GREEN LIBRARY & GREEN OFFICE

เกณฑ์ประเมินสำนักงานสีเขียว 2565

ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ประเมินสำนักงานสีเขียว 2565

1.1 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม
1.2 คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม
1.3 การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
1.4 กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.5 ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
1.6 แผนงานโครงการที่นำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
1.7 การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุและขอยกระดับสำนักงานสีเขียว)
1.8 การทบทวนฝ่ายบริหาร

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
1.1.1 มีบริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน
         (1) มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของสำนักงาน
         (2) มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของสำนักงาน
         สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ และจัดทำแผนผังพื้นที่  ประกอบด้วย อาคารศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น (อาคารหอสมุดเดิม) และอาคารบรรณราชนครินทร์  ตลอดจนพื้นที่สีเขียว และทางเดินหรือพื้นซีเมนต์โดยรอบอาคาร บนเนื้อที่ 10,824.5 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอยของอาคารและพื้นที่โดยรอบ ทั้งสิ้น 16,975.47 ตารางเมตร ดังปรากฎในแผนปฏิบัติการสำนักงานสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2565 (1.1.1-1) ดังนี้
        1. อาคารทั้ง 2 หลังอยู่บนเนื้อที่ 3,217.5 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอยของอาคารทั้งหมดจำนวน 9,367.97 ตารางเมตร โดยจำแนกเป็นพื้นที่อาคาร ดังนี้
             1.1 อาคารศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น (อาคารหอสมุดเดิม) อยู่บนเนื้อที่ 2,172 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอยของอาคาร 3056.27 ตารางเมตร
             1.2 พื้นที่อาคารบรรณราชนครินทร์ อยู่บนเนื้อที่จำนวน 1,045.5 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอยของอาคาร 6,311.70 ตารางเมตร

        2. มีพื้นที่โดยรอบ 7,607.5 ตารางเมตร โดยจำแนกเป็น
             2.1 พื้นที่สีเขียว/สวน จำนวน 3,063.25 ตารางเมตร
             2.2 ทางเดิน/พื้นซีเมนต์ จำนวน 4,544.45 ตารางเมตร และมีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของสำนักวิทยบรการฯ ทั้งหมด ประกอบด้วย 
                   1) การปฏิบัติงานของบุคลากร ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
                       - การพิมพ์เอกสาร
                       - การสำเนาเอกสาร
                       - การประชุม
                       - การทำสื่อประชาสัมพันธ์
                       - กิจกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้า เกิดการลัดวงจร
                       - การจัดเตรียม/ซ่อมแซมทรัพยากรสารสนเทศ
                       - การทำความสะอาดพื้นที่สำนักงาน
                  2) การบริการและกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน  ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
                      - การประชุม
                      - การทำสื่อประชาสัมพันธ์
                      - การทำความสะอาดพื้นที่สำนักงาน/พื้นที่บริการ
                      - การพิมพ์เอกสาร
                      - การสำเนาเอกสาร
                      - กิจกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้า เกิดการลัดวงจร
                  3) การบริการสาธารณูปโภค  ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
                      - การรับประทานอาหาร
                      - การทำความสะอาดภาชนะ
                      - การทำความสะอาดห้องน้ำ
                  4) การปฏิบัติงานนอกพื้นที่ ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
                      - การเดินทางไปราชการ


(2565) 1.1.1-1-แผนปฏิบัติการสำนักงานสีเขียว2565-หน้า21-39_compressed.pdf
1.1.2 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียวโดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
         (1) การปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
         (2) การควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษ/ของเสีย รวมไปถึงการจัดซื้อ จัดจ้าง และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
         (3) การปฏิบัติตามกฎหมายและเกณฑ์การเป็นสำนักงานสีเขียวของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
         (4) การสร้างความรู้และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้เกี่ยวข้อง
          ปี พ.ศ. 2565 สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการประชุมทบมวนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม โดยให้ใช้นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ตามปี พ.ศ. 2564 (1.1.2-1) ซึ่งครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว ดังนี้
          1. กำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารงานห้องสมุด รวมถึงกำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว โดยติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนงาน มาตรการ และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
          2. ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเกณฑ์สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวอย่างเคร่งครัด
          3. ให้บริการสื่อการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดกิจกรรมและสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรและผู้ใช้บริการมีความรู้ ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
          4. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
          5. ปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
          6. ควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษ การจัดการของเสีย  การจัดการสภาพแวดล้อมและความปลอดภัย
          7. การจัดซื้อ จัดจ้าง สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้บริการองค์กรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
          8. ส่งเสริมให้มีการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและทำการชดเชยคาร์บอนในระดับองค์กรและระดับบุคคล
          9. ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมในเครือข่ายความร่วมมือด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

(2565) 1.1.2-1 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม2565.pdf
1.1.3 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมจากผู้บริหารระดับสูง
         (1) นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
         (2) มีการระบุวันที่การประกาศใช้นโยบายสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน
         (3) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องสามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน
         (4) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องมีส่วนในการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน

           สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มุ่งมั่นพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และให้บริการความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้สอดคล้องและครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว จึงกำหนดนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการอนุมัติจากผู้บริหารสำนักฯ เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 (1.1.3-1)


(2565) 1.1.3-1ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม2565.pdf

1.1.4 มีการกำหนดแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี
         (1) รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการดำเนินงานครบถ้วนทุกหมวด
         (2) มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของการดำเนินการของแต่ละหมวด
         (3) มีการกำหนดแผนดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับการอนุมัติจากผู้บริหาร

 
        สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2565 แยกตามหมวด และได้มอบหมายให้คณะกรรมการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว เป็นผู้ขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยมีอาจารย์ปิยวรรณ  คุสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้อนุมัติแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2565 ลงนามเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565 (1.1.4-1)

(2565) (1.1.4-1) แผนปฏิบัติงานพัฒนาสำนักงานสีเขียว-2565.pdf

1.1.5 มีการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจนด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก ดังนี้
         (1) การใช้ไฟฟ้า
         (2) การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
         (3) การใช้น้ำ
         (4) การใช้กระดาษ
         (5) ปริมาณของเสีย
         (6) ปริมาณก๊าซเรือนกระจก

        สำนักฯ มีการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดในการใช้ทรัพยากร พลังงาน ของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก ได้รับการอนุมัติจากผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 เพื่อให้การบริหารจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากรของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
       มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการใช้พลังงานและทรัพยากรตามแนวทางสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ให้เป็น Green University ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
เพชรบุรีดังนี้
          1. การใช้ไฟฟ้า ลดลง 5 %
          2. การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ลดลง 10 %
          3. การใช้น้ำ ลดลง 5 %
          4. การใช้กระดาษ ลดลง 30 %
          5. ปริมาณของเสีย ลดลง 15 %
          6. ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ลดลง 10 %

(2565) ประกาศเป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร 2564.pdf

1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้
         (1) ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติ โดยคณะกรรมการหรือทีมงาน จะต้องครอบคลุมทุกหมวด และบุคลากร/ผู้แทนจากทุกฝ่ายในหน่วยงาน
         (2) กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการอย่างชัดเจน

         สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว ครอบคลุมครบทุกหมวด และได้มีการกำหนด อำนาจหน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการอย่างชัดเจน โดยออกคำสั่งอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และ ลงนามอนุมัติโดยอาจารย์ปิยวรรณ  คุสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสำรสนเทศ เพื่อขับเคลื่อน การปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามคำสั่งที่ 001/2565 ลงนามเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 (1.2.1-1)


(2565) 1.2.1-1 คำสั่งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวปี พ.ศ.2565.pdf
1.2.2 ร้อยละของคณะกรรมการ หรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบประเมินจากการสุ่มสอบถามดังนี้
         (1) ประธาน/หัวหน้า
         (2) คณะกรรมการหรือทีมงานทางด้านสิ่งแวดล้อมที่รับผิดชอบทุกหมวด (สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจประเมินแต่ละหมวดสุ่มสอบถามได้)
      บุคลากรสำนักวิทยบริการฯ มีความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว (1.2.2-1)

(2565) (1.2.2-1) บุคลากรมีความเข้าใจในหน้าที่ของสำนักงานสีเขียว.pdf
1.3.1 กิจกรรมทั้งหมดของสำนักงานภายใต้ขอบเขตการขอการรับรองสำนักงานสีเขียวจะต้องได้รับการระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม
         (1) มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงานครบถ้วน
         (2) มีการกำหนดผู้รับผิดชอบเหมาะสมและมีความเข้าใจ
         (3) ระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากร วัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละกิจกรรมจะต้องครบถ้วน
         (4) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมทางตรงและทางอ้อมครบถ้วน
         (5) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะปกติ ผิดปกติ และฉุกเฉินครบถ้วน
         (6) มีการพิจารณากฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นๆ อย่างครบถ้วนและถูกต้อง
         (7) การประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม
         (8) มีหลักฐานการกำหนดระยะเวลาในการทบทวนการระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและพลังงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
         (9) กรณีมีการปรับแผน/กิจกรรม หรือมีกิจกรรมเพิ่มเติม (เช่น มีแผนที่จะก่อสร้างอาคาร หรือ เพิ่มเติมกิจกรรมของสำนักงานในอนาคตอันใกล้ เป็นต้น) จะต้องระบุกิจกรรมดังกล่าวด้วย (ถ้ามี)

        สำนักวิทยบริการฯ มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงานทั้งทางตรง และทางอ้อม ตามกิจกรรมได้ 7 ด้าน  17 กิจกรรม ตามขอบเขตและบริบทของสำนักงาน (1.3.1-1) ดังนี้
7 ด้าน ประกอบด้วย
        1. กระดาษ
        2. อาหาร
        3. น้ำ
        4. น้ำมันเชื้อเพลิง
        5. วัสดุสำนักงาน
        6. ไฟฟ้า , อุปกรณ์ไฟฟ้า
        7. ทรัพยากรสารสนเทศ

17 กิจกรรม ประกอบด้วย
        1. การพิมพ์เอกสาร/การสำเนาเอกสาร
        2. การประชุม
        3. การรับประทานอาหาร
        4. การทำความสะอาดภาขนะใส่อาหาร
        5. การทำความสะอาดสำนักงาน (โดยใช้เครื่องขัดพื้น/เครื่องดูดฝุ่น)
        6. งานทำความสะอาดห้องน้ำ
        7. ถ่านหรือแบตเตอรี่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
        8. การจัดการพื้นที่สีเขียว
        9. การจัดการสัตว์พาหะนำโรค
        10.การเดินทางไปราชการ
        11.การจัดเก็บและเบิกใช้วัสดุสํานักงาน
        12.กิจกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้า เกิดการลัดวงจร
        13.การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
        14.การบำรุงรักษาลิฟท์
        15.การซ่อมบำรุงเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและแสงสว่าง
        16.การบำรุงรักษาเครื่องสำเนาเอกสาร
        17.งานจัดเตรียม/ซ่อมแซมทรัพยากรสารสนเทศ

        มีการระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากร วัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละกิจกรรมครบถ้วน โดยใช้ตารางวิเคราะห์ระดับความมีนัยสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์การประเมินนัยสำคัญของลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้านการใช้ทรัพยากร (Resource Usage) และเกณฑ์การประเมินนัยสำคัญของลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้านมลภาวะ (Pollution) (3.1.1-2)

        ทั้งนี้ สามารถระบุระดับนัยสำคัญได้ 3 ระดับ คือ L , M , H ส่วนใหญ่ประเด็นปัญหาของสำนักฯ อยู่ในระดับ L และ M

        ด้านทรัพยากร (Input) มีค่าความรุนแรงมากที่สุดที่ 42 มีค่าความรุนแรงน้อยที่สุดที่ 18 ส่วน

        ด้านมลพิษ (Output) มีค่าความรุนแรงมากที่สุดที่ 42 มีค่าความรุนแรงน้อยที่สุดที่ 24 (1.3.1-3)

       สำนักวิทยบริการฯ มีการประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ(1.3.1-4) สามารถการจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ ตามกิจกรรม

       ด้านทรัพยากร (Input) คือ ปัญหาด้านไฟฟ้า

       ส่วนด้านมลพิษ (Output) คือ ถ่านหรือแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว , ขยะจากบรรจุภัณฑ์ , หลอดไฟใช้แล้ว , ขยะจากการซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ

       จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม สำนักฯ ได้มีการวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญได้ทั้งหมด 6 ข้อ (1.3.1.5)


(2565) 1.3.1-1 การระบุและประเมินปัญหา ตารางวิเคราะห์กระบวนงาน.pdf
(2565) 1.3.1-2 ระเบียบปฏิบัติงาน.pdf
(2565) 1.3.1-3 ทะเบียนระบุและประเมินปัญหาด้านทรัพยากร (InputและOutput).pdf
(2565) 1.3.1-4 ทะเบียนจัดลำดับปัญหาที่มีนัยสำคัญ(InputและOutput).pdf
(2565) 1.3.1-5 การระบุและประเมินปัญหา ตารางวิเคราะห์กระบวนงาน.pdf
1.3.2 การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
         (1) มีสรุปรายการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
         (2) กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสาคัญ
         (3) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการแก้ไขครบถ้วน
         (4) กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉิน
         (5) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉินมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการป้องกันครบถ้วน

          สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีการวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ(1.3.2-1) (1.3.2-2) พร้อมจัดทำแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมและกำหนดมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม(1.3.2-3) (1.3.2-4)


(2565) 1.3.2-1 การระบุและประเมินปัญหา ตารางวิเคราะห์กระบวนงาน.pdf
(2565) 1.3.2-2 การระบุและประเมินปัญหา ตารางวิเคราะห์กระบวนงาน.pdf
(2565) 1.3.2-3 การระบุและประเมินปัญหา ตารางวิเคราะห์กระบวนงาน.pdf
(2565) 1.3.2-4 แผนระงับเหตุฉุกเฉิน-2565.pdf

1.4.1 มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้
         (1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
         (2) จัดทำรายการกฎหมายที่ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อมและบริบทของสำนักงาน
         (3) สามารถระบุแหล่งที่มาของกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
         (4) สามารถระบุความเกี่ยวข้องของกฎหมายกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
         (5) กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นปัจจุบัน
         (6) มีการรวบรวมและทบทวนกฎหมายอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง

หมายเหตุ : สำนักงานจะต้องค้นหากฎหมายท้องถิ่นเพิ่มเติม
          สำนักวิทยบริการฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวเพื่อกำหนดบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ ตามคำสั่งที่ 001/2565 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวซึ่งมอบหมายให้
นางสาวสุพรรณณี เพนวิมล เป็นผู้รับผิดชอบทำหน้าที่จัดทำและรวบรวมรายการกฎหมายสิ่งแวดล้อม (1.4.1-1.1) ซึ่งเป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่มีความครอบคลุมกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและบริบทของสำนักงาน (1.4.1-2.1) รวมทั้งมีการระบุแหล่งที่มาของกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (1.4.1-3.1) โดยมีการระบุความเกี่ยวข้องของกฎหมายกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม (1.4.1-4.1) กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยมีความเป็นปัจจุบัน (1.4.1-5.1) มีการรวบรวมและทบทวนกฎหมายอย่างต่อเนื่องทุกปี (1.4.1-6.1)

(2565) 1.4.1-1.1 คำสั่งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวปี พ.ศ.2565.pdf
(2565) 1.4.1-2.1 รายการกฎหมายที่ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 1.4.1-3.1 ที่มาของทะเบียนกฏหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 1.4.1-4.1 ตารางประเมินความสอดคล้องของกฏหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 1.4.1-5.1 ทะเบียนกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 1.4.1-6.1 แผนปฏิบัติงานพัฒนาสำนักงานสีเขียว-2565.pdf
1.4.2 ประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน   โดยมีการดำเนินการดังนี้
         (1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อม
         (2) มีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายครบถ้วน
         (3) มีการอ้างอิงหลักฐานการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วนและถูกต้อง กรณีที่พบว่าการดำเนินงานไม่สอดคล้องกับกฎหมาย จะต้องมีการวิเคราะห์สาเหตุ และกำหนดแนวทางการแก้ไข (ถ้ามี)
         (4) มีการกำหนดความถี่ในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่เหมาะสมและมีการปฏิบัติตามที่กำหนดได้
          สำนักวิทยบริการฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวเพื่อกำหนดบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ ตามคำสั่งที่ 001/2565 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ซึ่งมอบหมายให้นางสาวสุพรรณณี เพนวิมล (1.4.2-1.1) เป็นผู้รับผิดชอบทำหน้าที่จัดทำและรวบรวมรายการกฎหมายสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายและมีการอ้างอิงหลักฐานการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วน สำหรับในกรณีที่พบว่าการดำเนินงานไม่สอดคล้องกับกฎหมายก็มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข (1.4.2-2.1, 1.4.2-3.1) และมีการกำหนดความถี่ในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายอย่างสม่ำเสมอทุกปี (1.4.2-4.1)

(2565) 1.4.2-1.1 คำสั่งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวปี พ.ศ.2565.pdf
(2565) 1.4.2-2.1, 1.4.2-3.1 ตารางประเมินความสอดคล้องของกฏหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 1.4.2-4.1 แผนปฏิบัติการพัฒนาสำนักงานสีเขียวประจำปี 2565.pdf

1.5.1 การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในสำนักงาน จะต้องประกอบไปด้วย
         (1) ปริมาณการใช้ไฟฟ้า
         (2) ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงสำหรับการเดินทาง
         (3) ปริมาณการใช้น้ำประปา
         (4) ปริมาณการใช้กระดาษ
         (5) ปริมาณการเกิดของเสีย (ฝังกลบ)

(โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก(Emission Factor ; EF) ขององค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกล่าสุด)
          สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และรวบรวมข้อมูลพื้นฐานและปริมาณการใช้ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำ กระดาษ และปริมาณขยะ เพื่อประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการ ประจำปี พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม พบว่า มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม จำนวน 94.66 tCO2e โดยจำแนกเป็น ปริมาณการใช้น้ำมันสำหรับการเดินทาง การปล่อยสารมีเทนจาก Septic tank การปล่อยสารมีเทนจากบ่อบำบัดแบบไม่เติมอากาศ การใช้สารทำความเย็นแบบ R134A ในประเภทที่ 1 จำนวน 3.75 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 3.96 ของปริมาณการก๊าซทั้งหมดในปี 2565 และมีปริมาณการใช้ไฟฟ้า ในประเภทที่ 2 จำนวน 88.06 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 93.03 ของปริมาณการก๊าซgเรือนกระจกทั้งหมดในปี 2565 และมีปริมาณการใช้น้ำ กระดาษ และปริมาณขยะ/ของเสียฝังกลบ (ขยะส่งกำจัด) ในประเภทที่ 3 จำนวน 2.85 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 3.01 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในปี 2565 (1.5.1-1)

(2565) 1.5.1-1-CFO-2565.pdf
1.5.2 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกบรรลุเป้าหมาย
กรณีบรรลุเป้าหมาย
         (1) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการวิเคราะห์สาเหตุในกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมาย
         (2) มีแนวทางการแก้ไขในกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมาย
         (3) มีการติดตามผลหลังแก้ไข
          สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดค่าเป้าหมายในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 10 จากผลการประเมิณปริมาณก๊าซเรือนกระจก พบว่า ปี พ.ศ. 2565 สำนักวิทยบริการฯ มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงจากปี พ.ศ. 2564 จำนวน 27.49 tCO2e คิดเป็นร้อยละ 22.19 บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ร้อยละ 10
          เนื่องจากมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตประเภทที่ 1 การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และขอบเขตประเภทที่ 2 การใช้พลังงานไฟฟ้าลดลงจากปี 2564 แต่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตประเภทที่ 3 คือ การใช้กระดาษและการใช้น้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้รับบริการห้องประชุมมีมากขึ้น และมีการใช้น้ำและขอใช้กระดาษในการพิมพ์เอกสารประกอบการประชุมอีกด้วย
 
ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก มีดังนี้
          1. จัดทำประกาศนโยบาย ขอบเขต แนวปฏิบัติการให้บริการห้อง/พื้นที่การประชุม อบรม สัมมนา ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับทราบและตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม    
          2. จัดหาหรือพัฒนาอุปกรณ์ช่วยประหยัดน้ำเพิ่มติม
          3. ควรมีการกำหนดแนวทาง/แผนงานกิจกรรมเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักวิทยบริการฯ
          4. ควรส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ มีการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนบุคคล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (1.5.2-1)

(2565) 1.5.2-1-CFO-2565_removed.pdf
1.5.3 ร้อยละของพนักงานมีความเข้าใจและการรับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน โดยจะต้องสอบถามดังนี้
          (1) ความสำคัญของก๊าซเรือนกระจกกับการทำสำนักงานสีเขียว
          (2) แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
          (3) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสานักงานเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย
หมายเหตุ :
          1. พนักงานที่ถูกสอบถามจะต้องอธิบายให้ได้ทั้ง 3 ข้อ
          2. สอบถามพนักงาน 4 คนขึ้นไป
          สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดแผนการอบรมของบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ โดยพิจารณาหลักสูตรต่าง ๆ ที่สามารถเข้ารับการอบรมในระบบ e-learning ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีบุคลากรเข้ารับการอบรมจำนวน 16 คน  คิดเป็นร้อยละ 66.67 มีผู้ผ่านการอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 80 จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 93.75 (1.5.3-1)

(2565) 1.5.3-1-สรุปผลการประเมินการอบรมก๊าซเรือนกระจก.pdf
1.6.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการดำเนินการดังนี้
         (1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย จะต้องสอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ หรือกฎหมายสิ่งแวดล้อม
         (2) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย สามารถวัดผลได้
         (3) กิจกรรม/นวัตกรรมที่กำหนดในโครงการสิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
         (4) ระยะเวลาการทำโครงการมีความเหมาะสม
         (5) โครงการมีการกำหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน และจะต้องมีความเข้าใจ
สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินงานจัดทำแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อแสดงถึงระยะเวลาในการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรม (1.6.1-1)

(2565) แผนการจัดการสิ่งแวดล้อม 2565.pdf
1.6.2 ผลสำเร็จของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย แนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
         (1) มีแผนการดำเนินโครงการหรือนวัตกรรมที่ชัดเจน
         (2) ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง
         (3) มีการกำหนดความถี่ในการติดตามผลและปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง
         (4) มีการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ
         (5) ดำเนินการเสร็จสิ้นและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด / กรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมายมีการทบทวนเพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข
         (6) มีการกำหนดแนวทางเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนหลังบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินงานจัดทำแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม (1.6.2-1) (1.6.2-3) และมีการดำเนินการตามแผนที่กำหนดทั้งติดตามการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง(1.6.2-2)

(2565) 1.6.2 สรุปแผนการดำเนินงานการระบุและประเมินปัญหา ตารางวิเคราะห์กระบวนงาน.pdf
(2565) ภาพ สรุปผลการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อม 2565_compressed.pdf
(2565) แผนการจัดการสิ่งแวดล้อม 2565.pdf
1.7.1 การวางแผนและดำเนินการตรวจ ประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน
         (1) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน ประกอบด้วย หัวหน้า ผู้ตรวจประเมินและผู้ตรวจประเมิน ซึ่งจะต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร การดำเนินงานสำนักงานสีเขียว และหลักสูตรการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว
         (2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจ ประเมินสำนักงานสีเขียวภายใน สำนักงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
         (3) มีการจัดทำข้อกำหนดการตรวจ ประเมินภายในครอบคลุมทุกหมวด
         (4) กำหนดผู้ตรวจประเมินภายในแต่ละ หมวดมีความเพียงพอและเหมาะสม มีความเป็นอิสระในการตรวจประเมิน อย่างชัดเจน
         (5) การดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน ครบถ้วนทุกหมวด

        สำนักวิทยบริการฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน จากผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “การตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม (Green Office)” ตามคำสั่งที่ 011/2565 โดยมีรายชื่อผู้ตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงาน ต่ออายุและขอยกระดับสำนักงานสีเขียว) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ดังนี้

        1. อาจารย์ปิยวรรณ คุสินธุ์ หัวหน้าการตรวจประเมิน  ตรวจประเมินหมวดที่ 1

        2. อาจารย์ ดร.มธุรส  ปราบไพรี ตรวจประเมินหมวดที่ 5

        3. นายสวัสดิ์  อุราฤทธิ์ ตรวจประเมินหมวดที่ 3

        4. นางสาวแขภา  ทองตัน ตรวจประเมินหมวดที่ 6

        5. นางนงลักษณ์  พหุพันธ์ ตรวจประเมินหมวดที่ 2

        6. นายทวี  นวมนิ่ม ตรวจประเมินหมวดที่ 4 (1.7.1-1.1)

        สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กำหนดความถี่ในการตรวจประเมิน สำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุและขอยกระดับสำนักงานสีเขียว) (1.7.1-2.1) และได้จัดทำข้อกำหนดการตรวจประเมินสำนักงาน สีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุและขอยกระดับสำนักงานสีเขียว) ครอบคลุมทุกหมวด (1.7.1-3.1), และได้กำหนดผู้้ตรวจประเมินภายในแต่ละหมวดอย่างชัดเจน (1.7.1-4.1)

        สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุและขอยกระดับสำนักงานสีเขียว) ในวันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ครบจำนวน 6 หมวด (1.7.1-5.1) และได้รายงานผลการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 เวลา 13.3. น. ในวาระที่ 5 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ (1.7.1-6.1)


(2565) 1.7.1-1.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายใน2565.pdf
(2565) 1.7.1-2.1 แผนปฏิบัติงานพัฒนาสำนักงานสีเขียว-2565.pdf
(2565) 1.7.1-3.1 กำหนดการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายใน2565.pdf
(2565) 1.7.1-4.1 กำหนดผู้ตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน2565.pdf
(2565) 1.7.1-5.1 การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในปี 2565.pdf
(2565) 1.7.1-6.1 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว2-2565.pdf
 1.8.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
         (1) มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม
         (2) มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการดาเนินงานในแต่ละหมวดเข้าร่วมประชุม
         (3) จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้องมากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ที่เป็นคณะกรรมการสานักงานสีเขียว พร้อมหลักฐานการลงนามเข้าร่วมประชุม
         (4) หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถเข้าร่วมได้ จะต้องมีวิธีการรายงานผลการประชุมให้รับทราบ พร้อมรับข้อเสนอแนะ

         สำนักวิทยบริการฯ มีการประชุมเพื่อทบทวนการบริหาร จัดการสำนักงานสีเขียว ในปี 2564 จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้

        1. ประชุมคณะทำงานพัฒนาสำนักงานสีเขียวครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันพุธที่ 12 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุมต้นจัน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีผู้เข้าร่วมประชุม 25 คน คิดเป็นร้อยละ 100 (1.8.1-1)

       2. ประชุมคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานสีเขียว ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงาน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีผู้เข้าร่วมประชุม 12 คน คิดเป็นร้อยละ 80 (1.8.1-2)

        โดยการประชุมในแแต่ละครั้งจะประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าสำนักงาน และคณะกรรมการดำเนินงาน หมวด 1-6 เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงาน และสำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำ QR CODE ในการการลงนามเข้าร่วมประชุมเพื่อเป็นการประหยัดกระดาษ (1.8.1-3)

        สำหรับบุคลากรที่ไม่ได้เข้าร่วมได้จัดส่งผลการรายงานและข้อเสนอแนะให้ทราบทาง ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (1.8.1-4)


(2565) 1.8.1-1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร 2565.pdf
(2565) 1.8.1-2 รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว2-2565.pdf
(2565) 1.8.1-3 การลงทะเบียนผู้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว2565.pdf
(2565) 1.8.1-4 การแจ้งรายงานผลการประชุมหากในระบบ Google Drive.pdf
1.8.2 มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารดังนี้
         (1) มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
         (2) วาระที่ 1 การติดตามผลการดาเนินงานปรับปรุงระบบฯที่ผ่านมา
         (3) วาระที่ 2 นโยบายสิ่งแวดล้อม
         (4) วาระที่ 3 ความมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอและความเหมาะสม)
         (5) วาระที่ 4 การติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การสื่อสารและข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา
         (6) วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
         (7) วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม และวิสัยทัศน์ แนวคิดของผู้บริหารของการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวอย่างต่อเนื่อง
         (8) จัดทำรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร และภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ามีการประชุมจริง

         สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดและประชุมทบทวนฝ่ายบริหารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (1.8.2-1) ซึ่งการประชุมเป็นไปตามวาระการประชุมที่เกณฑ์สำนักสีเขียวกำหนดและได้จัดทำรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร ดังนี้

