GREEN LIBRARY & GREEN OFFICE

เกณฑ์ประเมินห้องสมุดสีเขียว 2564

ภาพร่วมผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว 2564

ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ประเมินห้องสมุดสีเขียว 2564

คำอธิบาย
    ผู้บริหารห้องสมุดมีการกำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมใหเ้ป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารงานห้องสมุด รวมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว และมีการประกาศให้ทราบทั่วกัน

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
1.1 มีการกำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อมโดยผู้บริหารห้องสมุด

       สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2564 (1.1-1) เพื่อทบทวนและกำหนดนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (1.1-2 ) มีการประชุมกำหนดเป้าหมาย แผนงาน/มาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม(1.1-3) (1.1-4) (หน้า 14-15) (1.1-5) (หน้า 11-12) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักฯ) จากการทบทวนและกำหนดนโยบายฯ ดังกล่าว ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้สำนักวิทยบริการฯเป็นองค์กรแห่งการจัดการสมัยใหม่และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพสูง และประชาสัมพันธ์นโยบายให้กับบุคลากรและผู้รับบริการทราบ


(2564) คำสั่งห้องสมุดสีเขียวเพิ่มเติม.pdf
1.1-1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ.2564.pdf
1.1-2 ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf
1.1-3 รายงานการประชุมห้องสมุดสีเขียวครั้งที่ 1-2564.pdf
1.1-4 รายงานการประชุมบุคลากร ครั้งที่ 2-2564.pdf
1.1-5 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักฯ ครั้งที่ 1-2564.pdf
1.2 มีเอกสารนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อมรวมทั้งแนวทางการดำเนินงานที่ สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และ ยุทธศาสตร์ตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว

      สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดประชุม (1.2-1) (หน้า 22-25) เพื่อทบทวนและจัดทำแผนกลยุทธ์สำนักวิทยบริการฯ ประจำปี 2562-2566 (1.2-2) (หน้า 38-42) โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคนในหน่วยงาน ทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ จัดทำ SWOT มีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ 5 เรื่อง พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม   เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาลัยสีเขียว โดยมีเป้าประสงค์ คือ ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานภายนอก และเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าว สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวฯ เพื่อจัดทำแผนงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2562-2566 ฉบับปรับปรุง  (1.2-3) แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ.2564 (1.2-4)


1.2-1 รายงานการประชุมบุคลากร ครั้งที่ 2-2564.pdf
1.2-2 แผนยุทธศาสตร์พัฒนาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.pdf
1.2-3 แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว-พ.ศ.-2562-2566.pdf
1.2-4 แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ.2564.pdf
1.3 มีการประกาศให้ทราบทั่วกัน

     สำนักวิทยบริการฯ มีการประชาสัมพันธ์นโยบายให้กับบุคลากรและผู้รับบริการทราบไว้ 4 ช่องทาง ได้แก่
     
1.แจ้งหนังสือเวียนบันทึกข้อความไปยังบุคลากรทุกคน (1.3-1)
     2.ประกาศนโยบายฯ ภายในลิฟท์ (1.3-2)
     3. ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการฯ ที่ (1.3-3)
     
4.ประกาศแจ้งผู้ใช้บริการภายในสำนักวิทยบริการรับทราบทางบอร์ดประชาสัมพันธ์ (1.3-4 ) 

 


1.3-1 แจ้งหนังสือเวียนบันทึกข้อความไปยังบุคลากรทุกคน.pdf
1.3-2 การประกาศนโยบายฯ ภายในลิฟท์และสำนักงาน.pdf
1.3-3 ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์สำนักวิทยบริการฯ.pdf
1.3-4 การประชาสัมพันธ์นโยบายฯ ผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์ของสำนักวิทยบริการฯ.pdf

คำอธิบาย
    ห้องสมุดต้องมีโครงสร้างพื้นฐานหรือลักษณะทางกายภาพ ที่เอื้อต่อการลดการใช้พลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการให้บริการและการบริหารจัดการห้องสมุด

กรณีเป็นอาคารเก่า
    มีแผนงานและมาตรการ ในการปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

   

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
2.1 มีการศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิมที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม

          สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบหมวด 2 ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2564 (2.1-1) มีการสำรวจและศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิมที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี ดังปรากฎรายละเอียดในแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ปี พ.ศ. 2564 (2.1-2)

          จากการศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิมของสำนักวิทยบริการฯ พบว่า สำนักวิทยบริการฯ มีสภาพของอาคารที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม อาทิ ระบบเครื่องปรับอากาศของอาคารบรรณาราชนรินทร์ที่ชำรุดเป็นจำนวนมาก และมีการรั่วไหลของอากาศระหว่างชั้น และส่วนของห้องน้ำ ทำให้ควบคุมอุณหภูมิในบริเวณต่างๆ ของห้องสมุดได้ยาก และการใช้ระบบไฟฟ้าแบบแผง (Section) ทำให้เกิดการสูญเสียไฟฟ้าในจุดที่ไม่มีเจ้าหน้าที่หรือผู้ใช้บริการอยู่ และความต้องการมองเห็นทัศนียภาพโดยรอบของผู้ใช้บริการเมื่อมาค้นคว้าหรืออ่านหนังสือในห้องสมุด ตลอดจนแสงสว่างในบางพื้นที่ อาทิ ชั้น 2-5 อาคารบรรณราชนครินทร์ Thinkcafe @Library ซึ่งจะมีนักศึกษามาพบปะพูดคุย/ทำงานกลุ่ม/ทำกิจกรรมต่าง ๆ พบว่ามีแสงสว่างไม่เพียงพอ และตามชั้นหนังสือที่ชั้น 3-5 ที่มีแสงสว่างไม่ทั่วถึง และยังมีการใช้หลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนส์เป็นจำนวนมาก ทำให้อาคารสำนักวิทยบริการมีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูง และการรรั่วไหลของน้ำฝนบริเวณดาดฟ้าหลังคา และฝ้าเพดานของอาคารหอสมุดเดิม


2.1-1-คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว.pdf
2.1-2-แผนงานและมาตรการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ-2564.pdf
2.2 มีแผนงานและมาตรการการปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคาร หรือมาตรการอื่นที่เทียบเท่า ให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในเรื่องต่อไปนี้
    1) มีการปรับปรุงโครงสร้างอาคารและวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
    2) มีการปรับปรุงระบบปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพ
    3) มีการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน
    4) มีการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยเลือกปลูกพืชพื้นถิ่น หรือพืชที่ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก หรือปลูกพืชใช้น้ําน้อย หรือพืชที่ใช้ประโยชน์เพื่อเป็นอาหารและจัดการภูมิทัศน์ให้มีความร่มรื่นสวยงาม

          สำนักวิทยบริการฯ มีการปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคาร ให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตามแผนงานและมาตรการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ปี พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้ 
          1. ปรับปรุงกันซึมบนชั้นดาดฟ้าอาคารหอสมุดเดิม ป้องกันการรั่วไหลของน้ำเมื่อมีฝนตก (2.2-1.1)
          2. มีการดำเนินการประสานงานเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศ ที่ ชั้น 1-6 อาคารบรรรราชนครินทร์ ร่วมกับกลุ่มงานพัฒนากายภาพภูมิสถาปัตย์และสิ่งแวดล้อม สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (2.2-2.1) และการไฟฟ้าส่สวนภูมิภาค  ชั้นมีการดำเนินโครงการปรับปรุงพื้นที่อาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยจัดทำประตูกระจกหน้าห้องน้ำ ชั้น 2-5 และชุดผนังกระจกติดตายและประตูกระจก บริเวณพื้นที่บริการ ชั้น 6 อาคารบรรณราชนครินทร์ ในโครงการปรับปรุงต่อเติมอาคารหอสมุด เพื่อป้องกันการรั่วไหลของอากาศ และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการปรับอากาศภายในอาคารอีกด้วย (2.2-2.2)
          3. ปรับเปลี่ยนหลอดไฟจากแบบฟลูออเรสเซนส์ เป็นแบบ LED ที่ชั้น 1-6 อาคารบรรณราชนครินทร์ เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า ตามข้อตกลงการให้บริการ โครงการบริหารจัดการเพื่อการประหยัดพลังงานระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมีการลงนามข้อตกลงร่วมกันระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (2.2-3.1)
          4. เพิ่มพื้นที่สีเขียวบริเวณหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ โดยใช้แนวต้นไทรเกาหลีช่วยในการกรองแสงแดดช่วงบ่าย เพื่อลดแสงและความร้อนที่จะเข้าสู่สำนักงานผู้อำนวยการ (2.2-4.1)

 


2.2-1.1-กันซึมหลักคาและเพดาน.pdf
2.2-2.1-ปรับเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศ.pdf
2.2-2.2-ปรับปรุงพื้นที่อาคารสำนักวิทยบริการฯ.pdf
2.2-3.1-ปรับปรุงหลอดไฟ.pdf
2.2-4.1 เพิ่มพื้นที่สีเขียวด้านหน้าสำนักงานและทางเดินภายในสำนักฯ.pdf
คำอธิบาย
    มีการจําแนกประเด็นปัญหาด้านการใช้ทรัพยากรและพลังงาน กําหนดมาตรการการใช้ทรัพยากรและการใช้พลังงานของกิจกรรมการให้บริการของห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคารห้องสมุด ตลอดจน บันทึก ติดตาม ตรวจสอบ เพื่อประเมินผล

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน

3.1 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการตามมาตรการประหยัดไฟฟ้า น้ํา และทรัพยากร

         สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว ให้เป็น Green University ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรห้องสมุดและผู้รับบริการ โดยการนำนโยบายไปจัดทำแผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว 5 ปี พ.ศ.-2562-2566 (3.1-1) และ แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2564 (3.1-2) เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงาน และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผล จึงมีการประกาศนโยบายการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียวและเป้าหมายเป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร (3.1-3) อีกทั้งกำหนดมาตรการและเป้าหมายการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3.1-4) พร้อมทั้งมีการประชาสัมพันธ์มาตรการประหยัดไฟฟ้า น้ำ และทรัพยากร ตามช่องทางการสื่อสารต่างๆ ของสำนักวิทยบริการฯ ได้แก่ ป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณหน้าทางเข้าและพื้นที่ของสำนักวิทยบริการฯ (3.1-5) เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว (3.1-6) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันที่ชัดเจน แก่บุคลากร ผู้เข้ารับบริการสำนักวิทยบริการฯ ให้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

โดยสำนักวิทยบริการได้ดำเนินงานตามแผน นโยบาย และมาตรการที่กำหนดไว้ดังนี้
3.1 มาตรการประหยัดไฟฟ้า
       3.1.1 การรณรงค์การเปิด-ปิด เครื่องปรับอากาศส่วนบริการ ให้เปิดเวลา 09.00 น.และปิดก่อนเวลา ปิดบริการหรือเลิกทำงาน 30 นาที (3.1-7)
       3.1.2 การปิดไฟในเวลาพักเที่ยงหรือไม่อยู่บริเวณที่นั่งทำงาน ห้องประชุม หรือบริเวณพื้นที่ไม่มีผู้ใช้บริการ (3.1-8)
       3.1.3 ปิดจอภาพคอมพิวเตอร์ในเวลาพักเที่ยงหรือตั้งโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์ปิดหน้าจออัตโนมัติ หากไม่ได้ใช้งานเกินกว่า ๑๕ นาที และถอดปลั๊กออกหลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงทุกครั้ง (3.1-9)
       3.1.4 การใช้เครื่องไฟฟ้าอื่นๆ เช่น ไมโครเวฟ โทรทัศน์ พัดลม กระติ๊กน้ำร้อน เป็นต้น ให้จัดไว้ในจุดที่สามารถใช้ร่วมกันได้ตามความเหมาะสม และถอดปลั๊กออกหลังจากการใช้งานทุกครั้ง ปลดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งาน (3.1-10)
       3.1.5 ล้างเครื่องปรับอากาศและทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ ปีละ ๒ ครั้ง (3.1-11)
       3.1.6 ตู้เย็นให้นำสิ่งของที่คาดว่าจะเสียออกจากตู้เย็นทุกวันศุกร์ และทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ (3.1-12)
       3.1.7 ลดการใช้พลังงาน ได้แก่ การให้บุคลากรใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยในการเดินทางไปประชุมหรือส่งเอกสารตามหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย (3.1-13) ลดใช้ลิฟท์ในกรณีที่มีการขึ้นลง ๑ ชั้น ยกเว้นขนสัมภาระ (เดินขึ้นบันได) (3.1-14)
       3.1.8 ลดการใช้แก้ว/ขวดพลาสติก หันมาใช้อุปกรณ์ใช้ซ้ำได้ เช่น กระบอกน้ำแทนพลาสติก (3.1-15)

