ประเด็นปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นข้อมูลในการกําหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์และนําไปสู่การกําหนดแนวทางการดําเนินงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์พันธกิจ การเป็นห้องสมุดสีเขียว
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงานทั้งทางตรง และทางอ้อม ตามกิจกรรมได้ 7 ด้าน 17 กิจกรรม ตามขอบเขตและบริบทของสำนักงาน ดังนี้ 17 กิจกรรม ประกอบด้วย มีการระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากร วัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละกิจกรรมครบถ้วน โดยใช้ตารางวิเคราะห์ระดับความมีนัยสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์การประเมินนัยสำคัญของลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้านการใช้ทรัพยากร (Resource Usage) และเกณฑ์การประเมินนัยสำคัญของลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านมลภาวะ ทั้งนี้ สามารถระบุระดับนัยสำคัญได้ 3 ระดับ คือ L , M , H ส่วนใหญ่ประเด็นปัญหาของสำนักฯ อยู่ในระดับ L และ M ด้านทรัพยากร (Input) มีค่าความรุนแรงมากที่สุดที่ 42 มีค่าความรุนแรงน้อยที่สุดที่ 18 ส่วน ด้านมลพิษ (Output) มีค่าความรุนแรงมากที่สุดที่ 42 มีค่าความรุนแรงน้อยที่สุดที่ 24 สำนักวิทยบริการฯ มีการประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ สามารถการจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ ตามกิจกรรม ด้านทรัพยากร (Input) คือ ปัญหาด้านไฟฟ้า ส่วนด้านมลพิษ (Output) คือ ถ่านหรือแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว , ขยะจากบรรจุภัณฑ์ , หลอดไฟใช้แล้ว , ขยะจากการซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ |
(2565) 1.2-1.1 การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ.pdf (2565) 1.2-1.2 ตารางวิเคราะห์กระบวนการทำงาน.pdf (2565) 1.2-1.3 ทะเบียนจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ.pdf (2565) 1.2-1.4 ทะเบียนจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญด้านทรัพยากร (Input).pdf (2565) 1.2-1.5 ทะเบียนจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญด้านมลพิษ (Output).pdf (2565) 1.2-1.6 ทะเบียนระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากร (Input).pdf (2565) 1.2-1.7 ทะเบียนระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษ (Output).pdf |
1.3 กําหนดขอบเขตการดําเนินงานตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งสามารถดําเนินการทั้งหมด หรือเฉพาะส่วน โดยไม่นับรวมกิจกรรมของห้องสมุดที่ไม่มีนัยสําคัญในการก่อให้เกิด ผลกระทบต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ต้องมีการชี้แจงเหตุผลประกอบใน กรณีที่ไม่ดําเนินการทั้งหมด
|
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการประชาสัมพันธ์และการประกาศให้บุคลากรและผู้ใช้บริการให้ทราบทั่วกัน 3 ช่องทาง ได้แก่
|
1.3-1 ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว.pdf 1.3-2 แจ้งหนังสือเวียนบันทึกข้อความไปยังบุคลากรทุกคน.pdf 1.3-3 ป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณหน้าทางเข้าและพื้นที่ของสำนักวิทยบริการ.pdf |
คำอธิบาย
ห้องสมุดต้องมีโครงสร้างพื้นฐานหรือลักษณะทางกายภาพ ที่เอื้อต่อการลดการใช้พลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการให้บริการและการบริหารจัดการห้องสมุด
กรณีเป็นอาคารเก่า
มีแผนงานและมาตรการ ในการปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
หัวข้อ | ผลการดำเนินงาน | ไฟล์หลักฐาน |
---|---|---|
2.1 มีการศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิมที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
|
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบหมวด 2 ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2565 (2.1-1) มีการสำรวจและศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิมที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี จากการศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิมของสำนักวิทยบริการฯ พบว่า สำนักวิทยบริการฯ มีสภาพของอาคารที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม อาทิ ระบบเครื่องปรับอากาศของอาคารบรรณาราชนรินทร์ที่ชำรุดเป็นจำนวนมาก และมีการรั่วไหลของอากาศระหว่างชั้น และส่วนของห้องน้ำ ทำให้ควบคุมอุณหภูมิในบริเวณต่างๆ ของห้องสมุดได้ยาก และการใช้ระบบไฟฟ้าแบบแผง (Section) ทำให้เกิดการสูญเสียไฟฟ้าในจุดที่ไม่มีเจ้าหน้าที่หรือผู้ใช้บริการอยู่ และความต้องการมองเห็นทัศนียภาพโดยรอบของผู้ใช้บริการเมื่อมาค้นคว้าหรืออ่านหนังสือในห้องสมุด ตลอดจนแสงสว่างในบางพื้นที่ อาทิ ชั้น 2-5 อาคารบรรณราชนครินทร์ Thinkcafe @Library ซึ่งจะมีนักศึกษามาพบปะพูดคุย/ทำงานกลุ่ม/ทำกิจกรรมต่าง ๆ พบว่ามีแสงสว่างไม่เพียงพอ และตามชั้นหนังสือที่ชั้น 3-5 ที่มีแสงสว่างไม่ทั่วถึง ทำให้อาคารสำนักวิทยบริการมีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูง และการรรั่วไหลของน้ำฝนบริเวณดาดฟ้าหลังคา และฝ้าเพดานของอาคารหอสมุดเดิม |
(2565) (2565) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียว-2565_compressed(2).pdf |
2.2 มีแผนงานและมาตรการการปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคาร หรือมาตรการอื่นที่เทียบเท่า ให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในเรื่องต่อไปนี้
1) มีการปรับปรุงโครงสร้างอาคารและวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
2) มีการปรับปรุงระบบปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพ
3) มีการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน
4) มีการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยเลือกปลูกพืชพื้นถิ่น หรือพืชที่ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก หรือปลูกพืชใช้น้ําน้อย หรือพืชที่ใช้ประโยชน์เพื่อเป็นอาหารและจัดการภูมิทัศน์ให้มีความร่มรื่นสวยงาม
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคาร ให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตามแผนงานและมาตรการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ดังนี้ 1. มีการปรับปรุงระบบปรับอากาศให้มีประสิทธืภาพ มีการดำเนินการปรับปรุงเครื่องปรับอากาศโดยการบำรุงรักษาแบบย่อย โดยเจ้าหน้าที่ของสำนักวิทยบริการฯ โดยการล้างทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ ทุก 3 เดือน (2.2-2) 2. การปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน มีการปรับปรุงระบบไฟฟ้าส่องสว่างที่ประหยัดพลังงานโดยการปรับเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าที่เป็นหลอดแบบชนิดไส้หลอดมาเป็นหลอด LED และปรับเปลี่ยนหลอดที่มีกำลังไฟฟ้าสูงๆมาเป็นหลอดที่มีกำลังไฟฟ้าที่ต่ำลงเพื่อเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้า (2.2-3) 3. การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว (2.2-4)โดยการจัดสวนแนวตั้งจากการนำชั้นวางหนังสือเก่าอโดยการปลูกพืชที่ช่วยดูดซับมลพิษและช่วยลดปริมาณกาศเรืองกระจก เช่น ต้นหนวดฤาษี ต้นพูด่าง ต้นหัวใจเศรษฐี และปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยเพื่อเป็นการกรองแสงจากภายนอกอาคารและเพื่อความสวยงาม เช่น ต้นเตยทอง ต้นโมก |
(2565) 2.2-2 การปรับปรุงระบบปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพ.pdf (2565) 2.2-3 การปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน.pdf (2565) 2.2-4 การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว.pdf |
หัวข้อ | ผลการดำเนินงาน | ไฟล์หลักฐาน |
---|---|---|
3.1 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการตามมาตรการประหยัดไฟฟ้า น้ํา และทรัพยากร