        1. ประชุมคณะทำงานพัฒนาสำนักงานสีเขียวครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุมสำนักงาน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (1.8.2-2)

        2. ประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ครั้งที่ 2/2565 วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงาน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (1.8.2-3) และได้แสดงภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ามีการประชุมจริง ครั้งที่ 1/2565 (1.8.2-4) ครั้งที่ 2/2565 (1.8.2-5)


(2565) 1.8.2-1 แผนปฏิบัติงานพัฒนาสำนักงานสีเขียว-2565.pdf
(2565) 1.8.2-2 รายงานการประชุมคณะทำงานพัฒนาสำนักงานสีเขียว1-2565.pdf
(2565) 1.8.2-3 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสีเขียว2-2565.pdf
(2565) 1.8.2-4 ภาพการประชุมคณะทำงานพัฒนาสำนักงานสีเขียว1-2565.pdf
(2565) 1.8.2-5 ภาพการประชุมคณะทำงานพัฒนาสำนักงานสีเขียว2-2565.pdf
2.1 การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ
2.2 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่พนักงาน

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
2.1.1 กำหนดแผนการฝึกอบรม ดำเนินการอบรม การประเมินผล และบันทึกประวัติการฝึกอบรม
       (1) ระบุหลักสูตรและความถี่การอบรมลงในแผนการฝึกอบรม โดยหลักสูตรมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
            1. ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว
            2. การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
            3. การจัดการมลพิษและของเสีย
            4. การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
            5. ก๊าซเรือนกระจก
        (2) ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมในข้อ (1) โดยผู้รับการอบรมจะต้องมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละหลักสูตร
        (3) ประเมินผลการฝึกอบรม เช่น ข้อสอบ ประเมินขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น
        (4) จัดทำประวัติการอบรมของพนักงาน
        สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรของสำนักวิทยบริการฯ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ปี 2565 (2.1.1-1) โดยมีผู้รับผิดชอบคือนางสาวแขนภา ทองตัน ตามคำสั่งที่ 001/2565 ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ ในปี 2565 ได้ดำเนินการจัดอบรมทั้งหมด 5 หลักสูตร ดังนี้
        1. ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว
        2. การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
        3. การจัดการมลพิษและของเสีย
        4. การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
        5. ก๊าซเรือนกระจก
 
        บุคลากรสำนักวิทยบริการฯ จำนวน 24 คน  ได้รับการพัฒนาการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้ง 5 หลักสูตร และผ่านการอบรม จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีการทำแบบทดสอบก่อนการอบรม มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 54.92  และแบบทดสอบหลังการอบรม คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 97.24 (2.1.1-2) ซึ่งบุคลากรได้รับความรู้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังได้มีการจัดทำทะเบียนประวัติการพัฒนาตนเองด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย (2.1.1-3)
 

(2565) GO2.1.1-1 แผนการเพิ่มทักษะความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2565-New.pdf
(2565) GO2.1.1-2 สรุปผลการอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ปี 2565.pdf
(2565) GO2.1.1-3 ทะเบียนประวัติการอบรมของบุคลากร ปี 2565.pdf
2.1.2 กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการอบรมแต่ละหลักสูตรมีความเหมาะสม
         (1) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องเข้าใจเนื้อหาในการอบรม
         (2) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมีหลักฐานแสดงความสามารถ เช่น ใบรับรองจากหน่วยงานภายนอก ประวัติ ประสบการณ์
        สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการจัดทำเอกสารการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้บุคลากรได้เรียนรู้ด้วยตนเอง (2.1.2-1)

(2565) GO2.1.2-1 เอกสารการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2565.pdf
2.2.1 มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน
         (1) กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสารอย่างน้อย ดังนี้
             1. นโยบายสิ่งแวดล้อม
             2. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและการจัดการ
             3. การปฏิบัติตามกฎหมาย
             4. ความสะอาดและความเป็นระเบียบ (5ส.)
             5. เป้าหมายและมาตรการพลังงาน-ทรัพยากร (ได้แก่น้ำ ไฟฟ้า น้ามันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม กระดาษ และอื่นๆ)
             6. เป้าหมายและมาตรการจัดการของเสีย
             7. ผลการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย
             8. สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
             9. ก๊าซเรือนกระจก
         (2) กำหนดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร (ไม่จำกัดจำนวนช่องทาง)
         (3) กำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร (ผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน)
         (4) กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร

          สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2565 โดยมีผู้รับผิดชอบคือ นายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา จำนวน 9 หัวข้อ และได้กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสาร ดังนี้ (2.2.1-1)
             ๑. นโยบายสิ่งแวดล้อม
             ๒. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและการจัดการ
             ๓. การปฏิบัติตามกฎหมาย
             ๔. ความสะอาดและความเป็นระเบียบ (5ส.)
             ๕. เป้าหมายและมาตรการพลังงาน-ทรัพยากร (ได้แก่น้ำ ไฟฟ้า น้ามันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม กระดาษ และอื่นๆ)
             ๖. เป้าหมายและมาตรการจัดการของเสีย
             ๗. ผลการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย
             ๘. สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
             ๙. ก๊าซเรือนกระจก

           สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงานที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร ได้แก่ (2.2.1-1.2)

             1. ประชุมชี้แจง
             2. เว็บไซต์GreenOffice
             3. กลุ่มFacebook ARIT Staff
             4. messenger greenlib
             5. morningtalk
             6. จออิเล็กทรอนิกส์
             7. บอร์ดประชาสัมพันธ์ 
             8. Facebookสำนักฯ
             9. เว็บไซต์GreenOffice
             10. Line@ บุคลากรมหาวิทยาลัย

          สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน ให้เกิดกสรรับรู้และรับทราบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (2.2.1-1.3)

              1. กลุ่มเป้าหมาย ภายใน คือ ผู้บริหารและบุคลากรสำนักฯ

              2. กลุ่มเป้าหมาย ภายนอก คือ ผู้ใช้บริการห้องสมุด (นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร มรภ.พบ. ศิษย์เก่าและบุคคลภายนอก)

          สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร/รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม คือ นางสาวสิริรัตน์ เดชเพชร นักวิชาการศึกษา นายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา นางสาวแขนภา ทองตัน นักวิชาการคอมพิวเตอร์  ตามคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ ๐๐๕/๒๕๖๕ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ประจำปี ๒๕๖๕ (2.2.1-1.4)


(2565) 2.2.1 - 1.1 แผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2565.pdf
(2565) 2.2.1-1.2 ช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก 2565.pdf
(2565) 2.2.1-1.3 กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม 2565.pdf
(2565) 2.2.1-1.4 คำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร 2565.pdf
2.2.2 มีการรณรงค์และให้ความรู้ตามที่กำหนดในข้อ 2.2.1

       

สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำสื่อด้านสิ่งแวดล้อมและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน โดยมีผู้รับผิดชอบคือ นายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา เพื่อการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนธันวาคม 2565 จำนวน 35 ชิ้นงาน(2.2.2-1.1) แยกเป็นประเภทต่างๆดังนี้
          - ประเภทสื่อวีดีทัศน์สิ่งแวดล้อม 13 ชิ้นงาน (2.2.2-1.2)
          - ประเภทสื่อPoster/Infographic 22   ชิ้นงาน (2.2.2-1.3)
          

 

(2565) 2.2.2-1.1 สรุปการจัดป้ายการสื่อสารรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 2565.pdf
(2565) 2.2.2-1.2 ประเภทสื่อวีดีทัศน์ 2565.pdf
(2565) 2.2.2-1.3 ประเภทสื่อโปสเตอร์ อินโฟกราฟิก 2565..pdf
2.2.3 ร้อยละความเข้าใจนโยบายสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (สุ่มอย่างน้อย 4 คน) โดยจะต้องสอบถามพนักงานแต่ละคนอย่างน้อยตามข้อ 2.2.1(1)

         สำนักวิทยบริการฯ มีการสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของพนักงานในการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว โดยจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งหมด 5 กิจกรรม แบ่งเป็นการจัดกิจกรรมภายในสำนักวิทยบริการฯ จำนวน 2 กิจกรรม และกิจกรรมร่วมกับภายนอก จำนวน 3 กิจกรรม โดยมีหน่วยงานภายนอกที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 30 แห่งดังนี้
         1) การจัดกิจกรรม 5 ส.
         2) การจัดกิจกรรม Big cleaning day
         3) กิจกรรม Show & Share : Upcycling
         4) การแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสำนักงานสีเขียวกับสถาบันการศึกษาจำนวน 4 แห่ง
         5) จัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา จำนวน 28 แห่ง (อุดมศึกษา 2 แห่ง โรงเรียน 26 แห่ง)                  
         6) จัดกิจกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว: บทเรียนและความท้าทาย วันที่ 17 มกราคม 2565 ร่วมกับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ชมรมห้องสมุดสีเขียว และสำนักวิทยบริการฯ


(2565) 2.2.3 - 1 ภาพการดำเนินงานกิจกรรม-5ส.65.pdf
(2565) 2.2.3 - 3ภาพกิจกรรม Show & Share Upcycling.pdf
(2565) 2.2.3 - 6 กิจกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว.pdf
(2565) 2.2.3-2 ภาพการจัดกิจกรรม big Cleaning Day.pdf
(2565) 2.2.3-5 ภาพจัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา (อุมศึกษา 2 แห่ง โรงเรียน 26 แห่ง) 28 แห่ง.pdf
2.2.4 มีช่องทางรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม และนำมาปรับปรุงแก้ไข โดยต้องมีแนวทางดังนี้
        (1) มีช่องทางเพื่อรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ไลน์ QR Code การประชุม เว็บไซต์
        (2) มีผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น
        (3) มีการแสดงข้อเสนอแนะด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการ
        (4) มีการรายงานข้อเสนอแนะและการจัดการแก่ผู้บริหาร (บรรยายให้เหมาะสม)

         สำนักวิทยบริการฯ มีช่องทางการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อมจากผู้รับบริการ 3 ช่อทาง ในรูปแบบ ดังนี้
        1. ออนไลน์ ได้แก่ หน้าเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการฯ https://arit.pbru.ac.th/webarit/ และสายตรงผู้บริหาร
        2. ออนไซต์ ได้แก่ กล่องแสดงความคิดเห็น ติดตั้งอยู่ชั้น 1 และชั้น 2 
        3. Line official ของสำนักวิทยบริการฯ 

​​​​​​​        เพื่อรับฟังและนำข้อเสนอแนะมาหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ไม่พบข้อร้องเรียนหรือข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม


(2565) 2.3-1 ช่องทางการรับข้อเสนอแนะข้อคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์.pdf
(2565) 2.3-2 ช่องทางการรับข้อเสนอแนะข้อคิดเห็นในรูปแบบออนไซต์.pdf
(2565) 2.3-3 Line official ของสำนักวิทยบริการฯ.pdf
3.1 การใช้น้ำ
3.2 การใช้พลังงาน
3.3 การใช้ทรัพยากรอื่นๆ
3.4 การประชุมและการจัดนิทรรศการ
 

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
3.1.1 มาตรการหรือแนวทางใช้น้ำมีความเหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
         (1) การสร้างความตระหนักในการใช้น้ำ
         (2) การกำหนดเวลาการใช้น้ำ เช่น เวลารดน้ำต้นไม้ เป็นต้น
         (3) การกำหนดรูปแบบการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่
         (4) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดน้ำ
 
          สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการกำหนดมาตรการการใช้น้้ำ (3.1.1)ให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ หมั่นบำรุงรักษาตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ นำน้ำที่เหลือจากการอุปโภคบริโภคกลับมาใช้ใหม่ ดังนี้
          1.รณรงค์ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ สร้างจิตสำนึก เรื่องการใช้น้ำอย่างประหยัด (3.1.1-1)
          2.ปิดวาล์วน้ำหรืออุปกรณ์การใช้น้ำประปาทุกชนิดให้สนิทหลังการใช้ทุกครั้ง แจ้งให้บุคลากรภายในและ ภายนอกหน่วยงานทราบและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ โดยกำหนดผู้รับผิดอบตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ (3.1.1-1.2)
          3.การใช้ชักโครก ได้ใช้วิธีนำน้ำบรรจุในขวดพลาสติก แล้วนำไปหย่อนลงในแทงก์เก็บน้ำหลังโถชักโครกเพื่อแทนที่น้ำ เป็นการลดปริมาณน้ำในการชะล้างแต่ละครั้ง(3.1.1-1.3)
         4.ไม่ทิ้งเศษอาหาร กระดาษ สารเคมีทุกชนิดลงในชักโครก เพราะจะสูญเสียน้ำปริมาณมากจากการชักโครก เพื่อไล่สิ่งของดังกล่าวลงท่อ(3.1.1-1.4)
         5. กดน้ำครั้งเดียวหลังเสร็จธุระส่วนตัว(3.1.1-1.5)
         6. การนำน้ำที่เหลือจากการอุปโภคบริโภคกลับมาใช้ใหม่ อาทิ การนำน้ำที่เหลือจากการดื่มไปรดต้นไม้(3.1.1-1.6)
         7. การรดน้ำต้นไม้ให้ใช้สปริงเกิลหรือฝักบัว กำหนดให้รดน้ำต้นไม้ เวลา 06.00-08.00 น. ทั้งนี้ให้ดูความ เหมาะสมว่าควรรดน้ำหรือไม่ ยกเว้นฤดูฝนหรือวันที่มีฝนตก(3.1.1-1.7)
        8. ตรวจสอบอุปกรณ์และใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ หากพบเห็นอุปกรณ์ ระบบประปาชำรุดให้แจ้งหน่วยงาน อาคารสถานที่เพื่อซ่อมบำรุงทันที(3.1.1-1.8)

        สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดผู้รับผิดชอบคือนายมนตรี ภูอิน และมีการตรวจสอบอุปกรณ์น้ำทุกเดือน


