หัวข้อ | ผลการดำเนินงาน | ไฟล์หลักฐาน |
---|---|---|
1.1 กําหนดวิสัยทัศน์พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2566 ได้รับการอนุมัติจากผู้อำนวยการสำนักฯ ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อทบทวนและกำหนดนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มีการประชุมกำหนดเป้าหมาย แผนงาน/มาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และรายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักฯ) จากการทบทวนและกำหนดนโยบายฯ ดังกล่าว
ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้สำนักวิทยบริการฯเป็นองค์กรแห่งการจัดการสมัยใหม่และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพสูง และประชาสัมพันธ์นโยบายให้กับบุคลากรและผู้รับบริการทราบ
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้มีการกำหนดและประกาศเป้าหมาย ดังนี้
1. ร้อยละของการใช้ไฟฟ้าที่ลดลงเฉลี่ยต่อคน ร้อยละ 30 2. ร้อยละของการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงเฉลี่ยต่อคน ร้อยละ 30
3. ร้อยละของการใช้น้ำที่ลดลงเฉลี่ยต่อคน ร้อยละ 10
4. ร้อยละของการใช้กระดาษที่ลดลงเฉลี่ยต่อคน ร้อยละ 15
5. ร้อยละปริมาณของเสียที่ลดลงเฉลี่ยต่อคน ร้อยละ 30
6. ร้อยละของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงเฉลี่ยต่อคน ร้อยละ 20
|
(2566) 1.1-1.1 แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว พ.ศ.2562-2566.pdf (2566) 1.1-1.2 คำสั่งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2566.pdf (2566) 1.1-1.3 ประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf (2566) 1.1-1.4 ประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง เป้าหมายการใช้พลังงานและทรัพยากร.pdf (2566) 1.1-1.5 ประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง มาตรการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานฯ.pdf (2566) 1.1-1.6 แผนปฏิบัติการห้องสมุดสีเขียวประจำปี 2566.pdf |
1.2 วิเคราะห์ประเด็นปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นข้อมูลในการกําหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์และนําไปสู่การกําหนดแนวทางการดําเนินงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์พันธกิจ การเป็นห้องสมุดสีเขียว
|
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีการจัดลำดับรายการปัญหาสิ่งแวดล้อมได้จำนวน 4 ประเด็น คือ
1. ไฟฟ้า
2. หลอดไฟใช้แล้ว
3. ขยะจากการซ่อม
4. ขยะจากบรรจุภัณฑ์
ทั้งมีการสรุป วิเคราะห์และมีแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสาคัญ โดยจัดทำเป็นประกาศสำนักวิทยบริการฯ ว่าด้วยเรื่อง มาตรการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาตรการอย่างครบถ้วน และสำนักวิทยบริการฯ ยังมีการจัดทำแผนระงับเหตุฉุกเฉินเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉิน
|
(2566) 1.2-1.2 ทะเบียนระบุประเด็นปัญหาด้านมลพิษ(Output).pdf (2566) 1.2-1.3 ทะเบียนระบุประเด็นปัญหาด้านทรัพยากร(Input).pdf (2566) 1.2-1.4 ทะเบียนจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญด้านทรัพยากร(Input).pdf (2566) 1.2-1.5 ทะเบียนจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญด้านมลพิษ (Output).pdf (2566) 1.2-1.6 ทะเบียนจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ.pdf (2566) 1.2-1.7 การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ.pdf (2566) 1.2-1.8 ประเด็นความสอดคล้องของกฎหมายกับการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ.pdf (GL-2566) 1.2-1.1 ตารางวิเคราะห์กระบวนการทำงาน.pdf |
1.3 กําหนดขอบเขตการดําเนินงานตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งสามารถดําเนินการทั้งหมด หรือเฉพาะส่วน โดยไม่นับรวมกิจกรรมของห้องสมุดที่ไม่มีนัยสําคัญในการก่อให้เกิด ผลกระทบต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ต้องมีการชี้แจงเหตุผลประกอบใน กรณีที่ไม่ดําเนินการทั้งหมด
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดและขออนุมัติขอบเขตพื้นที่ ขอบเขตกิจกรรม และผู้รับผิดชอบ ตามบันทึกข้อความ ที่ พิเศษ/2566 ลงวันที่ 28 มกราคม 2566 เรื่อง ขออนุมัติกำหนดขอบเขตพื้นที่และขอบขตกิจกรรม สำนักวิทยบริการฯ (1.3-1.1) มีการจัดทำแผนผังพื้นที่ ประกอบด้วย อาคารศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น (อาคารหอสมุดเดิม) และอาคารบรรณราชนครินทร์ ตลอดจนพื้นที่สีเขียว และทางเดินหรือพื้นซีเมนต์โดยรอบอาคาร บนเนื้อที่ 10,824.5 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอยของอาคารและพื้นที่โดยรอบ ทั้งสิ้น 16,975.47 ตารางเมตร ดังปรากฎในแผนปฏิบัติการห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2566 หน้า 8-31 (1.3-1.2) ดังนี้
1. อาคารทั้ง 2 หลังอยู่บนเนื้อที่ 3,217.5 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอยของอาคารทั้งหมดจำนวน 9,367.97 ตารางเมตร โดยจำแนกเป็นพื้นที่อาคาร ดังนี้ 1.1 อาคารศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น (อาคารหอสมุดเดิม) อยู่บนเนื้อที่ 2,172 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอยของอาคาร 3056.27 ตารางเมตร 1.2 พื้นที่อาคารบรรณราชนครินทร์ อยู่บนเนื้อที่จำนวน 1,045.5 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอยของอาคาร 6,311.70 ตารางเมตร 2. มีพื้นที่โดยรอบ 7,607.5 ตารางเมตร โดยจำแนกเป็น และมีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของสำนักวิทยบริการฯ ทั้งหมด ประกอบด้วย |
(2566) 1.3-1.1-ขออนุมัติขอบเขต.pdf (2566) 1.3-1.2-แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียวปีพ.ศ.2566_compressed.pdf |
คำอธิบาย
ห้องสมุดต้องมีโครงสร้างพื้นฐานหรือลักษณะทางกายภาพ ที่เอื้อต่อการลดการใช้พลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการให้บริการและการบริหารจัดการห้องสมุด
กรณีเป็นอาคารเก่า
มีแผนงานและมาตรการ ในการปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
หัวข้อ | ผลการดำเนินงาน | ไฟล์หลักฐาน |
---|---|---|
2.1 มีการศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิมที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
|
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบหมวด 2 ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2566 (2.1-1) มีการสำรวจและศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิมที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี จากการศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิมของสำนักวิทยบริการฯ พบว่า สำนักวิทยบริการฯ มีสภาพของอาคารที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม อาทิ ระบบเครื่องปรับอากาศของอาคารบรรณาราชนรินทร์ที่ชำรุดเป็นจำนวนมาก และมีการรั่วไหลของอากาศระหว่างชั้น และส่วนของห้องน้ำ ทำให้ควบคุมอุณหภูมิในบริเวณต่างๆ ของห้องสมุดได้ยาก และการใช้ระบบไฟฟ้าแบบแผง (Section) ทำให้เกิดการสูญเสียไฟฟ้าในจุดที่ไม่มีเจ้าหน้าที่หรือผู้ใช้บริการอยู่ และความต้องการมองเห็นทัศนียภาพโดยรอบของผู้ใช้บริการเมื่อมาค้นคว้าหรืออ่านหนังสือในห้องสมุด ตลอดจนแสงสว่างในบางพื้นที่ อาทิ ชั้น 2-5 อาคารบรรณราชนครินทร์ Thinkcafe @Library ซึ่งจะมีนักศึกษามาพบปะพูดคุย/ทำงานกลุ่ม/ทำกิจกรรมต่าง ๆ พบว่ามีแสงสว่างไม่เพียงพอ และตามชั้นหนังสือที่ชั้น 3-5 ที่มีแสงสว่างไม่ทั่วถึง ทำให้อาคารสำนักวิทยบริการมีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูง และการรรั่วไหลของน้ำฝนบริเวณดาดฟ้าหลังคา และฝ้าเพดานของอาคารหอสมุดเดิม |
(GL-2566) 2.2-1 คำสั่งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2566.pdf |
2.2 มีแผนงานและมาตรการการปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคาร หรือมาตรการอื่นที่เทียบเท่า ให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในเรื่องต่อไปนี้
1) มีการปรับปรุงโครงสร้างอาคารและวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
2) มีการปรับปรุงระบบปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพ
3) มีการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน
4) มีการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยเลือกปลูกพืชพื้นถิ่น หรือพืชที่ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก หรือปลูกพืชใช้น้ําน้อย หรือพืชที่ใช้ประโยชน์เพื่อเป็นอาหารและจัดการภูมิทัศน์ให้มีความร่มรื่นสวยงาม
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคาร ให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตามแผนงานและมาตรการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ดังนี้ 1. มีการปรับปรุงระบบปรับอากาศให้มีประสิทธืภาพ มีการดำเนินการปรับปรุงเครื่องปรับอากาศโดยการบำรุงรักษาแบบย่อย โดยเจ้าหน้าที่ของสำนักวิทยบริการฯ โดยการล้างทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ ทุก 3 เดือน (2.2-1) 2. มีการดำเนินการล้างแอร์เบื้องต้นเพื่อตรวจสอบการใช้งานให้มีประสิทธิภาพ (2.2-2) 3. การปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน มีการปรับปรุงระบบไฟฟ้าส่องสว่างที่ประหยัดพลังงานโดยการปรับเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าที่เป็นหลอดแบบชนิดไส้หลอดมาเป็นหลอด LED และปรับเปลี่ยนหลอดที่มีกำลังไฟฟ้าสูงๆมาเป็นหลอดที่มีกำลังไฟฟ้าที่ต่ำลงเพื่อเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้า (2.2-3) 4. การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยการจัดสวนแนวตั้งจากการนำชั้นวางหนังสือเก่าอโดยการปลูกพืชที่ช่วยดูดซับมลพิษและช่วยลดปริมาณกาศเรืองกระจก เช่น ต้นหนวดฤาษี ต้นพูด่าง ต้นหัวใจเศรษฐี และปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยเพื่อเป็นการกรองแสงจากภายนอกอาคารและเพื่อความสวยงาม เช่น ต้นเตยทอง ต้นโมก (2.2-4) |
(GL-2566) 2.2-1 การปรับปรุงระบบปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพ.pdf (GL-2566) 2.2-2 การดำเนินการล้างแอร์เบื้องต้นเพื่อตรวจสอบการใช้งานให้มีประสิทธิภาพ.pdf (GL-2566) 2.2-3 การปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน.pdf (GL-2566) 2.2-4 การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว.pdf |
หัวข้อ | ผลการดำเนินงาน | ไฟล์หลักฐาน |
---|---|---|
3.1 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการตามมาตรการประหยัดไฟฟ้า น้ํา และทรัพยากร
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว ให้เป็น Green University ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรห้องสมุดและผู้รับบริการ โดยการนำนโยบายไปจัดทำแผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว 5 ปี พ.ศ.-2562-2566 (3.1-1) และ แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2564 (3.1-2) เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงาน และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผล จึงมีการประกาศนโยบายการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียวและเป้าหมายเป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากรอีกทั้งกำหนดมาตรการและเป้าหมายการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3.1-3) พร้อมทั้งมีการประชาสัมพันธ์มาตรการประหยัดไฟฟ้า น้ำ และทรัพยากร ตามช่องทางการสื่อสารต่างๆ ของสำนักวิทยบริการฯ ได้แก่ ป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณหน้าทางเข้าและพื้นที่ของสำนักวิทยบริการฯ (3.1-4) เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว (3.1-5) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันที่ชัดเจน แก่บุคลากร ผู้เข้ารับบริการสำนักวิทยบริการฯ ให้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักวิทยบริการได้ดำเนินงานตามแผน นโยบาย และมาตรการที่กำหนดไว้ดังนี้ 3.2 มาตรการประหยัดน้ำ 3.3 มาตรการประหยัดทรัพยากร |