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว ให้เป็น Green University ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรห้องสมุดและผู้รับบริการ โดยการนำนโยบายไปจัดทำแผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว 5 ปี พ.ศ.-2562-2566 (3.1-1) และ แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2564 (3.1-2) เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงาน และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผล จึงมีการประกาศนโยบายการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียวและเป้าหมายเป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากรอีกทั้งกำหนดมาตรการและเป้าหมายการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3.1-3) พร้อมทั้งมีการประชาสัมพันธ์มาตรการประหยัดไฟฟ้า น้ำ และทรัพยากร ตามช่องทางการสื่อสารต่างๆ ของสำนักวิทยบริการฯ ได้แก่ ป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณหน้าทางเข้าและพื้นที่ของสำนักวิทยบริการฯ (3.1-4) เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว (3.1-5) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันที่ชัดเจน แก่บุคลากร ผู้เข้ารับบริการสำนักวิทยบริการฯ ให้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักวิทยบริการได้ดำเนินงานตามแผน นโยบาย และมาตรการที่กำหนดไว้ดังนี้ 3.2 มาตรการประหยัดน้ำ 3.3 มาตรการประหยัดทรัพยากร |
(2565) 3.1-1 แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว-พ.ศ.-2562-2566.pdf (2565) 3.1-2แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว_compressed.pdf (GL-2565) (GL-2565) 3.1-4 ป้ายประกาศประชาสัมพันธ์ การประหยัดไฟฟ้า น้ำและทรัพยากร.pdf (GL-2565) (GL-2565) 3.1-5 การประชาสัมพันธ์การประหยัดพลังงานบนเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว.pdf (GL-2565) (GL-2565) 3.1-6 การรณรงค์การเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศ.pdf (GL-2565) (GL-2565) 3.1-7 ปิดไฟทุกครั้งเมื่อช่วงพักกลางวัน เวลา 12.00 – 13.00 น..pdf (GL-2565) (GL-2565) 3.1-8 ปิดจอภาพคอมพิวเตอร์ในเวลาพักเที่ยง.pdf (GL-2565) (GL-2565) 3.1-9การใช้เครื่องไฟฟ้าอื่นๆให้จัดไว้ในจุดที่สามารถใช้งานร่วมกัน.pdf (GL-2565) (GL-2565) 3.1.-10 การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศแบบย่อย.pdf (GL-2565) (GL-2565) 3.1.-13 การรณรงค์การใช้บันไดและการใช้ลิฟต์ กรณีขึ้นลงชั้นเดียว.pdf (GL-2565) (GL-2565) 3.1.-14ลดการใช้แก้วขวดพลาสติก.pdf (GL-2565) (GL-2565) 3.1.-15เผยแพร่ความรู้เรื่องการประหยัดน้ำรวมทั้งการสร้างจิตสำนึก.pdf (GL-2565) (GL-2565) 3.1.-16ตรวจสอบอุปกรณ์การใช้น้ำอย่างสม่ำเสมอ.pdf (GL-2565) (GL-2565) 3.1.-17การรดน้ำต้นไม้ให้ใช้สปริงเกิลหรือฝักบัว.pdf (GL-2565) (GL-2565) 3.1.-18ปิดวาล์วน้ำ ก๊อกน้ำหรืออุปกรณ์การใช้น้ำทุกชนิดให้สนิทหลังการใช้งาน.pdf (GL-2565) 3.1-3 เป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร.pdf (GL-2565) 3.1.-11 การทำความสะอาดตู้เย็นทุกวันศุกร์.pdf (GL-2565) 3.1.-12 การให้บุคลากรใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย.pdf |
3.2 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการลดปริมาณของเสีย
|
สำนักวิทยบริการฯ มี นโยบายการพัฒนา สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว โดยมุ่งเน้นการจัดการสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อส่งเสริม การเรียนรู้ในเรื่องการประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และการสร้างความตระหนักรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานให้เกิดกับบุคลากรในทุกฝ่าย/งาน ตลอดจนถึงผู้ใช้บริการสำนักวิทยบริการฯ ซึ่งได้จัดทำแผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว 5 ปี พ.ศ.-2562-2566 (3.2-1) พร้อมทั้งประกาศประกาศนโยบายและป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (3.2-2)มาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว เรื่อง การจัดการของเสีย (3.2-3) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติจึงแต่งตั้งคำสั่ง มอบหมายให้บุคลากรเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอย (3.2-4) มีการทำแผนผังแสดงเส้นทางการจัดการขยะสำนักวิทยบริการ (3.2-5) ประชาสัมพันธ์รณรงค์การจัดการขยะ ทั้งบริเวณสำนักฯ และเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว (3.2-6)มีการรณรงค์การลดปริมาณขยะ (Reduce) เช่น ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ใช้ขวดแก้วลดขยะจากพลาสติก (3.2-7) กระดาษหนังสือพิมพ์และแก้วน้ำพลาสติก มาทำเจกันใส่ต้นไม้ สิ่งของใช้ เปเปอร์มาเช่ (3.2-8)
|
(GL-2565) 3.2-1 แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว-พ.ศ.-2562-2566.pdf (GL-2565) 3.2-2 ประกาศนโยบายและป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf (GL-2565) 3.2-3 มาตรการประหยัดพลังงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว.pdf (GL-2565) 3.2-4 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ.2565.pdf (GL-2565) 3.2-5แผนผังแสดงเส้นทางการจัดการขยะ.pdf (GL-2565) 3.2-6 ประชาสัมพันธ์รณรงค์การจัดการขยะ ภายในบริเวณสำนักฯ.pdf (GL-2565) 3.2-7 การลดปริมาณขยะ-ใช้ถุงผ้า-ใช้แก้วน้ำ.pdf (GL-2565) 3.2-8 การนำกลับมาใช้ซ้ำ-อาร์ตมาเช่.pdf |
3.3 กําหนดให้มีข้อกําหนดและเงื่อนไขการว่าจ้าง (Term of Reference: TOR) เพื่อควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ภายในห้องสมุดให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำข้อตกลงกับผู้รับจ้างหรือหน่วยงานต่างๆ ในการเข้าปฏิบัติงาน ณ สำนักวิทยบริการฯ เพื่อเป็นไปตามข้อตกลงในการเข้าปฏิบัติงาน เพื่อควบคุมการดำเนินงานภายในสำนักวิทยบริการให้อยู่ภายใต้การประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ภายในห้องสมุด จำนวน 2 หน่วยงาน ได้แก่ |
3.3-1 บริษัท-แอ๊ดวานซ์-กรุ๊ป.pdf 3.3-2 บันทึกข้อตกลง-Think-cafe.pdf 3.3-3 การชี้แจงและให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้มแก่ผู้ประกอบการ.pdf 3.3-5 การใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf |
3.4 กําหนดให้มีการสื่อสารและรณรงค์ให้ผู้รับบริการและบุคลากรห้องสมุด ประหยัดไฟฟ้าประหยัดน้ํา และประหยัดทรัพยากร ตามแผนงานที่กําหนด
|
สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2565 โดยมีผู้รับผิดชอบคือ นายวิโนจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา จำนวน 9 หัวข้อ และได้กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสาร ดังนี้ (3.4-1.1) สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงานที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร ได้แก่ (3.4-2.1) 1. ประชุมชี้แจง สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน ให้เกิดการรับรู้และรับทราบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (3.4-3.1) 1. กลุ่มเป้าหมาย ภายใน คือ ผู้บริหารและบุคลากรสำนักฯ 2. กลุ่มเป้าหมาย ภายนอก คือ ผู้ใช้บริการห้องสมุด (นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร มรภ.พบ. ศิษย์เก่าและบุคคลภายนอก) สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร/รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม คือ นางสาวสิริรัตน์ เดชเพชร นักวิชาการศึกษา นายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา นางสาวแขนภา ทองตัน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ตามคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ ๐๐๕/๒๕๖๕ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ประจำปี ๒๕๖๕ (3.4-4.1) |
(2565) 3.4-1.1 แผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2565..pdf (2565) 3.4-2.1 ช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก 2565.pdf (2565) 3.4-3.1กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม 2565.pdf (2565) 3.4-4.1 คำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร 2565.pdf |
3.5 มีการกําหนดแผนงานและดําเนินการจัดซื้อ/จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (อ้างอิงบัญชีรายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคู่มือการจัดซื้อ/จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฉบับล่าสุด หรือสินค้าชุมชนเพื่อใช้ในกิจกรรมการให้บริการของห้องสมุด รวมทั้งกิจกรรมการประชุมและจัดนิทรรศการ