(2565) 3.1.1 ผลการดำเนินงาน.pdf
(2565) 3.1.1 มาตรการประหยัดพลังงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ปี 2564.pdf
(2565) 3.1.1-1 การสร้างความตระหนักในการใช้น้ำ.pdf
(2565) 3.1.1-1.2 ปิดวาล์วน้ำหรืออุปกรณ์การใช้น้ำประปาทุกชนิดให้สนิทหลังการใช้ทุกครั้ง.pdf
(2565) 3.1.1-1.3 การใช้ชักโครก ได้ใช้วิธีนำน้ำบรรจุในขวดพลาสติก.pdf
(2565) 3.1.1-1.4 ไม่ทิ้งเศษอาหาร กระดาษ สารเคมีทุกชนิดลงในชักโครก.pdf
(2565) 3.1.1-1.5 กดน้ำครั้งเดียวหลังเสร็จธุระส่วนตัว.pdf
(2565) 3.1.1-1.6 การนำน้ำที่เหลือจากการอุปโภคบริโภคกลับมาใช้ใหม่.pdf
(2565) 3.1.1-1.7 การรดน้ำต้นไม้ให้ใช้สปริงเกอร์หรือฝักบัว.pdf
(2565) 3.1.1-1.8 การตรวจสอบอุปกรณ์และใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ.pdf
(2565) 3.1.1-2 การกำหนดเวลาการใช้น้ำ เช่น เวลารดน้ำต้นไม้.pdf
(2565) 3.1.1-3 การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่.pdf
(2565) 3.1.1-4 การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดน้ำ.pdf
3.1.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วย
         (3) บรรลุเป้าหมาย
         (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วย
         (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น
          สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดกิจกรรมการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียว ตั้งแต่การกำหนดมาตรการการใช้ทรัพยากรน้ำ  การเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ทรัพยากรน้ำ การตรวจสอบอุปกรณ์น้ำ การรายงานผลการใช้ทรัพยากรน้ำ รวมถึงการประกาศเป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร (3.1.2) ในแผนปฏิบัติการสำนักงานสีเขียว ปี พ.ศ. 2565 มีผลการใช้น้ำในปี พ.ศ. 2561-2565  (3.1.2-1) รวมถึงมีการเก็บข้อมูลการใช้น้ำต่อหน่วย(3.1.2-2) ปี 2561-2565 ดังนี้
          ปี พ.ศ. 2561 มีปริมาณการใช้น้ำ 3,116 ลบ.ม. (ใช้เป็นปีฐาน)
          ปี พ.ศ. 2562 มีปริมาณการใช้น้ำ 2,238 ลบ.ม. ลดลงจากปี พ.ศ. 2561 จำนวน 878 ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 28.18 บรรลุค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 5 
          ปี พ.ศ. 2563 มีปริมาณการใช้น้ำ 2,225 ลบ.ม. ลดลงจากปี พ.ศ. 2562 จำนวน 13 ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 0.58 ไม่บรรลุค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 5
          ปี พ.ศ. 2564 มีปริมาณการใช้น้ำ 1,774 ลบ.ม. ลดลงจากปี พ.ศ. 2563 จำนวน 451 ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 20.27 บรรลุค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 5
          ปี พ.ศ. 2565 มีปริมาณการใช้น้ำ 3,905 ลบ.ม. เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2564 จำนวน 1,988 ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 220.12 ไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 5 เนื่องจากมีการใช้บริการห้องประชุมเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือน มกราคม-พฤศจิกายน 2565 จำนวน 5,735 คน ซึ่งมีการใช้น้ำในห้องน้ำเพิ่มขึ้น โดยทางสำนักวิทยบริการฯได้มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไขเพื่อเป็นแนวทางในการบรรลุเป้าหมายในปีถัดๆไป (3.1.2-3)
 

(2565) 3.1.2 ประกาศ-เป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร.pdf
(2565) 3.1.2-1-การจัดทำข้อมูลการใช้น้ำ ปี 61-65.pdf
(2565) 3.1.2-2-การจัดทำข้อมูลการใช้น้ำต่อหน่วย ปี 61-65.pdf
(2565) 3.1.2-3 มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข.pdf
3.1.3 ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการประหยัดน้ำในพื้นที่ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)
ประเมินจากการสังเกตุพฤติกรรมของุคลากร

(2565) 3.1.3 ผลการดำเนินงาน.pdf
3.2.1 มาตรการหรือแนวทางใช้ไฟฟ้าเหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
        (1) การสร้างความตระหนักในการใช้ไฟฟ้า
        (2) การกาหนดเวลาการใช้ไฟฟ้า เช่น เวลาการเปิด-ปิด เป็นต้น
        (3) การใช้พลังงานทดแทน
        (4) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า
         สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีนโยบาย การพัฒนา สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ให้เป็น Green University ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมุ่งเน้นการจัดการสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องการประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และการสร้างความตระหนักรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานให้เกิดกับบุคลากรในทุกฝ่าย/งาน ตลอดจนถึง ผู้ใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ สำนักวิทยบริการฯ จึงจัดทำประกาศลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 (3.2.1)ที่ลงนามโดยผู้อำนวยการ
         ทั้งนี้ได้ประกาศนโยบายและมาตรการ สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ตามช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์สำนักฯ บอร์ดประชาสัมพันธ์ ภายในลิฟท์โดยสาร จุดบริการต่างๆ มีการกำหนดเวลาการใช้ไฟฟ้า เช่น 1.การปิดไฟและปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ในเวลาพักเที่ยงหรือเมื่อเลิกใช้งาน(3.2.1-1.1) 2.การรณรงค์การใช้บันไดและการใช้ลิฟต์กรณีขึ้นลงชั้นเดียว(3.2.1-1.2)  เป็นต้น 3.การเลือกใช้อุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ประหยัดไฟที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(3.2.1-1.3) เพื่อช่วยในการประหยัดไฟฟ้า 4. การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า(3.2.1-4)  ทั้งนี้สำนักวิทยบริการฯยังตะหนักถึงการประหยัดพลังงานดดยการใช้พลังงานทดแทนโดย ได้มีกำรติดตั้งไฟส่องสว่ำงที่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์บริเวณภายนอกของอาคารและจะทำงานในเวลากลางคืน (3.2.1-3)
 

(2565) 3.2.1 ผลการดำเนินงาน.pdf
(2565) 3.2.1 มาตรการประหยัดพลังงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ปี 2564.pdf
(2565) 3.2.1-1 การสร้างความตระหนักในการใช้ไฟฟ้า.pdf
(2565) 3.2.1-1.1 การปิดไฟและปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ในเวลาพักเที่ยงหรือเมื่อเลิกใช้งาน.pdf
(2565) 3.2.1-1.2 การรณรงค์การใช้บันไดและการใช้ลิฟต์กรณีขึ้นลงชั้นเดียว.pdf
(2565) 3.2.1-1.3 การเลือกใช้อุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ประหยัดไฟที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 3.2.1-2 การกำหนดเวลาการใช้ไฟฟ้า เช่น เวลาการเปิด-ปิด.pdf
(2565) 3.2.1-3 การใช้พลังงานทดแทน.pdf
(2565) 3.2.1-4 การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า.pdf
3.2.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย
         (3) บรรลุเป้าหมาย
         (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย
         (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจานวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น
         สำนักวิทยบริการฯ มีการใช้พลังงานหลายชนิด ทั้งในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้าและการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในสำนักงาน แต่จะมีปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าวมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายปัจจัยรวมถึงลักษณะของกิจกรรมต่างๆ ดังนั้น สำนักวิทยบริการฯ จึงต้องกำหนดมาตรการในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า การกำหนดเวลาเปิด-ปิด การติดป้ายรณรงค์และให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานแก่บุคลากรและผู้ใช้บริการ รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
        ในการนี้สำนักวิทยบริการฯ จึงต้องเก็บข้อมูลการใช้พลังงานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิจารณาปริมาณการใช้พลังงานดังกล่าว และจะต้องควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรการของสำนักวิทยบริการฯ ด้วย พร้อมทั้งมีการมอบหมายให้บุคลากร นายทวี นวมนิ่ม บรรณารักษ์ปฏิบัติการจดบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน(3.2.2-1)และรวบรวมจัดทำเป็นสถิติแต่ละปี เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์และปริมาณการใช้ไฟฟ้าของสำนักวิทยบริการฯ ตลอดจนใช้กำหนดค่าเป้าหมายในการลดการใช้พลังงานต่อไป
         ซึ่งจาการเทียบของปี 2561 และ ปี 2562 มีการกำหนค่าเป้าหมายไว้ร้อยละ 5(3.2.2-3.1) ผลปรากฎว่ามีค่าลดลง ร้อยละ 8.63 และปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อบุคลากร เท่ากับ 78.96 ส่วนเมื่อเทียบปริมาณการใช้ไฟฟ้าของปี 2562 และ ปี 2563 มีการกำหนค่าเป้าหมายไว้ร้อยละ 5 ผลปรากฎว่ามีค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 209.52 และปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อบุคลากร เท่ากับ 1119.01 ดังนั้น การตั้งเป้าหมายในปี 2563 ลดการใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 5 จึงไม่บรรลุเป้าหมาย และจากการเทียบของปี 2563 และปี 2564 ผลปรากกฎว่ามีค่าลดลง ร้อยละ 44.36 และปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อบุคลากร เท่ากับ 713.00 ดังนั้นการตั้งเป้าหมายในปี 2564 ลดไฟฟ้า ร้อยละ 5 จึงบรรลุเป้าหมาย และจากการเปรียบเทียบในปี 2564 และปี 2565 มีการกำหนค่าเป้าหมายไว้ร้อยละ 5 ผลปรากฎว่ามีค่าลดลง ร้อยละ 25.10 และปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อบุคลากร เท่ากับ 8.04 ดังนั้นการตั้งเป้าหมายในปี 2565 ลดไฟฟ้า ร้อยละ 5 จึงบรรลุเป้าหมาย (3.2.2-3)
 

(2565) 3.2.2 ผลการดำเนินงาน.pdf
(2565) 3.2.2-1 มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน.pdf
(2565) 3.2.2-2มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย.pdf
(2565) 3.2.2-3 การบรรลุเป้าหมาย.pdf
(2565) 3.2.2-3.1 ประกาศเป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร.pdf
(2565) 3.2.2-4 สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุง.pdf
3.2.3 ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการประหยัดไฟฟ้าในพื้นที่ทำงาน
ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่

(2565) 3.2.3 ผลการดำเนินงาน.pdf
3.2.4 มาตรการหรือแนวทางการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางที่เหมาะสมกับสำนักงาน ดำเนินการดังนี้
         (1) การสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
         (2) การวางแผนการเดินทาง
         (3) การซ่อมบำรุงดูแลยานพาหนะ
         (4) การใช้จักรยานหรือขนส่งสาธารณะมาทำงาน

         สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดมาตรการการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้ 
         1.ให้ความรู้เรื่องการประหยัดเชื้อเพลิง รวมทั้งสร้างจิตสำนึกในการประหยัดเชื้อเพลิงและรณรงค์ ประชาสัมพันธ์
         2.ลดการใช้พาหนะส่วนตัว หากไปในทางเดียวกันหรือเลาใกล้เคียงกันควรใช้พาหนะร่วมกัน โดยกำหนดเส้นทางและวางแผนการเดินทางก่อนทุกครั้ง
        3.การติดต่อประสานงานภายในมหาวิทยาลัย ให้ใช้รถไฟฟ้าในการเดินทางหรือเดินในกรณีที่ระยะทางไม่ไกล มากนัก
        4. การเดินทางไปราชการคนเดียว ให้เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง
        5. การเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ให้ใช้รถราชการ
        6. ขับรถไม่เกินความเร็วสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ เส้นทางธรรมดา 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางด่วน 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางมอเตอร์เวย์ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
        7. จัดทำทะเบียนคุมการใช้รถยนต์และทำสถิติการใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ทุกเดือน

         โดยมีการประกาศมาตรการดังกล่าวผ่านช่องทางการสื่อสารผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์ เว็บไซด์ของสำนักวิทยบริการฯ การจัดทำป้ายความรู้เกี่ยวกับการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงการวางแผนเดินทาง โดยการเดินทางไปด้วยกันหรือการเดินทางโดยใช้พาหนะขนส่งแบบประหยัดพลังงาน (รถไฟฟ้า) ของมหาวิทยาลัย(3.2.4-1)(3.2.4-1.1)

           สำนักวิทยบริการฯ ได้ปฏิบัติตามมาตรการหรือแนวทางการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางที่เหมาะสมกับสำนักงาน โดยการเดินทางไปราชการคนเดียว ให้เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางการหรือเดินทางไปราชการเป็นหมู่คณะ ให้ใช้รถราชการและทางเดียวกันไปด้วยกัน (3.2.4-2)

          สำนักวิทยบริการฯ ไม่มียานพาหนะเป็นของหน่วยงาน จึงไม่ได้ดำเนินการในมาตรการซ่อมบำรุงดูแลยานพาหนะ
        สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินมาตการหรือแนวทางการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางที่เหมาะสมกับสำนักงาน โดยการใช้จักรยานในการเดินทาง รับส่งเอกสารภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี การใช้รถยนต์ไฟฟ้าในการเดินทางรับส่งเอกสารและติดต่อหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (3.2.4-4)


(2565) 3.2.4-1 การสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์.pdf
(2565) 3.2.4-1.1 มาตรการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง (ข้อ 9 มาตรการลดการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง).pdf
(2565) 3.2.4-2 การวางแผนการเดินทาง 2565.pdf
(2565) 3.2.4-4 ภาพการโดยสารยานพาหนะในการเดินทางภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ จักรยานและรถไฟฟ้า.pdf
3.2.5 มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วย
        (3) บรรลุเป้าหมาย
        (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย เปรียบเทียบต่อพื้นที่ หรือเปรียบเทียบต่อระยะทาง เป็นต้น
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ามันเชื้อเพลิงต่อหน่วย
        (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม

         สำนักวิทยบริการฯ มีการเก็บข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทุกเดือน ในปี พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนธันวาคม 2566 โดยมีการมอบหมายให้นายนายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ ตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษา เป็นผู้บันทึกข้อมูล มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางไปราชการดังเอกสารแนบนี้ (3.2.5-1.1)
            สำนักฯ มีการบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงย้อนหลังตั้งแต่ปี 2561 ถึง ปี 2565 ประจำทุกเดือน โดยมีการมอบหมายให้นายนายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ ตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษา เป็นผู้บันทึกข้อมูล และรวบรวมจัดท้าเป็นสถิติแต่ละปีเพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์และปริมาณการน้ำมันเชื้เพลิงของสำนักฯ  ตลอดจนใช้ในการกำหนดค่าเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของส้านักฯ ต่อไป  (3.2.5-2.1)
          ปี 2565 สำนักฯ ได้ก้าหนดเป้าหมาย ร้อยละของการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลดลง (เทียบกับปีที่ผ่านมา) ร้อยละ 5 ดังนั้น ผลการดำเนินงานจึง"บรรลุเป้าหมาย" (3.2.5-3.1)