(GL-2566) 3.1-1 แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว-พ.ศ.-2562-2566 (2).pdf (GL-2566) 3.1-2แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว_compressed (2).pdf (GL-2566) 3.1-3 เป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร.pdf (GL-2566) 3.1-4 ป้ายประกาศประชาสัมพันธ์ การประหยัดไฟฟ้า น้ำและทรัพยากร.pdf (GL-2566) 3.1-5 การประชาสัมพันธ์การประหยัดพลังงานบนเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว.pdf (GL-2566) 3.1-6 การรณรงค์การเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศ.pdf (GL-2566) 3.1-7 ปิดไฟทุกครั้งเมื่อช่วงพักกลางวัน เวลา 12.00 – 13.00 น..pdf (GL-2566) 3.1-8 ปิดจอภาพคอมพิวเตอร์ในเวลาพักเที่ยง.pdf (GL-2566) 3.1-9การใช้เครื่องไฟฟ้าอื่นๆให้จัดไว้ในจุดที่สามารถใช้งานร่วมกัน.pdf (GL-2566) 3.1.-10 การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศแบบย่อย.pdf (GL-2566) 3.1.-11 การทำความสะอาดตู้เย็นทุกวันศุกร์.pdf (GL-2566) 3.1.-12 การให้บุคลากรใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย.pdf (GL-2566) 3.1.-13 การรณรงค์การใช้บันไดและการใช้ลิฟต์ กรณีขึ้นลงชั้นเดียว.pdf (GL-2566) 3.1.-14ลดการใช้แก้วขวดพลาสติก.pdf (GL-2566) 3.1.-15เผยแพร่ความรู้เรื่องการประหยัดน้ำรวมทั้งการสร้างจิตสำนึก.pdf (GL-2566) 3.1.-16ตรวจสอบอุปกรณ์การใช้น้ำอย่างสม่ำเสมอ.pdf (GL-2566) 3.1.-17การรดน้ำต้นไม้ให้ใช้สปริงเกิลหรือฝักบัว.pdf (GL-2566) 3.1.-18ปิดวาล์วน้ำ ก๊อกน้ำหรืออุปกรณ์การใช้น้ำทุกชนิดให้สนิทหลังการใช้งาน.pdf |
3.2 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการลดปริมาณของเสีย
|
สำนักวิทยบริการฯ มีแผนงานและการดําเนินการลดปริมาณของเสีย โดยมุ่งเน้นการจัดการสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องการประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และการสร้างความตระหนักรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานให้เกิดกับบุคลากรในทุกฝ่าย/งาน ตลอดจนถึงผู้ใช้บริการสำนักวิทยบริการฯ ซึ่งได้จัดทำแผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว 5 ปี พ.ศ.-2562-2566 (3.2-1) และ แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2566 (3.2-2) พร้อมทั้งประกาศประกาศนโยบายและเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (3.2-3) มาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว เรื่อง การจัดการของเสีย (3.2-4) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแก่บุคลากร ผู้เข้ารับบริการสำนักวิทยบริการฯ ตระหนักและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการลดปริมาณของเสีย ดังนี้ 1. มอบหมายให้บุคลากรเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอย (3.2-5) 4. มีการรณรงค์การลดปริมาณขยะ (Reduce) เช่น ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ใช้ขวดแก้วลดขยะจากพลาสติก (3.2-9) 5. จัดพื้นที่สำหรับรวบรวมขยะก่อนส่งกำจัด และขยะรีไซเคิลเพื่อส่งจำหน่าย (3.2-10) |
(GL-2566) 3.2-1 แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว พ.ศ.2562-2566.pdf (GL-2566) 3.2-3 ประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf (GL-2566) 3.2-4 ประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง มาตรการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานฯ.pdf (GL-2566) 3.2.2 แผนงานการจัดการของเสีย มลพิษ และความปลอดภัย.pdf |
3.3 กําหนดให้มีข้อกําหนดและเงื่อนไขการว่าจ้าง (Term of Reference: TOR) เพื่อควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ภายในห้องสมุดให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้พื้นที่ของห้องสมุดเป็นสถานประกอบการ (Think Cafe) เพื่อให้มีการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (3.3-1) และในกรณีที่จัดจ้างหน่วยงานที่ไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรอง จะดำเนินการประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้างเบื้องต้น เพื่อให้มีการปฏิบัติงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (3.3-2) |
(2566) 3.3-1 บันทึกข้อตกลงการใช้พื้นที่ของห้องสมุดเป็นสถานประกอบการ.pdf (2566) 3.3-2 การประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้างช่วง.pdf (2566) 3.3-3 ใบอนุญาตเข้าปฏิบัติงานและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม.pdf (2566) 3.3-4 การอบรมให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ประกอบการ.pdf |
3.4 กําหนดให้มีการสื่อสารและรณรงค์ให้ผู้รับบริการและบุคลากรห้องสมุด ประหยัดไฟฟ้าประหยัดน้ํา และประหยัดทรัพยากร ตามแผนงานที่กําหนด
|
สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2566 โดยมีผู้รับผิดชอบคือ นายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา จำนวน 9 หัวข้อ และได้กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสาร ดังนี้ (3.4-1.1) สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงานที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร ได้แก่ (3.4-2.1) สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน ให้เกิดการรับรู้และรับทราบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (3.4-3.1) สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร/รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม คือ นางสาวสิริรัตน์ เดชเพชร นักวิชาการศึกษา นายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา นางสาวแขนภา ทองตัน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ตามคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ ๐๐๕/๒๕๖๖ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ประจำปี ๒๕๖๖ (3.4-4.1)
|
(2566) 3.4 - 1.1 แผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2566.pdf (2566) 3.4 - 1.4 คำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร.pdf (2566) 3.4 -1.2 ช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก 2566.pdf (2566) 3.4 -1.3 กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม 2566.pdf |
3.5 มีการกําหนดแผนงานและดําเนินการจัดซื้อ/จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (อ้างอิงบัญชีรายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคู่มือการจัดซื้อ/จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฉบับล่าสุด หรือสินค้าชุมชนเพื่อใช้ในกิจกรรมการให้บริการของห้องสมุด รวมทั้งกิจกรรมการประชุมและจัดนิทรรศการ
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดให้ นางรัตนา เสียงสนั่น นักบริหารงานทั่วไป เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดซื้อจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ได้จัดทำประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง มาตรการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม (3.5-1 หน้า 8) และมาตรการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า (3.5-2)
การจัดซื้อสินค้าจะศึกษาเกี่ยวกับฉลากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือศึกษาจากฐานข้อมูลที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม (3.5-3, 3.5-4) โดยจะดำเนินการจัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สำนักวิทยบริการฯ จัดซื้อไว้จริง รายละเอียดจะประกอบด้วยรายการสินค้า ยี่ห้อ ฉลากสิ่งแวดล้อม วันหมดอายุ และวันที่ทบทวน เป็นต้น (3.5-5, 3.5-6)
ทั้งนี้ ในการจัดซื้อสินค้าเพื่อให้บริการภายในสำนักฯ จะดำเนินการทำหนังสือราชการไปยังร้านค้า/ผู้ขาย จำนวน 6 แห่ง เพื่อขอความร่วมมือจัดหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับสำนักวิทยบริการ (3.5-7, 3.5-8)
สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแนวปฏิบัติการใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีไปใช้บริการนอกสำนักงาน (3.5-9, 3.5-10, 3.5-11) และแนวปฏิบัติที่หน่วยงานอื่นๆ มาใช้บริการของสำนักฯ เพื่อขอความร่วมมือให้ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน ลดการก่อให้เกิดมลพิษ (3.5-12, 3.5-13)
|
(GL-2566) 3.5-1 ประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่องมาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว.pdf (GL-2566) 3.5-10 ข้อปฏิบัติการเดินทางไปประชุมภายนอกของบุคลากร.pdf (GL-2566) 3.5-11 แนวปฏิบัติการใช้บริการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf (GL-2566) 3.5-12 ข้อปฏิบัติเรื่องการจัดประชุมและนิทรรศการ (1).pdf (GL-2566) 3.5-13 แนวปฏิบัติในการใช้ห้องประชุมสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.pdf (GL-2566) 3.5-2 มาตรการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf (GL-2566) 3.5-3 การศึกษาเกี่ยวกับฉลากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf (GL-2566) 3.5-4 ฐานข้อมูลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf (GL-2566) 3.5-5 บัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ใช้จริงในสำนักงาน.pdf (GL-2566) 3.5-6 ภาพรายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf (GL-2566) 3.5-7 หนังสือขอความร่วมมือในการจัดหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf (GL-2566) 3.5-8 ภาพประกอบขอความร่วมมือจัดหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf (GL-2566) 3.5-9 แบบฟอร์มการคัดเลือกสถานที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf |
3.6 กําหนดให้มีแผนการและดําเนินการบํารุงรักษาระบบต่างๆที่มีในห้องสมุด ตามแผนอย่างต่อเนื่อง
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการแผนการและดำเนินการบำรุงรักษาระบบต่างๆ (3.6-1) โดยสำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินการ 2 รูปแบบ ดังนี้
ดำเนินการบำรุงรักษาระบบอาคาร โดยบุคลากรสำนักวิทยบริการ
- การเปลี่ยนระบบสวิทซ์ไฟฟ้าเป็นแบบสวิทซ์กระตุก (3.6-2)
- การทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ (3.6-3)
- การทำความสะอาดของแม่บ้าน (3.6-4)
- การตรวจเช็คสภาพและเติมสารดับเพลิงตามระยะเวลา โดยกำหนดบุคลากรตรวจเช็คถังเพลิงให้อยู่ในสภาพปกติและมีการตรวจเช็คจุดสัญญาณเตือนภัย เพื่อตรวจว่าอยู่ในสภาพปกติ (3.6-5)
ดำเนินการบำรุงรักษาระบบอาคาร โดยจ้างเหมาบริษัทเอกชน
- การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ โดยมีการตรวจเช็คสภาพเครื่องปรับอากาศ กำหนดให้มีการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ ไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง ปรับปรุง ซ่อมแซมกรณีมีการชำรุด บำรุงรักษาตามระยะเวลาที่เหมาะสม (3.6-6)
- การบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสาร มีการตรวจเช็คสภาพ ซ่อมบำรุง โดยบริษัททุกระยะ (3.6-7)
- ระบบลิฟต์โดยสาร (3.6-7) มีการตรวจเช็คสภาพ ซ่อมบำรุง โดยบริษัททุกระยะ ที่ถึงกำหนด (3.6-8)
|
(GL-2566) 3.6-1 แผนการบำรุงดูแลรักษา ประจำปี 2566.pdf (GL-2566) 3.6-2 การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า.pdf (GL-2566) 3.6-3 ทำความสะอาดซิลเลอร์และช่องส่งลมเย็น ทุก 6 เดือน.pdf (GL-2566) 3.6-4 แบบฟอร์มเครื่องปรับอากาศย่อย.pdf (GL-2566) 3.6-6 แบบฟอร์มเครื่องปรับอากาศ.pdf (GL-2566) 3.6-7 รายงานการตรวจสอบและทําความสะอาดเครื่องถ่ายเอกสาร.pdf (GL-2566) 3.6-8 ดูแลรักษาและซ่อมบำรุงลิฟต์ เดือนละ 1 ครั้ง.pdf |
3.7 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการรวบรวมและบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า เชื้อเพลิงน้ํา กระดาษ และทรัพยากรอื่นๆ โดยมีการรายงานผลเป็นประจําทุกปีพร้อมกับเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลังเพื่อดูพัฒนาการ
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการใช้พลังงานหลายชนิด ทั้งในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำ กระดาษและการใช้ทรัพยากรอื่นๆ ภายในสำนักงาน แต่จะมีปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าวมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายปัจจัยรวมถึงลักษณะของกิจกรรมต่างๆ ซึ่งสำนักวิทยบริการฯ มีการมอบหมายให้นักบริหารงานทั่วไปดําเนินการรวบรวมและบันทึกข้อมูล ซึ่งใช้ Google Sheet ในการจัดเก็บข้อมูลเป็นประจำทุกเดือน ดังนี้
3.7.1 ผลการดำเนินงาน ปี 2566 3.7.2 ข้อมูลการใช้น้ำมันและข้อมูลการใช้รถ 2566 3.7.3 ข้อมูลการใช้น้ำมัน - เปรียบเทียบการใช้ 61-66 |
(GL-2566) 3.7.1 ผลการดำเนินงาน ปี 2566.pdf (GL-2566) 3.7.2 ข้อมูลการใช้น้ำมันและข้อมูลการใช้รถ 2566.pdf (GL-2566) 3.7.3 ข้อมูลการใช้น้ำมัน - เปรียบเทียบการใช้ 61-66.pdf (GL-2566) 3.7.4 ข้อมูลการใช้ไฟฟ้า - เปรียบเทียบการใช้ ปี 63-66.pdf (GL-2566) การเปรียบเทียบปริมาณการใช้น้ำ ระหว่างปี 2561 - ปี 2566.pdf |
3.8 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการด้านการส่งเอกสาร และการเดินทาง โดยการบริหารจัดการระบบรถร่วม หรือการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (eMail), การประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (eMeeting) หรือระบบอื่นๆ เพื่อลดเวลา และลดต้นทุนการส่งเอกสารหรือการเดินทางมาประชุม
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดเก็บข้อมูลการใช้ทรัพยากรกระดาษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2566 อย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้นางสาวดาวเรือง ขมแก้ว เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บ รวบรวมและรายงานผลข้อมูลการใช้กระดาษตามคำสั่งที่ 005/2566 ลงวันที่ 3 เมษายน 2566 () สำนักวิทยบริการฯ มีมาตรการในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทดแทนการใช้กระดาษด้วยการใช้ระบบสารบรรณและจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัย (ระบบ PBRU E-doc) เพื่อการสื่อสารกับมหาวิทยาลัยและระหว่างหน่วยงานภายนอก รวมถึงการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรด้วยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการประชุม การจัดเก็บข้อมูล และการติดต่อประสานงานเพื่อทดแทนการใช้กระดาษ เช่น การใช้ messenger, Line, E-mail, Google drive, Google doc, Google sheet, https://arit.pbru.ac.th, Digital signage เป็นต้น
3.8.1 ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (e-Document) https://doc.pbru.ac.th/docweb/v2/default.aspx (3.8-1) ในการจัดส่งเอกสาร
3.8.2 ระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี http://mis.pbru.ac.th/service/ (3.8-2) เพื่อขอใช้รถยนต์ส่วนกลางของมหาวิทยาลัยสำหรับการไปราชการและการลาโดยใช้ระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และพิจารณาการใช้รถร่วมกันในกรณีที่เดินทางในช่วงเวลาและเส้นทางใกล้เคียงกัน
3.8.3 ระบบปฏิบัติงานของสำนักวิทยบริการฯ https://arit.pbru.ac.th/book-room/admin/index.php (3.8-3) เป็นระบบภายในหน่วยงานที่ใช้ในการจักดารการลา การอบรม ผลงานของบุคลากรและจัดเก็บผลการดำเนินงานด้านห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียวของสำนักวิทยบริการฯ
3.8.4 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) (3.8-4) 3.8.4 การประชุมแบบออนไลน์
(3.8-5) โดยสำนักวิทยบริการฯ ได้จัดหาโปรแกรม Zoom เพื่อใช้ในการประชุม อบรมและบริการแก่คณาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย
3.8.5 ใช้ Facebook หรือ Line (3.8-6) ในการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน
3.8.6 ใช้ Google Drive (3.8-7) การจัดเก็บเอกสารเพื่อทำงานร่วมกัน
3.8.7 การใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยการติดต่อประสานงานภายในมหาวิทยาลัย (3.8-8)
|
(GL-2566) 3.8-1 ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.pdf (GL-2566) 3.8-2 ระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.pdf (GL-2566) 3.8-3 ระบบปฏิบัติงานของสำนักวิทยบริการฯ.pdf (GL-2566) 3.8-4 การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์.pdf (GL-2566) 3.8-5 ประชุมออนไลน์.pdf (GL-2566) 3.8-6 ใช้ Facebook หรือ Line.pdf (GL-2566) 3.8-7 การใช้ Google Drive ในการจัดเก็บเอกสาร.pdf (GL-2566) 3.8-8 การใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย.pdf |
3.9 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จําแนกจุดหรือกิจกรรมการปรับปรุง วางแผนและดําเนินมาตรการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ/หรือการทํากิจกรรมชดเชยคาร์บอน
|
สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน อาทิ ข้อมูลพื้นที่อาคารสำนักวิทยบริการฯ และพื้นที่ภายนอกโดยรอบอาคาร จำนวนบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ จำนวนผู้รับบริการ และเวลาทำการ โดยมีการรวบรวมข้อมูลตามขอบเขตประเภทที่ 1 ได้แก่ ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากการเดินทางไปราชการ ปริมาณสารมีเทนจากระบบ Septic tank ปริมาณมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศ ปริมาณการใช้สารทำความเย็น R134A และปริมาณการใช้สารดับเพลิง การเก็บข้อมูลตามขอบเขตประเภทที่ 2 คือ ปริมาณการใช้ไฟฟ้า และการเก็บข้อมูลตามขอบเขตประเภทที่ 3 ประกอบด้วย ปริมาณการใช้น้ำประปา ปริมาณการใช้กระดาษ และปริมาณขยะ และมีการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 (3.9-1) มีปริมาณ GHGs 198.20 tCO2e พ.ศ. 2564 (3.9-2) มีปริมาณ GHGs 123.87 tCO2e พ.ศ. 2565 (3.9-3) มีปริมาณ GHGs 96.38 tCO2e และ พ.ศ. 2566 (3.9-5) พบว่า สำนักวิทยบริการฯ มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) รวมทุกประเภท จำนวน 157.35 tCO2e โดยจำแนกเป็น
ประเภทที่ 1 ปริมาณการใช้น้ำมันสำหรับการเดินทาง การปล่อยสารมีเทนจาก Septic tank การปล่อยสารมีเทนจากบ่อบำบัดแบบไม่เติมอากาศ และการใช้สารทำความเย็นแบบ R134A มีปริมาณ GHG จำนวน 5.57 tCO2e
ประเภทที่ 2 ปริมาณการใช้ไฟฟ้า มีปริมาณ GHG จำนวน 148.97 tCO2e
ประเภทที่ 3 ปริมาณการใช้น้ำประปา กระดาษ และขยะ/ของเสียฝังกลบ (ขยะส่งกำจัด) มีปริมาณ GHG จำนวน 2.80 tCO2e
รวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ปี พ.ศ. 2566 จำนวนทั้งสิ้น 157.35 tCO2e (3.9-5)
จากข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ในปี พ.ศ. 2565 (ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม) ซึ่งใช้เป็นปีฐานในการเปรียบเทียบคำนวนค่าเป้าหมายการลด GHGs ในปี พ.ศ. 2566 พบว่า ปีพ.ศ. 2565 มีปริมาณการใช้กระดาษและน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ มีการใช้กระดาษในการจัดทำผลงานทางวิชาการ (คู่มือการปฏิบัติงาน) และมีการอนุเคราะห์กระดาษกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ที่เข้ามาใช้บริการห้องประชุมของสำนักวิทยบริการฯ ในการจัดทำเอกสารการประชุมต่าง ๆ และมีผู้ใช้บริการในส่วนการประชุม ในสำนักวิทยบริการฯ เพิ่มมากขึ้น จึงมีการใช้กระดาษและน้ำเพิ่มขึ้น
จากการเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ปี พ.ศ. 2565 กับปี พ.ศ 2564 พบว่า มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดลง 27.49 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 22.19 และเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ลดลงร้อยละ 10 พบว่าสำนักวิทยบริการฯ สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ข้อเสนอแนะ จากข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2565 พบว่า สำนักวิทยบริการมีค่าการใช้น้ำและกระดาษเพิ่มขึ้น ควรมีการปรับปรุงมาตรการด้านการบริการ ดังนี้ 1. จัดทำประกาศนโยบาย ขอบเขต แนวปฏิบัติการให้บริการห้อง/พื้นที่การประชุม อบรม สัมมนา ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับทราบและตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 2. จัดหาหรือพัฒนาอุปกรณ์ช่วยประหยัดน้ำเพิ่มติม 3. ควรมีการกำหนดแนวทาง/แผนงานกิจกรรมเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ 4. ควรส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ มีการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนบุคคล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และในปี พ.ศ. 2566 ได้มีการกำหนดค่าเป้าหมายการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ในทุกขอบเขตประเภท ตั้งแต่เดือน มกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2566 โดยใช้ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของปี พ.ศ. 2565 เดือน ม.ค.-มิ.ย. เป็นปีฐานเนื่องจาก สำนักวิทยบริการฯ เปิดให้บริการในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์ และเปิดบริการตามปกติ
จากข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เดือน ม.ค.-มิ.ย. 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2565 พบว่า ในปี พ.ศ. 2566 ไม่สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ คือ มีปริมาณ GHG เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 69.66 เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยต่อคนในปี พ.ศ. 2565 และ พ.ศ. 2566 พบว่า ในปี พ.ศ. 2566 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยต่อคน = 0.0061 tCO2e โดยลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 42.33 อันเนื่องมาจากปัจจัยดังนี้ 1. การเปิดบริการตามปกติ หลังจากสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลายลง ทำให้มีการรับบริการเพิ่มขึ้น การใช้พลังงานและทรัพยากร และปริมาณของเสียย่อมเพิ่มขึ้นด้วย 2. ความผันผวนของผู้รับบริการที่อาจมีเพิ่มขึ้นหรือน้อยลง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความผันผวนของปริมาณ GHGs เฉลี่ยต่อคน ดังนั้น หากมีผู้รับบริการเพิ่มขึ้น ปริมาณ GHGs เฉลี่ยต่อคน ก็จะลดลง ดังนั้นจึงกำหนดค่าเป้าหมายในปี 2566 คือ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยต่อคนร้อยละ 20 สาเหตุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ในปี พ.ศ. 2566 มีปริมาณเพิ่มขึ้นนั้น เนื่องจาก มีปริมาณการใช้นำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ มีการเดินทางไปปฏิบัติงานนอกพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลท้องถิ่น และมีปริมาณการใช้น้ำประปาเพิ่มขึ้นจากปี 2565 เนื่องจากมีการใช้บริการห้องประชุมเพิ่มขึ้น และมีการใช้ห้องน้ำเพิ่มขึ้นด้วย ประกอบกับระบบน้ำอัตโนมัติสำหรับการรดน้ำในสวนด้านหน้าอาคารบรรณราชนครินทร์ชำรุด จึงต้องใช้น้ำประปารดน้ำในสวนดังกล่าวแทน จึงทำให้มีปริมาณการใช้น้ำเพิ่มขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ปี พ.ศ. 2566 (ม.ค.-มิ.ย.) กับปี พ.ศ 2565 พบว่า มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นจากปี 2565 แต่ถ้าหากพิจารณาปริมาณ GHGs เฉลี่ยต่อคน พบว่า ลดลงร้อยละ 42.33 และเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงเฉลี่ยต่อคน ร้อยละ 20 พบว่า สำนักวิทยบริการฯ มีแนวโน้มจะสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยต่อคนได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ข้อเสนอแนะ จากข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2566 พบว่า สำนักวิทยบริการมีค่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำประปา และมีการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ควรมีการทบทวน ตรวจสอบ การดำเนินงานตามมาตรการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำประปา และการลดการใช้ไฟฟ้า และปรับปรุงมาตรการดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพต่อไป (3.9-5) |