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดให้ นางรัตนา เสียงสนั่น นักบริหารงานทั่วไป เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดซื้อจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (3.5-1) นอกจากนี้ได้ดำเนินการจัดทำประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง มาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว (3.5-2) และมาตรการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดซื้อสินค้า (3.5-3)
การจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะศึกษาฉลากสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือจากเว็บไซต์ หรือจากฐานข้อมูลที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม (3.5-4, 3.5-5) ในการจัดซื้อสินค้าจะดำเนินการจัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สำนักวิทยบริการฯ จัดซื้อไว้ใช้จริง โดยจะประกอบด้วยรายการสินค้า ยี่ห้อ ฉลากสิ่งแวดล้อม วันหมดอายุ และวันที่ทบทวน เป็นต้น (3.5-6, 3.5-7) สำนักวิทยบริการฯ จะดำเนินการทำหนังสือเพื่อขอความร่วมมือบริษัท หรือร้านค้าในการจัดหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับสำนักวิทยบริการฯ (3.5-8, 3.5-9) สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแนวปฏิบัติการใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีที่ไปใช้บริการนอกสำนักงาน (3.5-10, 3.5-11, 3.5-12) และแนวปฏิบัติที่หน่วยงานอื่นๆ มาใช้บริการของสำนักฯ เพื่อขอความร่วมมือให้ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน ลดการก่อให้เกิดมลพิษ (3.5-13, 3.5-14) นอกจากนี้ สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการศึกษาและรวบรวมรายชื่อโรงแรมที่ผ่านการรับรองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Hotel) ปี 2565 ไว้เป็นแนวทางการคัดเลือกสถานที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (3.5-15) |
(2565) 3.5-10 แบบฟอร์มการคัดเลือกสถานที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf (2565) 3.5-11 ข้อปฏิบัติการเดินทางไปประชุมภายนอกของบุคลากร.pdf (2565) 3.5-12 แนวปฏิบัติการใช้บริการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf (2565) 3.5-13 ข้อปฏิบัติเรื่องการจัดประชุมและนิทรรศการ (1).pdf (2565) 3.5-14 แนวปฏิบัติในการใช้ห้องประชุมสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.pdf (2565) 3.5-15 รายชื่อโรงแรมที่ผ่านการรับรอง Green Hotel.pdf (2565) 3.5-2 ประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่องมาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว.pdf (2565) 3.5-3 มาตรการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf (2565) 3.5-4 การศึกษาเกี่ยวกับฉลากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf (2565) 3.5-5 ฐานข้อมูลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf (2565) 3.5-6 บัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ใช้จริงในสำนักงาน.pdf (2565) 3.5-7 ภาพรายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf (2565) 3.5-8 หนังสือขอความร่วมมือในการจัดหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf (2565) 3.5-9 ภาพประกอบขอความร่วมมือจัดหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf (GL-2565) 3.5-1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ.2565.pdf |
3.6 กําหนดให้มีแผนการและดําเนินการบํารุงรักษาระบบต่างๆที่มีในห้องสมุด ตามแผนอย่างต่อเนื่อง
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการแผนการและดำเนินการบำรุงรักษาระบบต่างๆ (3.6-1) โดยสำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินการ 2 รูปแบบ ดังนี้ ดำเนินการบำรุงรักษาระบบอาคาร โดยบุคลากรสำนักวิทยบริการ - การเปลี่ยนระบบสวิทซ์ไฟฟ้าเป็นแบบสวิทซ์กระตุก (3.6-2) - การทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ (3.6-3) - การทำความสะอาดของแม่บ้าน (3.6-4) - การตรวจเช็คสภาพและเติมสารดับเพลิงตามระยะเวลา โดยกำหนดบุคลากรตรวจเช็คถังเพลิงให้อยู่ในสภาพปกติและมีการตรวจเช็คจุดสัญญาณเตือนภัย เพื่อตรวจว่าอยู่ในสภาพปกติ (3.6-5) ดำเนินการบำรุงรักษาระบบอาคาร โดยจ้างเหมาบริษัทเอกชน - การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ มีการตรวจเช็คสภาพเครื่องปรับอากาศ กำหนดให้มีการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ ไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง ปรับปรุง ซ่อมแซมกรณีมีการชำรุด บำรุงรักษาตามระยะเวลาที่เหมาะสม (3.6-6) - การบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสาร มีการตรวจเช็คสภาพ ซ่อมบำรุง โดยบริษัททุกระยะ (3.6-7) |
(GL-2565) 3.6-1 แผนการบำรุงดูแลรักษาประจำปี 2565.pdf (GL-2565) 3.6-2 การปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน.pdf (GL-2565) 3.6-3 การปรับปรุงระบบปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพ.pdf (GL-2565) 3.6-4 รายงานการรวจสอบทำความสะอาด.pdf (GL-2565) 3.6-5 บันทึกการตรวจถังดับเพลิง.pdf (GL-2565) 3.6-6 ใบตรวจเช็คสภาพเครื่องปรับอากาศ.pdf (GL-2565) 3.6-7 รายงานการการทำความสะอาดเครื่องถ่ายเอกสารเบื้องต้น.pdf |
3.7 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการรวบรวมและบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า เชื้อเพลิงน้ํา กระดาษ และทรัพยากรอื่นๆ โดยมีการรายงานผลเป็นประจําทุกปีพร้อมกับเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลังเพื่อดูพัฒนาการ
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการใช้พลังงานหลายชนิด ทั้งในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำ กระดาษและการใช้ทรัพยากรอื่นๆ ภายในสำนักงาน แต่จะมีปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าวมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายปัจจัยรวมถึงลักษณะของกิจกรรมต่างๆ ซึ่งสำนักวิทยบริการฯ มีการมอบหมายให้นักบริหารงานทั่วไปดําเนินการรวบรวมและบันทึกข้อมูล ซึ่งใช้ Google Sheet ในการจัดเก็บข้อมูลเป็นประจำทุกเดือน ดังนี้
3.7.4 ข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือนของบุคลากรสำนักฯ
|
(2565) 3.7.4 ข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือนของบุลลากร-25-ส.ค-65 (2).pdf (2565) 3.7.5 ข้อมูลการใช้น้ำมัน.xlsx - เปรียบเทียบการใช้ 61-65.pdf (GL-2565) 3.7.1 ช้อมูลเปรียบเทียบการใช้ไฟฟ้า ปี 2561 - 2565.pdf (GL-2565) 3.7.2 ข้อมูลเปรียบเทียบการใช้น้ำ ปี 61-65.pdf |
3.8 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการด้านการส่งเอกสาร และการเดินทาง โดยการบริหารจัดการระบบรถร่วม หรือการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (eMail), การประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (eMeeting) หรือระบบอื่นๆ เพื่อลดเวลา และลดต้นทุนการส่งเอกสารหรือการเดินทางมาประชุม
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินการด้านการส่งเอกสาร โดยใช้ระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการบริหารจัดการระบบรถร่วม หรือการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email), การประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) หรือระบบอื่นๆเพื่อลดเวลา และลดต้นทุนการส่งเอกสารหรือการเดินทางมาประชุม ดังนี้
3.8.1 ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (e-Document) https://doc.pbru.ac.th/docweb/v2/default.aspx (3.8-1) ในการจัดส่งเอกสาร
3.8.2 ระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี http://mis.pbru.ac.th/service/ (3.8-2) เพื่อขอใช้รถยนต์ส่วนกลางของมหาวิทยาลัยสำหรับการไปราชการและการลาโดยใช้ระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และพิจารณาการใช้รถร่วมกันในกรณีที่เดินทางในช่วงเวลาและเส้นทางใกล้เคียงกัน
3.8.3 ระบบปฏิบัติงานของสำนักวิทยบริการฯ https://arit.pbru.ac.th/book-room/admin/index.php (3.8-3) เป็นระบบภายในหน่วยงานที่ใช้ในการจักดารการลา การอบรม ผลงานของบุคลากรและจัดเก็บผลการดำเนินงานด้านห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียวของสำนักวิทยบริการฯ
3.8.4 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) (3.8-4)
3.8.4 การประชุมแบบออนไลน์ (3.8-5) โดยสำนักวิทยบริการฯ ได้จัดหาโปรแกรม Zoom เพื่อใช้ในการประชุม อบรมและบริการแก่คณาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย
3.8.5 ใช้ Facebook หรือ Line (3.8-6) ในการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน
3.8.6 ใช้ Google Drive (3.8-7) การจัดเก็บเอกสารเพื่อทำงานร่วมกัน
3.8.7 การใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยการติดต่อประสานงานภายในมหาวิทยาลัย (3.8-8)
|
(GL-2565) 3.8-1 ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.pdf (GL-2565) 3.8-2 ระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.pdf (GL-2565) 3.8-3 ระบบปฏิบัติงานของสำนักวิทยบริการฯ.pdf (GL-2565) 3.8-4 การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์.pdf (GL-2565) 3.8-5 ประชุมออนไลน์.pdf (GL-2565) 3.8-6 ใช้ Facebook หรือ Line.pdf (GL-2565) 3.8-7 การใช้ Google Drive ในการจัดเก็บเอกสาร.pdf (GL-2565) 3.8-8 การใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย.pdf |
3.9 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จําแนกจุดหรือกิจกรรมการปรับปรุง วางแผนและดําเนินมาตรการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ/หรือการทํากิจกรรมชดเชยคาร์บอน
|
1. ประชุมคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว 2 ครั้ง (1/2565, 2/2565, 3/2565) มีการทบทวนคำสั่ง แผนพัฒนาคุณภาพ ระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม จัดทำแผนการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกำแผนประเพัฒนาห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ. 2565
2. สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และรวบรวมข้อมูลพื้นฐานและปริมาณการใช้ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำ กระดาษ และปริมาณขยะ เพื่อประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการ ประจำปี พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม พบว่า มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม จำนวน 94.66 tCO2e โดยจำแนกเป็น ปริมาณการใช้น้ำมันสำหรับการเดินทาง การปล่อยสารมีเทนจาก Septic tank การปล่อยสารมีเทนจากบ่อบำบัดแบบไม่เติมอากาศ การใช้สารทำความเย็นแบบ R134A ในประเภทที่ 1 จำนวน 3.75 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 3.96 ของปริมาณการก๊าซทั้งหมดในปี 2565 และมีปริมาณการใช้ไฟฟ้า ในประเภทที่ 2 จำนวน 88.06 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 93.03 ของปริมาณการก๊าซgเรือนกระจกทั้งหมดในปี 2565 และมีปริมาณการใช้น้ำ กระดาษ และปริมาณขยะ/ของเสียฝังกลบ (ขยะส่งกำจัด) ในประเภทที่ 3 จำนวน 2.85 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 3.01 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในปี 2565
เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายที่กําหนดไว้ร้อยละ 10 สํานักวิทยบริการฯ มีแนวโน้มสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ และมีข้อเสนอแนะในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก คือ
จากข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด พบว่า สำนักวิทยบริการมีค่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น และยังมีการใช้ไฟฟ้าที่สูงมาก จึงควรกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ดังนี้
1. ควรติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างเคร่งครัด อาทิ การเดินทางไปราชการทางเดียวกันไปด้วยกัน ลดการใช้พาหนะส่วนตัวในการเดินทางไปราชการ เป็นต้น 2. มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับหน่วยงาน โดยมีการสำรวจและประเมินเครื่องปรับอากาศที่มีการใช้งานมากกว่า 10 ปี หรือชำรุด เพื่อได้รับการสนับสนุนจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการปรับเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศใหม่ โดยเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 และใช้เทคโนโลยี Inverter หรือเทคโนโลยีประหยัดไฟอื่น ๆ 3. จัดหาระบบไฟฟ้าทางเลือก (โซล่า เซลล์) เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าพื้นฐาน 4. ควรมีการทวนสอบการประเมินก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ โดยผู้ทวนสอบจากหน่วยงานภายนอก เพื่อรับรองการประเมินก๊าซเรือนกระจก 5. ควรมีการกำหนดแนวทาง/แผนงานกิจกรรมเพื่อการชดเชยคาร์บอน จากการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ 6. ควรส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ มีการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนบุคคล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง |
(2565) GO1.5-GL3.9-256601-เปรียบเทียบCFO2561-2565.pdf (2565) GO1.5-GL3.9-CFO-2565-final.pdf |
หัวข้อ | ผลการดำเนินงาน | ไฟล์หลักฐาน |
---|---|---|
4.1 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการขยะ โดยเลือกวิธีการจัดการที่เหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ํา (reuse) การนํากลับมาใช้ใหม่ (recycle) มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกและบันทึกปริมาณขยะ มีพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกําจัดและมีวิธีการส่งกําจัดที่เหมาะสมสําหรับขยะแต่ละประเภท
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินงาน ตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่าง เหมาะสม โดยการแบ่งประเภทของขยะออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.ขยะทั่วไป 2. ขยะรีไซเคิล 3. ขยะอ้นตราย 4. ขยะอินทรีย์/ ย่อยสลายได้/เปียก พร้อมทั้งมีการแสดงชัดเจนในการแบ่งตาม สัญลักษณ์ สีของถังขยะ และป้ายแสดงให้เห็น ตัวอย่างของขยะแต่ละประเภท (4.1.1-1.1) และได้จัดทำป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถัง เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บ และนำไปจัดการอย่างเหมาะสม (4.1.1-2.1) สำนักวิทยบริการฯ มีพื้นที่พักขยะทั่วไป อยู่บริเวณด้านข้างของ อาคารสำนักวิทยบริการฯ มีการรองรับเพื่อ ป้องกันน้ำขยะรั่วไหลหรือขยะปลิวออกสู่ภายนอก (4.1.1-3.1) ส่วนขยะอินทรีย์จะถูกไปเทที่จุดถังขยะรักษ์โลก และนำไปเป็นอาหารให้กับสัตว์ (4.1.1-3.2) ขยะรีไซเคิลแยกออกมารวบรวมเพื่อรอการจำหน่าย ให้กับร้านรับซื้อของเก่า ขยะอันตรายจัดเก็บรวบรวมให้ปริมาณเยอะ ๆ เพื่อส่งไปกำจัดอย่างเหมาะสมต่อไป สำนักวิทยบริการฯ มีการสุ่มตรวจสอบการทิ้งขยะ โดยหัวหน้าสำนักงานและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในหมวดที่ 4 ทั้งนี้ได้ดำเนินการตรวจสอบการทิ้งขยะ คัดแยกขยะตามประเภททุกเดือนและกรอกแบบฟอร์มเพื่อรายงานต่อไป (4.1.1-4.1) และสำนักวิทยบริการฯ มีการส่งต่อขยะทั่วไปและขยะอันตรายออกไปกำจัดนอกพื้นที่ (4.1.1-5.1) ซึ่งดำเนินการขนย้ายขยะโดย อบต.นาวุ้ง มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (4.1.1-6.1) และสำนักวิทยบริการฯ ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน |
(GL-2565) 4.1.1-1.1 จุดคัดการคัดแยกขยะพร้อมป้ายบ่งชี้ ปี 65.pdf (GL-2565) 4.1.1-2.1 ป้ายบ่งชี้ถังขยะ 65 .pdf (GL-2565) 4.1.1-3.1 จุดทิ้งขยะป้องกันการรั่วไหลเส้นทางการจัดการขยะ 65.pdf (GL-2565) 4.1.1-3.2 บันทึกข้อมูลปริมาณขยะคัดแยกเพื่อรอจำหน่าย 65 .pdf (GL-2565) 4.1.1-5.1 เส้นทางการจัดการขยะ 65.pdf (GL-2565) 4.1.1-6.1 จุดคัดแยกขยะรวบรวมและขนส่งในมหาลัยเพื่อส่งอบ.ต นาวุ้ง.pdf (GL-2565) 4.1.2-4.1 สรุปข้อมูลปริมาณขยะ-2565.pdf |
4.2 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการน้ําเสียโดยเริ่มจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ํา เพื่อเลือกแนวทางในการจัดการน้ําเสียอย่างเหมาะสม เช่น การเลือกใช้น้ํายาทําความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การติดตั้งระบบบําบัดน้ําเสีย เป็นต้น มีการดูแลและตรวจสอบระบบบําบัดน้ําเสียอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการลดปริมาณการใช้น้ํา หรือใช้น้ําอย่างมีประสิทธิภาพ