(2565) 3.2.5 ผลการดำเนินงาน.pdf
(2565) 3.2.5-1 ข้อมูลการใช้น้ำมัน.xlsx - ข้อมูลการใช้รถ 2565.pdf
(2565) 3.2.5-2 ข้อมูลการใช้น้ำมัน.xlsx - เปรียบเทียบการใช้ 61-65.pdf
(2565) 3.2.5-3.1 ข้อมูลกำหนดค่าเป้าหมายลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปี 2565.pdf
3.3.1 มาตรการหรือแนวทางการใช้กระดาษที่เหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
        (1) การสร้างความตระหนักในการใช้กระดาษ
        (2) การกำหนดรูปแบบการใช้กระดาษ
        (3) การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
        (4) การนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่
        สำนักวิทยบริการฯ ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์พลังงานและใส่ใจในการรักษาสิ่งแวดล้อมจึงกำหนดมาตรการการใช้กระดาษเพื่อเน้นการเป็นสำนักงานสีเขียวและเป็นองค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการประกาศมาตรการประหยัดพลังงานสำนักงานสีเขียว  เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 ลงนามโดยผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ (3.3.1-1.1 มาตรการลดปริมาณการใช้กระดาษ ข้อ 10) ที่ระบุถึงมาตรการลดปริมาณการใช้กระดาษอย่างชัดเจน (ข้อ 10) โดยกำหนดค่าเป้าหมายการลดการใช้กระดาษร้อยละ 30 (3.3.1-1.2 เป้าหมายการลดการใช้กระดาษ)  ทั้งนี้ ได้มีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์สื่อสารตามช่องทางต่างๆ ของสำนักวิทยบริการฯ เช่น เว็บไซต์สำนักวิทยบริการฯ บอร์ดประชาสัมพันธ์ จุดบริการต่างๆ  และได้มีการสร้างความตระหนักการใช้กระดาษโดยการรณรงค์การใช้กระดาษให้อย่างคุ้มค่าที่สอดคล้องกับมาตรการที่กำหนดขึ้น (3.3.1-1.3)
               รูปแบบการใช้กระดาษของสำนักวิทยบริการฯ มีหลายรูปแบบ ได้แก่ การใช้กระดาษสองหน้า  การนำกระดาษที่ใช้แล้วเข้าสู่กระบวนการ Recycle และการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทดแทนการใช้กระดาษ (3.3.1-2.1 รูปแบบการใช้กระดาษ) 
            แนวทางการลดการใช้กระดาษของสำนักวิทยบริการฯ คือ การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดย มีการใช้การสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดการใช้กระดาษน้อยที่สุด โดยทำงานผ่านทางสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น การสื่อสารผ่านเว็บไซต์ของสำนักฯ e-mail, Facebook, E-Document, การทำงานร่วมกันผ่าน Google ไดรฟ์ เป็นต้น (3.3.1-3.1 การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์)
         การนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ การนำกระดาษมาใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า การใช้กระดาษทำดอกไม้จัดซุ้มรับปริญญา กระดาษที่ใช้สองหน้าส่งต่อไปยังคณะเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อสำหรับรองไข่ การนำซองกระดาษ ถุงกระดาษ ลังกระดาษมาใช้ซ้ำ หรือขายให้กับหน่วยงานที่รับซื้อเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการ Recycle ต่อไป (3.3.1-4.1 การนำกระดาษมาใช้ใหม่)

(2565) 3.3.1-1.1-ประกาศมาตรการประหยัดพลังงาน-กระดาษ-ข้อ-10.pdf
(2565) 3.3.1-1.2-ประกาศเป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร-ปี-พ.ศ.-2565.pdf
(2565) 3.3.1-1.3-การสร้างความตระหนักการใช้กระดาษ.docx.pdf
(2565) 3.3.1-2.1-รูปแบบการใช้กระดาษ.pdf
(2565) 3.3.1-3.1-การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์.pdf
(2565) 3.3.1-4.1-การนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่.docx.pdf
3.3.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้กระดาษต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษต่อหน่วย
        (3) บรรลุเป้าหมาย
        (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษต่อหน่วย
        (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจานวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรม หรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น
           สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดเก็บข้อมูลการใช้ทรัพยากรกระดาษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2565 อย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้นางสาวดาวเรือง ขมแก้ว เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บ รวบรวมและรายงานผลข้อมูลการใช้กระดาษตามคำสั่งที่ 001/2565 ลงวันที่ 26 มกราคม 2565 (3.3.2-1.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ) โดยทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือนและรายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2565 ผลการเก็บรวบรวมในปี พ.ศ. 2565 ไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้คือ ปริมาณการใช้กระดาษลดลงร้อยละ 30 (3.3.2-1.2 ประกาศเป้าหมายการใช้กระดาษลดลง)
          จากการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษในแต่ละเดือนของปี พ.ศ. 2565  โดยกำหนดให้มีระยะเวลาของการรวบรวมและสรุปข้อมูลในสัปดาห์ที่ 4 หรือ ช่วงสิ้นเดือนของทุกเดือน พบว่า มีจำนวนการใช้กระดาษรวม 191.73 กิโลกรัม (3.3.2-1.3 รายงานการใช้กระดาษปี พ.ศ. 2561-2565)  โดยการใช้ในเดือนที่สูงที่สุดคือเดือนตุลาคม (49.80 กิโลกรัม) รองลงมาคือเดือนกรกฎาคม (29.88 กิโลกรัม) เดือนกุมภาพันธ์ (24.90 กิโลกรัม) และเดือนพฤษภาคม มิถุนายน สิงหาคม กันยายน และเดือนธันวาคม (12.45 กิโลกรัม) จากข้อมูลดังกล่าวสามารถแสดงให้เห็นถึงการใช้กระดาษเฉลี่ยการใช้ต่อหน่วยและต่อคนคือ 7.67 กิโลกรัม (3.3.2-2.1 รายงานการใช้กระดาษเฉลี่ยต่อหน่วย/คน/เดือน พ.ศ. 2565)
         จากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้สำนักวิทยบริการฯ ไม่สามารถดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดได้ คือ มีการใช้กระดาษเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2564 คิดเป็นร้อยละ 1800 เนื่องจาก
        1. การคำนวณปริมาณการใช้กระดาษใช้ปี พ.ศ. 2564 เป็นฐานในการคำนวณ ซึ่งอยู่ในช่วงของการแพร่ระบาดโรคไวรัสโควิด-19 โดยในปีดังกล่าวมีการใช้กระดาษเพียง 57.27 กิโลกรัม หรือ 2.39 กิโลกรัมต่อคน สามารถลดการใช้กระดาษหรือสามารถดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมาย แต่ในปี พ.ศ. 2565 เป็นปีที่เริ่มมีการเปิดภาคเรียนและมีการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริด รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในสำนักวิทยบริการฯ ที่ต้องจัดทำโครงการและการเบิกจ่ายงบประมาณที่ต้องใช้กระดาษในการส่งเป็นหลักฐาน 
         2. การใช้กระดาษเพื่อจัดทำในงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ หนังสือซึ่งทำให้ต้องใช้กระดาษในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว เช่น พิมพ์สันหนังสือและใบกำหนดส่ง เป็นต้น
        3. งานสารบรรณและงานประชาสัมพันธ์ที่ต้องใช้กระดาษในการดำเนินงาน เช่น การแจ้งผู้รับบริการเกี่ยวกับการเปิด-ปิดห้องสมุด โดยติดป้ายด้านหน้าห้องสมุด หรือการจัดทำเอกสารส่งไปยังหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องใช้กระดาษ
       4. หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเข้ามาใช้บริการห้องประชุมเป็นจำนวนมากและเข้ามาขอใช้บริการเครื่องถ่ายเอกสารสำหรับจัดพิมพ์เอกสารการประชุมทำให้มีการใช้กระดาษที่เพิ่มขึ้น
       5. การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยต้องจัดทำเป็นเอกสารส่งไปยังสำนักงานอธิการบดีเพื่อการพิจารณาคู่มือแต่ละเล่มที่จัดทำขึ้น
          ปัจจัยที่สำนักวิทยบริการฯ ไม่สามารถควบคุมได้ คือ
        1. การจัดทำเอกสารโครงการหรือการเบิกจ่ายงบประมาณในการดำเนินงาน ซึ่งในแต่ละปี สำนักวิทยบริการฯ ได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมบริการวิชาการเพิ่มมากขึ้น
        2. ในการจัดกิจกรรมนอกสถานที่ไม่สามารถใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกแห่ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ห่างไกลและอุปกรณ์ไม่รองรับหรือสามารถใช้ได้ เช่น กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การจัดห้องสมุด เป็นต้น
        แนวทางในการแก้ไข คือ
        1. การดำเนินงานภายในหน่วยงานให้ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนการจัดทำเป็นรูปแบบกระดาษเพิ่มมากขึ้น
        2. การรณรงค์และสร้างความรู้ ความเข้าใจ หรือแจ้งมาตรการการใช้ห้องประชุมให้กับผู้ใช้บริการในการช่วยกันลดการใช้กระดาษหรือการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนการพิมพ์เอกสาร
       3. การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานในแต่ละรอบปีให้พิจารณาหรือตรวจสอบเอกสารให้พร้อมก่อนการสั่งพิมพ์เพื่อลดการใช้กระดาษ

(2565) 3.3.2 ผลการดำเนินงาน.pdf
(2565) 3.3.2-1.1 คำสั่งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวปี พ.ศ.2565.pdf
(2565) 3.3.2-1.2-ประกาศเป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร-ปี-พ.ศ.-2565.pdf
(2565) 3.3.2-1.3-รายงานผลการใช้กระดาษ-ปี-พ.ศ.-2561-2565.pdf
(2565) 3.3.2-2.1-การใช้กระดาษต่อหน่วยต่อคน-ปี-พ.ศ.-2565.pdf
3.3.3 ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการ ประหยัดกระดาษในพื้นที่ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)

       


3.3.4 มาตรการหรือแนวทางการใช้หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์เหมาะสมกับ สำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
       (1) การสร้างความตระหนักในการใช้
       (2) การกำหนดรูปแบบการใช้
       (3) การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

         สำนักวิทยบริการฯ มีการประกาศมาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวกับมาตรการการสื่อสารและลดการใช้ทรัพยากร (ข้อ 14)  เพื่อเป็นการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ การแบ่งปันการใช้ทรัพยากรและเป็นแนวทางการใช้หมึกพิมพ์ สร้างความตระหนักรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานให้เกิดกับบุคลากรในทุกฝ่าย/งาน ตลอดจนถึง ผู้รับบริการของสำนักวิทยบริการฯ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ  มีประสิทธิภาพ และได้มีการสร้างความตระหนักการใช้กระดาษโดยการรณรงค์การใช้กระดาษให้อย่างคุ้มค่าที่สอดคล้องกับมาตรการที่กำหนดขึ้น (3.3.4-1.1) สำนักวิทยบริการฯสี้างความตะหนักในการใช้หมึก โดยมีมาตรการที่กำกับการลดการใช้กระดาษ หรือก่่อนการพิมพ์(3.3.4-1.2)

         สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการกำหนดรูปแบบการใช้งานหมึกพิมพ์ เพื่อลดการสิ้นเปลือง ดังนี้ 
           - ตรวจทานงานก่อนพิมพ์ทุกครั้ง 
           - ไม่ควรสํารองหมึกพิมพ์ไว้มากๆ 
           - ก่อนพิมพ์งาน POWER POINT ควรเอาภาพพื้นหลังออกก่อน          
           - งานออกแบบ ไม่ควรเน้นสีสันและรูปภาพมากเกินไป 
           - การพิมพ์ออกมาเพื่อตรวจทานควรใช้โหมดประหยัดหมึกพิมพ์ (3.3.4-2.1)
           สำนักวิทยบริการฯ มีมาตรการในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทดแทนการใช้กระดาษและหมึกพิมพ์ด้วยการใช้ระบบสารบรรณและจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัย (ระบบ PBRU E-doc) เพื่อการสื่อสารกับมหาวิทยาลัยและระหว่างหน่วยงานภายนอก รวมถึงการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรด้วย  การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการประชุม การจัดเก็บข้อมูล และการติดต่อประสานงานเพื่อทดแทนการใช้กระดาษ เช่น การใช้ messenger, Line, E-mail, Google drive, Google doc, Google sheet,
 https://arit.pbru.ac.th, Digital signage เป็นต้น (3.3.4-3.1)


(2565) 3.3.4-1.1 มาตรการห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว-2565.pdf
(2565) 3.3.4-1.2 ความตระหนักในการใช้หมึกพิมพ์65.pdf
(2565) 3.3.4-2.1 การกำหนดรูปแบบการใช้หมึกพิมพ์และวัสดุสำนักงาน 65.pdf
(2565) 3.3.4-3.1 การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 2565.pdf
3.3.5 ร้อยละของการดำเนินตามมาตรการประหยัด การใช้หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)
การประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่

(2565) 3.3.5 ผลการดำเนินงาน.pdf
3.4.1 ร้อยละของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการส่งข้อมูลเพื่อเตรียมการประชุม ได้แก่ QR code, Email, Social Network, Intranet เป็นต้น

         สำนักวิทยบริการฯ มีการประกาศ มาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว (ข้อ 13 มาตราการการจัดประชุมและจัดนิทรรศการ) เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 และกำหนดผู้รับผิดชอบเก็บข้อมูลการใช้ห้องประชุม ห้องอบรมและห้องสัมมนาต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน  พร้อมทั้งให้มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการส่งข้อมูลเพื่อเตรียมการประชุม อาทิ QR code, Email, Social Network, Intranet เป็นต้น


(2565) 3.4.1 ผลการดำเนินงาน.pdf
(2565) GO3.4-1ประกาศมาตรการจัดประชุมและจัดนิทรรศการ (1).pdf
3.4.2 การจัดการประชุมและนิทรรศการที่มีการใช้ วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรพลังงาน และลดของเสียที่เกิดขึ้น จะต้องดำเนินการ ดังนี้
         (1) การจัดเตรียมขนาดห้องประชุม เหมาะสมกับ จำนวนผู้เข้าประชุม หรือจัดนิทรรศการ
         (2) ห้องประชุมหรือพื้นที่จัดนิทรรศการไม่มีการ ตกแต่งด้วยวัสดุที่ย่อยสลายยาก หรือวัสดุที่ใช้ ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
         (3) การกำหนดแนวทางเลือกสถานที่ภายนอกสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
         (4) การจัดเตรียมสื่อที่ใช้ในการประชุม โดยจะต้อง ลดการใช้กระดาษ หมึกพิมพ์
         (5) การจัดเตรียมอาหาร และเครื่องดื่มเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