(GL-2566) 3.9-1-CFO-2563.pdf (GL-2566) 3.9-2-CFO-2564.pdf (GL-2566) 3.9-3-CFO-2565.pdf (GL-2566) 3.9-4-CFO-2566.pdf (GL-2566) 3.9-5-2565-2566-CFO-Data.pdf |
หัวข้อ | ผลการดำเนินงาน | ไฟล์หลักฐาน |
---|---|---|
4.1 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการขยะ โดยเลือกวิธีการจัดการที่เหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ํา (reuse) การนํากลับมาใช้ใหม่ (recycle) มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกและบันทึกปริมาณขยะ มีพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกําจัดและมีวิธีการส่งกําจัดที่เหมาะสมสําหรับขยะแต่ละประเภท
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดแผนงานและมาตรการด้านการจัดการของเสียและมลพิษ ตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2566 () โดยมีการรณรงค์ไม่ใช้กล่องโฟมและถุง พลาสติก (Reduce) การใช้กระดาษให้ครบ 2 หน้า (Reuse) การนำวัสดุมาประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ Recycle (4.1-1) และได้จัดหาถังขยะประเภททั่วไป ถังขยะประเภทรีไซเคิล ไว้ให้บริการตามจุดพื้นที่ต่างๆ ในอาคารสำนักวิทยบริการฯ ทั้งนี้ในบางพื้นที่ได้มีการจัดหาถังขยะประเภทอันตราย และขยะเปียกหรือขยะอินทรีย์ เพื่อให้พนักงานและนักศึกษาได้ทิ้งขยะตามถังที่แยกประเภทไว้ โดยมีผู้ปฏิบัติงานบริการทั่วไป (แม่บ้าน) ของอาคารสำนักวิทยบริการฯ รวบรวม คัดแยก ชั่งน้ำหนัก และนำส่งต่อไปยังจุดรับส่งขยะของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อพนักงานเทศบาลเมืองเพชรบุรีได้รับเอาขยะแต่ละประเภทไปดำเนินการกำจัดตามระบบต่อไป (4.1-2) ในส่วนของขยะรีไซเคิล ผู้ปฏิบัติงานบริการทั่วไปนำมาชั่ง บันทึก และแยกรวมไว้ที่จุดคัดแยกส่วนกลาง ส่งไปจำหน่าย เป็นรายได้ของสำนักวิทยบริการฯ นอกจากนี้สำนักวิทยบริการฯ ยังมีการคัดแยกขยะประเภทหนังสือพิมพ์เก่าย้อนหลัง 1 ปี ที่งานบริการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องได้คัดแยกทำดรรชนีวารสารแล้ว และแก้วกาแฟ นำมาจัดทำสิ่งประดิษฐ์ "อาร์ทเปเปอร์มาเช่" สำหรับปลูกพืชดูดซับสารพิษไว้ตามจุดปฏิบัติงานและจุดบริการต่าง ๆ (4.1-3) ทั้งนี้ สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการบันทึกปริมาณขยะทุกวัน โดยผู้ปฏิบัติงานบริการทั่วไป (4.1.4)
เมื่อเปรียบเทียบปริมาณขยะโดยภาพรวมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2566 พบว่า สำนักวิทยบริการฯ สามารถลดปริมาณขยะได้ตามเป้าหมายที่กำหนดร้อยละ 15 (4.1-5) |
(GL-2566) 4.1-2 การจัดการขยะ..pdf (GL-2566) 4.1-5 สถิติปริมาณขยะ รายปี.pdf (GL-2566) 4.1.1 แผนงานการจัดการของเสีย มลพิษ และความปลอดภัย.pdf (GL-2566) 4.1.3 กิจกรรมDIY.pdf (GL-2566) 4.1.4 แบบบันทึกข้อมูลปริมาณขยะรายเดือน.pdf |
4.2 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการน้ําเสียโดยเริ่มจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ํา เพื่อเลือกแนวทางในการจัดการน้ําเสียอย่างเหมาะสม เช่น การเลือกใช้น้ํายาทําความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การติดตั้งระบบบําบัดน้ําเสีย เป็นต้น มีการดูแลและตรวจสอบระบบบําบัดน้ําเสียอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการลดปริมาณการใช้น้ํา หรือใช้น้ําอย่างมีประสิทธิภาพ
|
สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ 005/2566 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2566 (4.2-1) โดยคณะกรรมการจะมีหน้าที่กำหนดแผนงาน และมาตรการการจัดการขยะ ของเสีย และน้ำทิ้ง ดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่างเหมาะสม การจัดการน้ำเสียของสำนักวิทยบริการฯ และทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง จัดทำสรุป และรายงานผลการดำเนินงาน โดยได้มอบหมนายให้นายมนตรี ภูอิน ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง (4.2-2) ในการบำบัดน้ำเสียสำนักวิทยบริการฯ จะเก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง เพื่อส่งไปยังศูนย์วิทยาศาสตร์วัดค่าคุณภาพน้ำทิ้งของสำนักวิทยบริการฯ ซึ่งในปี พ.ศ. 2566 ได้มีการตรวจสอบและวัดคุณภาพน้ำทิ้ง จำนวน 2 จุด คือ จุดปล่อยน้ำทิ้งอาคารบรรณราชนครินทร์ 2 พบว่า ผลการตรวจสอบทั้งหมด 8 รายการ ไม่เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด (4.2-3, 4.2-4)
นอกจากนี้สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการกำหนดมาตรการการใช้น้ำให้เหมาะสม หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ นำน้ำที่เหลือจากการอุปโภคกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด เช่น
1. รณรงค์ด้วยการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ สร้างจิตสำนึก เรื่องการใช้น้ำอย่างประหยัด (4.2-5)
2. ปิดวาล์วน้ำ ก๊อกน้ำหรืออุปกรณ์การใช้น้ำุทุกชนิดให้สนิทหลังการใช้งาน ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้เมื่อไม่ได้ใช้งาน (4.2-6)
3. กรณีชักโครกรุ่นเก่าให้นำน้ำบรรจุในขวดพลาสติกนำไปไว้ในถังน้ำชักโครก ในการชะล้างแต่ละครั้ง (4.2-7)
4. น้ำน้ำที่เหลือจากการดื่มหรือน้ำที่ใช้ล้างภาชนะเป็นน้ำสุดท้าย ให้นำกลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ในอาคาร (4.2-8)
5. การรดน้ำต้นไม้ให้ใช้สปริงเกอร์หรือฝักบัว กำหนดให้รดน้ำต้นไม้เวลา 06.00-08.00 น. ทั้งนี้ให้ดูความเหมาะสมว่าควรรดน้ำหรือไม่ ยกเว้นฤดูฝนหรือวันที่มีฝนตก (4.2-9)
6. ตรวจสอบอุปกรณ์และใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำเดือนละ 1 ครั้ง หากพบเห็นอุปกรณ์ ระบบประปาชำรุดให้แจ้งหน่วยงานอาคารสถานที่เพื่อซ่อมบำรุงทันที (4.2-10)
7. จดบันทึกปริมาณการใช้น้ำจากมิเตอร์วัดน้ำทุกเดือน และเปรียบเทียบการใช้น้ำต่อจำนวนบุคลากร และผู้ใช้บริการ เดือนละครั้ง (4.2-11)
8. เลือกสุขภัณฑฺ์ประหยัดน้ำ และใช้หัวก๊อกน้ำที่่มีอุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของน้ำ (ให้เปลี่ยนเมื่อมีการชำรุด) (4.2-12)
|
(GL-2566) 4.2-1 คำสั่งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2566.pdf (GL-2566) 4.2-10 มีการตรวจสอบอุปกรณ์.pdf (GL-2566) 4.2-11 มีการจดบันทึกปริมาณการใช้น้ำจากมิเตอร์วัดน้ำทุกเดือน.pdf (GL-2566) 4.2-12 เลือกสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำและใช้หัวก๊อกน้ำที่มีอุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของน้ำ.pdf (GL-2566) 4.2-2 ประกาศมาตรการการการจัดการพลังงาน.pdf (GL-2566) 4.2-3 ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้ง.pdf (GL-2566) 4.2-4 ภาพการตักน้ำเสีย.pdf (GL-2566) 4.2-5 รณรงค์ด้วยการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ สร้างจิตสำนึก.pdf (GL-2566) 4.2-6 ปิดวาล์วน้ำ ก๊อกน้ำหรืออุปกรณ์การใช้น้ำทุกชนิดให้สนิทหลังการใช้งาน.pdf (GL-2566) 4.2-7 การนำน้ำบรรจุในขวดพลาสติกนำไปไว้ในถังน้ำชักโครก.pdf (GL-2566) 4.2-8 นำน้ำที่เหลือจากการดื่มหรือน้ำที่ใช้ล้างภาชนะเป็นน้ำสุดท้าย.pdf (GL-2566) 4.2-9 การรดน้ำต้นไม้ให้ใช้สปริงเกิลหรือฝักบัว.pdf |
4.3 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการมลพิษทางอากาศเช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อราเชื้อแบคทีเรีย สารเคมีควันบุหรี่ เป็นต้น มีการจัดพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอและถ่ายเทโดยสะดวก มีการกําจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการกําหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ตลอดจนมีการจัดการเพื่อควบคุมเสียงในห้องสมุด
|
สำนักวิทยบริการฯ มีแผนงานและดำเนินการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อราเชื้อแบคทีเรีย และดำเนินการจัดการมลพิษทางอากาศ จากแผนการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว โดยกำหนด ผู้รับผิดชอบในการดูแลโดยจัดทำรายละเอียดอย่างชัดเจน 4.3-1 มีแผนการบำรุงดูแลรักษาประจำปี 2566
4.3-2 มีการจัดการพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างพอเพียงและถ่ายเทได้สะดวก เช่น การเปิดประตูห้องสำนักงานและการเปิดหน้าต่างห้องครัว และมีการตรวจการทำงานของแม่บ้านอย่างสม่ำเสมอ 4.3-3 เพื่อกำหนดมาตรการและตรวจสอบการจัดการมลพิษทางอากาศอย่างสม่ำเสมอ เช่น 4.3-4 กำหนดให้มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสือ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง การทำความสะอาดบริเวณพื้นที่บริการทุกวันทำการ เพื่อลดมลพิษทางอากาศมีการดำเนิน 4.3-5 มีการทำกิจกรรม 5ส อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจัดระเบียบและทำความสะอาดพื้นที่บริการเดือนละ 2 ครั้ง 4.3-6 มีแบบสรุปผลการตรวจประเมิน 5ส ปี 2566 เฉลี่ย 87.17 4.3-7 มีการจัดทำกิจกรรม 5 ส 4.3-8 มีตารางการทำความสะอาดชั้น 4.3-9 กำหนดให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ โดยมีการติดป้ายประกาศและมีการตรวจตราเป็นประจำ 4.3-10 มีการจัดการเพื่อควบคุมเสียง มีการจัดพื้นที่ใช้เสียง 4.3-11 กำหนดให้มีการงดใช้เสียง |
(GL-2566) 4.3-1 แผนการบำรุงดูแลรักษา ประจำปี 2566.pdf (GL-2566) 4.3-10 ภาพการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่.pdf (GL-2566) 4.3-11 ภาพการงดใช้เสียง.pdf (GL-2566) 4.3-2 มีการจัดพื้นที่มีอากาศหมุนเวียน.pdf (GL-2566) 4.3-3 มาตรการการควบคุมมลพิษทางอากาศ.pdf (GL-2566) 4.3-4 ภาพการทำความสะอาดชั้นหนังสือ.pdf (GL-2566) 4.3-5 แบบประเมิน 5ส เดือนมกราคม-เดือนธันวาคม 2566.pdf (GL-2566) 4.3-6 แบบสรุปผลการตรวจประเมินกิจกรรม-5ส.pdf (GL-2566) 4.3-7 กิจกรรม-5ส.pdf (GL-2566) 4.3-8 รายงานการตรวจสอบและทำความสะอาดพื้น (ทุกวัน).pdf (GL-2566) 4.3-9 การติดตั้งป้ายห้ามสูบบุหรี่หรือสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่.pdf |
4.4 มีการดําเนินกิจกรรม 5 ส.อย่างสม่ำเสมอเพื่อจัดพื้นที่บริการและพื้นที่สํานักงานให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย
|
สำนักวิทยบริการฯ (4.4.1) มีแผนการดำเนินงาน 5ส. โดยให้บุคลากรรับผิดชอบพื้นที่ของตนเองด้านความสะอาดทุกวันอย่างต่อเนื่อง คือ สะสาง สะอาด สะดวก สุขลักษณะ และสร้างนิสัยอย่างสม่ำเสมอ
สำนักวิทยบริการฯ (4.4.2) มีการประเมินกิจกรรม 5ส.ทุกเดือนๆ ละ 2 ครั้ง (4.4.3) และดำเนินการสรุปผลการประเมินกิจกรรม 5ส.จากการประเมินกิจกรรม 5ส. ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนธันวาคม 2566 พบว่าค่าเฉลี่ยของการตรวจประเมิน 5ส. เฉลี่ยร้อยละ 87.17 ซึ่งบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 สำนักวิทยบริการฯ (4.4.4) มีแผนจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ปีละ 1 ครั้ง โดยจะร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่ทั้งบริเวณภายใน และภายนอกอาคารสำนักวิทยบริการฯ เช่น บริเวณสวนโดยรอบอาคารบรรณราชนครินทร์และอาคารหอสมุดเดิม ลานปูนปั้น และบริเวณหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ เป็นการสร้างจิตสำนึกในด้านสิ่งแวดล้อมให้กับบุคลากร ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรฐานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ผลการดำเนินงานในปี 2565 ได้มีกิจกรรม Big Cleaning Day |
(GL-2566) 4.4.1 แผนการดำเนินงาน-5ส.-66.pdf (GL-2566) 4.4.2 แบบประเมิน 5ส เดือนมกราคม-เดือนธันวาคม 2566.pdf (GL-2566) 4.4.3 แบบสรุปผลการตรวจประเมินกิจกรรม 5ส.pdf (GL-2566) 4.4.4 กิจกรรม Big cleaning Day.pdf |
4.5 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ระงับเหตุฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย อุทกภัย และวาตภัย เป็นต้น ตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมหรือตามที่กฎหมายกําหนด รวมทั้ง การดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉินดังกล่าว ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการดําเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ระงับเหตุฉุกเฉิน ดังนี้
1. แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล และการดําเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน ได้แก่ (4.5.1)
1.1 นายพีรวัฒน์ เพ่งพุดผ่อง
1.2 นายวิวัฒน์ เพิ่มสุข
2. สำนักวิทยบริการฯ จัดทำแผนการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน (4.5.2)
3. สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการอบรม "การดับเพลิงเบื้องต้นและซ้อมอพยพหนีไฟ" ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 มีจำนวนบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ เข้าร่วมอบรมจำนวน 24 คน ซึ่งการจัดอบรมดังกล่าวมีการวัดผลการอบรมพบว่าบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจก่อนการอบรมคิดเป็นร้อยละ 50.00% และหลังการอบรมมีความรู้ความเข้าใจคิดเป็นร้อยละ 88.33% พบว่าบุคลากรมีความรู้เพิ่มขึ้น 38.33% (4.5.3)
4. สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการตรวจสอบและบันทึกการดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ระงับเหตุ ภายในสำนักวิทยบริการฯ ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 6 ครั้งต่อปี โดยในปี 2566 ถังดับเพลิงจะหมดอายุในวันที่ 26 สิงหาคม 2566 ได้ดำเนินการแจ้งหัวหน้าสำนักงานฯ เพื่อประสานกับมหาวิทยาลัยดำเนินการเปลี่ยนถัง (4.5.4)
|
(GL-2566) 4.5.1 คำสั่งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว.pdf (GL-2566) 4.5.2 แผนงานและดำเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะเหตุฉุกเฉิน 2566.pdf (GL-2566) 4.5.3 สรุปผลการอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นและการซ้อมอพยพหนีไฟ.pdf (GL-2566) 4.5.4 บันทึกการตรวจอุปกรณ์ด้านอัคคีภัย.pdf |
หัวข้อ | ผลการดำเนินงาน | ไฟล์หลักฐาน |
---|---|---|
5.1 กําหนดให้มีนโยบายการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดําเนินงาน แต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารและผู้แทนบุคลากรห้องสมุด เพื่อร่วมกันวางแผนและกําหนดแผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียวไว้ในแผนงานประจําปีมีการกํากับติดตามให้มีการดําเนินการตามแผนและมีการรายงานผลตามแผนไม่ต่ำกว่าปีละ 2 ครั้ง
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้ สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (5.1-2) และดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2565 (5.1-3) โดยมีผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มาพิจารณาและทบทวนแผน ทั้งนี้ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ ได้ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยมีวิสัยทัศน์คือ ให้สำนักวิทยบริการฯเป็นองค์กรแห่งการจัดการสมัยใหม่และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพสูง และประชาสัมพันธ์นโยบายให้กับบุคลากรและผู้รับบริการทราบ สำนักวิทยบริการฯ มีการประชาสัมพันธ์นโยบายให้กับบุคลากรและผู้รับบริการทราบไว้ 4 ช่องทาง ได้แก่
|
(2566) 5.1-1 ประกาศสำนักวิทยบริการฯ-เรื่อง-นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf (2566) 5.1-2 โครงการงบประมาณจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ.pdf (2566) 5.1-3 คำสั่งห้องสมุดสีเขียว-พ.ศ.-2566.pdf (2566) 5.1-4 หนังสือเวียน.pdf (2566) 5.1-5 ประกาศนโยบายในลิฟท์.pdf (2566) 5.1-6 ประกาศนโยบายบนเว็บไซต์.pdf (2566) 5.1-7 ประกาศนโยบายทางบอร์ดประชาสัมพันธ์.pdf |
5.2 กําหนดให้มีแผนงานและการจัดกิจกรรมให้บุคลากรห้องสมุด ผู้รับบริการ ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมและมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น
|
สำนักวิทยบริการ ฯ ได้จัดทำแผนงานส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่
5.2.1 มีแผนงานการจัดกิจกรรมตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว 5.2.2 จกรรมจัดมุมพลังงานแผละสิ่งแวดล้อมแบบหมุนเวียน โดยมีทรัพยากรสารสนเทศประมาณ 100 เล่ม จัดแสดงพร้อมวีดิทัศน์ นำเสนอรายการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม 5.2.3 กิจกรรมการตอบคำถามประจำเดือน เช่นวันสิ่งแวดล้อมโลก
|
(GL-2566) 5.2.1 แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว.pdf |
5.3 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่มีความทันสมัยและหลากหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง จํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมด และจัดเตรียมให้อยู่ในสภาพพร้อมให้บริการ
|
สำนักวิทยบริการฯ มีแผนงานและดำเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม (5.3-1) ทั้งที่จัดซื้อหรือการขอรับบริจาคในแต่ละปีงบประมาณและมีรายงานแสดงทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อมจำนวนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่า 300 รายการ (5.3-2) และจัดเตรียมให้อยู่ในสภาพพร้อมให้บริการ (5.3-3)
|
(2566) 5.3-1 แผนการดำเนินงานจัดหา.pdf (2566) 5.3-3 ภาพการจัดเตรียมทรัพยากรด้านสิ่งแวดล้อมพร้อมใช้บริการ.pdf (GL-2566) 5.3-2 ผลรวมทรัพยากรสารสนเทศสิ่งแวดล้อม 2566.pdf |
5.4 กําหนดให้มีบริการสืบค้นสารสนเทศ การสอนการรู้สารสนเทศ และการส่งเสริมการใช้สารสนเทศ รวมทั้งให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือการแลกเปลี่ยนสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระหว่างห้องสมุดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการให้บริการสืบค้นสารสนเทศ 2 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่ 1 การสืบค้นสารสนเทศโดยเจ้าหน้าที่ให้บริการแนะนำการสืบค้นสารสนเทศร่วมถึงการสืบค้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น รีไซเคิล การประหยัดพลังงาน เป็นต้น และจะใช้คำค้นที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวอย่างในระหว่างการสอนการรู้สารสนเทศด้วยเช่นกัน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 จุดสำหรับให้บริการ จุดที่ 1 บริการสืบค้นสารสนเทศ ณ เคาน์เตอร์ยืม คืนชั้น 1 (5.4-1) จุดที่ 2 บริการสืบค้นสารสนเทศ ณ เคาน์เตอร์ Customer Care (5.4-2) รูปแบบที่ 2 บริการให้สืบค้นสารสนเทศด้วยตนเอง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 จุดสำหรับให้บริการ
จุดที่ 1 พื้นที่บริการสืบค้นสารสนเทศด้วยตนเอง ชั้น 1 (5.4-3) จุดที่ 2 พื้นที่บริการสืบค้นสารสนเทศด้วยตนเอง ชั้น 2 (5.4-4) สำนักวิทยบริการฯ มีแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยระบบออนไลน์ของสำนักวิทยบริการฯ (5.4-5) และดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยระบบออนไลน์ ให้กับนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ด้านการแนะนำสำนักวิทยบริการฯ, การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศจาก Web Opac, การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์, การเขียนบรรณานุกรม และการใช้งานแอปพลิเคชั่น Matrix Library เพื่อกลุ่มผู้ใช้บริการดังกล่าว สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ และให้เกิดการใช้ทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงทรัพยากรสารสนเทศเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักวิทยบริการฯ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยระบบออนไลน์และออนไซต์ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 - ชั้นปีที่ 3 รวม 7 ครั้ง 5 สาขาวิชา (5.4-6), (5.4-7) สำนักวิทยบริการฯ มีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันและหน่วยงานต่างๆโดยการทำ MOU เพื่อสรรหาและใช้งานทรัพยากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทฐานข้อมูลออนไลน์ร่วมกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 (5.4-8) มีกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศที่เข้าร่วมทั้งหมด 11 สถาบัน สำนักวิทยบริการฯ มีเครือข่ายความร่วมมือด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมสามารถเข้าไปศึกษาและดูข้อมูลได้บนเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการฯ ที่ URL http://arit.pbru.ac.th (5.4-9) |
(GL-2566) 5.4-1 การให้บริการสืบค้นสารสนเทศ ณ เคาเตอร์ยืมคืน ชั้น1.pdf (GL-2566) 5.4-2 การให้บริการสืบค้นสารสนเทศ ณ เคาน์เตอร์ Customer Care.pdf (GL-2566) 5.4-3 พื้นที่บริการสืบค้นสารสนเทศด้วยตนเอง ชั้น 1.pdf (GL-2566) 5.4-4 พื้นที่บริการสืบค้นสารสนเทศด้วยตนเอง ชั้น 2.pdf (GL-2566) 5.4-5 แผนการดำเนินงานการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้สารสนเทศสำหรับนักศึกษา.pdf (GL-2566) 5.4-6 สรุปผลกิจกรรมส่งเสริมทักษะการเรียนรู้สารสนเทศ-เมษายน-กันยายน-66.pdf (GL-2566) 5.4-7 PPT_แนะนำการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ_compressed.pdf (GL-2566) 5.4-8 เครือข่ายความร่วมมือ.pdf (GL-2566) 5.4-9 MOU ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด.pdf |
5.5 กําหนดให้มีแผนงานและจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่มีรูปแบบหลากหลายสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
|
สำนักวิทยบริการฯ มีแผนงานจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และได้ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบที่หลากหลายและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
5.5 - 1.1 แผนงานจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (5.1 - 1.1) 5.5 - 1.2 กิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัล "วันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายนวันสิ่งแวดล้อมโลก (5.1 - 1.2) 5.5 - 1.3 กิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัล “วันงดสูบบุหรี่โลก (5.1 - 1.3) 5.5 - 1.4 กิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัล "วันอนุรักษ์น้ำโลก (5.1 - 1.4)
5.5 - 1.5 วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ (5.5 - 1.5)
สำนักวิทยบริการฯ สร้างความเข้าใจในด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม โดยได้ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อสร้างความเข้าใจสำหรับบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ จำนวน 24 คน คิดเป็น ร้อยละ 100 เรื่องนโยบายสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว ตามช่องทางต่างๆต่อไปนี้
5.5 - 2.1. ห้องประชุมภายในสำนักงานผู้อำนวยการ ( 5.5 - 2.1)
5.5 - 2.2. เว็บไซต์ Green office & Green library ( 5.5 - 2.2) 5.5 - 2.3. เพจ facebook : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ( 5.5 - 2.3) 5.5 - 2.4. มุมพลังงานและสิ่งแวดล้อม ( 5.5 - 2.4) 5.5 - 2.5. ช่องทางสนทนากลุ่ม messenger: Lib pbru Staff , Green Lib, Arit Staff สำหรับการสื่อสารภายในหน่วยงานเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ( 5.5 - 2.5) |
(2566) 5.5 - 1.2 วันสิ่งแวดล้อมโลก.pdf (2566) 5.5 - 1.3 วันงดสูบบุหรี่โลก.pdf (2566) 5.5 - 1.4 วันอนุรักษ์น้ำโลก.pdf (2566) 5.5 - 1.5 วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ.pdf (2566) 5.5 - 2.1. ห้องประชุมภายในสำนักงานผู้อำนวยการ.pdf (2566) 5.5 - 2.2. เว็บไซต์ Green office & Green library.pdf (2566) 5.5 - 2.3 เพจ facebook สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.pdf (2566) 5.5 - 2.4 มุมพลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf (2566) 5.5 - 2.5 ช่องทางสนทนากลุ่ม messenger Lib pbru Staff.pdf |
5.6 กําหนดให้มีแผนงานและจัดการฝึกอบรมหรือการพัฒนาบุคลากรห้องสมุด ให้มีความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นประจําทุกปี
|
สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566 (5.6-1) โดยมีผู้รับผิดชอบคือนางสาวแขนภา ทองตัน ตามคำสั่งที่ 005/2566 ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ ในปี 2566 ได้ดำเนินการจัดทำแผนทั้งหมด 5 หลักสูตร ดังนี้
1. ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว 2. การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 3. การจัดการมลพิษและของเสีย 4. การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5. ก๊าซเรือนกระจก ได้ดำเนินการจัดอบรมแล้วทั้งสิ้น 6 หลักสูตร ได้แก่
2.1 หลักสูตร "สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" อบรมรูปแบบออนไลน์ (e-learning ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม) มีบุคลากรเข้าอบรมทั้งสิ้น 21 คน ผ่านการอบรม 21 คน ได้มีการวัดความรู้ ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.75/20 คิดเป็นร้อยละ 58.75 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.04/20 คิดเป็นร้อยละ 80.21 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ
2.2 หลักสูตร "การจัดการมลพิษและของเสีย" อบรมเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 มีบุคลากรเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 24 คน ผ่านการอบรม 24 คน ได้มีการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.58/20 คิดเป็นร้อยละ 57.91 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.42/20 คิดเป็นร้อยละ 92.08 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น
2.3 หลักสูตร "แนวทางในการอนุรักษ์พลังงานตามหลัก 3อ" อบรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 มีบุคลากรเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 24 คน ได้มีการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.71/20 คิดเป็นร้อยละ 43.54 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.71/20 คิดเป็นร้อยละ 93.54 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น
2.4 หลักสูตร "กลไกสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการไทย" อบรมเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. รูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom โดยบริษัท เอเบิล คอนซัลแตนท์ มีบุคลากรเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 24 คน ได้มีการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.29/20 คิดเป็นร้อยละ 66.45 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.04/20 คิดเป็นร้อยละ 95.2 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น
2.5 หลักสูตร "แนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว" อบรมเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 เวลา 08.30 - 16.30 น. รูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom โดยบริษัท เอเบิล คอนซัลแตนท์ มีบุคลากรเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 24 คน ได้มีการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13/20 คิดเป็นร้อยละ 65 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.67/20 คิดเป็นร้อยละ 83.35 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น
2.6 หลักสูตร "ก๊าซเรือนกระจก และการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" อบรมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566 มีบุคลากรเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 23 คน ได้มีการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.22/20 คิดเป็นร้อยละ 66.10 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.96/20 คิดเป็นร้อยละ 94.80 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น
สรุปผลการประเมินการอบรม มีผู้ผ่านการอบรมเฉลี่ยร้อยละ 96.53 และมีการประเมินความรู้ก่อนการอบรม เฉลี่ยร้อยละ 61.03 และหลังการอบรม เฉลี่ยร้อยละ 91.78 (5.6-2) และได้มีการจัดทำทะเบียนประวัติการอบรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ (5.6-3) อีกด้วย
นอกจากการพัฒนาตนเองตามแผนการอบรมทักษะความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2566 แล้ว บุคลากรของสำนักฯ ยังได้เข้าร่วมการประชุม สัมมนากับหน่วยงานภายนอกด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอีก (5.6-4)
|
(2566) 5.6-1 แผนการอบรมทักษะความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2566.pdf (2566) 5.6-3 ทะเบียนประวัติการอบรมของบุคลากร ปี 2566.pdf (GL-2566) 5.6-2 สรุปผลการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2566.pdf (GL-2566) 5.6-4 สรุปประวัติการอบรมของบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2566.pdf |
5.7 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินจัดกิจกรรมประหยัดพลังงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตลอดปี
|
สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2566 โดยมีผู้รับผิดชอบคือ นายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา จำนวน 9 หัวข้อ และได้กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสาร ดังนี้ (5.7-1)
1. นโยบายสิ่งแวดล้อม
2. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและการจัดการ 3. การปฏิบัติตามกฎหมาย 4. ความสะอาดและความเป็นระเบียบ (5ส.) 5. เป้าหมายและมาตรการพลังงาน-ทรัพยากร (ได้แก่น้ำ ไฟฟ้า น้ามันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม กระดาษ และอื่นๆ) 6. เป้าหมายและมาตรการจัดการของเสีย 7. ผลการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย 8. สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 9. ก๊าซเรือนกระจก สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงานที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร ได้แก่ (5.7 - 2) สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน ให้เกิดการรับรู้และรับทราบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (5.7 - 3) |
(GL-2566) 5.7 - 1 แผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2566.pdf (GL-2566) 5.7 - 2 ช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก 2566.pdf (GL-2566) 5.7 - 3 กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม 2566.pdf |
หัวข้อ | ผลการดำเนินงาน | ไฟล์หลักฐาน |
---|---|---|
6.1 กําหนดให้มีแผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว โดยผู้บริหารห้องสมุด รวมทั้งรับฟังความเห็นจากบุคลากรและผู้รับบริการ และเสนอให้คณะกรรมการประจําหน่วยงาน ตลอดจนผู้บริหารระดับเหนือชั้นขึ้นไปรับทราบ ชี้แจงบทบาทด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มรับทราบ ได้แก่ บุคลากรผู้รับบริการและผู้ประกอบการ
|
สำนักวิทยบริการฯ กำหนดนโยบายห้องสมุดสีเขียว โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกภาคส่วน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดเขียว (6.1-1) กำหนดบทบาทของผู้บริหาร บุคลากร และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้มีส่วนร่วมและตระหนักในการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว 8 หมวด รับฟังความคิดเห็นจากบุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวแผน ประจำปี 2566 (6.1-2) และแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว 2566 (6.1-3) มีการรายงานผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวต่อคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการฯ ตลอดจนผู้บริหารระดับเหนือชั้นขึ้นไปรับทราบ (6.1-4) |
(GL-2566) 6.1-1 คำสั่งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2566.pdf (GL-2566) 6.1-2 แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว พ.ศ.2562-2566.pdf (GL-2566) 6.1-3 แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียวปีพ.ศ.2566.pdf (GL-2566) 6.1-5 ประชาสัมพันธ์ทาง website fanpage line.pdf (GL-2566) 6.1-6 ติดป้ายประชาสัมพันธ์.pdf |
6.2 กําหนดให้มีแผนงานพัฒนาความรู้ให้กับบุคลากร โดยบุคลากรห้องสมุดจะต้องเข้าร่วมการอบรมที่หน่วยงานจัด หรือเข้าร่วมการประชุมสัมมนา หรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหรือสิ่งแวดล้อม และกําหนดภาระงานให้บุคลากรมีส่วนร่วมดําเนินงานในการจัดกิจกรรม และ/หรือ การให้บริการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
|
สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566 (6.2-1) โดยมีผู้รับผิดชอบคือนางสาวแขนภา ทองตัน ตามคำสั่งที่ 005/2566 ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ ในปี 2566 ได้ดำเนินการจัดทำแผนทั้งหมด 5 หลักสูตร ดังนี้
1. ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว 2. การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 3. การจัดการมลพิษและของเสีย 4. การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5. ก๊าซเรือนกระจก ได้ดำเนินการจัดอบรมแล้วทั้งสิ้น 6 หลักสูตร ได้แก่
2.1 หลักสูตร "สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" อบรมรูปแบบออนไลน์ (e-learning ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม) มีบุคลากรเข้าอบรมทั้งสิ้น 21 คน ผ่านการอบรม 21 คน ได้มีการวัดความรู้ ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.75/20 คิดเป็นร้อยละ 58.75 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.04/20 คิดเป็นร้อยละ 80.21 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ
2.2 หลักสูตร "การจัดการมลพิษและของเสีย" อบรมเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 มีบุคลากรเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 24 คน ผ่านการอบรม 24 คน ได้มีการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.58/20 คิดเป็นร้อยละ 57.91 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.42/20 คิดเป็นร้อยละ 92.08 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น
2.3 หลักสูตร "แนวทางในการอนุรักษ์พลังงานตามหลัก 3อ" อบรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 มีบุคลากรเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 24 คน ได้มีการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.71/20 คิดเป็นร้อยละ 43.54 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.71/20 คิดเป็นร้อยละ 93.54 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น
2.4 หลักสูตร "กลไกสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการไทย" อบรมเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. รูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom โดยบริษัท เอเบิล คอนซัลแตนท์ มีบุคลากรเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 24 คน ได้มีการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.29/20 คิดเป็นร้อยละ 66.45 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.04/20 คิดเป็นร้อยละ 95.2 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น
2.5 หลักสูตร "แนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว" อบรมเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 เวลา 08.30 - 16.30 น. รูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom โดยบริษัท เอเบิล คอนซัลแตนท์ มีบุคลากรเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 24 คน ได้มีการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13/20 คิดเป็นร้อยละ 65 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.67/20 คิดเป็นร้อยละ 83.35 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น
2.6 หลักสูตร "ก๊าซเรือนกระจก และการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" อบรมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566 มีบุคลากรเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 23 คน ได้มีการวัดความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมด้วยวิธีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.22/20 คิดเป็นร้อยละ 66.10 และ หลังการอบรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.96/20 คิดเป็นร้อยละ 94.80 พบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มขึ้น
สรุปผลการประเมินการอบรม มีผู้ผ่านการอบรมเฉลี่ยร้อยละ 96.53 และมีการประเมินความรู้ก่อนการอบรม เฉลี่ยร้อยละ 61.03 และหลังการอบรม เฉลี่ยร้อยละ 91.78 (6.2-2) และได้มีการจัดทำทะเบียนประวัติการอบรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ (6.2-3) อีกด้วย
นอกจากการพัฒนาตนเองตามแผนการอบรมทักษะความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2566 แล้ว บุคลากรของสำนักฯ ยังได้เข้าร่วมการประชุม สัมมนากับหน่วยงานภายนอกด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอีก (6.2-4)
|
(2566) 6.2-1 แผนการอบรมทักษะความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2566.pdf (2566) 6.2-2 สรุปผลการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2566(ม.ค.- มิ.ย. 2566).pdf (2566) 6.2-3 ทะเบียนประวัติการอบรมของบุคลากร ปี 2566.pdf (GL-2566) 6.2-4 สรุปประวัติการอบรมของบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2566.pdf |
6.3 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการที่ดําเนินการในอาคารห้องสมุด หรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับกิจการห้องสมุด ดําเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และให้ความร่วมมือในการดําเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องตามข้อกําหนดและเงื่อนไขการว่าจ้าง (Term of Reference: TOR) หรือตามรายละเอียดที่ห้องสมุดกําหนด
|
สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้พื้นที่ของห้องสมุดเป็นสถานประกอบการ (Think Cafe) เพื่อให้มีการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.3-1) และในกรณีที่จัดจ้างหน่วยงานที่ไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรอง จะดำเนินการประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้างเบื้องต้น เพื่อให้มีการปฏิบัติงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.3-2)
ทั้งนี้เมื่อผู้ประกอบการเข้ามาดำเนินการภายในสำนักฯ จะมีการกรอกแบบฟอร์มใบอนุญาตปฏิบัติงานและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้มีการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.3-3) และจะมีการสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ผู้ประกอบการ/ผู้รับจ้างได้ปฏิบัติตามข้อตกลงของสำนักฯ (6.3-4) ภายหลังจากสำนักวิทยบริการฯ ได้สร้างความเข้าใจ แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อที่เกี่ยวข้อง หน่วยงาน/หรือบุคคลสามารถอธิบาย แนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของตนเองได้ |
(GL-2566) 6.3-1 บันทึกข้อตกลงการใช้พื้นที่ของห้องสมุดเป็นสถานประกอบการ.pdf (GL-2566) 6.3-2 การประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้างช่วง.pdf (GL-2566) 6.3-3 ใบอนุญาตเข้าปฏิบัติงานและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม.pdf (GL-2566) 6.3-4 การอบรมให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ประกอบการ.pdf |
6.4 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการแจ้งให้ผู้รับบริการรับทราบนโยบายและขอความร่วมมือในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
|
สำนักวิทยบริการฯ มีแผนงานและดำเนินการแจ้งให้ผู้รับบริการรับทราบตามประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (6.4-1) และเรื่องมาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว (6.4-2) เพื่อสร้างจิตสำนึกและขอความร่วมมือในการปฏิบัติตนช่วยกันอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักวิทยบริการฯ ได้มีช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อการรณรงค์ ชี้แจงข่าวสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล ผ่านช่องทางในรูปแบบ Onsite และ Online ดังนี้
|
(GL-2566) 6.4-1 ประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf (GL-2566) 6.4-2 ประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง มาตรการและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานฯ.pdf (GL-2566) 6.4-3 ป้ายประกาศประชาสัมพันธ์ การประหยัดไฟฟ้า น้ำและทรัพยากร.pdf (GL-2566) 6.4-4 เผยแพร่ความรู้เรื่องการประหยัดน้ำรวมทั้งการสร้างจิตสำนึกผ่านจอทีวี.pdf (GL-2566) 6.4-5 การประชาสัมพันธ์การประหยัดพลังงานบนเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว.pdf (GL-2566) 6.4-6 ประชาสัมพันธ์ทาง website fanpage line.pdf |
หัวข้อ | ผลการดำเนินงาน | ไฟล์หลักฐาน |
---|---|---|
7.1 เข้าร่วมในเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดสีเขียว หรือเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกับห้องสมุดอื่นๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการความรู้หรือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เช่น การจัดการประชุม การสัมมนา และ/หรือ การเข้าร่วมประชุม เข้าร่วมสัมมนา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
|
สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวประจำปี 2562-2566 (ฉบับปรับปรุง) และ แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2566 ซึ่งมีแผนงานเกี่ยวกับความร่วมมือในยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างเครือข่ายและความร่วมมือด้านการพัฒนาและส่งเสริมห้องสมุดสีเขียว กลยุทธ์ที่ 7 พัฒนาความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว โดยมีการส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมสัมมนาหรือเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมร่วมกับเครือข่ายกลุ่มต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งในปีพ.ศ.2566 สำนักวิทยบริการฯ ได้ส่งบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้ 7.1 เครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว สำนักวิทยบริการฯ ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ดังนี้ 7.1.1 สำนักวิทยบริการฯ ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวจำนวน 2 แห่ง - สำนักวิทยบริการฯ ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวระหว่างสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี กับ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2565 - สำนักวิทยบริการฯ ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวระหว่างสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กับ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2565 7.1.2 สำนักวิทยบริการฯ ได้สมัครเข้ารับการตรวจประเมินตามเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว เพื่อต่ออายุการรับรอง ซึ่งสำนักวิทยบริการฯ ได้รับการตรวจประเมินฯ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2564 จากคณะกรรมการบริหารชมรมห้องสมุดสีเขียว สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ผลการประเมินสำนักวิทยบริการฯ ผ่านการตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2564 (การต่ออายุ) จากการได้รับการประเมิน ดังกล่าว ในปีพ.ศ. 2565 สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินการ ดังนี้ ในปีพ.ศ. 2566 สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินการกรอกข้อมูลผลการดำเนินงานในระบบGreen Office & Green Library (https://localphetchaburi.net/green/) เป็นระบบการจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559-2566 เพื่อให้ผู้รับผิดชอบทุกหมวดนำข้อมูลไปใส่ในระบบให้เรียบร้อย รวมถึง จัดทำระบบการให้คะแนนประเมินตนเองเบื้องต้นเพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานแต่ละหมวด (7.1-2) 7.1.3 สำนักวิทยบริการฯ ได้ขอรับการประเมินสำนักงานสีเขียว ในปี พ.ศ. 2563 และได้รับการตรวจประเมินเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว (Green Office) ปี 2563 เมื่อวันจันทร์ ที่ 28 กันยายน พ.ศ.2563 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้สำนักวิทยบริการฯ ผ่านเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว ระดับดีมาก(เหรียญเงิน) จากการได้รับการประเมิน ดังกล่าว ในปีพ.ศ. 2565 สำนักวิทยบริการฯ ส่งเสริม/สนับสนุนให้บุคลากร จำนวน 25 คน เข้ารับการอบรมออนไลน์ในระบบการเรียนรู้ออนไลน์ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 ด้าน ดังนี้ ในปีพ.ศ. 2566 สำนักวิทยบริการฯ ส่งเสริม/สนับสนุนให้บุคลากร จำนวน 24 คน เข้ารับการอบรมออนไลน์ในระบบการเรียนรู้ออนไลน์ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการจัดการพลังงาน ของเสีย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งได้ดำเนินการฝึกอบรม จำนวน 9 เรื่อง ดังนี้ และในปีพ.ศ.2566 สำนักวิทยบริการฯ ได้ขอรับการประเมินสำนักงานสีเขียว (ต่ออายุ) และได้รับการตรวจประเมินเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว (Green Office) ปีพ.ศ.2566 เมื่อวันพุธ ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2566 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้สำนักวิทยบริการฯ ผ่านเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว ระดับดีเยี่ยม (ระดับทอง) (7.1-4) 7.2 เครือข่ายโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและโรงเรียนกองทุนเพื่อการศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ 2) การพัฒนาด้านการจัดการห้องสมุดและการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (7.2-1) กิจกรรมครั้งนี้เป็นการสร้างจิตสำนึก คัดแยกขยะต้นทาง อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ คือ 7.3 อบรมจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักวิทยบริการฯ จัดกิจกรรม 1 กระถาง 1 ต้นไม้ ซึ่งเป็นกิจกรรมเนื่องในวันราชภัฏ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพาะพันธ์ต้นไม้ที่ช่วยในการปรับสภาพอากาศ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับองค์กร เพื่อปลูกฝังการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อมของสำนักวิทยบริการ ฯ นำโดย อาจารย์ ดร.มธุรส ปราบไพรี รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ ฯ พร้อมด้วยบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ จำนวน 20 คน วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 อาจารย์ปิยวรรณ คุสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และอาจารย์ ดร.มธุรส ปราบไพรี รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นวิทยากร ในการให้ความรู้สำนักงานสีเขียว (Green Office) ให้กับบุคลากรคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ในกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว (Green Office) ปี 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์วิเชียร เข็มเงิน รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนากายภาพ เป็นประธานเปิดการอบรม วันที่ 2 มีนาคม 2566 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้จัดอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม หัวข้อเรื่อง"การจัดการมลพิษและของเสีย" ณ ห้องประชุมต้นจัน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัทมาพร ยอดสันติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 34 คน เป็นบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ จำนวน 24 คน และบุคลากรหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย จำนวน 10 คน วันที่ 8 มีนาคม 2566 เวลา 13.00 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมต้นจัน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้จัดอบรมหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม หัวข้อเรื่อง "แนวทางในการอนุรักษ์พลังงานตามหลัก 3อ" โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ปองพล รักการงาน อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 27 คน เป็นบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ จำนวน 24 คน และบุคลากรหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย จำนวน 3 คน วันที่ 22-23 มีนาคม 2566 อาจารย์ปิยวรรณ คุสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ และอาจารย์ ดร.มธุรส ปราบไพรี รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ เข้าร่วมสัมมนาความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ครั้งที่ 9 ประจำปี 2566 ภายใต้หัวข้อ "สมดุลธรรมชาติ สู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืน" (Balance of Nature to Sustainable Way of Life) จัดโดย สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วันที่ 24 มีนาคม 2566 คณะทำงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) สำนักวิทยบริการฯ เข้าร่วมอบรมออนไลน์ เรื่อง กลไกสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการไทย ผ่านรูปแบบออนไลน์ จัดโดย บริษัท เอเบิล คอนซัลแตนท์ จำกัด และ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว ในหมวด 2 การสื่อสารและการสร้างจิตสำนึก และเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนรับการตรวจประเมินโดยคณะกรรมการระดับประเทศ ตามที่ได้สมัครเข้าร่วมโครงการกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในปี 2566 (ต่ออายุการรับรอง) วันที่ 26 เมษายน 2566 บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ เข้าร่วมอบรมเรื่องแนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว (Green Office) ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) โปรแกรม Zoom Cloud Meetings จัดโดย บริษัท เอเบิล คอนซัลแตนท์ จำกัด เพื่อทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว (Green Office) ในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ปี 2566 วันที่ 27-28 เมษายน 2566 สำนักวิทยบริการฯ ได้ส่งบุคลากรจำนวน 6 คน ประกอบด้วย อาจารย์ปิยวรรณ คุสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ อาจารย์ ดร.มธุรส ปราบไพรี อาจารย์สัญญา ธีรเดชอุปถัมภ์ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ นางนงลักษณ์ พหุพันธ์ นางสาวแขนภา ทองตัน นางสาวธนพร ถมเสาร และนายสวัสดิ์ อุราฤทธิ์ เข้าร่วมอบรมเรื่อง การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office Auditor) ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) โปรแกรม Zoom Cloud Meetings จัดโดย บริษัท เอเบิล คอนซัลแตนท์ จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำความเข้าใจการเป็นผู้ตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office Auditor) วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 ผู้บริหารและบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ ได้ร่วมกิจกรรมCoaching การแนะนำการต่ออายุสำนักงานสีเขียว (สำหรับหน่วยงานต่ออายุการรับรอง) โดยนายปวงวิทย์ สนเลม็ด เป็นผู้ดําเนินการ Coaching ดำเนินการ Coaching แนะนำ โดย บริษัท เอเบิล คอนซัลแตนท์ จำกัด วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 ผู้บริหารและบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ ได้ร่วมกิจกรรม Coaching การแนะนำการต่ออายุสำนักงานสีเขียว (สำหรับหน่วยงานต่ออายุการรับรอง) โดยนายปวงวิทย์ สนเลม็ด เป็นผู้ดําเนินการ Coaching ติดตามดำเนินการ ทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว (Green Office) วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 อาจารย์ปิยวรรณ คุสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ เป็นวิทยากรในกิจกรรมแลกเปลี่ยนรู้กิจกรรม “การสื่อสารและสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับสำนักงานสีเขียวแก่บุคลากร” ให้กับบุคลากร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ณ ห้องประชุมชั้น 2 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ วันที่ 9 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมต้นจัน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจารย์ปิยวรรณ คุสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นำรองผู้อำนวยการและบุคลากรสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ารับการอบรม ในกิจกรรมส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม หลักสูตรก๊าซเรือนกระจกและการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อทบทวน เพิ่มเติมความรู้ ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมแก่บุคลากร ก่อนที่จะเข้ารับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) วันที่ 23 สิงหาาคม 2566 สำนักวิทยบริการฯ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานสำนักงานสีเขียวให้แก่นักศึกษาสาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ปี 3 จำนวน 13 คน ในรายวิชาการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีอาจารย์ ดร.มธุรส ปราบไพรี เป็นอาจารย์ผู้สอน ณ ห้องประชุมต้นหว้า สำนักวิทยบริการฯ (7.3-1) |
(GL-2566) 7.1-1.pdf (GL-2566) 7.1-2.pdf (GL-2566) 7.1-3.pdf (GL-2566) 7.1-4.pdf (GL-2566) 7.2-1.pdf (GL-2566) 7.3-1_compressed.pdf |
หัวข้อ | ผลการดำเนินงาน | ไฟล์หลักฐาน |
---|---|---|
8.1 ผู้บริหารห้องสมุด ต้องกําหนดตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยติดตาม ประเมินผลเป็นประจําทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งในเรื่องต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
- ประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม เช่น Energy Utilization Index(EUI)
- ประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะ เช่น ปริมาณขยะลดลง และร้อยละของปริมาณขยะที่นํามา reuse, recycle เพิ่มขึ้น
- ประเมินประสิทธิภาพการจัดการน้ําเสีย
- ประเมินประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ไม่มีเรื่องร้องเรียนจากผู้รับบริการเกี่ยวกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคาร จํานวนครั้งของการล้างระบบปรับอากาศต่อปี เป็นต้น
- ประเมินประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก เช่น ร้อยละของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรต่อจํานวนผู้มารับบริการ เป็นต้น
|
สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพตามตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวตามแผนงานและมาตรการที่กำหนดใน แผนพัฒนาห้องสมุดปี พ.ศ. 2566 โดยมีบุคลากรฝ่ายงานต่างๆ ของสำนักวิทยบริการฯ เป็นผู้ขับเคลื่อน ตั้งแต่การประชุมคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ติดตาม ตรวจสอบ และรายงานผลการดำเนินงาน ปี พ.ศ. 2565 เพื่อนำมาปรับตัวชี้วัดในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งสำนักวิทยบริการได้กำหนดตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้น 9 ตัวชี้วัด ครอบคลุมประสิทธิภาพ 6 ด้าน ประกอบด้วย
1. ประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม
- Energy Utilization Index (EUI) >/=0
- ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 30
2. ประสิทธิภาพการจัดการขยะ
- ลดปริมาณขยะและของเสีย ร้อยละ 30 3. ประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสีย
- ลดปริมาณการใช้น้ำ ร้อยละ 10 4. ประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ
- ผลการประเมินกิจกรรม 5 ส. เฉลี่ยร้อยละ 80 5. ประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 20
- ลดปริมาณการใช้กระดาษ ร้อยละ 15
- ลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 30
- ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 30
- ลดปริมาณการใช้น้ำ ร้อยละ 10
- ลดปริมาณขยะและของเสีย ร้อยละ 30
6. ประสิทธิภาพการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม - ร้อยละของจำนวนบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ ที่ผ่านการทดสอบความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 80 ซึ่งผลการดำเนินงานมีดังนี้ (8.1-1.1)(8.1-1.2)(8.1-1.3)
|
(2566) 8.1-1.1 สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพตามตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf (GL-2566) 8.1-1.2 แบบประเมินตนเองตามเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ.2566.pdf (GL-2566) 8.1-1.3 สรุปผลการประเมินการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. 2566.pdf |