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดแผนงานและมาตรการด้านการบำบัดน้ำเสีย ตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2564 โดยมีการติดตั้งถังดักไขมันตามจุดที่มีการใช้งานห้องเตรียมอาหาร ทั้งหมด 4 จุด ได้แก่ 1) ห้องเตรียมอาหาร สำนักงานผุ้อำนวยการ 2) ห้องเตรียมอาหาร ชั้น 1 อาคารบรรณราชนครินทร์ 3) ห้องเตรียมอาหาร ชั้น 6 อาคารบรรณราชนครินทร์ และ 4) ร้านเครืองดื่มและอาหารว่าง Think Cafe @Library มีการกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานบริการทั่วไปดำเนินการตักไขมัน และล้างถังดักไขมันทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ เพื่อดูแลรักษาอุปกรณ์และเป็นการตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อนทื้งลงบ่อบำบัดน้ำเสียของอาคารและปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
ปี พ.ศ. 2564 สำนักวิทยบริการฯ มีการประสานกับคณะวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ดำเนินการวัดคุณภาพน้ำ จากบ่อบำบัดน้ำทิ้ง และแหล่งน้ำข้างอาคารบรรณราชนครินทร์ เพื่อนำผลไปหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพต่อไป |
5.1-4-2565-แผนงานการจัดการของเสีย มลพิษ และความปลอดภัย - Google เอกสาร.pdf |
4.3 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการมลพิษทางอากาศเช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อราเชื้อแบคทีเรีย สารเคมีควันบุหรี่ เป็นต้น มีการจัดพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอและถ่ายเทโดยสะดวก มีการกําจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการกําหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ตลอดจนมีการจัดการเพื่อควบคุมเสียงในห้องสมุด
|
สำนักวิทยบริการฯ 4.3-1 มีแผนงานและดำเนินการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อราเชื้อแบคทีเรีย และดำเนินการจัดการมลพิษทางอากาศ จากแผนการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว โดยกำหนด ผู้รับผิดชอบในการดูแลโดยจัดทำรายละเอียดอย่างชัดเจน 4.3-2 มีแผนการบำรุงดูแลรักษาประจำปี 2565
มีการจัดการพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างพอเพียงและถ่ายเทได้สะดวก เช่น การเปิดประตูห้องสำนักงานและการเปิดหน้าต่างห้องครัว และ 4.3-2 มีการตรวจการทำงานของแม่บ้านอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกำหนดมาตรการและตรวจสอบการจัดการมลพิษทางอากาศอย่างสม่ำเสมอ เช่น 4.3-3 กำหนดให้มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสือ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง การทำความสะอาดบริเวณพื้นที่บริการทุกวันทำการ เพื่อลดมลพิษทางอากาศมีการดำเนินมีการทำกิจกรรม 5 ส อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจัดระเบียบและทำความสะอาดพื้นที่บริการเดือนละ 2 ครั้ง 4.3-4 ตารางการทำความสะอาดชั้น 4.3-5 กำหนดให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ 4.3-6 โดยการติดป้ายประกาศและมีการตรวจตราเป็นประจำ 4.3-7 มีการจัดการเพื่อควบคุมเสียง มีการจัดพื้นที่ใช้เสียง |
(GL-2565) 4.3 -2 ภาพอากาศถ่ายเทได้สะดวก.pdf (GL-2565) 4.3-1 แผนการบำรุงดูแลรักษาประจำปี-2565.pdf (GL-2565) 4.3-3 ภาพการทำความสะอาดชั้นหนังสือ (1).pdf (GL-2565) 4.3-4 รายงานการตรวจสอบทำความสะอาดพื้น.pdf (GL-2565) 4.3-5 ภาพการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่.pdf (GL-2565) 4.3-6 การติดตั้งป้ายห้ามสูบบุหรี่หรือสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่.pdf (GL-2565) 4.3-7 ภาพการงดใช้เสียง.pdf |
4.4 มีการดําเนินกิจกรรม 5 ส.อย่างสม่ำเสมอเพื่อจัดพื้นที่บริการและพื้นที่สํานักงานให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย
|
สำนักวิทยบริการฯ มีแผนการดำเนินงาน 5ส. โดยให้บุคลากรรับผิดชอบพื้นที่ของตนเองด้านความสะอาดทุกวันอย่างต่อเนื่อง คือ สะสาง สะอาด สะดวก สุขลักษณะ และสร้างนิสัยอย่างสม่ำเสมอ (4.4.1) |
(2565) 4.4-1 แผนการดำเนินงาน 5 ส.pdf (2565) 4.4-5-แบบสรุปผลการตรวจประเมินกิจกรรม-5ส.pdf (2565) 4.4.4 แบบประเมิน-5-ส.-65.pdf |
4.5 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ระงับเหตุฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย อุทกภัย และวาตภัย เป็นต้น ตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมหรือตามที่กฎหมายกําหนด รวมทั้ง การดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉินดังกล่าว ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินงานเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาหรือเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นดังนี้ 1. แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล และดำเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน ได้แก่ (4.5-1)
1.1 นายพีรวัฒน์ เพ่งผุดผ่อง
1.2 นายวิวัฒน์ เพิ่มสุข
2. สำนักวิทยบริการฯ จัดทำแผนการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน (4.5-2)
3. เนื่องด้วยสถานะการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกัน สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดให้บุคลากรจำนวน 5 คน เข้าร่วมอบรม "การป้องกันอัคคีภัยในสถานศึกษา" ในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ณ อาคารโรงเรียนการอาหารนานาชาติ จัดโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (4.5-3.1) และสำนักวิทยบริการฯ ได้จัดการอบรมหลักสูตร "การดับเพลิงเบื้องต้น" ในรูปแบบออนไลน์ให้กับบุคลากรของสำนักฯ จำนวน 24 คน โดยการศึกษาเนื้อหาผ่านทาง Youtube (https://www.youtube.com/watch?v=H2LeFfczxfU) ซึ่งการจัดอบรมดังกล่าวมีการวัดผลการอบรมพบว่า บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจก่อนการอบรมคิดเป็นร้อยละ 48.33% และหลังการอบรมมีความรู้ความเข้าใจคิดเป็นร้อยละ 89.17% บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น 40.84% (4.5-3.2)
4. สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการตรวจสอบและบันทึกการดูแลอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยต่างๆ ที่ใช้ระงับเหตุ ภายในสำนักวิทยบริการฯ ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 6 ครั้ง/ปี
4.1 บันทึกการตรวจถังดับเพลิง (4.5-4.1)
4.2 บันทึกการตรวจเครื่องตรวจจับควัน (4.5-4.2)
4.3 บันทึกการตรวจสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน (4.5-4.3)
|
(GL-2565) 4.5-1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียว-2565.pdf (GL-2565) 4.5-2 แผนงานและดำเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน 2565.pdf (GL-2565) 4.5-3.1 การอบรมการป้องกันอัคคีภัยในสถานศึกษา.pdf (GL-2565) 4.5-3.2 สรุปผลการอบรมดับเพลิงเบื้องต้น รูปแบบออนไลน์ 2565.pdf (GL-2565) 4.5-4.1 บันทึกการตรวจถังดับเพลิง.pdf (GL-2565) 4.5-4.2 บันทึกการตรวจเครื่องตรวจจับควัน.pdf (GL-2565) 4.5-4.3 บันทึกการตรวจสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน.pdf |
หัวข้อ | ผลการดำเนินงาน | ไฟล์หลักฐาน |
---|---|---|
5.1 กําหนดให้มีนโยบายการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดําเนินงาน แต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารและผู้แทนบุคลากรห้องสมุด เพื่อร่วมกันวางแผนและกําหนดแผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียวไว้ในแผนงานประจําปีมีการกํากับติดตามให้มีการดําเนินการตามแผนและมีการรายงานผลตามแผนไม่ต่ำกว่าปีละ 2 ครั้ง
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้ สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (5.1-2) และดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2565 (5.1-3) โดยมีผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มาพิจารณาและทบทวนแผน ทั้งนี้ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ ได้ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยมีวิสัยทัศน์คือ ให้สำนักวิทยบริการฯเป็นองค์กรแห่งการจัดการสมัยใหม่และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพสูง และประชาสัมพันธ์นโยบายให้กับบุคลากรและผู้รับบริการทราบ สำนักวิทยบริการฯ มีการประชาสัมพันธ์นโยบายให้กับบุคลากรและผู้รับบริการทราบไว้ 4 ช่องทาง ได้แก่ สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินการตามแผนและมีการรายงานผลตามแผน ให้คณะกรรมการประจำสำนักฯได้รับทราบ (5.1-8),(5.1-9) |