          สำนักวิทยบริการฯ มีบริการห้องประชุมและห้องนิทรรศการ จำนวน 12 ห้อง และมีระบบการจองห้องประชุมออนไลน์  https://arit.pbru.ac.th/book-room

          รวมทั้งมีมาตรการการจัดประชุมและนิทรรศการ และกำหนดผู้รับผิดชอบคือนายณฐกฤตย์ นวมงาม เพื่อการบริการและจัดเก็บข้อมูลการใช้ห้องประชุม ห้องอบรมและห้องสัมมนาต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน  พร้อมทั้งให้มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการส่งข้อมูลเพื่อเตรียมการประชุม อาทิ QR code, Email, Social Network, Intranet เป็นต้น ในปี 2565 มีผู้ใช้บริการ จำนวน 480 ครั้ง

          สำนักวิทยบริการฯ มีการประกาศ มาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว (ข้อ 13 มาตราการการจัดประชุมและจัดนิทรรศการ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 และกำหนดผู้รับผิดชอบเก็บข้อมูลการใช้ห้องประชุม ห้องอบรมและห้องสัมมนาต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน  พร้อมทั้งให้มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการส่งข้อมูลเพื่อเตรียมการประชุม อาทิ QR code, Email, Social Network, Intranet เป็นต้น 

         หากมีการจัดเตรียมอาหาร เครื่องดื่มหรืออาหารว่างให้เลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ซ้ำได้ หรือจากวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้


(2565) 3.4.2 ผลการดำเนินงาน.pdf
(2565) 3.4.2-2 มาตรการประหยัดพลังงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ปี 2564.pdf
(2565) 3.4.2-8 ข้อมูลการใช้ห้องประชุมรายเดือน ปี 2565.pdf
4.1 การจัดการของเสีย
4.2 การจัดการน้ำเสีย

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
4.1.1 มีการดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และการจัดการขยะอย่างเหมาะสม มีแนวทาง การดำเนินงาน ดังนี้
        (1) มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจาก กิจกรรมภายในสำนักงาน และจัดวางถังขยะ ตามพื้นที่ทำงานต่างๆอย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่ม ตรวจสอบ
        (2) มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและ ชัดเจนทุกถังที่สุ่มตรวจสอบ
        (3) มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดย จะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละเภทจากข้อ (1) อย่างเพียงพอ
        (4) มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
        (5) มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับ อนุญาตตามกฎหมาย
        (6) มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสม)
        (7) ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง)
      
         

สำนักวิทยบริการฯ มีการดำเนินงาน ตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่าง เหมาะสม โดยการแบ่งประเภทของขยะออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.ขยะทั่วไป 2. ขยะรีไซเคิล 3. ขยะอ้นตราย 4. ขยะอินทรีย์/ ย่อยสลายได้/เปียก พร้อมทั้งมีการแสดงชัดเจนในการแบ่งตาม สัญลักษณ์ สีของถังขยะ และป้ายแสดงให้เห็น ตัวอย่างของขยะแต่ละประเภท (4.1.1-1.1) และได้จัดทำป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถัง เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บ และนำไปจัดการอย่างเหมาะสม (4.1.1-2.1) 

        สำนักวิทยบริการฯ มีพื้นที่พักขยะทั่วไป อยู่บริเวณด้านข้างของ อาคารสำนักวิทยบริการฯ มีการรองรับเพื่อ ป้องกันน้ำขยะรั่วไหลหรือขยะปลิวออกสู่ภายนอก (4.1.1-3.1) ส่วนขยะอินทรีย์จะถูกไปเทที่จุดถังขยะรักษ์โลก และนำไปเป็นอาหารให้กับสัตว์ (4.1.1-3.2) ขยะรีไซเคิลแยกออกมารวบรวมเพื่อรอการจำหน่าย ให้กับร้านรับซื้อของเก่า ขยะอันตรายจัดเก็บรวบรวมให้ปริมาณเยอะ ๆ เพื่อส่งไปกำจัดอย่างเหมาะสมต่อไป

        สำนักวิทยบริการฯ มีการสุ่มตรวจสอบการทิ้งขยะ โดยหัวหน้าสำนักงานและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในหมวดที่ 4 ทั้งนี้ได้ดำเนินการตรวจสอบการทิ้งขยะ คัดแยกขยะตามประเภททุกเดือนและกรอกแบบฟอร์มเพื่อรายงานต่อไป (4.1.1-4.1)  และสำนักวิทยบริการฯ มีการส่งต่อขยะทั่วไปและขยะอันตรายออกไปกำจัดนอกพื้นที่ (4.1.1-5.1) ซึ่งดำเนินการขนย้ายขยะโดย อบต.นาวุ้ง มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (4.1.1-6.1) และสำนักวิทยบริการฯ ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน


(2565) 4.1.1-1.1 จุดคัดการคัดแยกขยะพร้อมป้ายบ่งชี้ ปี 65.pdf
(2565) 4.1.1-2.1 ป้ายบ่งชี้ถังขยะ 65 .pdf
(2565) 4.1.1-3.1 จุดทิ้งขยะป้องกันการรั่วไหลเส้นทางการจัดการขยะ 65.pdf
(2565) 4.1.1-3.2 บันทึกข้อมูลปริมาณขยะคัดแยกเพื่อรอจำหน่าย 65 .pdf
(2565) 4.1.1-4.1-แบบฟอร์มการตรวจสอบการคัดแยกขยะ.pdf
(2565) 4.1.1-5.1 เส้นทางการจัดการขยะ 65.pdf
(2565) 4.1.1-6.1 จุดคัดแยกขยะรวบรวมและขนส่งในมหาลัยเพื่อส่งอบ.ต นาวุ้ง.pdf
4.1.2 การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์หรือนำกลับมาใช้ใหม่ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง
          (1) มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
          (2) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภท ครบถ้วนทุกเดือน
          (3) มีการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่าเป้าหมายที่ได้กำหนดจากหมวด 1 ข้อ 1.1.5
          (4) ปริมาณขยะที่ส่งกำจัดมีแนวโน้มลดลง
         
  สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการจัดเก็บคัดแยกขยะ และนำขยะบางประเภทกลับมาใช้ประโยชน์ และนำกลับมาใช้ใหม่ ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณ น้อยลง ดังนี้
          1. นำเศษอาหารจากการรับประทานอาหารของเจ้าหน้าที่ มาทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้ปลูกพืชผักสวนครัว ในพื้นที่ด้านหลังข้างอาคาร
          2. นำขวดและฝากพลาสติกมาประดิษฐ์เป็นแจกันใส่ต้นไม้ตามจุดต่าง ๆ เพื่อเพิ่ม บรรยากาศให้ดูเป็นธรรมชาติ สวยงามและดูดซับสารพิษได้
          3. การรณรงค์ให้บริการยืมถุงผ้าเพื่อใส่ทรัพยากรสารสนเทศแทนถุงพลาสติก (4.1.2-1.1)  และพนักงานทำความสะอาดประจำตึก จะรวบรวมขยะจากทุกจุดภายใน สำนักวิทยบริการฯ มาทำการชั่งและบันทึกปริมาณทุกวัน ในเวลา 16.00 น. โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะไปตรวจเช็คการจดบันทึกปริมาณของพนักงาน และเมื่อสิ้นเดือนก็จะนำปริมาณขยะที่จดบันทึกมาบันทึกลงในแบบฟอร์ม (4.1.2-2.1)
         สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบ ค่าเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้คือ ปริมาณของเสียที่ลดลงร้อยละ 15 % ตามประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่องเป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร (4.1.2-3.1) พบว่าปริมาณขยะที่ส่งกำจัดมีแนวโน้มลดลง(4.1.2-4.1)

(2565) 4.1.2-1.1 กิจกรรมเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะผ่าซื่ออิเล็กทรอนิกส์.pdf
(2565) 4.1.2-2.1 บันทึกข้อมูลปริมาณขยะ 65.pdf
(2565) 4.1.2-4.1 สรุปข้อมูลปริมาณขยะ-2565.pdf
(GO-2565) 4.1.2-3.1 ประกาศเป้าหมายการจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากร 2565.pdf
4.2.1 การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และ คุณภาพน้ำทิ้งจะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่ เกี่ยวข้องโดยมีแนวทาง ดังนี้
         (1) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
         (2) มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น มีตะแกรงดักเศษอาหาร มีบ่อดักไขมัน หรือมีระบบบำบัดน้ำเสียเหมาะสมกับองค์ประกอบของน้ำเสีย
         (3) มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย
         (4) มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
           สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย โดยเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแล (4.2.1-1.1) มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ แหล่งกำเนิดน้ำเสียของสำนักวิทยบริการฯ จะเกิดจากการล้างทำความสะอาดห้องน้ำ เกิดจากการชำระล้างมือ และเกิดจากการล้างภาชนะต่างๆ  ซึ่งสำนักวิทยการฯ ได้มีมาตรการในการจัดการน้ำเสีย ดังนี้ (4.2.1-2.1)
           1. ตรวจสอบการรั่วซึมของก๊อกน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์ห้องน้ำ
           2. รดน้ำต้นไม้ในช่วงเช้า
           3. ไม่ทิ้งเศษอาหาร กระดาษชำระลงในเครื่องสุขภัณฑ์ (อ่างล้างมือ โถส้วม หรือชักโครก) 
           4. ล้างภาชนะในที่ที่สำนักวิทยบริการฯ กำหนด 
           5. นำเศษอาหารออกจากภาชนะและใช้กระดาษชำระเช็ดคราบไขมันออกจากภาชนะให้หมด ก่อนล้างท้าความสะอาด 
           6. ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างจานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 
           7. รณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด
           สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการจัดทำถังดักไขมัน จำนวน 4 จุด ซึ่งจะเป็นที่ที่บุคลากรชำระล้างภาชนะ เช่น ชั้น 1 ชั้น 6 อาคารบรรณราชนครินทร์ 2, ห้องสำนักงานผู้อำนวยการ และ ร้านกาแฟ Think Cafe โดยจะมีผู้ปฏิบัติงานบริการ (แม่บ้าน) ล้างถังดักไขมันทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และตรวจสอบความพร้อมใช้ของถังดักไขมันอย่างสม่ำเสมอและนำเศษอาหารไปทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพและนำไปเป็นอาหารให้สัตว์เลี้ยงของบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ  (4.2.1-2.2)
           ท้้งนี้ สำนักวิทยบริการฯ จะมีการขอความอนุเคราะห์จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งของสำนักฯ
 

(2565) 4.2.1-1.1 คำสั่งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวปี พ.ศ.2565.pdf
(2565) 4.2.1-2.1 มาตรการสำนักงานสีเขียว ปี 65.pdf
(2565) 4.2.1-2.2 ถังดักไขมันและการดูแลรักษา.pdf
4.2.2 การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีแนวทาง ดังนี้
         (1) มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมีการตักและทำความสะอาดเศษอาหาร และไขมันออกจาก ตะแกรงดักขยะ หรือบ่อดักไขมันตามความถี่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณและการปนเปื้อน
         (2) มีการนำกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย หรือเศษอาหาร น้ำมันและไขมันจากถัง/บ่อดัก ไขมันไปกำจัดอย่างถูกต้อง
         (3) มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัด น้ำเสียให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
         (4) มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่าง สม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไป ยังแหล่งอื่นๆ
          สำนักวิทยบริการฯ มีการดูแลถังดักไขมัน โดยการมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานบริการ (แม่บ้าน) ดำเนินการตักไขมัน และล้างถังดักไขมันทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ เพื่อดูแลรักษาอุปกรณ์และเป็นการตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อนทื้งลงบ่อบำบัดน้ำเสียของอาคารและปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ (4.2.2-1.1)
           สำนักวิทยบริการฯ มีการคัดแยกเศษอาหารก่อนนำไปชำระล้าง โดยจะนำเศษอาหารในแต่ละวันไปชั่งน้ำหนัก และหลังจากนั้นจะนำไปเป็นอาหารแก่สัตว์เลี้ยงให้ชุมชนใกล้เคียงต่อไป (4.2.2-2.1) นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซม ตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่นๆ (4.2.2-3.1)

4.2.2-1.1 ภาพการตักเศษอาหารและไขมัน ตลอดจนการทำความสะอาดถังดักไขมัน.pdf
4.2.2-2.1 ภาพถ่ายการแยกเศษอาหารก่อนการชำระล้าง.pdf
4.2.2-3.1-ใบขอให้แก้ไขและป้องกันข้อบกพร่องระบบบำบัดน้ำเสีย.pdf
5.1 อากาศในสำนักงาน
5.2 แสงในสำนักงาน
5.3 เสียง
5.4 ความน่าอยู่
5.5 การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
5.1.1 การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน
        (1) มีแผนการดูแลรักษา ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) พรมปูพื้นห้อง (ขึ้นอยู่กับสำนักงาน)
        (2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตาม แผนการดูแลรักษา
        (3) มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดใน ข้อ 1
        (4) มีการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติใน ข้อ 1
        (5) การจัดวางเครื่องปริ้นเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสารให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน
        (6) การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน เช่น ติดป้ายดับเครื่องยนต์
        (7) การป้องกันและกำจัดแมลงที่จะสร้างมลพิษ อากาศภายในสำนักงาน (ถ้ามี)
        (8) มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษ ทางอากาศจากกิจกรรมต่างๆ เพื่อการเตรียม ความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย (สามารถพิจารณาจากเอกสารหรือภาพถ่าย เป็นหลักฐานประกอบ)
      
  สำนักวิทยบริการฯ ได้มีการคบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน โดยได้จัดทำแผนการดูแลรักษา เครื่องปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสาร และพรมปูพื้น 5.1.1-1.1 และได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลรักษาเครื่องใช้ที่มีผลต่อมลพิษทางอากาศ 5.1.1-2.1 โดยผู้รับผิดชอบได้ปฏิบัติตามแผนการดูแลรักษา เครื่องปรับอากาศ 5.1.1-3.1.1, 5.1.1-3.1.2 เครื่องถ่ายเอกสาร 5.1.1-3.2 เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) 5.1.1-3.3 และพรมปูพื้น 5.1.1-3.4 
          สำนักวิทยบริการฯ มีการควบคุมมลพิษทางอากาศ โดยจัดทำประกาศมาตรการประหยัดพลังงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว 5.1.1-4.1
          สำนักวิทยบริการฯ จัดวางตำแหน่งเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสารให้มีระยะห่างจากผู้ปฏิบัติงานประมาณ 4 เมตร 5.1.1-5.1 และสำนักวิทยบริการฯ ยังมีการติดตั้งป้ายควบคุมควันไอเสียรถยนต์เพื่อลดมลพิษ บริเวณด้านข้างและด้านหน้าสำนักวิทยบริการฯ 5.1.1-6.1