3.2 มาตรการประหยัดน้ำ
    
   3.2.1 เผยแพร่ความรู้เรื่องการประหยัดน้ำ รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกในการประหยัดน้ำและรณรงค์ด้วยป้ายประชาสัมพันธ์ (3.1-16)  
      3.2.2 ตรวจสอบอุปกรณ์การใช้น้ำอย่างสม่ำเสมอ  (3.1-17)
      3.2.3 การรดน้ำต้นไม้ให้ใช้สปริงเกิลหรือฝักบัว กำหนดให้รดน้ำต้นไม้ เวลา ๑๗.๐๐-๑๘.๐๐ น. โดยในแต่ละจุดใช้เวลา ๑๐ นาที (3.1-18)
      3.2.4 มีป้ายรณรงค์การใช้น้ำ ปิดวาล์วน้ำหรืออุปกรณ์การใช้น้ำประปาทุกชนิดให้สนิทหลังการใช้ทุกครั้ง แจ้งให้บุคลากรภายในและภายนอกหน่วยงานทราบและใความร่วมมือในการปฏิบัติ (3.1-19)

3.3 มาตรการประหยัดทรัพยากร
      3.3.1 การความรู้เรื่องการใช้ทรัพยากร รวมทั้งสร้างจิตสำนึกโดยการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามช่องทางต่างๆ (3.1-20)
      3.3.2 ลดปริมาณการใช้กระดาษ กำหนดให้ใช้กระดาษ ๒ หน้า (3.1-21)
      3.3.4 การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่งข้อมูลข่าวสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือช่องทางการสื่อสารต่างๆ เพื่อลดการใช้กระดาษและพลังงาน ได้แก่ ช่องทางการสื่อสารทางไลน์ ID Line: @944jtkcpj, กลุ่มเฟสบุ๊คของบุคลากร Lib pbru Staff, e-mail ของมหาวิทยาลัย, ระบบ e-Document ของมหาวิทยาลัย, การใช้ Google drive จัดเก็บเอกสารและทำงานร่วมกัน (3.1-22)
      3.3.5 มีการบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสารและเครื่องพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ (3.1-23)

  

 


3.1-1 แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว-พ.ศ.-2562-2566.pdf
3.1-10 การใช้เครื่องไฟฟ้าอื่น.pdf
3.1-11 การล้างเครื่องปรับอากาศและทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ.pdf
3.1-12 การทำความสะอาดตู้เย็นทุกวันศุกร์.pdf
3.1-13 การให้บุคลากรใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย.pdf
3.1-14 การรณรงค์การใช้บันไดและการใช้ลิฟต์ กรณีขึ้นลงชั้นเดียว.pdf
3.1-15 ลดการใช้แก้ว.pdf
3.1-16 เผยแพร่ความรู้เรื่องการประหยัดน้ำ.pdf
3.1-17 การตรวจสอบอุปกรณ์ใช้น้ำอุปกรณ์.pdf
3.1-18 ได้กำหนดเวลาการใช้น้ำ.pdf
3.1-19 ป้ายรณรงค์การใช้น้ำ.pdf
3.1-2 แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว-2564.pdf
3.1-20 ป้ายความรู้การใช้ทรัพยากร.pdf
3.1-21 การกำหนดรูปแบบการใช้กระดาษ.pdf
3.1-22 การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์.pdf
3.1-23 การบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสาร.pdf
3.1-3 ประกาศนโยบายและป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf
3.1-4 มาตรการประหยัดพลังงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว.pdf
3.1-5 ป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณหน้าทางเข้าและพื้นที่ของสำนักวิทยบริการ.pdf
3.1-6 หน้าเว็บไซต์ สำนักงานสีเชียว-ประกาศนโยบายและมาตรการ.pdf
3.1-7 การกำหนดเวลาเปิด-ปิดไฟฟ้า-เครื่องปรับอากาศ.pdf
3.1-8 เปิด-ปิดไฟในสำนักงาน ในเวลาพักเที่ยงหรือไม่อยู่บริเวณที่นั่งทำงาน.pdf
3.1-9 การปิดจอภาพคอมพิวเตอร์ในเวลาพักเที่ยง.pdf

3.2 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการลดปริมาณของเสีย

         สำนักวิทยบริการฯ มีนโยบาย การพัฒนา สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว โดยมุ่งเน้นการจัดการสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องการประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และการสร้างความตระหนักรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานให้เกิดกับบุคลากรในทุกฝ่าย/งาน ตลอดจนถึงผู้ใช้บริการสำนักวิทยบริการฯ ซึ่งได้จัดทำแผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว 5 ปี พ.ศ.-2562-2566 (3.2-1) และ แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2564 (3.2-2) พร้อมทั้งประกาศประกาศนโยบายและป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (3.2-3) มาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว เรื่อง การจัดการของเสีย (3.2-4) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแก่บุคลากร ผู้เข้ารับบริการสำนักวิทยบริการฯ ตระหนักและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการลดปริมาณของเสีย ดังนี้
         3.2.1 มอบหมายให้บุคลากรเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอย (3.2-5)
         3.2.2 จัดทำแผนผังแสดงเส้นทางการจัดการขยะสำนักวิทยบริการ (3.2-6)
         3.2.3 ประชาสัมพันธ์รณรงค์การจัดการขยะ ทั้งบริเวณสำนักฯ (3.2-7) และในเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว (3.2-8) 
         3.2.4 มีการรณรงค์การลดปริมาณขยะ (Reduce) เช่น ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ใช้ขวดแก้วลดขยะจากพลาสติก (3.2-9)
         3.2.5 จัดพื้นที่สำหรับรวบรวมขยะก่อนส่งกำจัด และขยะรีไซเคิลเพื่อส่งจำหน่าย (3.2-10)
         3.2.5 นำของที่ใช้แล้วและยังใช้ได้นำกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้ง เพื่อช่วยลดการสิ้นเปลืองทรัพยากร (Reuse) เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์และแก้วน้ำพลาสติก มาทำเจกันใส่ต้นไม้ สิ่งของใช้ เปเปอร์มาเช่ (3.2-11)
         3.2.6 นำต้นไม้ดูดมลพิษ หรือสารพิษทางอากาศ มาปลูกหรือประดับในสำนักงาน หรือในพื้นที่บริการต่างๆ (3.2-12)
         3.2.7 มีการจัดให้มีวัสดุสำนักงานที่ใช้ร่วมกันอย่างเป็นสัดส่วน เช่น กรรไกร คัตเตอร์ เครื่องเย็บกระดาษ เครื่องเจาะกระดาษ กบเหลาดินสอ เทปใส กาว เป็นต้น (3.2-13)
         3.2.8 ลดการใช้กระดาษ โดยการรณรงค์ให้ใช้กระดาษเท่าที่จำเป็น ให้ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์แทน ได้แก่ ช่องทางการสื่อสารผ่านทางไลน์ ID Line: @944jtkcpj กลุ่มเฟสบุ๊คของบุคลากรสำนักฯ Lib pbru Staff e-mail ของมหาวิทยาลัย ระบบ e-Document ของมหาวิทยาลัย การใช้ Google drive จัดเก็บเอกสารและทำงานร่วมกัน (3.2-14)


3.2-1 แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว-พ.ศ.-2562-2566.pdf
3.2-10 พื้นที่สำหรับรวบรวมขยะก่อนส่งกำจัด.pdf
3.2-11 การนำกลับมาใช้ซ้ำ-อาร์ตมาเช่.pdf
3.2-12 นำต้นไม้ดูดมลพิษ.pdf
3.2-13 วัสดุสำนักงานที่ใช้ร่วมกัน.pdf
3.2-14 การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์.pdf
3.2-2 แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว-2564.pdf
3.2-3 ประกาศนโยบายและป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf
3.2-4 มาตรการประหยัดพลังงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว.pdf
3.2-5 คำสั่งคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว.pdf
3.2-6 แผนผังแสดงเส้นทางการจัดการขยะ.pdf
3.2-7 ประชาสัมพันธ์รณรงค์การจัดการขยะ ภายในบริเวณสำนักฯ.pdf
3.2-8 ประชาสัมพันธ์รณรงค์การจัดการขยะ หน้าเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว.pdf
3.2-9 การลดปริมาณขยะ-ใช้ถุงผ้า-ใช้แก้วน้ำ.pdf

3.3 กําหนดให้มีข้อกําหนดและเงื่อนไขการว่าจ้าง (Term of Reference: TOR) เพื่อควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ภายในห้องสมุดให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

         สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำข้อตกลงกับผู้รับจ้างหรือหน่วยงานต่างๆ ในการเข้าปฏิบัติงาน ณ สำนักวิทยบริการฯ เพื่อเป็นไปตามข้อตกลงในการเข้าปฏิบัติงาน  เพื่อควบคุมการดำเนินงานภายในสำนักวิทยบริการให้อยู่ภายใต้การประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ภายในห้องสมุด จำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่
         1. บริษัท ริโก้ (ประเทศไทย) จำกัด (3.3-1) เป็นบริษัทเครื่องถ่ายสำเนาเอกสาร
         2. บริษัท แอ๊ดวานซ์ กรุ๊ป เอเชีย จำกัด (3.3-2) เป็นบริษัทกำจัดสัตว์พาหะ กำจัดแมลง
         3. ร้าน Think café (3.3-3) เป็นร้านบริการหรือจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ประชาคม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
         อีกทั้งมีการชี้แจงและให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้มแก่ผู้ประกอบการหรือหน่วยงานที่มาใช้พื้นที่ (3.3-4) ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ทุกครั้งที่เข้ามาปฏิบัติงานในห้องสมุดต้องลงแบบฟอร์มใบอนุญาตปฏิบัติงานและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม (3.3-5)  เพื่อเป็นไปตามข้อตกลงในการเข้าปฏิบัติงาน โดยดำเนินการตามข้อกำหนดเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (3.3-6)

 


3.3-1 บริษัท-ริโก้-ประเทศไทย.pdf
3.3-2 บริษัท-แอ๊ดวานซ์-กรุ๊ป.pdf
3.3-3 บันทึกข้อตกลง-Think-cafe.pdf
3.3-4 การชี้แจงและให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้มแก่ผู้ประกอบการ.pdf
3.3-5 ใบขออนุญาตทำงาน.pdf
3.3-6 การใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf

3.4 กําหนดให้มีการสื่อสารและรณรงค์ให้ผู้รับบริการและบุคลากรห้องสมุด ประหยัดไฟฟ้าประหยัดน้ํา และประหยัดทรัพยากร ตามแผนงานที่กําหนด

          สำนักวิทยบริการฯ มีช่องทางการสื่อสารทั้งในรูปแบบ On site และ On line เพื่อการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ชี้แจงข่าวสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล ให้ผู้รับบริการและบุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ ให้กิดความเข้าใจตรงกัน รับรู้ข่าวสารด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดความร่วมมือ ช่วยกันประหยัดพลังงานและทรัพยากร ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ ทั้งการสื่อสารภายนอกและการสื่อสารภายในของสำนักวิทยบริการฯ โดยสำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการสื่อสารและรณรงค์ ดังนี้

3.4.1 การสื่อสารภายใน
       3.4.1.1 การติดบอร์ด ป้ายประชาสัมพันธ์
            - ป้ายประชาสัมพันธ์ (3.4-1)
            - จอโทรทัศน์ (3.4-2) 
            - สติกเกอร์ป้ายประหยัดไฟฟ้า น้ำ ตามจุดเปิด-ปิด (3.4-3)
            - บันไดแคลอรีเพื่อจูงใจลดการใช้ลิฟต์ (3.4-4)    
            - โปสเตอร์ เพื่อประหยัดน้ำในห้องน้ำชาย-หญิง (3.4-5)
            - การใช้กระดาษและอุปกรณ์สำนักงาน (3.4-6) 
            - ป้ายปฏิทินความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (3.4-7).

       3.4.1.2 ทาง Social Network    
           - เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวของสำนักวิทยบริการฯ (3.4-8)
           - ผ่านทางไลน์ ID Line: @944jtkcpj (3.4-9)

           - กลุ่มเฟสบุ๊คของบุคลากรสำนักฯ Lib pbru Staff (3.4-10)
           - Fanpage สำนักฯ (3.4-11)

       3.4.1.4 ทางจดหมายข่าวออนไลน์ (3.4-12)
       3.4.1.5 ทางการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ ประชุมฝ่าย ประชุมคณะทำงาน (3.4-13)

3.4.2 การสื่อสารภายนอก
        3.4.2.1 ทาง Social Network
             - เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวของสำนักวิทยบริการฯ (3.4-14)
             - ผ่านทางไลน์ Line group พนง. ม.สายสนับสนุน (3.4-15)
             - Fanpage สำนักฯ (3.4-16)
        3.4.2.2 ทางจดหมายข่าวออนไลน์ (3.4-17)


3.4-1 ป้ายประชาสัมพันธ์.pdf
3.4-10 กลุ่มเฟสบุ๊คของบุคลากรสำนักฯ Lib pbru Staff.pdf
3.4-11 Fanpage สำนักฯ.pdf
3.4-12 ทางจดหมายข่าวออนไลน์.pdf
3.4-13 ทางการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ ประชุมฝ่าย ประชุมคณะทำงาน.pdf
3.4-14 เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวของสำนักวิทยบริการฯ.pdf
3.4-15 ผ่านทางไลน์ Line group พนง. ม.สายสนับสนุน.pdf
3.4-16 Fanpage สำนักฯ.pdf
3.4-17 ทางจดหมายข่าวออนไลน์.pdf
3.4-2 จอโทรทัศน์.pdf
3.4-3 ป้ายประหยัดไฟฟ้าตามจุดเปิด-ปิดสวิตซ์ไฟ.pdf
3.4-4 บันไดลดแคลลอรี.pdf
3.4-5 รูปภาพ โปสเตอร์ เพื่อประหยัดน้ำในห้องน้ำชาย-หญิง.pdf
3.4-6 รูปภาพการใช้กระดาษและอุปกรณ์สำนักงาน.pdf
3.4-7 ป้ายปฏิทินความรู้สิ่งแวดล้อม.pdf
3.4-8 เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวของสำนักวิทยบริการฯ.pdf
3.4-9 ผ่านทางไลน์ ID Line สำนัก.pdf

3.5 มีการกําหนดแผนงานและดําเนินการจัดซื้อ/จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (อ้างอิงบัญชีรายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคู่มือการจัดซื้อ/จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฉบับล่าสุด หรือสินค้าชุมชนเพื่อใช้ในกิจกรรมการให้บริการของห้องสมุด รวมทั้งกิจกรรมการประชุมและจัดนิทรรศการ

     สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยอ้างอิงบัญชีรายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากเว็บไซต์ 2 เว็บไซต์ ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์มลพิษและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (3.5-1) เว็บไซต์มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (3.5-2) และมีการค้นหารายการสิ้นค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามเว็บไซต์ต่างๆ (3.5-3) พร้อมทั้งมีการกำหนดระเบียบและแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (3.5-4)
         ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดซื้อ/จัดจ้างสินค้าและบริการน้อย เนื่องจากมีสต๊อกคงเหลือจากปี พ.ศ. 2563 โดยในปี พ.ศ. 2564 มีการจัดซื้อสินค้าทั้งหมด 15 รายการ เป็นสิ้นค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 รายการคิดเป็นร้อยละ 20.00 และไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 13 รายการ คิดเป็นร้อยละ 80.00  (3.5-5)
      ทั้งนี้สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดข้อปฏิบัติเรื่องการประชุมและการจัดนิทรรศการ (3.5-6) ข้อปฏิบัติการเดินทางไปประชุมภายนอกของบุคลากร (3.5-7) และแนวปฏิบัติการใช้บริการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (3.5-8) ได้แก่ โรงแรม สถานที่จัดงาน หรืออื่นๆ ที่ได้มีการขึ้นทะเบียนการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น ISO14001 Green Hotel ใบไม้เขียว ฉลากเขียว Green Office หรือ Green Building เป็นต้น และมีการจัดการประชุมที่คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน
         นอกจากนี้สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแนวปฏิบัติในการใช้ห้องประชุมของสำนักวิทยบริการ (3.5-9) เพื่อให้หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยที่ใช้บริการห้องประชุมได้ถือปฏิบัติ

 
 

3.5-1 เว็บไซต์ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์มลพิษและสิ่งแวดล้อม.pdf
3.5-2 เว็บไซต์มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.pdf
3.5-3 ฐานข้อมูลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
3.5-4 ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
3.5-5 บัญชีรายงานสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่จัดซื้อ ปี 2564.pdf
3.5-6 ข้อปฏิบัติเรื่องการจัดประชุมและนิทรรศการ.pdf
3.5-7 ข้อปฏิบัติการเดินทางไปประชุมภายนอกของบุคลากร.pdf
3.5-8 แนวปฏิบัติการใช้บริการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
3.5-9 แนวปฏิบัติในการใช้ห้องประชุมสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.pdf

3.6 กําหนดให้มีแผนการและดําเนินการบํารุงรักษาระบบต่างๆที่มีในห้องสมุด ตามแผนอย่างต่อเนื่อง

         สำนักวิทยบริการฯ มีการแผนการและดำเนินการบำรุงรักษาระบบต่างๆ (3.6-1) โดยสำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินการ 2 รูปแบบ ดังนี้
          3.6.1 ดำเนินการบำรุงรักษาระบบอาคาร โดยบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ

              - การตรวจเช็คอุปกรณ์ต่างๆ ของไฟฟ้าและการใช้น้ำ (3.6-2)
              - การเปลี่ยนระบบสวิทซ์ไฟฟ้าเป็นแบบสวิทซ์กระตุก_compressed (3.6-3)
              - การทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ (3.6-4)
              - การทำความสะอาดของผู้ปฏิบัติงานบริการทั่วไป (3.6-5)
              - การตรวจเช็คสภาพและเติมสารดับเพลิงตามระยะเวลา (3.6-6) โดยกำหนดบุคลากรตรวจเช็คถังเพลิงให้อยู่ในสภาพปกติและมีการตรวจเช็คจุดสัญญาณเตือนภัย เพื่อตรวจว่าอยู่ในสภาพปกติ

         3.6.2 ดำเนินการบำรุงรักษาระบบอาคาร โดยจ้างเหมาบริษัทเอกชน           
               - การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ (3.6-7) มีการตรวจเช็คสภาพเครื่องปรับอากาศ กำหนดให้มีการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ ไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง ปรับปรุง ซ่อมแซมกรณีมีการชำรุด บำรุงรักษาตามระยะเวลาที่เหมาะสม
               - ระบบลิฟต์โดยสาร (3.6-8) มีการตรวจเช็คสภาพ ซ่อมบำรุง โดยบริษัททุกระยะ ที่ถึงกำหนด
               - การบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสาร (3.6-9) มีการตรวจเช็คสภาพ ซ่อมบำรุง โดยบริษัททุกระยะ


3.6-1 แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว-2564.pdf
3.6-2 แบบฟอร์มรายงานการทำความสะอาดและตรวจสอบอุปกรณ์.pdf
3.6-3 กิจกรรมการเพิ่มเติมการเปลี่ยนระบบสวิทซ์ไฟฟ้าเป็นแบบสวิทซ์กระตุก.pdf
3.6-4 การล้างเครื่องปรับอากาศและทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ.pdf
3.6-5 การทำความสะอาดของผู้ปฏิบัติงานบริการทั่วไป.pdf
3.6-6 การตรวจเช็คสภาพและเติมสารดับเพลิง.pdf
3.6-7 การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ.pdf
3.6-8 การบำรุงรักษาลิฟต์_compressed.pdf
3.6-9 การบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสาร (บริษัท).pdf

3.7 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการรวบรวมและบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า เชื้อเพลิงน้ํา กระดาษ และทรัพยากรอื่นๆ โดยมีการรายงานผลเป็นประจําทุกปีพร้อมกับเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลังเพื่อดูพัฒนาการ

       สำนักวิทยบริการฯ มีการใช้พลังงานหลายชนิด ทั้งในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำ กระดาษและการใช้ทรัพยากรอื่นๆ ภายในสำนักงาน แต่จะมีปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าวมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายปัจจัยรวมถึงลักษณะของกิจกรรมต่างๆ ซึ่งสำนักวิทยบริการฯ มีการมอบหมายให้นักบริหารงานทั่วไปดําเนินการรวบรวมและบันทึกข้อมูล ซึ่งใช้ Google Sheet ในการจัดเก็บข้อมูลเป็นประจำทุกเดือน ดังนี้

         พร้อมทั้งสรุปสถิติการใช้เปรียบเทียบข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า (3.7-5) ข้อมูลปริมาณการใช้เชื้อเพลิง (3.7-6) ข้อมูลปริมาณการใช้น้ำ (3.7-7) และ ข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษ (3.7-8)  
       ผลการดำเนินงานจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ การลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า เชื้อเพลิงน้ำ น้ำ กระดาษ และทรัพยากรอื่นๆ บรรลุตามเป้าหมาย (3.7-9) ดังนี้

           ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของปี พ.ศ. 2564 มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ลดลงจากปี พ.ศ. 2563 โดยปี พ.ศ. 2564 มีการใช้ไฟฟ้า 177,474.00 KwH ส่วน ปี พ.ศ. 2563 มีการใช้ไฟฟ้า 318,954.00 kWh  ซึ่งมีค่าลดลง 141,480.00 KwH คิดเป็นค่าร้อยละ 44.36

           ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในปี พ.ศ. 2564 พบว่า อัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมีจำนวนลดลงจากปี พ.ศ. 2563 โดยปี พ.ศ. 2564 มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1,000.12 ลิตร ส่วน ปี พ.ศ. 2563 มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 3,603.66 ลิตร ซึ่งมีค่าลดลง 2,603.54 ลิตร คิดเป็นค่าร้อยละ 72.25

           ปริมาณการใช้น้ำ ปี 2564 มีปริมาณการใช้น้ำที่ลดลง เมื่อเทียบการใช้น้ำจากปี พ.ศ. 2563 โดยปี พ.ศ. 2564 มีการใช้น้ำ  1,710.00 ลิตร ส่วน ปี พ.ศ. 2563 มีการใช้น้ำ 2,225.00 ลิตร  ซึ่งมีค่าลดลง 515.00 ลิตร คิดเป็นค่าร้อยละ 23.15 

           ปริมาณการใช้กระดาษปี 2564 พบว่า อัตราการใช้กระดาษมีจำนวนที่ลดลง โดยเมื่อเทียบระหว่างปี 2564 กับ 2563 โดยปี พ.ศ. 2564 มีการใช้กระดาษ 14 ริม ส่วน ปี พ.ศ. 2563 มีการใช้กระดาษ จำนวน 20 ริม  ซึ่งมีลดลง จำนวน 6 ริม คิดเป็นค่าร้อยละ 30.00

            ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของปี พ.ศ. 2564 มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงจากปี พ.ศ. 2563 โดยปี พ.ศ. 2564 มีการใช้ไฟฟ้า 109.39 tCO2e  ส่วน ปี พ.ศ. 2563 มีการใช้ไฟฟ้า 129.81 tCO2e  ซึ่งมีค่าลดลง 20.42  tCO2e คิดเป็นค่าร้อยละ 15.73 ซึ่งอาจเป็นช่วงสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งห้องสมุดได้งดการให้บริการพื้นที่นั่งอ่าน จึงทำให้ปริมาณการพลังงานและทรัพยากรต่างๆ ลดลง

 


3.7-1 ข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า ปี พ.ศ.2564.pdf
3.7-2 ข้อมูลปริมาณการใช้เชื้อเพลิง ปี 2564.pdf
3.7-3 ข้อมูลสถิติการใช้น้ำแต่ละเดือน ปี 2564.pdf
3.7-4 ข้อมูลปริมาณการใช้กะดาษแต่ละเดือน ปี 2564.pdf
3.7-5 การสรุปสถิติการใช้และเปรียบเทียบข้อมูลการใช้ไฟฟ้า.pdf
3.7-6 การสรุปสถิติการใช้และเปรียบเทียบข้อมูลการใช้น้ามันเชื้อเพลิง.pdf
3.7-7 การสรุปสถิติการใช้และเปรียบเทียบข้อมูลการใช้น้ำ.pdf
3.7-8 การสรุปสถิติการใช้และเปรียบเทียบข้อมูลการใช้กระดาษ.pdf
3.7-9 สรุปผลการดำเนินงานการประหยัด ลดการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน-ปี-2564.pdf

3.8 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการด้านการส่งเอกสาร และการเดินทาง โดยการบริหารจัดการระบบรถร่วม หรือการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (eMail), การประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (eMeeting) หรือระบบอื่นๆ เพื่อลดเวลา และลดต้นทุนการส่งเอกสารหรือการเดินทางมาประชุม

         สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินการด้านการส่งเอกสาร โดยใช้ระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการบริหารจัดการระบบรถร่วม หรือการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email), การประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) หรือระบบอื่นๆเพื่อลดเวลา และลดต้นทุนการส่งเอกสารหรือการเดินทางมาประชุม ดังนี้
        3.8.1 ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (e-Document)  https://doc.pbru.ac.th/docweb/v2/default.aspx (3.8-1)  ในการจัดส่งเอกสาร
         3.8.2 ระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี http://mis.pbru.ac.th/service/ (3.8-2) เพื่อขอใช้รถยนต์ส่วนกลางของมหาวิทยาลัยสำหรับการไปราชการและการลาโดยใช้ระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี  และพิจารณาการใช้รถร่วมกันในกรณีที่เดินทางในช่วงเวลาและเส้นทางใกล้เคียงกัน
         3.8.3 ระบบปฏิบัติงานของสำนักวิทยบริการฯ https://arit.pbru.ac.th/book-room/admin/index.php (3.8-3) เป็นระบบภายในหน่วยงานที่ใช้ในการจักดารการลา การอบรม ผลงานของบุคลากรและจัดเก็บผลการดำเนินงานด้านห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียวของสำนักวิทยบริการฯ
        3.8.4 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) (3.8-4)
        3.8.4 การประชุมแบบออนไลน์ (3.8-5) โดยสำนักวิทยบริการฯ ได้จัดหาโปรแกรม Zoom เพื่อใช้ในการประชุม อบรมและบริการแก่คณาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย
        3.8.5 ใช้ Facebook หรือ Line (3.8-6) ในการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน
       3.8.6 ใช้ Google Drive (3.8-7) การจัดเก็บเอกสารเพื่อทำงานร่วมกัน
      3.8.7 การใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยการติดต่อประสานงานภายในมหาวิทยาลัย (3.8-8)

3.8-1 ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.pdf
3.8-2 ระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.pdf
3.8-3 ระบบปฏิบัติงานของสำนักวิทยบริการฯ.pdf
3.8-4 การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์.pdf
3.8-5 ประชุมออนไลน์.pdf
3.8-6 ใช้ Facebook หรือ Line.pdf
3.8-7 การใช้ Google Drive ในการจัดเก็บเอกสาร.pdf
3.8-8 การใช้รถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัย.pdf

3.9 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จําแนกจุดหรือกิจกรรมการปรับปรุง วางแผนและดําเนินมาตรการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ/หรือการทํากิจกรรมชดเชยคาร์บอน

         สำนักวิทยบริการฯ มีแผนการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2564 โดยนำรายงานสรุปผลการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ ปี พ.ศ. 2563 ที่มีการจำแนกจุดบกพร่องควรปรับปรุง ไปปรับแผนและมาตรการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ประจำปี พ.ศ. 2564

          สำนักวิทยบริการฯ มีการรวบรวมข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากขอบเขตประเทที่ 1 ประกอบด้วย ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากการเดินทางไปราชการ ปริมาณการปล่อยสารมีเทนจาก Septic tank ปริมาณการปล่อยสารมีเทนจากบ่อบำบัดแบบไม่เดิมอากาศ ปริมาณการใช้สารทำความเย็นแบบ R134A ขอบเขตประเภทที่ 2 ประกอบด้วย ปริมาณการใช้ไฟฟ้า และขอบเขตประเภทที่ 3 ประกอบด้วย ปริมาณการใช้น้ำ ปริมาณการใช้กระดาษ และปริมาณของเสียฝังกลบ โดยใช้แบบการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ที่พัฒนาโดย เครือข่ายห้องสมุดสีเขียว และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.

          การประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CFO) ปี พ.ศ. 2564 ตั้งแต่เดือน มกราคม-ธันวาคม พบว่า สำนักวิทยบริการฯ มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยรวมทุกขอบเขตการดำเนินงาน 123.87 tCO2e จำแนกเป็นขอบเขตการดำเนินงานประเภทที่ 1 = 5.62 tCO2e ขอบเขตการดำเนินงานประเภทที่ 2 = 115.70 tCO2e  และขอบเขตการดำเนินงานประเภทที่ 3 = 2.55 

          ทั้งนี้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามขอบเขตการดำเนินงานประเภทที่ 2 มีปริมาณสูงสุด คือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานไฟฟ้า = 115.70 tCO2e เนื่องจากมีการปรับปรุงอาคาร และจัดทำนิทรรศการศูนย์เรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริเพื่อการพัมนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (ศูนย์ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน)  ที่อาคารหสมุดเดิม 
          เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี พ.ศ. 2563 (ปีฐาน) ซึ่งมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก = 198.20 tCO2e พบว่า ในปี พ.ศ. 2564 สำนักวิทยบริการฯมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก =123.87 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 62.50 และเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี พ.ศ. 2564 ในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 5  พบว่า มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2564 ลดลงร้อยละ 37.50 จึงบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้    

(2564) 3.9.1-แผนCFOในแผนพัมนาห้องสมุดสียเขียว-2564.pdf
(2564) 3.9.2-CFO-2564.pdf
(2564) 3.9.3-เปรียบเทียบCFO-2561-2564.pdf
คำอธิบาย
    จําแนกประเด็นปัญหาด้านของเสียและมลพิษ กําหนดมาตรการการจัดการของเสียและมลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคารห้องสมุด ตลอดจน บันทึก ติดตาม ตรวจสอบเพื่อประเมินผล

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน

4.1 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการขยะ โดยเลือกวิธีการจัดการที่เหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ํา (reuse) การนํากลับมาใช้ใหม่ (recycle) มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกและบันทึกปริมาณขยะ มีพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกําจัดและมีวิธีการส่งกําจัดที่เหมาะสมสําหรับขยะแต่ละประเภท

          สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดแผนงานและมาตรการด้านการจัดการของเสียและมลพิษ ตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2564 (4.1-1, 4.1-2) โดยมีการรณรงค์ไม่ใช้กล่องโฟมและถุง พลาสติก (Reduce) การใช้กระดาษให้ครบ 2 หน้า (Reuse) การนำวัสดุมาประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ (Recycle) และได้จัดหาถังขยะประเภททั่วไป ถังขยะประเภทรีไซเคิล ไว้ให้บริการตามจุดพื้นที่ต่างๆ ในอาคารสำนักวิทยบริการฯ ทั้งนี้ในบางพื้นที่ได้มีการจัดหาถังขยะประเภทอันตราย และขยะเปียกหรือขยะอินทรีย์ เพื่อให้พนักงานและนักศึกษาได้ทิ้งขยะตามถังที่แยกประเภทไว้ โดยมีผู้ปฏิบัติงานบริการทั่วไป (แม่บ้าน) ของอาคารสำนักวิทยบริการฯ รวบรวม คัดแยก ชั่งน้ำหนัก และนำส่งต่อไปยังจุดรับส่งขยะของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อพนักงานเทศบาลเมืองเพชรบุรีได้รับเอาขยะแต่ละประเภทไปดำเนินการกำจัดตามระบบต่อไป (4.1-3)

          ในส่วนของขยะรีไซเคิล ผู้ปฏิบัติงานบริการทั่วไปนำมาชั่ง บันทึก และแยกรวมไว้ที่จุดคัดแยกส่วนกลาง ส่งไปจำหน่าย เป็นรายได้ของสำนักวิทยบริการฯ นอกจากนี้สำนักวิทยบริการฯ ยังมีการคัดแยกขยะประเภทหนังสือพิมพ์เก่าย้อนหลัง 1 ปี ที่งานบริการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องได้คัดแยกทำดรรชนีวารสารแล้ว และแก้วกาแฟ นำมาจัดทำสิ่งประดิษฐ์ "อาร์ทเปเปอร์มาเช่" สำหรับปลูกพืชดูดซับสารพิษไว้ตามจุดปฏิบัติงานและจุดบริการต่าง ๆ (4.1-7)

     ทั้งนี้ สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการบันทึกปริมาณขยะทุกวัน โดยผู้ปฏิบัติงานบริการทั่วไป (4.1.4) และมีการสรุปสถิติปริมาณขยะในปี พ.ศ. 2564 (ม.ค.-พ.ย.) พบว่า  สำนักวิทยบริการฯ มีปริมาณขยะรวมทั้งหมด 625.60 กิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2563 คิดเป็นร้อยละ 56.93 โดยปริมาณขยะทั้งหมดลดลงจากปี พ.ศ. 2563 ร้อยละ 43.07 มีแนวโน้มบรรลูตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 15 (4.1-5

     เมื่อเปรียบเทียบปริมาณขยะโดยภาพรวมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2563 พบว่า สำนักวิทยบริการฯ สามารถลดปริมาณขยะได้ตามเป้าหมายที่กำหนดร้อยละ 15 (4.1-6)                                    


4.1-1-2564-คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว.pdf
4.1-2-2564-แผนการจัดการของเสียและมลพิษ.pdf
4.1-3-2564-การจัดการขยะ.pdf
4.1-4-2564-แบบบันทึกข้อมูลปริมาณขยะ-1.pdf
4.1-5-2564-ปริมาณขยะรายเดือน.pdf
4.1-6-2559-2564-สถิติปริมาณขยะ.pdf
4.1-7-การนำกลับมาใช้ซ้ำ-อาร์ตมาเช่.pdf
4.2 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการน้ําเสียโดยเริ่มจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ํา เพื่อเลือกแนวทางในการจัดการน้ําเสียอย่างเหมาะสม เช่น การเลือกใช้น้ํายาทําความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การติดตั้งระบบบําบัดน้ําเสีย เป็นต้น มีการดูแลและตรวจสอบระบบบําบัดน้ําเสียอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการลดปริมาณการใช้น้ํา หรือใช้น้ําอย่างมีประสิทธิภาพ
          สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดแผนงานและมาตรการด้านการบำบัดน้ำเสีย ตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2564 (4.2-1, 4.2-2) โดยมีการติดตั้งถังดักไขมันตามจุดที่มีการใช้งานห้องเตรียมอาหาร ทั้งหมด 4 จุด ได้แก่ 1) ห้องเตรียมอาหาร สำนักงานผุ้อำนวยการ 2) ห้องเตรียมอาหาร ชั้น 1 อาคารบรรณราชนครินทร์ 3) ห้องเตรียมอาหาร ชั้น 6 อาคารบรรณราชนครินทร์ และ 4) ร้านเครืองดื่มและอาหารว่าง Think Cafe @Library มีการกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานบริการทั่วไปดำเนินการตักไขมัน และล้างถังดักไขมันทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ เพื่อดูแลรักษาอุปกรณ์และเป็นการตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อนทื้งลงบ่อบำบัดน้ำเสียของอาคารและปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ (4.2-3)
          ปี พ.ศ. 2564 สำนักวิทยบริการฯ มีการประสานกับคณะวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ดำเนินการวัดคุณภาพน้ำ จากบ่อบำบัดน้ำทิ้ง และแหล่งน้ำข้างอาคารบรรณราชนครินทร์ เพื่อนำผลไปหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพต่อไป (4.2-4)

4.2-1-2564-คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว.pdf
4.2-2-2564-แผนการจัดการของเสียและมลพิษ.pdf
4.2-3-2564-ถังดักไขมันและการดูแลรักษา.pdf
4.2-4-2564-การวัดคุณภาพน้ำ.pdf
4.3 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการมลพิษทางอากาศเช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อราเชื้อแบคทีเรีย สารเคมีควันบุหรี่ เป็นต้น มีการจัดพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอและถ่ายเทโดยสะดวก มีการกําจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการกําหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ตลอดจนมีการจัดการเพื่อควบคุมเสียงในห้องสมุด
        สำนักวิทยบริการฯ มีแผนงานและดำเนินการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อราเชื้อแบคทีเรีย และดำเนินการจัดการมลพิษทางอากาศ จากแผนการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว โดยกำหนด ผู้รับผิดชอบในการดูแลโดยจัดทำรายละเอียดอย่างชัดเจน มีแผนการบำรุงดูลแลรักษาประจำปี 2564  (4.3-1)  
        มีการจัดการพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างพอเพียงและถ่ายเทได้สะดวก เช่น การเปิดประตูห้องสำนักงานและการเปิดหน้าต่างห้องครัว   และมีการตรวจการทำงานของแม่บ้านอย่างสม่ำเสมอ (4.3-2)
        เพื่อกำหนดมาตรการและตรวจสอบการจัดการมลพิษทางอากาศอย่างสม่ำเสมอ เช่น กำหนดให้มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสือ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง  การทำความสะอาดบริเวณพื้นที่บริการทุกวันทำการ เพื่อลดมลพิษทางอากาศมีการดำเนินมีการทำกิจกรรม 5 ส อย่างสม่ำเสมอ (4.3.3 - 2) เพื่อจัดระเบียบและทำความสะอาดพื้นที่บริการเดือนละ 2 ครั้ง        (4.3-3) ตารางการทำความสะอาดชั้น (4.3.3 - 1)
        กำหนดให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่  โดยการติดป้ายประกาศและมีการตรวจตราเป็นประจำ (4.3-4)
        มีการจัดการเพื่อควบคุมเสียง มีการจัดพื้นที่ใช้เสียง   (4.3-5)

4.3-1 แผนการบำรุงดูแลรักษาประจำปี-2564 .pdf
4.3-2 ภาพอากาศถ่ายเทได้สะดวก.pdf
4.3-3-ทำความสะอาดชั้นหนังสือ.pdf
4.3-4 ป้ายเขตห้ามสูบบุหรี่.pdf
4.3-5 การจัดการเพื่อควบคุมเสียงในห้องสมุด.pdf
4.3.3-1 รายงานการตรวจสอบและทำความสะอาดพื้น.pdf

4.4 มีการดําเนินกิจกรรม 5 ส.อย่างสม่ำเสมอเพื่อจัดพื้นที่บริการและพื้นที่สํานักงานให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย

          สำนักวิทยบริการฯ มีแผนการดำเนินงาน 5ส.  (4.4-1)   โดยให้บุคลากรรับผิดชอบพื้นที่ของตนเองด้านความสะอาดทุกวันอย่างต่อเนื่อง  ( 4.4-2 )  (4.4-3)  คือ สะสาง สะอาด สะดวก สุขลักษณะ และสร้างนิสัยอย่างสม่ำเสมอ

          สำนักวิทยบริการฯ มีการประเมินกิจกรรม 5ส.ทุกเดือนๆ ละ 2 ครั้ง (4.4-4 ) และดำเนินการสรุปผลการประเมินกิจกรรม 5ส.จากการประเมินกิจกรรม 5ส. ตั้งแต่เดือนมกราคม  - พฤศจิกายน 2564 พบว่าค่าเฉลี่ยของการตรวจประเมิน 5ส. เฉลี่ยร้อยละ 87.6 ซึ่งบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 80  (4.4-5)

        สำนักวิทยบริการฯ มีแผนจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ปีละ 1 ครั้ง (4.4-6) โดยจะร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่ทั้งบริเวณภายใน และภายนอกอาคารสำนักวิทยบริการฯ เช่น บริเวณสวนโดยรอบอาคารบรรณราชนครินทร์และอาคารหอสมุดเดิม ลานปูนปั้น และบริเวณหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ เป็นการสร้างจิตสำนึกในด้านสิ่งแวดล้อมให้กับบุคลากร ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรฐานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ผลการดำเนินงานในปี 2564 ได้มีกิจกรรม Big Cleaning Day จำนวน 2 ครั้งคือ 

ครั้งที่ 1 วันพุธ ที่ 10  มีนาคม พ.ศ. 2564 (4.4-7)

ครั้งที่ 2 วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564 (4.4-8)

 


4.4-1 แผนการดำเนินงาน 5ส..pdf
4.4-2 ภาพการดำเนินงานกิจกรรม 5ส..pdf
4.4-3 ภาพกิจกรรม 5ส.ในพื้นที่ สำนักงานฯ.pdf
4.4-4-แบบประเมินกิจกรรม-5ส..pdf
4.4-5 แบบสรุปผลการตรวจประเมินกิจกรรม 5ส.pdf
4.4-6 แผนการดำเนินงาน Big cleaning day.pdf
4.4-7 กิจกรรม-Big-Cleaning-Day ( ครั้งที่ 1 ).pdf
4.4-8 กิจกรรม-Big-Cleaning-Day ( ครั้งที่ 2 ).pdf
4.5 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ระงับเหตุฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย อุทกภัย และวาตภัย เป็นต้น ตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมหรือตามที่กฎหมายกําหนด รวมทั้ง การดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉินดังกล่าว ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
        สำนักวิทยบริการฯ มีแผนงานและดําเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน (4.5-1) และได้ดำเนินการให้เป็นไปตามแผน (4.5-2) เพื่อป้องกันการเกิดภาวะฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นดังนี้ 
        1. ด้านอัคคีภัย
            1. การอบรมเตรียมความพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน
               1.1 อบรมเรื่อง "การดับเพลิงเบื้องต้น" โดยให้บุคลากรดูวิดีโอ ผ่าน Youtube (https://www.youtube.com/watch?v=719WNGMCfPI) เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ ผลการอบรมพบว่า บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจก่อนอบรมคิดเป็นร้อยละ 48.4% และหลังการอบรมบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจคิดเป็นร้อยละ 91.6% เพิ่มขึ้น 43.2% (4.5-3)
               1.2 อบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นเรื่อง "การปฐมพยาบาลเบื้อต้นสำหรับประชาชน" ผ่าน Youtube (https://www.youtube.com/watch?v=bi9IA3Xbg60) และ "CPR การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน" (https://www.youtube.com/watch?v=k8o2VK5JXEY)
ผลการอบรมพบว่า บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจก่อนการอบรมคิดเป็นร้อยละ 54.8% และหลังการอบรมบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจคิดเป็นร้อยละ 90.8% เพิ่มขึ้น 36.0% (4.5-4)
             1.3 การดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์ระบบดับเพลิง  สำนักวิทยบริการฯ มีการตรวจเช็คอุปกรณ์และระบบดับเพลิง ได้แก่ ถังดับเพลิง ระบบสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน และเครื่องตรวจจับควัน ทุก 2 เดือนฯ
                  1.3.1 ถังดับเพลิง สำนักวิทยบริการฯ มีถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง จำนวน 31 ถัง ติดตั้งภายในอาคารบรรณราชนครินทร์ จำนวน 17 ถัง และอาคารหอสมุดเดิม 14 ถัง จากการตรวจเช็คพบว่าถังดับเพลิงหมดอายุเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2564 ได้ทำการบันทึกลงในแบบฟอร์มตรวจเช็ค และแจ้งหัวหน้าสำนักงานเพื่อดำเนินการเปลี่ยน ซึ่งขณะนี้ได้เปลี่ยนให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเรียบร้อยแล้ว
                 1.3.2 ระบบสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน จำนวน 12 เครื่อง
                 1.3.3 เครื่องตรวจจับควันจำนวน 10 เครื่อง 
        2. ด้านอุทกภัย
        สำนักวิทยบริการฯ มีมาตรการป้องกันเหตุอุทกภัย มีการจัดทำแผนผังแนวท่อระบายน้ำ แนวคันกั้นน้ำ และเส้นทางการขนย้ายครุภัณฑ์ไว้บนพื้นที่สูง และมีการทำความสะอาดลอกทางระบายน้ำ (4.5-7), (4.5-8)
        3. ด้าน Covid-19
            สำนักวิทยบริการฯ ประกาศแนวปฏิบัติในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (4.5-9) และดำเนินมาตรการป้องกัน Covid-19 โดยยึดหลัก D-M-H-T-T
            D : Social Distancing เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร เลี่ยงการอยู่ในที่แออัด
            M : Mask Wearing สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
            H : Hand Washing ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
            T : Testing การตรวจวัดอุณหภูมิและตรวจหาเชื้อโควิด 19 ในกรณีที่อาการเข้าข่าย
            T : Thai Cha Na สแกนไทยชนะก่อนเข้า-ออก สถานที่สาธารณะทุกครั้งเพื่อให้มีข้อมูลในการประสานงานได้ง่ายขึ้น (4.5-10)
 

4.5-1 แผนงานและดําเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน.pdf
4.5-10 ภาพมาตรการการป้องกันโควิด.pdf
4.5-2 ผลดําเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินc.pdf
4.5-3 สรุปผลการอบรมดับเพลิงเบื้องต้น.pdf
4.5-4 สรุปการอบรมปฐมพยาบาลและ cpr เบื้องต้น.pdf
4.5-5-บันทึกการตรวจอุปกรณ์ดับเพลิง.pdf
4.5-6 ภาพการตรวจอุปกรณ์ดับเพลิง.pdf
4.5-7 แผนงานและดําเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน.pdf
4.5-8 ภาพการทำความสะอาด ลอกท่อระบายน้ำ.pdf
4.5-9 แนวปฏิบัติในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.pdf
คำอธิบาย
    มีการบริหารจัดการด้านการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ การให้บริการ และการส่งเสริมการเรียนรู้ของกิจกรรมการให้บริการของห้องสมุดที่สนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
5.1 กําหนดให้มีนโยบายการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดําเนินงาน แต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารและผู้แทนบุคลากรห้องสมุด เพื่อร่วมกันวางแผนและกําหนดแผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียวไว้ในแผนงานประจําปีมีการกํากับติดตามให้มีการดําเนินการตามแผนและมีการรายงานผลตามแผนไม่ต่ำกว่าปีละ 2 ครั้ง

          สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้
          1. กำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารงานห้องสมุด รวมถึงกำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว โดยติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนงาน มาตรการ และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
          2. ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมตลอดจนเกณฑ์สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวอย่างเคร่งครัด
          3. ให้บริการสื่อการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดกิจกรรมและสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรและผู้ใช้บริการมีความรู้ ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
          4. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
          5.ปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
          6. ควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษ การจัดการของเสีย  การจัดการสภาพแวดล้อมและความปลอดภัย
          7. การจัดซื้อ จัดจ้าง สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้บริการองค์กรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
          8. ส่งเสริมให้มีการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและทำการชดเชยคาร์บอนในระดับองค์กรและระดับบุคคล
          9. ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมในเครือข่ายความร่วมมือด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (5.1-1) 

     สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (5.1-2)  และดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2564 (5.1-3) โดยมีผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มาพิจารณาและทบทวนแผน ทั้งนี้ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ ได้ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยมีวิสัยทัศน์คือ ให้สำนักวิทยบริการฯเป็นองค์กรแห่งการจัดการสมัยใหม่และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพสูง และประชาสัมพันธ์นโยบายให้กับบุคลากรและผู้รับบริการทราบ

       สำนักวิทยบริการฯ มีการประชาสัมพันธ์นโยบายให้กับบุคลากรและผู้รับบริการทราบไว้ 4 ช่องทาง ได้แก่
       1. แจ้งหนังสือเวียนบันทึกข้อความไปยังบุคลากรทุกคน (5.1-4)  
       2. ประกาศนโยบายฯภายในลิฟท์ (5.1-5)
       3. ประชาสัมพันธ์บนเว็บของสำนักวิทยบริการฯ ที่ URL http://arit.pbru.ac.th (5.1-6)
       4. ประกาศแจ้งผู้ใช้บริการภายในสำนักวิทยบริการรับทราบทางบอร์ดประชาสัมพันธ์ (5.1-7) 

     สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินการตามแผนและมีการรายงานผลตามแผน ให้คณะกรรมการประจำสำนักฯได้รับทราบ (5.1-8), (5.1-9)


(GL-2564) 5.1-1 ประกาศนโยบาย.pdf
5.1-2 แผนปฏิบัติการปี 2564 งบประมาณ.doc.pdf
5.1-3 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ.2564.pdf
5.1-4 แจ้งหนังสือเวียนบันทึกข้อความ.pdf
5.1-5 ประกาศนโยบายภายในลิฟท์.pdf
5.1-6 ประชาสัมพันธ์บนเว็บของสำนักวิทยบริการ.pdf
5.1-7 ประกาศแจ้งผู้ใช้บริการทางบอร์ดประชาสัมพันธ์.pdf
5.1-8 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำครั้งที่ 1.pdf
5.1-9 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำครั้งที่ 2.pdf
5.2 กําหนดให้มีแผนงานและการจัดกิจกรรมให้บุคลากรห้องสมุด ผู้รับบริการ ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมและมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น

        สำนักวิทยบริการ ฯ ได้จัดทำแผนงานส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่  
             1.1 มีแผนงานการจัดกิจกรรมตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (5.2-1)
            1.2 กิจกรรม DIY by paper mache โดยบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ร่วมกันประดิษฐ์แก้ว paper msche  วันที่ 27 ก.พ.64 (5.2-2
            1.3 กิจกรรม พกถุงผ้า มายืมหนังสือ ทำประชาสัมพันธ์ รับบริจาคถุงผ้า เพื่อให้ผู้ใช้บริการใส่หนังสือ เป็นการช่วยถนอมหนังสือ กิจกรรมนี้จัดตลอดปี (5.2-3)
            1.4 กิจกรรม Show & Share  Care Eco เป็นกิจกรรมที่ทั้งผู้สอนและผู้เรียน ในรายวิชาที่ต้องทำผลิตภัณฑ์ให้สำเร็จเป็นชิ้นงาน  เพื่อเป็นการต่อยอดให้เป็นอาชีพได้ หลังจบการศึกษา  วันที่10 พ.ย 64 (5.2-4)
            1.5 กิจกรรม ยึดอกพกแก้วน้ำ ประชาสัมพันธ์ทาง  you Tube  ของสำนักวิทบริการฯ เพื่อให้บุคลากรของสำนัก ตระหนักถึงวิธีการช่วยลดโลกร้อน โดยการพกแก้วน้ำ,กระบอกน้ำหรือปิ่นโตแทน การใช้ถุงพลาสติกหรือแก้วน้ำพลาสติกในการนำอาหารมาทานในที่ทำงาน ตลอดปี (5.2-5)
            1.6 กิจกรรมรับบริจาคปฏิทินเพื่อจัดทำสื่อรณรงค์การป้องกันโควิด 19  ทำป้ายประชาสัมพันธ์รับบริจาคปฏิทิน  กิจกรรมนี้จัดตลอดปี (5.2-6)


5.2-1 แผนการจัดกิจกรรม.pdf
5.2-2 ภาพกิจกรรม DIY by paper mache.pdf
5.2-3 ภาพกิจกรรม พกถุงผ้า มายืมหนังสือ.pdf
5.2-4 ภาพกิจกรรม Show & Share  Care Eco.pdf
5.2-5 ภาพกิจกรรม ยึดอกพกแก้วน้ำ.pdf
5.2-6 ภาพกิจกรรมรับบริจาคปฏิทิน.pdf
5.3 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่มีความทันสมัยและหลากหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง จํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมด และจัดเตรียมให้อยู่ในสภาพพร้อมให้บริการ

         สำนักวิทยบริการฯ มีแผนงานและดำเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม (5.3-1) ทั้งที่จัดซื้อหรือการขอรับบริจาคในแต่ละปีงบประมาณและมีรายงานแสดงทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อมจำนวนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่า 300 รายการ (5.3-2) และจัดเตรียมให้อยู่ในสภาพพร้อมให้บริการ (5.3-3)


5.3-1 แผนการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว.pdf
5.3-2 ผลรวมทรัพยากรสารสนเทศ.pdf
5.3-3 ภาพชั้นหนังสือจัดเตรียมให้อยู่ในสภาพพร้อมให้บริการ.pdf
5.4 กําหนดให้มีบริการสืบค้นสารสนเทศ การสอนการรู้สารสนเทศ และการส่งเสริมการใช้สารสนเทศ รวมทั้งให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือการแลกเปลี่ยนสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระหว่างห้องสมุดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

         สำนักวิทยบริการฯ มีการให้บริการสืบค้นสารสนเทศ 2 รูปแบบ ดังนี้
       รูปแบบที่ 1 การสืบค้นสารสนเทศโดยเจ้าหน้าที่ให้บริการแนะนำการสืบค้นสารสนเทศร่วมถึงการสืบค้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น รีไซเคิล การประหยัดพลังงาน เป็นต้น และจะใช้คำค้นที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวอย่างในระหว่างการสอนการรู้สารสนเทศด้วยเช่นกัน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 จุดสำหรับให้บริการ
         จุดที่ 1 บริการสืบค้นสารสนเทศ ณ เคาน์เตอร์ยืม คืนชั้น 1 (5.4-1)

         จุดที่ 2 บริการสืบค้นสารสนเทศ ณ เคาน์เตอร์ Customer Care (5.4-2)


         รูปแบบที่ 2 บริการให้สืบค้นสารสนเทศด้วยตนเอง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 จุดสำหรับให้บริการ
          จุดที่ 1 พื้นที่บริการสืบค้นสารสนเทศด้วยตนเอง ชั้น 1 (5.4-3)
          จุดที่ 2 พื้นที่บริการสืบค้นสารสนเทศด้วยตนเอง ชั้น 6 (5.4-4)
      สำนักวิทยบริการฯ มีแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยระบบออนไลน์ของสำนักวิทยบริการฯ (5.4-5)  และดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยระบบออนไลน์ ให้กับนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ด้านการแนะนำสำนักวิทยบริการฯ,  การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศจาก Web Opac, การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์, การเขียนบรรณานุกรม และการใช้งานแอปพลิเคชั่น Matrix Library เพื่อกลุ่มผู้ใช้บริการดังกล่าว สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ ภายใต้ข้อจำกัดในสถานการณ์การระบาดของโรค Covid-19  และให้เกิดการใช้ทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงทรัพยากรสารสนเทศเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักวิทยบริการฯ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยระบบออนไลน์ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 - ชั้นปีที่ 3 รวม 13 ครั้ง 13 สาขาวิชา 16 ชั้นเรียน (5.4-6), (5.4-7) 
         สำนักวิทยบริการฯ มีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันและหน่วยงานต่างๆโดยการทำ MOU เพื่อสรรหาและใช้งานทรัพยากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทฐานข้อมูลออนไลน์ร่วมกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 (5.4-8)  มีกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศที่เข้าร่วมทั้งหมด 11 สถาบัน สำนักวิทยบริการฯ มีเครือข่ายความร่วมมือด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมสามารถเข้าไปศึกษาและดูข้อมูลได้บนเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการฯ ที่ URL http://arit.pbru.ac.th  (5.4-9)


5.4-1 การให้บริการสืบค้นสารสนเทศ ณ เคาเตอร์ยืมคืน ชั้น1.pdf
5.4-2 บริการสืบค้นสารสนเทศ ณ เคาน์เตอร์ Customer Care.pdf
5.4-3 พื้นที่บริการสืบค้นสารสนเทศด้วยตนเอง ชั้น 1.pdf
5.4-4 พื้นที่บริการสืบค้นสารสนเทศด้วยตนเอง ชั้น 6.pdf
5.4-5 แผนการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยระบบออนไลน์ของสำนักวิทยบริการฯ.pdf
5.4-6 สรุปกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้รายคณะ-สาขาวิชา.pdf
5.4-7 PPT แนะนำการสืบค้น TDC ก๊าซเรือนกระจก.pdf
5.4-8 MOU ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด.pdf
5.4-9 เครือข่ายความร่วมมือ.pdf
5.5 กําหนดให้มีแผนงานและจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่มีรูปแบบหลากหลายสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย

      สำนักวิทยบริการฯ มีแผนงานจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (5.5-1) และได้ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบที่หลากหลาย  ดังนี้

     กิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่ 

          1. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านหนังสือ และ e-Books ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างจุดสนใจของผู้ใช้บริการด้วยที่คั่นหนังสือ ซึ่งทำมาจากแก้วกาแฟร้านPBRU THINK Cafe' ของมหาวิทยาลัย เป็นการรีไซเคิลเวัสดุเหลือใช้ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม คือ มาตรการการใช้ทรัพยากรอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการส่งเสริมการอ่านหนังสือด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมทางเฟสบุ๊คของสำนักวิทยบริการฯ (5.5-2) 

          2. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านวารสาร และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journals) ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดทำคลิปวีดีโอเพื่อแนะนำวารสารที่น่าสนใจเพิ่มความหลากหลายในการส่งเสริมการอ่านวารสารให้กับผู้ใช้บริการ และมีการแนะนำวารสารน่าอ่านทางเฟสบุ๊คของสำนักวิทยบริการฯ ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเลือกรูปแบบการอ่านวารสารจากตัวเล่มหรือรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journals) (5.5-3)

          3. กิจกรรมจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สารสนเทศ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ด้วยโปรแกรม Canva ซึ่งสามารถออกแบบได้หลากหลายรูปแบบ มีแม่แบบให้เลือกมากมาย ทำให้การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์มีความโดดเด่น สวยงาม น่าสนใจเพิ่มขึ้น สำนักวิทยบริการฯได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม จำนวน 36 เรื่อง ได้แก่ หนังสือการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมโดยพืช วารสารนโยบายสิ่งแวดล้อม วิทยานิพนธ์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของพนักงานโรงแรมสีเขียวในประเทศไทย เป็นต้น และทำการประชาสัมพันธ์ทางเฟสบุ๊คของสำนักวิทยบริการฯ (5.5-4)

     กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม จำนวน 4 กิจกรรม  ได้แก่

          1. กิจกรรมซ่อมบำรุงรักษาสื่อการเรียนรู้  โดยจัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ ที่ 14 พฤษภาคม 2564 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้เข้าร่วมการอบรมประกอบด้วย ครูที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์จาก 14 โรงเรียน และนักเรียน 3 คน กิจกรรม คือ ซ่อมหนังสือปกแข็ง ซ่อมหนังสือปกอ่อน และการทำสมุดเล่มเล็ก กิจกรรมครั้งนี้สอดคล้องกับมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม คือ มาตรการการใช้ทรัพยากรอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ (5.5-5)   

          2. จัดมุมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ ชั้น 2 ซึ่งเป็นพื้นที่ให้บริการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (วารสารและหนังสือพิมพ์) โดยการรวบรวมวารสารและจุลสารที่เผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มาจัดเป็นมุมสิ่งแวดล้อม ส่วนในพื้นที่ชั้น 3 ซึ่งเป็นพื้นที่จัดเก็บหนังสือด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว จึงคัดเลือกหนังสือที่น่าสนใจและให้ความรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม จัดมุมพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้สะดวก รวดเร็ว  (5.5-6)

          3. การเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายในอาคารของสำนักวิทยบริการฯ ได้แก่ จอทวีประชาสัมพันธ์ บอร์ดประชาสัมพันธ์ และ ภายในห้องน้ำ ซึ่งเป็นสถานที่ ที่ผู้ใช้บริการต้องเข้าใช้ การแจ้งข่าวสาร ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้เกิดความตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น วิธีการประหยัดไฟฟ้า ลดขยะช่วยลดโลกร้อน และ10 วิธีลดโลกร้อนง่ายๆ ที่คุณทำได้ทุกวัน เป็นต้น  (5.5-7)

          4. การเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เช่น 9 วิธีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร การลดใช้พลังงาน/ไฟฟ้า และต้นไม้ช่วยดูกสารพิษ เป็นต้น โดยเผยแพร่ทางเฟสบุ๊คของสำนักวิทยบริการฯ https://www.facebook.com/LibArit และ https://www.facebook.com/libpbru  (5.5-8)

       

      


5.5-1 แผนดำเนินงานการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้.pdf
5.5-2 กิจกรรมส่งเสริมการอ่านหนังสือและ e-Books.pdf
5.5-3 กิจกรรมส่งเสริมการอ่านวารสารและ e-Journals.pdf
5.5-4 กิจกรรมจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สารสานเทศด้วย canva.pdf
5.5-5 กิจกรรมซ่อมบำรุงรักษาสื่อการเรียนรู้.pdf
5.5-6 จัดมุมความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf
5.5-7 เผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายในสำนักฯ.pdf
5.5-8 เผยแพร่ความรู้รู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมทางสื่อสังคมออนไลน์.pdf
5.6 กําหนดให้มีแผนงานและจัดการฝึกอบรมหรือการพัฒนาบุคลากรห้องสมุด ให้มีความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นประจําทุกปี

          สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (5.6-1) แก่ บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ ประจำปี 2564 จำนวน 23 คน เพื่อให้ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดการพลังงาน ของเสีย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งได้ดำเนินการฝึกอบรม แบ่งเป็น 5 ด้าน 10 หลักสูตร ดังนี้

1. อบรมผ่านระบบ e-learning ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จำนวน 8 หลักสูตร ได้แก่
     1. ด้านการจัดการสำนักงานสีเขียว 
         1.1 หลักสูตร การจัดการสำนักงานสีเขียว (GREEN OFFICE)
     2. ด้านการจัดการมลพิษและของเสีย 
         2.1 หลักสูตร PM 2.5 ภัยใกล้ตัว น่ากลัวกว่าที่คิด
         2.2 หลักสูตร ZERO WASTE : ปฏิบัติการขยะเหลือศูนย์
         2.3 หลักสูตร เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม
    3. ด้านการจัดการพลังงานและทรัพยากร
         3.1 หลักสูตร โครงการพระราชดำริด้านสิ่งแวดล้อม : ทฤษฎี ปฏิบัติ นวัตกรรม
         3.2 หลักสูตร เลือกซื้อ เลือกใช้ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
         3.3 หลักสูตร การบริโภคและการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
         3.4 หลักสูตร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CLIMATE CHANGE)

2. อบรมผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams จัดโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564
     1. ด้านห้องสมุดสีเขียว อบรมเรื่อง
         1.1 หลักสูตร เส้นทางสู่ห้องสมุดสีเขียว

3. ศึกษาด้วยตนเอง โดยดูวิดีโอ กิจกรรมอบรมดับเพลิงเบื้องต้น ประจำปี 2564 (ภาคทฤษฎี) (ลิงค์วิดีโอ) ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีบุคลากร จำนวน 25 คน ผ่านการทำแบบทดสอบก่อน และ หลัง เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจในวิธีการดับเพลิงเบื้องต้น  (ผลการทำแบบทดสอบ)
     1. ด้านความปลอดภัยและสภาวะฉุกเฉิน 
         1.1 หลักสูตร การดับเพลิงเบื้องต้น

       โดยผลการดำเนินการอบรม บุคลากรได้เข้ารับการอบรมและผ่านการอบรมทุกท่าน   (5.6-2, 5.6-3)          


5.6-1 แผนอบรมความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2564.pdf
5.6-2 ผลการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม 2564.pdf
5.6-3 สรุปข้อมูลการอบรมด้านสิ่งแวดล้อมประจำปี 2564.pdf
5.7 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินจัดกิจกรรมประหยัดพลังงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตลอดปี

          สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนงานและดําเนินการจัดกิจกรรมประหยัดพลังงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตลอดปี (5.7-1) โดยในปีพ.ศ.2564 ได้มีการจัดทำระบบสวิทซ์ไฟฟ้าแบบกระตุก ณ อาคารบรรณราชนครินทร์จำนวน 4 จุด/พื้นที่ ได้แก่ ประกอบด้วย ห้องปฏิงานของเจ้าหน้าที่ อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 1 จำนวน 2 จุด ห้องครัว อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 1 จำนวน 2 จุด  ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมและช่วยประหยัดพลังงาน รวมทั้งหมด 4 จุด/พื้นที่ (5.7-2) (ภาพประกอบการติดตั้งระบบสวิทซ์ไฟฟ้าแบบกระตุก จำนวน 4 จุด/พื้นที่) (5.7-3) ภาพประกอบการจัดกิจกรรมรณรงค์/ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การเปิด-ปิดไฟฟ้า การปิด-เปิดเครื่องปรับอากาศ การจัดทำสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมโลก เช่น  ภาพที่ลงหน้าเว็บไซต์


5.7-1 แผนดําเนินจัดกิจกรรมประหยัดพลังงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตลอด.pdf
5.7-2 ภาพประกอบ กิจกรรมการเพิ่มเติมการเปลี่ยนระบบสวิทซ์ไฟฟ้าเป็นแบบสวิทซ์กระตุก_compressed.pdf
5.7-3-ภาพการจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้.pdf
คำอธิบาย
    มีการกําหนดบทบาทของผู้บริหาร บุคลากรห้องสมุด และผู้เกี่ยวข้อง ในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของกิจกรรมการให้บริการของห้องสมุด

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
6.1 กําหนดให้มีแผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว โดยผู้บริหารห้องสมุด รวมทั้งรับฟังความเห็นจากบุคลากรและผู้รับบริการ และเสนอให้คณะกรรมการประจําหน่วยงาน ตลอดจนผู้บริหารระดับเหนือชั้นขึ้นไปรับทราบ ชี้แจงบทบาทด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มรับทราบ ได้แก่ บุคลากรผู้รับบริการและผู้ประกอบการ

          สำนักวิทยบริการฯ กำหนดนโยบายห้องสมุดสีเขียว โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกภาคส่วน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดเขียว (6.1-1) กำหนดบทบาทของผู้บริหาร บุคลากร และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้มีส่วนร่วมและตระหนักในการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว 8 หมวด รับฟังความคิดเห็นจากบุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวแผนประจำปีระยะ 5ปี (พ.ศ.2562-2566) (6.1-2) และแผนพัฒนาห้องสมุด สีเขียว 2564 (6.1-3) มีการรายงานผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวต่อคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการฯ ตลอดจนผู้บริหารระดับเหนือชั้นขึ้นไปรับทราบ (6.1-4)
           สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ชี้แจงบทบาทและนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มรับทราบ ได้แก่ บุคลากร ผู้ใช้บริการ ผู้ประกอบการ หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ทั้งทางออนไลน์และเอกสาร โดยมีช่องทางการประชาสัมพันธ์ ดังนี้ เว็บไซต์, ไลน์ ID Line: @944jtkcpj, Fanpage สำนักวิทยบริการ, จดหมายข่าวออนไลน์, (6.1-5) การติดป้ายประชาสัมพันธ์ตามสถานที่ต่างๆ ภายในสำนักฯ (6.1-6)


6.1-1 คำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ 13-2563.pdf
6.1-2 แผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว-พ.ศ.-2562-2566.pdf
6.1-3 แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว-2564.pdf
6.1-4 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการฯ ครั้งที่1-2564.pdf
6.1-5 ช่องทางการประชาสัมพันธ์.pdf
6.1-6 การประกาศนโยบายฯ ภายในลิฟท์และสำนักงาน.pdf
6.2 กําหนดให้มีแผนงานพัฒนาความรู้ให้กับบุคลากร โดยบุคลากรห้องสมุดจะต้องเข้าร่วมการอบรมที่หน่วยงานจัด หรือเข้าร่วมการประชุมสัมมนา หรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหรือสิ่งแวดล้อม และกําหนดภาระงานให้บุคลากรมีส่วนร่วมดําเนินงานในการจัดกิจกรรม และ/หรือ การให้บริการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

          สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (6.2-1) แก่ บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ ประจำปี 2564 จำนวน 23 คน เพื่อให้ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดการพลังงาน ของเสีย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งได้ดำเนินการฝึกอบรม แบ่งเป็น 5 ด้าน 10 หลักสูตร ดังนี้

1. อบรมผ่านระบบ e-learning ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จำนวน 8 หลักสูตร ได้แก่
     1. ด้านการจัดการสำนักงานสีเขียว 
         1.1 หลักสูตร การจัดการสำนักงานสีเขียว (GREEN OFFICE)

     2. ด้านการจัดการมลพิษและของเสีย 
         2.1 หลักสูตร PM 2.5 ภัยใกล้ตัว น่ากลัวกว่าที่คิด
         2.2 หลักสูตร ZERO WASTE : ปฏิบัติการขยะเหลือศูนย์
         2.3 หลักสูตร เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม

     3. ด้านการจัดการพลังงานและทรัพยากร
         3.1 หลักสูตร โครงการพระราชดำริด้านสิ่งแวดล้อม : ทฤษฎี ปฏิบัติ นวัตกรรม
         3.2 หลักสูตร เลือกซื้อ เลือกใช้ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
         3.3 หลักสูตร การบริโภคและการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
         3.4 หลักสูตร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CLIMATE CHANGE)

2. อบรมผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams จัดโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564
     1. ด้านห้องสมุดสีเขียว อบรมเรื่อง
         1.1 หลักสูตร เส้นทางสู่ห้องสมุดสีเขียว

3. ศึกษาด้วยตนเอง โดยดูวิดีโอ กิจกรรมอบรมดับเพลิงเบื้องต้น ประจำปี 2564 (ภาคทฤษฎี) (ลิงค์วิดีโอ) ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีบุคลากร จำนวน 25 คน ผ่านการทำแบบทดสอบก่อน และ หลัง เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจในวิธีการดับเพลิงเบื้องต้น (ผลการทำแบบทดสอบ)
     1. ด้านความปลอดภัยและสภาวะฉุกเฉิน 
         1.1 หลักสูตร การดับเพลิงเบื้องต้น

         โดยผลการดำเนินการอบรม บุคลากรได้เข้ารับการอบรมและผ่านการอบรมทุกท่าน   (6.6-2, 6.6-3)   


6.2-1 แผนการอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2564.pdf
6.2-2 ผลการอบรมด้านสิ่งแวดล้อม 2564.pdf
6.2-3 สรุปข้อมูลการอบรมด้านสิ่งแวดล้อมประจำปี 2564.pdf
6.3 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการที่ดําเนินการในอาคารห้องสมุด หรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับกิจการห้องสมุด ดําเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และให้ความร่วมมือในการดําเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องตามข้อกําหนดและเงื่อนไขการว่าจ้าง (Term of Reference: TOR) หรือตามรายละเอียดที่ห้องสมุดกําหนด
           สำนักวิทยบริการฯ ได้มีแผนงานและดำเนินการจัดทำประกาศสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (6.3-1) กำหนดมาตรการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (6.3-2) แนวปฏิบัติเรื่องการประชุมและการจัดนิทรรศการ (6.3-3) แนวปฏิบัติการใช้พื้นที่ห้องประชุม (6.3-4) และแนวปฏิบัติในการจัดจ้างบริการทำความสะอาดในสำนักงาน (6.3-5) ที่เข้ามาใช้พื้นที่ในสำนักวิทยบริการฯ ทราบ 
          นอกจากนี้ ได้ดำเนินการแจ้งให้ผู้ประกอบการหรือบริษัทที่เข้ามาดำเนินการภายในสำนักวิทยบริการฯ รับทราบ และให้ความร่วมมือใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.3-6), (6.3-7) ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 มีการแจ้งให้หน่วยงานที่เข้ามาดำเนินกิจกรรมกับสำนักวิทยบริการฯ ในรูปการว่าจ้าง TOR จำนวน 3 บริษัทคือ (6.3-8)
          1. บริษัท ริโก้ (ประเทศไทย) จำกัด (เช่าเครื่องพิมพ์เอกสาร) 
          2. บริษัท แอ๊ดวานซ์ กรุ๊ป เอเซีย จำกัด (จ้างกำจัดปลวก) 
          3. บริษัท ซิกม่า เอลิเวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ( บำรุงรักษาลิฟท์) 
และบริษัทที่ไม่ดำเนินการว่าจ้าง TOR จำนวน  4 บริษัท คือ (6.3-9)
          1. ร้านสามมิตรแอร์ เซอร์วิส (บำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ)
          2. การไฟฟ้า (เปลี่ยนหลอดไฟ LED)
          3. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (เปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศ TCDC)
          4. บริษัท ทรู มูฟ จำกัด (ตรวจสอบเช็คแบตเตอรี่และเปลี่ยนฟิวเตอร์)
           
         
 

6.3-1 ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf
6.3-2 ประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง มาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว.pdf
6.3-3 ข้อปฏิบัติเรื่องการจัดประชุมและนิทรรศการ.pdf
6.3-4 แนวปฏิบัติในการใช้ห้องประชุมของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.pdf
6.3-5 แนวปฏิบัติในการจัดจ้างบริการทำความสะอาดในสำนักงาน.pdf
6.3-6 หนังสือขอความร่วมมือผู้ประกอบการ.pdf
6.3-7 ภาพถ่ายขอความร่วมมือและให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้มแก่ผู้ประกอบการ.pdf
6.3-8 หน่วยงานว่าจ้างดำเนินการจัดทำ TOR .pdf
6.3-9 หน่วยงานว่าจ้างที่ไม่ได้ดำเนินการจัดทำ TOR.pdf
6.4 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการแจ้งให้ผู้รับบริการรับทราบนโยบายและขอความร่วมมือในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

     สำนักวิทยบริการฯ มีแผนงานและดำเนินการแจ้งให้ผู้รับบริการรับทราบตามประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (6.4.1) และเรื่อง มาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว (6.4.2) เพื่อสร้างจิตสำนึกและขอความร่วมมือในการปฏิบัติตนช่วยกันอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักวิทยบริการฯ ได้มีช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อการรณรงค์ ชี้แจงข่าวสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล ผ่านช่องทางในรูปแบบ Onsite และ Online  ดังนี้

 การสื่อสารภายใน (การติดบอร์ด ป้ายประชาสัมพันธ์)
                 6.4.3.1 ป้ายประชาสัมพันธ์ 
                 6.4.3.2 ประชาสัมพันธ์ผ่านจอทีวี 
                 6.4.3.3 สติกเกอร์ป้ายประหยัดไฟฟ้า น้ำ ตามจุดเปิด-ปิด 
                 6.4.3.4 บันไดแคลอรีเพื่อจูงใจลดการใช้ลิฟต์    
                 6.4.3.5 โปสเตอร์ เพื่อประหยัดน้ำในห้องน้ำชาย-หญิง 
                 6.4.3.6 ป้ายปฏิทินความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม 

การสื่อสารภายนอก (ผ่านทาง Social Network)                                                               6.4.4.1 เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวของสำนักวิทยบริการฯ      
                 6.4.4.2 ไลน์ ID Line: @944jtkcpj 

                 6.4.4.3 Fanpage สำนักวิทยบริการฯ                                                             6.4.4.4 จดหมายข่าวออนไลน์

                  


6.4.1 ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (1).pdf
6.4.2 มาตรการประหยัดพลังงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว (1).pdf
6.4.3.1 ป้ายประชาสัมพันธ์.pdf
6.4.3.2 ประชาสัมพันธ์ผ่านจอทีวี.pdf
6.4.3.3 ป้ายประหยัดไฟฟ้าตามจุดเปิด-ปิดสวิตซ์ไฟ.pdf
6.4.3.4 บันไดลดแคลลอรี.pdf
6.4.3.5 โปสเตอร์ เพื่อประหยัดน้ำในห้องน้ำชาย-หญิง.pdf
6.4.3.6 ปฏิทินความรู้สิ่งแวดล้อม.pdf
6.4.4.1 เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวของสำนักวิทยบริการฯ.pdf
6.4.4.2 ไลน์ ID Line สำนัก.pdf
6.4.4.3 Fanpage สำนักฯ.pdf
6.4.4.4 จดหมายข่าวออนไลน์.pdf

คำอธิบาย
    ร่วมมือกับห้องสมุดอื่นๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการความรู้หรือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในเรื่องการบริหารจัดการและการให้บริการของกิจกรรมการให้บริการของห้องสมุดที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม


หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
7.1 เข้าร่วมในเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดสีเขียว หรือเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกับห้องสมุดอื่นๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการความรู้หรือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เช่น การจัดการประชุม การสัมมนา และ/หรือ การเข้าร่วมประชุม เข้าร่วมสัมมนา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
         สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวประจำปี 2562-2566 (ฉบับปรับปรุง) และ แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2564 ซึ่งมีแผนงานเกี่ยวกับความร่วมมือในยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างเครือข่ายและความร่วมมือด้านการพัฒนาและส่งเสริมห้องสมุดสีเขียว กลยุทธ์ที่ 7 พัฒนาความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว โดยมีการส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมสัมมนาหรือเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมร่วมกับเครือข่ายกลุ่มต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งในปีพ.ศ.2564 สำนักวิทยบริการฯ ได้ส่งบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้
 
         7.1 เครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว สำนักวิทยบริการฯ ได้เข้าร่วมเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 ดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว และผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียวในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งในปีพ.ศ.2564 สำนักวิทยบริการฯ ส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
               7.1.1 ส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมออนไลน์ "กิจกรรมส่งเสริมห้องสมุดสีเขียว" จำนวน 10 คน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 จัดโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เรื่อง "เส้นทางสู่ห้องสมุดสีเขียว" โดยผศ.ดร.บัญชา ศรีสมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ผ่านเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับดีเยี่ยม (เหรียญทอง) ปี 2563 จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (7.1-1)
               7.1.2 สำนักวิทยบริการฯ ได้ขอรับการประเมินสำนักงานสีเขียว ในปี พ.ศ. 2563 และได้รับการตรวจประเมินเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว (Green Office) ปี 2563 เมื่อวันจันทร์ ที่ 28 กันยายน พ.ศ.2563 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้สำนักวิทยบริการฯ ผ่านเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว ระดับดีมาก(เหรียญเงิน)
จากการได้รับการประเมิน ดังกล่าว ในปีพ.ศ. 2564 สำนักวิทยบริการฯ ส่งเสริม/สนับสนุนให้บุคลากร จำนวน 26 คน เข้ารับการอบรมออนไลน์ในระบบการเรียนรู้ออนไลน์ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการจัดการพลังงาน ของเสีย  การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งได้ดำเนินการฝึกอบรม จำนวน 5 ด้าน ดังนี้ (7.1-2)
               1. หลักสูตรการจัดการสำนักงานสีเขียว อบรมเรื่อง การจัดการสำนักงานสีเขียว (GREEN OFFICE)
               2. หลักสูตรด้านห้องสมุดสีเขียว อบรมเรื่อง เส้นทางสู่ห้องสมุดสีเขียว
               3. หลักสูตรด้านการจัดการมลพิษและของเสีย อบรมเรื่อง
                   - PM 2.5 ภัยใกล้ตัว น่ากลัวกว่าที่คิด
                   - ZERO WASTE : ปฏิบัติการขยะเหลือศูนย์
                   - เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม
               4. หลักสูตรด้านการจัดการพลังงานและทรัพยากร
                   - โครงการพระราชดำริด้านสิ่งแวดล้อม : ทฤษฎี ปฏิบัติ นวัตกรรม
                   - เลือกซื้อ เลือกใช้ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
                   - การบริโภคและการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                   - การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CLIMATE CHANGE)
               5. หลักสูตรด้านความปลอดภัยและสภาวะฉุกเฉิน อบรมเรื่อง
                   - การดับเพลิงเบื้องต้น 
         7.2 เครือข่ายโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและโรงเรียนกองทุนเพื่อการศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์
                7.2.1 สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการจัดกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและโรงเรียนกองทุนเพื่อการศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ จำนวน ๕ โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวน ๔ โรงเรียน และโรงเรียนกองทุนการศึกษา ๑ โรงเรียน จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการการซ่อมบำรุงรักษาสื่อการเรียนรู้ จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ ที่ 14 พฤษภาคม 2564 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้เข้าร่วมการอบรมประกอบด้วย ครูที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์จาก 14 โรงเรียน และนักเรียน 3 คน กิจกรรม คือ ซ่อมหนังสือปกแข็ง ซ่อมหนังสือปกอ่อน และการทำสมุดเล่มเล็ก (หน้า 7) (7.2-1)
                กิจกรรมครั้งนี้สอดคล้องกับมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม คือ มาตรการการใช้ทรัพยากรอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
               1) ใช้กระดาษอย่างคุ้มค่า
               2) งดใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ้นเปลือง
               3) ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น ควบคุม และป้องกันของเสียให้เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด
               4) ให้ความรู้ การฝึกทักษะ สร้างจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ
               5) สนับสนุนการนำทรัพยากรที่ชำรุด มาซ่อมแซมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
 
         7.3 อบรมจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
               7.3.1 ส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมออนไลน์ ผ่าน โปรแกรม ZOOM จำนวน 2 คน ในหัวข้อ SAFETY REVOLUTION เพราะอาคารคือบ้านหลังที่ 2 จัดโดยบริษัทอินโนเวชั่นเทคโนโลยี จำกัด ในวันพุธ ที่ 10 ตุลาคม 2564 โดยผู้เชี่ยวชาญพิเศษ อ.พงค์พัฒน์ มั่งคั่ง และคุณชัชฌญา วัฒนาสุวรรณ (7.3-1)

7.1-1 กิจกรรมห้องสมุดสีเขียว มรภ.ลำปาง.pdf
7.1-2 สรุปการอบรมออนไลน์ กรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อม.pdf
7.2-1 สรุปผลการดำเนินโครงการบริการวิชาการโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน.pdf
7.3-1 สรุปการอบรมเพราะอาคารคือบ้านหลังที่ 2.pdf

คำอธิบาย
    กําหนดตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยการติดตาม ประเมินผลเป็นประจําทุกปี


หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
8.1 ผู้บริหารห้องสมุด ต้องกําหนดตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยติดตาม ประเมินผลเป็นประจําทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งในเรื่องต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
    - ประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม เช่น Energy Utilization Index(EUI)
    - ประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะ เช่น ปริมาณขยะลดลง และร้อยละของปริมาณขยะที่นํามา reuse, recycle เพิ่มขึ้น
    - ประเมินประสิทธิภาพการจัดการน้ําเสีย
    - ประเมินประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ไม่มีเรื่องร้องเรียนจากผู้รับบริการเกี่ยวกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคาร จํานวนครั้งของการล้างระบบปรับอากาศต่อปี เป็นต้น
    - ประเมินประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก เช่น ร้อยละของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรต่อจํานวนผู้มารับบริการ เป็นต้น

     สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวตามแผนงานและมาตรการที่กำหนดในแผนพัฒนาห้องสมุด ปี พ.ศ. 2564 (8.1-2) โดยมีบุคลากรฝ่ายงานต่างๆ ของสำนักวิทยบริการฯ (8.1-1) เป็นผู้ขับเคลื่อน ตั้งแต่การประชุมคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวเพื่อติดตาม และรายงานผลการดำเนินงาน ปี พ.ศ. 2563 เพื่อนำมาปรับตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้
     1. ประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม
          - Energy Utilization Index (EUI) >/=0
          - ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 5
     2. ประสิทธิภาพการจัดการขยะ
          - ลดปริมาณขยะ ร้อยละ 10
     3. ประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสีย
          - ลดปริมาณการใช้น้ำ ร้อยละ 10
     4. ประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ
          - ผลประเมินกิจกรรม 5 ส. เฉลี่ยร้อยละ 80
     5. ประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก
          - ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 5
          - ลดปริมาณการใช้กระดาษ ร้อยละ 15
          - ลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 10
          - ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 5
          - ลดปริมาณการใช้น้ำ ร้อยละ 10
          - ลดปริมาณขยะ ร้อยละ 10
     6. ประสิทธิภาพการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
          - ร้อยละของจำนวนบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ ที่ผ่านการทดสอบความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 80
            สำนักวิทยบริการฯ มีการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (8.1-3) และผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว (8.1-5) ตลอดจนการประเมินประสิทธิภาพตามตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี พ.ศ. 2564 (8.1-4) 


8.1-1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ.2564-1.pdf
8.1-2-แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว-2564.pdf
8.1-3-2564-checklist-Audit-GreenLibrary.pdf
8.1-4-2564-การประเมินประสิทธิภาพตามตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม.pdf
8.1-5-รายงานผลการดำเนินตามพัฒนาห้องสมุดสีเขียว.pdf