(2565) 5.1-1 ประกาศนโยบาย.pdf (2565) 5.1-2 แบบเสนอโครงการที่-11-ปีงบประมาณ-2565ห้องสมุด.pdf (2565) 5.1-3 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียว.pdf (2565) 5.1-4 แจ้งหนังสือเวียนบันทึกข้อความไปยังบุคลากรทุกคน.pdf (2565) 5.1-5 ประกาศนโยบายในลิฟท์.pdf (2565) 5.1-6 ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว.pdf (2565) 5.1-7 ประกาศนโยบายทางบอร์ดประชาสัมพันธ์.pdf |
5.2 กําหนดให้มีแผนงานและการจัดกิจกรรมให้บุคลากรห้องสมุด ผู้รับบริการ ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมและมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น
|
สำนักวิทยบริการ ฯ ได้จัดทำแผนงานส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่
1.1 มีแผนงานการจัดกิจกรรมตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (5.2-1) 1.2 กิจกรรมจัดมุมพลังงานแผละสิ่งแวดล้อมแบบหมุนเวียน โดยมีทรัพยากรสารสนเทศประมาณ 100 เล่ม จัดแสดงพร้อมวีดิทัศน์ นำเสนอรายการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม(5.2-2) |
5.2-1 แผนการจัดกิจกรรม.pdf 5.2.2 กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf |
5.3 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่มีความทันสมัยและหลากหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง จํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมด และจัดเตรียมให้อยู่ในสภาพพร้อมให้บริการ
|
สำนักวิทยบริการฯ มีแผนงานและดำเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม (5.3-1) ทั้งที่จัดซื้อหรือการขอรับบริจาคในแต่ละปีงบประมาณและมีรายงานแสดงทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อมจำนวนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่า 300 รายการ (5.3-2) และจัดเตรียมให้อยู่ในสภาพพร้อมให้บริการ (5.3-3) |
(2565) 5.3-1 แผนจัดหาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม.pdf (2565) 5.3-2 ผลรวมทรัพยากรสารสนเทศ 2565.pdf (2565) 5.3-3 ภาพการจัดเตรียมทรัพยากรด้านสิ่งแวดล้อมพร้อมใช้บริการ.pdf |
5.4 กําหนดให้มีบริการสืบค้นสารสนเทศ การสอนการรู้สารสนเทศ และการส่งเสริมการใช้สารสนเทศ รวมทั้งให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือการแลกเปลี่ยนสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระหว่างห้องสมุดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
การให้บริการสืบค้นสารสนเทศ จะมีบรรณารักษ์หมุนเวียนมาให้บริการสืบค้นสารสนเทศ ณ เคาน์เตอร์ Customer Care (5.4-1) เป็นประจำทุกวัน และเพื่อให้ผู้ใช้บริการรับรู้ว่ามีทรัพยากรสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมให้บริการในสำนักวิทยบริการฯ บรรณารักษ์จะแนะนำวิธีการสืบค้นสารสนเทศโดยยกตัวอย่างคำค้นที่เกี่ยวข้องกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น รีไซเคิล การประหยัดพลังงาน solar cell เป็นต้น และจะใช้คำค้นดังกล่าวเป็นตัวอย่างในระหว่างการสอนการรู้สารสนเทศด้วยเช่นกัน โดยมีกำหนดจัดอบรมการค้นคืนสารสนเทศจากฐานข้อมูลต่าง ๆ เป็นประจำทุกเดือน (5.4-2) ผู้ใช้บริการสามารถติดตามโปรแกรมการอบรมและลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมได้ที่เว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการฯ นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมเว็บไซต์หน่วยงานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นแหล่งสารสนเทศในการให้บริการสืบค้นข้อมูลนอกเหนือจากทรัพยากรสารสนเทศที่มีในห้องสมุด (5.4-3) เพื่อเป็นการแนะนำและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิทยบริการฯ ได้นำหนังสือ ตำราด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่มีในห้องสมุดมาจัดแสดงที่ มุมพลังงานและสิ่งแวดล้อม บริเวณใกล้ห้องรับรองชั้น 1 หมุนเวียนทุกๆ 2 เดือน (5.4-4) ผู้ใช้บริการจึงสามารถนำไปยืมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งแนะนำหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามช่องทางต่าง ๆ อาทิ เฟสบุ๊ค, จอ LED TV, เว็บไซต์ ไลน์ เป็นต้น (5.4-5) |
(GL-2565) 5.4-1 บริการสืบค้นสารสนเทศ ณ เคาน์เตอร์ Customer Care.pdf (GL-2565) 5.4-2.1 อบรมการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศจากฐานข้อมูล.pdf (GL-2565) 5.4-4 มุมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf |
5.5 กําหนดให้มีแผนงานและจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่มีรูปแบบหลากหลายสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
|
สำนักวิทยบริการฯ มีแผนงานจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และได้ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบที่หลากหลายและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ 1. กิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัล ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1.1 กิจกรรม "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" 1.2 กิจกรรม “วันดินโลกและวันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมใจคืนสมดุลสู่ธรรมชาติ” 1.3 กิจกรรมยืมหนังสือมุมพลังงานและสิ่งแวดล้อม รับเมล็ดผักฟรี 2. จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 ช่องทาง ดังนี้ 1. เว็ปไซด์ Green office & Green library 2. เพจ facebook : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 3. ช่อง youtube : arit pbru channel
|
(2565) youtube arit pbru channel.pdf (2565) สรุปกิจกรรมยืมหนังสือสิ่งแวดล้อมรับเมล็ดผักฟรี!.pdf (2565) สรุปกิจกรรมวันดินโลกและวันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมใจคืนสมดุลสู่ธรรมชาติ.pdf (2565) สรุปกิจกรรมวันฝนหลวง.pdf (2565) เพจ facebook สำนักวิทยบริการ.pdf (2565) เว็ปไซด์ Green office & Green library.pdf |
5.6 กําหนดให้มีแผนงานและจัดการฝึกอบรมหรือการพัฒนาบุคลากรห้องสมุด ให้มีความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นประจําทุกปี
|
1. สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (GL5.6-1) โดยมีผู้รับผิดชอบคือนางสาวแขนภา ทองตัน ตามคำสั่งที่ 001/2565 ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ ในปี 2565 ได้ดำเนินการจัดอบรมทั้งหมด 5 หลักสูตร ดังนี้
1. ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว 2. การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 3. การจัดการมลพิษและของเสีย 4. การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5. ก๊าซเรือนกระจก 2. บุคลากรสำนักวิทยบริการฯ จำนวน 24 คน ได้รับการพัฒนาการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้ง 5 หลักสูตร และผ่านการอบรม จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 55.40 และแบบทดสอบหลังการอบรม คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 98.08 ดังผลสรุปการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2565 (GL5.6-2) และสรุปผลการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อมรายหลักสูตร (GL5.6-3)
|
(2565) GL5.6-1 แผนการเพิ่มทักษะความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2565-New.pdf (2565) GL5.6-2 สรุปผลการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม 2565 - New.pdf (2565) GL5.6-3 สรุปผลการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม รายหลักสูตร- Full.pdf |
5.7 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินจัดกิจกรรมประหยัดพลังงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตลอดปี
|
สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2565 โดยมีผู้รับผิดชอบคือ นายวิโนจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา จำนวน 9 หัวข้อ และได้กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสาร ดังนี้ (5.7 - 1) สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงานที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร ได้แก่ (5.7 - 2) 1. ประชุมชี้แจง สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน ให้เกิดการรับรู้และรับทราบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (5.7 - 3) 1. กลุ่มเป้าหมาย ภายใน คือ ผู้บริหารและบุคลากรสำนักฯ 2. กลุ่มเป้าหมาย ภายนอก คือ ผู้ใช้บริการห้องสมุด (นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร มรภ.พบ. ศิษย์เก่าและบุคคลภายนอก) |
(GL-2565) 5.7 - 1 แผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2565.pdf (GL-2565) 5.7 - 2 ช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก 2565.pdf (GL-2565) 5.7 - 3 กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม 2565.pdf |
หัวข้อ | ผลการดำเนินงาน | ไฟล์หลักฐาน |
---|---|---|
6.1 กําหนดให้มีแผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว โดยผู้บริหารห้องสมุด รวมทั้งรับฟังความเห็นจากบุคลากรและผู้รับบริการ และเสนอให้คณะกรรมการประจําหน่วยงาน ตลอดจนผู้บริหารระดับเหนือชั้นขึ้นไปรับทราบ ชี้แจงบทบาทด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มรับทราบ ได้แก่ บุคลากรผู้รับบริการและผู้ประกอบการ
|
สำนักวิทยบริการฯ กำหนดนโยบายห้องสมุดสีเขียว โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกภาคส่วน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดเขียว (6.1-1) กำหนดบทบาทของผู้บริหาร บุคลากร และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้มีส่วนร่วมและตระหนักในการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว 8 หมวด รับฟังความคิดเห็นจากบุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวแผน ประจำปี 2566 (6.1-2) และแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว 2566 (6.1-3) มีการรายงานผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวต่อคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการฯ ตลอดจนผู้บริหารระดับเหนือชั้นขึ้นไปรับทราบ (6.1-4)
สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ชี้แจงบทบาทและนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มรับทราบ ได้แก่ บุคลากร ผู้ใช้บริการ ผู้ประกอบการ หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ทั้งทางออนไลน์และเอกสาร โดยมีช่องทางการประชาสัมพันธ์ ดังนี้ เว็บไซต์ https://localphetchaburi.net/green/ ,ไลน์ ID Line: @944jtkcpj, Fanpage สำนักวิทยบริการ (6.1-5) การติดป้ายประชาสัมพันธ์ตามสถานที่ต่างๆ ภายในสำนักฯ (6.1-6)
|
(GL-2565) 6.1-1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ.2565.pdf (GL-2565) 6.1-2 แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว-พ.ศ.-2562-2566.pdf (GL-2565) 6.1-3 แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว.pdf (GL-2565) 6.1-4 ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.pdf (GL-2565) 6.1-5 ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว.pdf (GL-2565) 6.1-6 ป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณหน้าทางเข้าและพื้นที่ของสำนักวิทยบริการ.pdf |
6.2 กําหนดให้มีแผนงานพัฒนาความรู้ให้กับบุคลากร โดยบุคลากรห้องสมุดจะต้องเข้าร่วมการอบรมที่หน่วยงานจัด หรือเข้าร่วมการประชุมสัมมนา หรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหรือสิ่งแวดล้อม และกําหนดภาระงานให้บุคลากรมีส่วนร่วมดําเนินงานในการจัดกิจกรรม และ/หรือ การให้บริการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
|
1. สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (GL6.2-1) โดยมีผู้รับผิดชอบคือนางสาวแขนภา ทองตัน ตามคำสั่งที่ 001/2565 ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ ในปี 2565 ได้ดำเนินการจัดอบรมทั้งหมด 5 หลักสูตร ดังนี้
1. ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว 2. การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 3. การจัดการมลพิษและของเสีย 4. การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5. ก๊าซเรือนกระจก 2. บุคลากรสำนักวิทยบริการฯ จำนวน 24 คน ได้รับการพัฒนาการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้ง 5 หลักสูตร และผ่านการอบรม จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 55.40 และแบบทดสอบหลังการอบรม คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 98.08 ดังผลสรุปการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2565 (GL6.2-2) และสรุปผลการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อมรายหลักสูตร (GL6.2-3)
|
(2565) GL6.2-1 แผนการเพิ่มทักษะความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2565-New.pdf (2565) GL6.2-2 สรุปผลการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม 2565 - New.pdf (2565) GL6.2-3 สรุปผลการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม รายหลักสูตร- Full.pdf |
6.3 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการที่ดําเนินการในอาคารห้องสมุด หรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับกิจการห้องสมุด ดําเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และให้ความร่วมมือในการดําเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องตามข้อกําหนดและเงื่อนไขการว่าจ้าง (Term of Reference: TOR) หรือตามรายละเอียดที่ห้องสมุดกําหนด
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้พื้นที่ของห้องสมุดเป็นสถานประกอบการ (Think Cafe) เพื่อให้มีการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.3-1, 6.3-2) และในกรณีที่จัดจ้างหน่วยงานที่ไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรอง จะดำเนินการประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้างเบื้องต้น เพื่อให้มีการปฏิบัติงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.3-3) |
(GL-2565) 6.3-1 บันทึกข้อตกลงการใช้พื้นที่ของห้องสมุดเป็นสถานประกอบการ.pdf (GL-2565) 6.3-2 สัญญาเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร บริษัท ริโก้ (ประเทศไทย) จำกัด.pdf (GL-2565) 6.3-3 การประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้าง.pdf (GL-2565) 6.3-4 ใบอนุญาตเข้าปฏิบัติงานและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม.pdf (GL-2565) 6.3-5 การอบรมให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้รับจ้าง.pdf |
6.4 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการแจ้งให้ผู้รับบริการรับทราบนโยบายและขอความร่วมมือในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
|
สำนักวิทยบริการฯ มีแผนงานและดำเนินการแจ้งให้ผู้รับบริการรับทราบตามประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (6.4-1) และเรื่องมาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว เพื่อสร้างจิตสำนึกและขอความร่วมมือในการปฏิบัติตนช่วยกันอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (6.4-2)
ทั้งนี้ สำนักวิทยบริการฯ มีช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อการรณรงค์ ชี้แจงข่าวสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล ผ่านช่องทางในรูปแบบ Onsite และ Online ดังนี้ การสื่อสารภายใน (การติดบอร์ด ป้ายประชาสัมพันธ์) 6.4.3.1 ประกาศแจ้งผู้ใช้บริการภายในสำนักวิทยบริการฯ รับทราบทางบอร์ดประชาสัมพันธ์
6.4.3.2 ประกาศนโยบายภายในลิฟท์ 6.4-3.3 ป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณหน้าทางเข้าและพื้นที่ของสำนักวิทยบริการ 6.4-3.4 การรณรงค์การใช้บันไดและการใช้ลิฟต์ กรณีขึ้นลงชั้นเดียว
6.4-3.5 การรณรงค์การเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศ
การสื่อสารภายนอก (ผ่านทาง Social Network)
6.4-3.6 เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวของสำนักวิทยบริการฯ
|