(2565) 5.1.1-1.1 แผนการบำรุงดูแลรักษาประจำปี 2565.pdf
(2565) 5.1.1-1.2 ผู้รับผิดชอบตามแผนการบำรุงดูแลรักษาประจำปี 2565.pdf
(2565) 5.1.1-3.1.1 ใบตรวจเช็คสภาพเครื่องปรับอากาศ.pdf
(2565) 5.1.1-3.1.2 รายงานการตรวจสอบและทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศย่อย(ทุกวันที่ 5 ของเดือน).pdf
(2565) 5.1.1-3.2 รายงานการการทำความสะอาดเครื่องถ่ายเอกสารเบื้องต้น.pdf
(2565) 5.1.1-3.4 รายงานการรวจสอบทำความสะอาดพรม(ทุก 3 เดือน).pdf
(2565) 5.1.1-4.1 มาตรการประหยัดพลังงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว.pdf
(2565) 5.1.1-5.1 การจัดวางเครื่องถ่ายเอกสารและเครื่องพิมพ์เอกสาร.pdf
(2565) 5.1.1-6.1 ภาพควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเณสำนักงาน.pdf
5.1.2 มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนด พื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด
         (1) มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่
         (2) มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
         (3) มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่
         (4) เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณ ข้างเคียง ไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า – ออกของ สถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น
         (5) ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่
      

          สำนักวิทยบริการฯ มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ทั้งภายในและภายนอกอาคาร 5.1.2-1  มีการติดป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ทั้งภายในและภายนอกอาคาร จำนวน 3 จุด ดังนี้

1. บริเวณศาลาสระน้ำ ด้านข้างอาคารสำนักวิทยบริการฯ

2. บริเวณด้านหน้าสำนักวิทยบริการฯ

3. บริเวณด้านข้าง Common room 5.1.2.2 


(2565) 5.1.2-1 ภาพการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่.pdf
(2565) 5.1.2-2 ภาพสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่.pdf
5.1.3 การจัดการมลพิษอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุง อาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
         (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษ อากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร
         (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดใน ข้อ(1) แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้
              – มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
              – มีที่กั้นเพื่อกันมลพิษทางอากาศกระทบกับพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
              – มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย

            สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดการมลพิษอากาศจากการก่อสร้าง อาคารหรืออื่นๆในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
           1. กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษ อากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารและมีแผนผังแนวปฏิบัติพื้นที่ 5.1.3-2
           2. ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (1) แนวทางการกำหนดมาตรการดังนี้
              - มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
              - มีที่กั้นเพื่อกันมลพิษทางอากาศกระทบกับพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
              - มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเติอนเพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย


(2565) 5.1.3-2 แผนผังแนวปฏิบัติพื้นที่ปรับปรุง.pdf
5.2.1 มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดย อุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มแสงที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐานกำหนด
        (1) มีการตรวจวัดความเข้มแสงประจำปีพร้อม แสดงหลักฐานผลการตรวจวัดแสงเฉพาะจุด ทำงานแลพื้นที่ทำงาน
        (2) เครื่องวัดแสงจะต้องมีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบ (แสดงหลักฐานใบรับรอง)
        (3) ผลการตรวจวัดจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด
        (4) ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มแสงจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
ไม่มีการวัดความเข้มแสงของแสงสว่าง เนื่องจากขาดบุคลากรที่มีใบผ่าน จป.วิชาชีพในการตรวจวัดค่าแสงภายในหน่วยงาน

5.3.1 การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคาร สำนักงาน
         (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
         (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดใน ข้อ(1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
      
            สำนักวิทยบริการฯ มีการควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคารสำนักงาน  โดยมีการกำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน (5.3.1-1)  และสำนักวิทยบริการฯ มีการปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดไว้ เช่น พื้นที่งดใช้เสียง (5.3.1-2)

(2565) 5.3.1-1 มาตรการประหยัดพลังงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว.pdf
(2565) 5.3.1-2 ภาพถ่ายพื้นที่งดใช้เสียง.pdf
5.3.2 การจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
         (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่ เกิดจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร
         (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดใน ข้อ(1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายนอกสำนักงาน แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้
             – มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
             – มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย
       สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดการเสียงจากการก่อสร้างปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน  (1) กำหนดมาตรการการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่เกิดจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร 3.1-4 (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดตามข้อ (1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายนอกสำนักงาน แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้                                                               - มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน                                    - มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือนเพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย                                          
 

(2565) 3.1-4 มาตรการประหยัดพลังงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว (1).pdf
5.4.1 มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของ สำนักงานโดยจะต้องดำเนินการดังนี้
          (1) จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและ นอกอาคาร โดยจะต้องกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน เช่น พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนรวม และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น สามารถสื่อสารด้วยป้ายหรืออื่นๆ ที่เหมาะสม เพื่อบ่งชี้
          (2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบอย่าง เหมาะสมทั้งพื้นที่เฉพาะ และพื้นที่ทั่วไป ทั้งใน อาคารและนอกอาคาร
          (3) มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร
          (4) การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และคงรักษาไว้ของสำนักงาน รวมไปถึงมีการปฏิบัติ จริงตามแผนงาน

            สำนักวิทยบริการฯ มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของสำนักงานโดยมีการดำเนินการจัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งภายในอาคารและนอกอาคารโดยกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจนได้แก่

1. พื้นที่สีเขียว

2.พื้นที่ปฏิบัติงานงานและบริการส่วนรวม

3. พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ (5.4.1-1)

          โดยกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและผู้ดูแลพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกอาคารตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาสำนักงานสีเขียวที่ 001/2565 ลงวันที่ 26 มกราคม 2565 (5.4.1-2)

          มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้ง 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อน และพื้นที่ปฏิบัติงานและบริการส่วนรวม (5.4.1-3) 

          ซึ่งจะมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานบริการทุกวันเพื่อประเมินความสะอาด และตรวจสอบอุปกรณ์ที่ชำรุด ทั้งนี้ได้มีแผนการดำเนินงาน 5ส (5.4.1-3.1) และมีการประเมิน 5ส เดือนละ 2 ครั้ง (5.4.1-3.2) โดยพบว่ามีผลการประเมินคะแนน 5ส ตั้งแต่เดือน มกราคม - ธันวาคม 2565 เฉลี่ยร้อยละ 88.21 ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 80  (5.4.1-3.3) มีการจัดกิจกรรม ฺ5 ส  (5.4.1-3.4) และกิจกรรม Big Cleaning Day เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 (5.4.1-3.5)

 

          สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งหมด 9 จุด ดังนี้ (5.4.1-4)

1.พื้นที่สีเขียว 5 จุด

2.พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ 3 จุด

3.พื้นที่ปฏิบัติงานและบริการส่วนรวม 1 จุด และคงรักษาไว้ของสำนักงาน รวมไปถึงมีการปฏิบัติจริงตามแผน (5.4.1-4.1)


(2565) 5.4.1-1 แผนผังของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.pdf
(2565) 5.4.1-2 คำสั่งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวปี พ.ศ.2565.pdf
(2565) 5.4.1-3 กำหนดเวลาการดูแลรักษาพื้นที่.pdf
(2565) 5.4.1-3.1 แผนการดำเนินงาน 5ส.pdf
(2565) 5.4.1-3.2 แบบประเมิน 5ส.pdf
(2565) 5.4.1-3.3 แบบสรุปผลการตรวจประเมินกิจกรรม 5ส 2565.pdf
(2565) 5.4.1-3.4 ภาพการดำเนินงานกิจกรรม-5ส..pdf
(2565) 5.4.1-3.5 ภาพการจัดกิจกรรม Big Cleaning Day.pdf
(2565) 5.4.1-4 แผนการเพิ่มพื้นที่สีเขียว.pdf
(2565) 5.4.1-4.1 การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว.pdf
5.4.2 ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด
 ประเมินจากพื้นที่ปฏิบัติงานจริง

5.4.3 ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น
 ประเมินจากพื้นที่ปฏิบัติงานจริง

5.4.4 มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด
        (1) มีการกำหนดแนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรคในสำนักงานอย่างเหมาะสม ได้แก่ นกพิราบ หนู แมลงสาบ และอื่นๆ
        (2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรคอย่างน้อยที่สุดเดือนละ 1 ครั้ง
        (3) มีการตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ที่ได้กำหนด (เฉพาะตอนกลางวัน)
        (4) มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค
        (5) ไม่พบร่องรอยหรือสัตว์นำโรคในระหว่างการตรวจประเมินของกรมฯ

หมายเหตุ : การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค สำนักงานสามารถควบคุมและจัดการได้เอง หรือว่าจ้าง หน่วยงานเฉพาะมาดำเนินการแทน

         สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดแนวทางในการป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะนำโรค โดยกำหนดเป็นแผนควบคุมสัตว์พาหะนำโรค ประจำปี พ.ศ 2565 (5.4.4-1) ซึ่งมอบหมายผู้รับผิดชอบในการป้องกันและกำจัด ตามแผน (5.4.4-2) พร้อมทั้งจัดทำแบบฟอร์มตรวจสอบร่องรอยของสัตว์พาหะนำโรคทุกเดือน (5.4.4-3) ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า สัตว์พาหะนำโรคส่วนใหญ่ที่พบเจอเป็นนกพิราบ หนู ปลวก  ดังนั้นทางสำนักวิทยบริการฯ ได้มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค (5.4.4-4) ดังนี้

1. ปลวก เรียกบริษัทกำจัดโดยใช้น้ำยาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2. หนู กำจัดหนูโดยใช้กับดัก และนำไปปล่อยกับคืนสู่ธรรมชาติ

3. นก กวาด และทำความสะอาดมูลนกโดยใช้น้ำฉีด

         


(2565) 5.4.4-1 แนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรค.pdf
(2565) 5.4.4-2 แผนการป้องกันสัตว์พาหะนำโรค-2565.pdf
(2565) 5.4.4-3 สรุปผลการตรวจสอบสัตว์พาหะนำโรค 2565.pdf
(2565) 5.4.4-4 แนวทางการจัดการเมื่อพบร่องรอย.pdf
5.5.1 การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ตามแผนที่กำหนด
        (1) มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ
        (2) จำนวนคนเข้าอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้น จะต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 40 ของพนักงาน ทั้งหมด
        (3) พนักงานทุกคนจะต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
        (4) มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรองการอบรม ภาพถ่าย เป็นต้น
        (5) มีการฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่กำหนด พร้อม แสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรอง ภาพถ่าย เป็นต้น
        (6) มีการจุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมมี ป้ายแสดงอย่างชัดเจน
        (7) มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟ ไป ยังจุดรวมพล พร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน
        (8) มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ พร้อม มีป้ายแสดงอย่างชัดเจน

          สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำแผนฝึกอบรมประจำปี 2565  GO5.5.1-1 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับระงับเหตุฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนี้

          การฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ เนื่องด้วยสถานะการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกัน สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดให้บุคลากรจำนวน 5 คน เข้าร่วมอบรม “การป้องกันอัคคีภัยในสถานศึกษา” ในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ณ อาคารโรงเรียนการอาหารนานาชาติ จัดโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี GO5.5.1-2.1 และสำนักวิทยบริการฯได้จัดการอบรม หลักสูตร “การดับเพลิงเบื้องต้น” ในรูปแบบออนไลน์ ให้กับบุคลากรของสำนักฯ จำนวน 24 คน โดยการศึกษาเนื้อหาผ่านทาง Youtube (https://www.youtube.com/watch?v=H2LeFfczxfU) GO5.5.1-2.2, GO5.5.1-4 

          สำนักวิทยบริการได้กำหนดจุดรวมผลหากเกิดเหตุฉุกเฉินด้านอัคคีภัยไว้บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักสำนักวิทยบริการฯ GO5.5.1-6

          สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดแผนผังจุดติดตั้งถังดับเพลิง เส้นทางหนีไฟและจัดทำธงนำทางติดประชาสัมพันธ์บริเวณหน้าลิฟท์สื่อสารให้ผู้มาใช้บริการทราบ GO5.5.1-7 และมีการกำหนดทางออกฉุกเฉินพร้อมจัดทำป้ายสัญลักษณ์แสดงเส้นทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ ให้ผู้ใช้บริการเห็นอย่างชัดเจน GO5.5.1-8


(2565) GO5.5.1-1 แผนปฏิบัติงานพัฒนาสำนักงานสีเขียว-2565.pdf
(2565) GO5.5.1-2.1 การอบรมการป้องกันอัคคีภัยในสถานศึกษา.pdf
(2565) GO5.5.1-2.2 จำนวนบุคลากรเข้าอบรมการดับเพลิงเบื้องต้น.pdf
(2565) GO5.5.1-4 สรุปผลการอบรมดับเพลิงเบื้องต้น รูปแบบออนไลน์ 2565.pdf
(2565) GO5.5.1-5 ภาพถังดับเพลิง ธงนำทาง และเส้นทางหนีไฟ.pdf
(2565) GO5.5.1-6 ภาพจุดรวมพล.pdf
(2565) GO5.5.1-7 ภาพถังดับเพลิง ธงนำทางและแผนผังเส้นทางหนีไฟ.pdf
(2565) GO5.5.1-8 ภาพป้ายเส้นทางหนีไฟ.pdf
5.5.2 มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และร้อยละของพนักงานที่เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
          สำนักวิทยบริการได้จัดทำแผนระงับเหตุฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น GO5.5-2

(2565) GO5.5.2 แผนระงับเหตุฉุกเฉิน 2565.pdf
5.5.3 ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของ อุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย และ ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และร้อยละของ พนักงานทราบวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ ดังกล่าว
(สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
        (1) มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
          – ถังดับเพลิงมีเพียงพอต่อการใช้งาน (กำหนดระยะห่าง อย่างน้อย 20 เมตร/ถัง ตามกฎหมาย ติดตั้งสูงจาก พื้นไม่เกิน 150 เซนติเมตร นับจากคันบีบ และถ้าเป็นวางกับพื้นที่จะต้อง มีฐานรองรับ) พร้อมกับติดป้ายแสดง
          – ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ถ้ามี)
          – สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (Hose and Hose Station) ถ้ามี)
        (2) ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนและต้องพร้อมใช้งาน
          – สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (พื้นที่ มากกว่า 300 ตารางเมตรหรืออาคาร สูงเกิน 2 ชั้นขึ้นไป)
          – ติดตั้งตัวดักจับควัน(smoke detector)หรือความร้อน (heat detector)
        (3) มีการตรวจสอบข้อ (1)-(2) และหากพบว่า ชำรุดจะต้องดำเนินการแจ้งซ่อมและแก้ไข
        (4) พนักงานจะต้องเข้าใจถึงวิธีการใช้และ ตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาณแจ้ง เตือนอย่างน้อยร้อยละ 75 จากที่สุ่มสอบถาม
        (5) ไม่มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิง และสัญญาณ แจ้งเหตุเพลิงไหม้
          สำนักวิทยบริการฯ มีอุปกรณ์สำหรับป้องกันเหตุฉุกเฉินด้านอัคคีภัย ได้แก่
          1. ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งจำนวน 31 ถัง ติดตั้งภายในอาคารบรรณราชนครินทร์ จำนวน 17 ถัง และอาคารหอสมุดเดิม 14 ถัง GO5.5.3-1
          2. สัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉินจำนวน 12 เครื่อง GO5.5.3-2-1
          3. เครื่องตรวจจับควันจำนวน 10 เครื่อง GO5.5.3-2-2
          สำนักวิทยบริการฯ  ได้มีการตรวจเช็คอุปกรณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทุก 2 เดือน
          บันทึกการตรวจสภาพถังดับเพลิง GO5.5.3-3.1
          บันทึกการตรวจสอบระบบสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน GO5.5.3-3.2
          บันทึกการตรวจเครื่องตรวจจับควัน GO5.5.3-3.3

(2565) GO5.5.3-1 ภาพถังดับเพลิง.pdf
(2565) GO5.5.3-2.1 ภาพกริ่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้.pdf
(2565) GO5.5.3-2.2 ภาพเครื่องตรวจจับควัน.pdf
(2565) GO5.5.3-3.1 บันทึกการตรวจถังดับเพลิง.pdf
(2565) GO5.5.3-3.2 บันทึกการตรวจสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน.pdf
(2565) GO5.5.3-3.3 บันทึกการตรวจเครื่องตรวจจับควัน.pdf
6.1 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม
6.2 การจัดจ้าง

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
6.1.1 การจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
        (1) กำหนดผู้รับผิดชอบ และมีความเข้าใจ
        (2) ค้นหารายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถระบุแหล่งข้อมูลสืบค้นได้
        (3) จัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับสินค้าที่ใช้จริงในสำนักงาน โดยจะต้องระบุรายการสินค้า ยี่ห้อ ฉลากสิ่งแวดล้อม วันหมดอายุการรับรองของ สินค้านั้น หากเป็นฉลากสิ่งแวดล้อมของ ต่างประเทศจะต้องอ้างอิงหน่วยงาน/ประเทศ ให้การรับรองนั้นๆด้วย
        (4) แจ้งไปยังผู้ขายเพื่อขอความร่วมมือในการสั่งซื้อ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีที่ไม่มี ร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าทีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

**หมายเหตุ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่น ฉลากเขียว ตะกร้าเขียว ฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 ฉลากประสิทธิภาพสูง ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อน สินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น
           สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดให้ นางรัตนา เสียงสนั่น นักบริหารงานทั่วไป เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดซื้อจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.1.1-1.1) นอกจากนี้ได้ดำเนินการจัดทำประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่อง มาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว (6.1.1-1.2) และมาตรการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดซื้อสินค้า (6.1.1-1.3)
           การจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะศึกษาฉลากสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือจากเว็บไซต์ หรือจากฐานข้อมูลที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม (6.1.1-2.1, 6.1.1-2.2) ในการจัดซื้อสินค้าจะดำเนินการจัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สำนักวิทยบริการฯ จัดซื้อไว้ใช้จริง โดยจะประกอบด้วยรายการสินค้า ยี่ห้อ ฉลากสิ่งแวดล้อม วันหมดอายุ และวันที่ทบทวน เป็นต้น (6.1.1-3.1, 6.1.1-3.2
           สำนักวิทยบริการฯ จะดำเนินการทำหนังสือเพื่อขอความร่วมมือบริษัท หรือร้านค้าในการจัดหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับสำนักวิทยบริการฯ (6.1.1-4.1)

(2565) 6.1.1 ผลการดำเนินงานปี 2565.pdf
(2565) 6.1.1-1.1 คำสั่งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวปี พ.ศ.2565.pdf
(2565) 6.1.1-1.2 ประกาศสำนักวิทยบริการฯ เรื่องมาตรการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว.pdf
(2565) 6.1.1-1.3 มาตรการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 6.1.1-2.1 การศึกษาเกี่ยวกับฉลากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 6.1.1-2.2 ฐานข้อมูลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 6.1.1-3.1 บัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ใช้จริงในสำนักงาน.pdf
(2565) 6.1.1-3.2 ภาพรายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 6.1.1-4.1 หนังสือขอความร่วมมือในการจัดหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
6.1.2 ร้อยละของการจัดซื้อสินค้าประเภทวัสดุ อุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายเหตุ ร้อยละของสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะเทียบกับปริมาณการซื้อ และ/หรือมูลค่าสินค้า
        (1) แสดงรายการสินค้าสำนักงานที่จัดซื้อทั้งหมด โดยระบุยี่ห้อ และรุ่นสินค้า
        (2) แสดงฉลากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของสินค้า
        (3) คำนวณจำนวนร้อยละสินค้าที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงรายการ สินค้า ปริมาณสินค้า และมูลค่า

**หมายเหตุ : สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็น สินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่น ฉลากเขียว ตะกร้าเขียว ฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 ฉลากประสิทธิภาพสูง ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อน สินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น
           สำนักวิทยบริการฯ จะดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับฉลากสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือศึกษาจากฐานข้อมูลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และจะดำเนินการจัดทำบัญชีรายชื่อสินต้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่จัดซื้อไว้ โดยจะประกอบด้วยรายการสินต้า ยี่ห้อ ฉลากสิ่งแวดล้อม วันหมดอายุ และวันที่ทบทวน เป็นต้น (6.1.2-1.1)
           โดยในปี พ.ศ. 2565 มีการจัดซื้อสินค้าทั้งหมด 21 รายการ และมีรายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 8 รายการ คิดเป็นร้อยละ 12.92 ดังนี้ (6.1.2-1.2, 6.1.2-1.3)
           1) น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ
           2) น้ำยาล้างจาน Fresh
           3) ผลิตภัณฑ์ซักผ้าชนิดผงกรีนแวกซ์
           4) ผลิตภัณฑ์ซักผ้าดีเทอร์เจนท์-บี
           5) ผลิตภัณฑ์ซักผ้าเอ็นจอย
           6) กระดาษชำระม้วน
           7) ผลิตภัณฑ์ทำความอเนกประสงค์โปรคลีน
           8) น้ำยาลบคำผิด Pentel 

(2565) 6.1.2 ผลการดำเนินงานปี 2565.pdf
(2565) 6.1.2-1.1 บัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ใช้จริงในสำนักงาน.pdf
(2565) 6.1.2-1.2 แบบรายงานผลจัดซื้อจัดจ้างและบริการฯ.pdf
(2565) 6.1.2-1.3 ภาพรายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
6.1.3 ร้อยละของปริมาณและประเภทของวัสดุ อุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

**หมายเหตุ : สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่น ฉลากเขียว ตะกร้าเขียว ฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 ฉลากประสิทธิภาพสูง ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อน สินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น
           สำนักวิทยบริการฯ มีการคำนวณร้อยละของปริมาณสินค้าที่ได้ดำเนินการจัดซื้อมาใช้จริงในสำนักงาน เช่น สินค้าที่ได้รับตะกร้าเขียว ฉลากเขียว ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นต้น ทั้งนี้ในปี 2565 มีการจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคิดเป็นร้อยละ 27.22 (6.1.3-1.1)

(2565) 6.1.3 ผลการดำเนินงานปี 2565.pdf
(2565) 6.1.3-1.1 แบบรายงานผลจัดซื้อจัดจ้างและบริการฯ.pdf
6.2.1 ร้อยละของการจัดจ้างหน่วยงานหรือบุคคลที่มีการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
        (1) มีหลักฐานการพิจารณาถึงมาตรฐานด้าน สิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่ได้การรับรองโดย จะต้องแสดงหลักฐานการรับรองดังกล่าว
        (2) หากหน่วยงานไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม รับรอง ทางสำนักงานจะต้องทำการประเมิน ด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยเบื้องต้น
        (3) มีการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อเข้ามาปฏิบัติงานในสำนักงาน
        (4) หน่วยงานหรือบุคคลที่ได้รับคัดเลือกจะต้อง ได้รับการอบรมหรือสื่อสารเกี่ยวกับสำนักงานสีเขียว และแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของตนเอง
        (5) หน่วยงานหรือบุคคลเหล่านั้นสามารถอธิบาย แนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ กิจกรรมของตนเองได้

**หมายเหตุ : หากหน่วยงานภายนอกมีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรองจะต้องพิจารณาทุกข้อยกเว้นข้อ (1)
        – หากหน่วยงานภายนอกไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรองพิจารณาข้อ (1)- (5)
           สำนักวิทยบริการฯ มีการเช่าเครื่องถ่ายเอกสารเพื่อให้บริการแก่  นักศึกษาและคณาจารย์ โดยเป็นบริษัทที่ได้รับการรับรองที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม (6.2.1-1.1, 6.2.1-1.2) และมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้พื้นที่ของห้องสมุดเป็นสถานประกอบการ เพื่อให้มีการวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.2.1-1.3) และในกรณีที่จัดจ้างหน่วยงานที่ไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรอง จะดำเนินการประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้างเบื้้องต้น เพื่อให้มีการปฏิบัติงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.2.1-2.1
           และจะมีการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อ่เข้ามาปฏิบัติงานภายในสำนักวิทยบริการฯ (6.2.1-3.1) นอกจากนี้ยังได้มีการอธิบายทำความเข้าใจให้กับหน่วยงาน/ผู้รับจ้างได้ปฏิบัติตามข้อตกลงของสำนักฯ ด้านสิ่งแวดล้อม  (6.2.1-4.1
 

(2565) 6.2.1 ผลการดำเนินงานปี 2565.pdf
(2565) 6.2.1-1.1 ใบรับรองโครงการฉลากเขียวบริษัท ริโก้ (ประเทศไทย) จำกัด.pdf
(2565) 6.2.1-1.2 สัญญาเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร บริษัท ริโก้ (ประเทศไทย) จำกัด.pdf
(2565) 6.2.1-1.3 บันทึกข้อตกลงการใช้พื้นที่ของห้องสมุดเป็นสถานประกอบการ.pdf
(2565) 6.2.1-2.1 การประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้าง.pdf
(2565) 6.2.1-3.1 ใบอนุญาตเข้าปฏิบัติงานและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 6.2.1-4.1 การอบรมให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้รับจ้าง.pdf
6.2.2 ร้อยละของการตรวจสอบด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือ บุคคลที่เข้ามาดำเนินการ เช่น ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างช่วง แม่บ้าน รปภ. พนักงานส่งเอกสาร เป็นต้น

**หมายเหตุ
     (1) กรณีที่เป็นการว่าจ้างให้อยู่ประจำสำนักงาน จะต้องทำการประเมินอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
     (2) กรณีที่เป็นการว่าจ้างไม่อยู่ประจำสำนักงาน จะต้องทำการประเมินทุกครั้งเมื่อเข้ามา ปฏิบัติงานในสำนักงาน
           สำนักวิทยบริการฯ ดำเนินการประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้างที่เข้ามาดำเนินการภายในสำนักฯ เพื่อตรวจสอบด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่เข้ามาปฏิบัติงานให้มีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.2.2-1.2)

(2565) 6.2.2 ผลการดำเนินงานปี 2565.pdf
(2565) 6.2.2-1.2 การประเมินประสิทธิภาพของผู้รับจ้าง.pdf
6.2.3 ร้อยละของการเลือกใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (นอกสำนักงาน) ได้แก่ โรงแรม สถานที่จัดงาน หรือ อื่นๆที่ได้มีการขึ้นทะเบียนการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

**หมายเหตุ :
     (1) สถานที่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการ สิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น ISO๑๔๐๐๑ Green Hotel ใบไม้เขียว ฉลากเขียว Green Office หรือ Green Building เป็นต้น และมีการ จั ด ก า ร ป ร ะ ชุ ม ที่ ค า นึง ถึง ก า ร อ นุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน และลดการ ก่อให้เกิดมลพิษ
     (2) ในกรณีที่ไม่มีสถานที่จัดประชุมที่ได้รับการ รับรองฯ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงสำนักงาน จะต้องเลือกสถานที่ที่ใช้เวลาเดินทางน้อยที่สุด และจัดประชุมในรูปแบบ Green Meeting (ตามความเหมาะสมและเป็นไปได้) โดย จะต้องแสดงหลักฐานการคัดเลือกสถานที่ เหล่านั้น

           สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแนวปฏิบัติการใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีที่ไปใช้บริการนอกสำนักงาน (6.2.3-1.1, 6.2.3-1.2, 6.2.3-1.3) และแนวปฏิบัติที่หน่วยงานอื่นๆ มาใช้บริการของสำนักฯ เพื่อขอความร่วมมือให้ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน ลดการก่อให้เกิดมลพิษ (6.2.3-1.4, 6.2.3-1.5)

           นอกจากนี้ สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการศึกษาและรวบรวมรายชื่อโรงแรมที่ผ่านการรับรองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Hotel) ปี 2565 ไว้เป็นแนวทางการคัดเลือกสถานที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (6.2.3-2.1)


(2565) 6.2.3 ผลการดำเนินงานปี 2565.pdf
(2565) 6.2.3-1.1 แบบฟอร์มการคัดเลือกสถานที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 6.2.3-1.2 ข้อปฏิบัติการเดินทางไปประชุมภายนอกของบุคลากร.pdf
(2565) 6.2.3-1.3 แนวปฏิบัติการใช้บริการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.pdf
(2565) 6.2.3-1.4 ข้อปฏิบัติเรื่องการจัดประชุมและนิทรรศการ (1).pdf
(2565) 6.2.3-1.5 แนวปฏิบัติในการใช้ห้องประชุมสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.pdf
(2565) 6.2.3-2.1 รายชื่อโรงแรมที่ผ่านการรับรอง Green Hotel.pdf