(GL-2565) 6.4-1 นโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf (GL-2565) 6.4-2 มาตรการห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว-2565.pdf (GL-2565) 6.4-3.1 ประกาศนโยบายทางบอร์ดประชาสัมพันธ์.pdf (GL-2565) 6.4-3.2 ประกาศนโยบายในลิฟท์.pdf (GL-2565) 6.4-3.3 ป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณหน้าทางเข้าและพื้นที่ของสำนักวิทยบริการ.pdf (GL-2565) 6.4-3.4 การรณรงค์การใช้บันไดและการใช้ลิฟต์ กรณีขึ้นลงชั้นเดียว.pdf (GL-2565) 6.4-3.5 การรณรงค์การเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศ.pdf (GL-2565) 6.4-3.6 ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว.pdf (GL-2565) 6.4-3.7 Line official ของสำนักวิทยบริการฯ.pdf (GL-2565) 6.4-3.8 ประชาสัมพันธ์ผ่าน Fanpage สำนักวิทยบริการฯ.pdf |
หัวข้อ | ผลการดำเนินงาน | ไฟล์หลักฐาน |
---|---|---|
7.1 เข้าร่วมในเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดสีเขียว หรือเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกับห้องสมุดอื่นๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการความรู้หรือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เช่น การจัดการประชุม การสัมมนา และ/หรือ การเข้าร่วมประชุม เข้าร่วมสัมมนา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
|
สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวประจำปี 2562-2566 (ฉบับปรับปรุง) และ แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2565 ซึ่งมีแผนงานเกี่ยวกับความร่วมมือในยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างเครือข่ายและความร่วมมือด้านการพัฒนาและส่งเสริมห้องสมุดสีเขียว กลยุทธ์ที่ 7 พัฒนาความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว โดยมีการส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมสัมมนาหรือเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมร่วมกับเครือข่ายกลุ่มต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งในปีพ.ศ.2565 สำนักวิทยบริการฯ ได้ส่งบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้ 7.1 เครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว สำนักวิทยบริการฯ ส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ โดยภาพรวมผู้เข้าร่วมฟังการเสวนามีความพึงพอใจคิดเป็น ร้อยละ 85.41 7.1.2 สำนักวิทยบริการฯ ได้สมัครเข้ารับการตรวจประเมินตามเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว เพื่อต่ออายุการรับรอง ซึ่งสำนักวิทยบริการฯ ได้รับการตรวจประเมินฯ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2564 จากคณะกรรมการบริหารชมรมห้องสมุดสีเขียว สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ จำนวน 3 ท่าน คือ การตรวจประเมินจะตรวจตามเกณฑ์การประเมินห้องสมุดสีเขียว 8 หมวด ดังนี้ ผลการประเมินสำนักวิทยบริการฯ ผ่านการตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2564 (การต่ออายุ) ซึ่งคณะกรรมการบริหารชมรมห้องสมุดสีเขียว สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงการดำเนินห้องสมุดสีเขียวให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนต่อไป โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
หมวดที่ 4 การจัดการของเสียและมลพิษ หมวดที่ 5 การบริหารจัดการและการให้บริการห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม หมวดที่ 6 บทบาทของบุคลากรห้องสมุดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หมวดที่ 7เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด หมวดที่ 8 การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว ข้อสังเกตจากคณะกรรมการตรวจประเมิน ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียว 7.1.3 สำนักวิทยบริการฯ ได้ขอรับการประเมินสำนักงานสีเขียว ในปี พ.ศ. 2563 และได้รับการตรวจประเมินเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว (Green Office) ปี 2563 เมื่อวันจันทร์ ที่ 28 กันยายน พ.ศ.2563 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้สำนักวิทยบริการฯ ผ่านเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว ระดับดีมาก(เหรียญเงิน) 7.2 เครือข่ายโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและโรงเรียนกองทุนเพื่อการศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ กิจกรรมครั้งนี้สอดคล้องกับมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม คือ มาตรการการใช้ทรัพยากรอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ 7.3 อบรมจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้สำนักวิทยบริการฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการดำเนินงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนกองทุนการศึกษา และโรงเรียนเครือข่าย พื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 19 โรงเรียน |
7.1.1 การเสวนาและการประชุมสามัญประจำปี 2564 ชมรมห้องสมุดสีเขียว.pdf 7.1.2.pdf |
หัวข้อ | ผลการดำเนินงาน | ไฟล์หลักฐาน |
---|---|---|
8.1 ผู้บริหารห้องสมุด ต้องกําหนดตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยติดตาม ประเมินผลเป็นประจําทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งในเรื่องต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
- ประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม เช่น Energy Utilization Index(EUI)
- ประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะ เช่น ปริมาณขยะลดลง และร้อยละของปริมาณขยะที่นํามา reuse, recycle เพิ่มขึ้น
- ประเมินประสิทธิภาพการจัดการน้ําเสีย
- ประเมินประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ไม่มีเรื่องร้องเรียนจากผู้รับบริการเกี่ยวกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคาร จํานวนครั้งของการล้างระบบปรับอากาศต่อปี เป็นต้น
- ประเมินประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก เช่น ร้อยละของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรต่อจํานวนผู้มารับบริการ เป็นต้น
|
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวตามแผนงานและมาตรการที่กำหนดในแผนพัฒนาห้องสมุดปี พ.ศ. 2565 โดยมีบุคลากรฝ่ายงานต่างๆ ของสำนักวิทยบริการฯ เป็นผู้ขับเคลื่อน ตั้งแต่การประชุมคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ติดตาม ตรวจสอบ และรายงานผลการดำเนินงาน ปี พ.ศ. 2564 เพื่อนำมาปรับตัวชี้วัดในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งสำนักวิทยบริการได้กำหนดตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2565 รวมทั้งสิ้น 9 ตัวชี้วัด ครอบคลุมประสิทธิภาพ 6 ด้าน ประกอบด้วย 1. ประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม
- Energy Utilization Index (EUI) >/=0
- ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 5
2. ประสิทธิภาพการจัดการขยะ
- ลดปริมาณขยะและของเสีย ร้อยละ 15 3. ประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสีย
- ลดปริมาณการใช้น้ำ ร้อยละ 5 4. ประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ
- ผลการประเมินกิจกรรม 5 ส. เฉลี่ยร้อยละ 80 5. ประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 10
- ลดปริมาณการใช้กระดาษ ร้อยละ 5
- ลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 5
- ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 5
- ลดปริมาณการใช้น้ำ ร้อยละ 5
- ลดปริมาณขยะและของเสีย ร้อยละ 15
6. ประสิทธิภาพการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
- ร้อยละของจำนวนบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ ที่ผ่านการทดสอบความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 80 ซึ่งผลการดำเนินงานมีดังนี้ (สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพตามตัวชี้วัดด้านการอนุรักษ์ษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม)
|
(2565) รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2565.pdf (2565) แบบประเมินตนเองตามเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียวประจำปีพ.ศ.2565.pdf (GL-2565) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ.2565.pdf (GL-2565) สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพตามตัวชี้วัดด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf |